Skip to main content

ตัวเลขในงานวิจัยทั้งหลายแหล่ บอกว่าคนแห่มาอยู่ “โสด” ทั้งที่โสดมาตลอด หย่าร้างแล้วกลับมาโสด หรือคบหากันแต่จงใจแยกกันไป “โสด”  

กลุ่มที่ตกใจและตื่นตระหนกเป็นที่สุดเห็นจะเป็นผู้ใหญ่ล่วงเข้าวัยชราที่กังวลว่า ใครจะมาทำงาน ใครจะมาดูแล ใครจะมาสืบทอดสืบสานงานที่ยังไม่สิ้นสุด ถึงขนาดคิดขึ้นมาเป็นชุดว่านี่คือสิ่งที่จะทำให้ชาติสิ้นสุดและเศรษฐกิจสะดุดลง ด้วยสิ่งที่เรียกว่า   “สังคมสูงวัย” Aging Society

ลองสาเหตุของภาวะสังคมที่มีคนสูงวัยเป็นคนส่วนใหญ่ในสังคม คงไปโทษว่าระบบสาธารณสุขดี สังคมมีความปลอดภัยมากขึ้นไม่ได้ เพราะมันสะท้อนว่าสังคมเราได้พัฒนาคุณภาพชีวิตมนุษย์ให้มี “เวลา” พัฒนาตัวเองและสังคมมากขึ้นด้วย

สาเหตุที่แท้จริง คือ จำนวนคนเกิดใหม่ไล่ไม่ทันคนแก่ !
 

แล้วทำไมจึงมีคนเกิดใหม่น้อยลง ?

ทำไม คนจึงตัดสินใจอยู่ด้วยกันน้อยลง มีลูกด้วยกันน้อยลง และลดจำนวนลูกในแต่ละครอบครัวน้อยไปต่ำกว่า อัตราที่เหล่าผู้อาวุโสแห่ง สสส.  คาดหวังให้มีกันสักสามคนต่อครัวเรือน

การเมืองเรื่อง อยากให้คนกลุ่มไหนสถานะทางเศรษฐกิจและการศึกษาระดับใดมีลูกเยอะก็น่าคิด   แต่ที่แน่ๆ ไม่ใช่คุณแม่วัยรุ่นที่เขาพยายามลดอัตราการเกิด   ยิ่งมีงานวิจัยที่ สสส.สนับสนุน บอกให้แก้ด้วยการเก็บภาษีคนโสดที่มีฐานะทางเศรษฐกิจพอใช้สามารถมีครอบครัวได้   คงชัดเจนว่า อยากให้คนชั้นกลางขึ้นไปมีลูกมากขึ้น เพื่อมาเพิ่มจำนวนกลุ่มใดในทางการเมืองด้วยรึเปล่าก็ไม่อาจทราบได้

เมื่อตัดคุณแม่วัยรุ่นอายุ 15-19 ปี ที่เกินอัตราเกิดใหม่ไปถึง 53% ออกไป คงเห็นกันชัดเจนใช่ไหมว่าอะไรกำลังเกิดขึ้น   ไหนจะอัตราหย่าร้างที่พุ่งสูงมาก อัตราสตรีโสดของกรุงเทพฯ ที่อยู่อันดับสองของเอเชีย   คงสะท้อนว่า มันมีอะไรเกิดขึ้นในความสัมพันธ์ “หญิง-ชาย” ไทยแน่นอน

คนรุ่นใหม่ และนักวิชาการบอกว่า ทุกวันนี้การแต่งงาน มีคู่ หรือมีลูกหลานครอบครัว ไม่ใช่สิ่งสำคัญสูงสุดที่ทุกคนต้องทำอีกต่อไป   มีกิจกรรมอีกหลายอย่างให้คนรู้สึกอิ่มเอมและมีความสุขได้แม้จะไม่ผูกมัดตัวเองอยู่กับใคร

แต่ก็ชวนสงสัยว่าแค่ เพลินๆ หรือ เลือกเดินทางนี้มาแต่ไหนแต่ไร     หากตัดกลุ่มนี้ออกไปให้เหลือคนที่อยากมีคู่หรือมีคู่แล้วแต่ไม่อยากมีลูก ไม่กล้ามีครอบครัว น่าจะได้คำตอบชัดเจนกว่า

เราพบคนที่พูดว่า   “ยังไม่มั่นคง”   หรือ   “เสี่ยงเกินไป” บ่อยครั้ง   ทั้งที่ตั้งใจตอบแต่ต้น หรือเมื่อไล่ถามจนถึงแก่น

 

ความไม่มั่นคง” กับ “ความเสี่ยง”
สองสิ่งนี้จึงเป็นเงื่อนไขที่ต้องกำจัดหรือกระชับให้น้อยลงหน่อย หากจะทำให้คนมั่นใจกล้าเสี่ยงมีคู่ และมีลูกเพื่อสร้างครอบครัวอย่างมั่นคง  

ความเสี่ยง หรือ ไม่มั่นคง   มีหลายปัจจัยที่เป็นเงื่อนไขขัดขวางชีวิต ทั้งปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม จนไปถึงวัฒนธรรม ที่บิดเบือนธรรมชาติของมนุษย์ที่ถูกสร้างมาขยายเผ่าพันธุ์สืบไปเผื่อว่าใครเกิดมาใหม่จะสร้างความเป็นไปได้อันยิ่งใหญ่ในอนาคต   จึงไม่น่าแปลกใจที่คนเจเนอเรชั่น X หรือ Y ลงมาจะตัดสินใจเป็นโสด หรือไม่มีครอบครัวมากขึ้น

จนเดี๋ยวนี้ “คนโสด” และ “ความโสด” กลายเป็นเป้าหมายทางเศรษฐกิจให้ธุรกิจใหญ่น้อยเข้ามาคอยหากิน   โดยขายความตื่นเต้น เติมเต็มประสบการณ์ใหม่ๆ ให้ไปผจญภัย หรือได้เป็นคนสำคัญ เพื่อลบความรู้สึก “โล่ง กลวง โบ๋” ที่โตคับอกคับใจให้แคบลงบ้าง
เพื่อลบความอ้างว้างเหล่านี้ คนโสดต้องเสียอะไรไปมากมาย แต่สังคมอาจไม่ได้อะไรกลับมา

ใช่แล้ว ผมกำลังจะบอกว่า คนไม่ได้อยากโสดเองทั้งหมด  แต่เพราะเงื่อนไขหลายๆอย่างในสังคมทำให้คนเลือกที่จะ “โสดดีกว่า”   เพราะว่าไม่มีอะไรมาทำให้มั่นใจว่า เสี่ยงมีครอบครัวไปแล้วจะมั่นคง

 

แล้วใครล่ะที่มีความมั่นคง?

คนที่มีเวลาสะสมความมั่งคั่งมานาน จะเป็นกลุ่มไหนถ้าไม่ใช่ ผู้อาวุโสที่กุมอำนาจทางเศรษฐกิจและการเมือง แต่กลับเมินเฉยปัญหาเหล่านี้ แถมใช้วิธีดึงคนรุ่นใหม่ให้อยู่ใต้อาณัติโดยไม่ปล่อยให้ไปจัดการชีวิตตนเอง ไม่ให้ทุน ไม่ให้โอกาส ไม่ให้อำนาจจัดการ หรือกำหนดนโยบายสังคม ใดๆทั้งสิ้น

ภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก ระหว่างคนแก่ที่กุมอำนาจเศรษฐกิจการเมือง กับ คนรุ่นใหม่ที่เป็นความหวังในการนำพาอนาคตประเทศชาติแต่ขาดทุนตั้งต้น  

สงครามระหว่างเจนเนอร์เรชั่น จึงอาจบังเกิดขึ้น!!!   แทนที่ ความรักความห่วงใยระหว่างกัน


นโยบายสลายโสดและเพิ่มจำนวนประชากร

ภาษีครอบครัว กฎหมายครอบครัว ที่ไม่ส่งเสริมให้คนสร้างครอบครัวใหม่ หรือสร้างมาตรการรองรับเหตุอันไม่คาดฝันในอนาคต ย่อมกดโอกาสให้คนตัดสินใจมีคู่ลดลง ยิ่งมีลูกล่ะไม่ต้องพูดถึง

คนในวิชาชีพขั้นสูง งานใช้ฝีมือ และมีการศึกษา เมื่อตระหนักแล้วว่า เสี่ยง จึงตัดสินใจไม่มีลูก ไม่มีครอบครัว

ส่วนพวกพร้อมแต่ยังไม่เจอเนื้อคู่  ทั้งที่เราเป็นคนสังคมกว้างไกลมีเครือข่ายเยอะแยะจะเห็นว่า  ไอ้คนโสดคนนี้มันอยากได้คุณสมบัติแบบคนนั้น   แต่จะทำอย่างไรให้เขา/เธอได้รู้จักกัน   มันเป็นปัญหาขาดการเชื่อมข้อมูลและเครือข่ายของคนโสด  ขาดกิจกรรมสร้างสรรค์ให้คนพบกันแบบไม่เกร็ง ขาดพื้นที่ให้คนมีชีวิตว่างร่วมกันทำกิจกรรม หรือขาดตัวกลางที่จัดการข้อมูลให้คนที่เหงา หรืออยากมีคู่ได้เจอกัน เพื่อทำให้ฝันของคนที่มีความคาดหวังแบบที่ตรงกัน แต่หากันไม่เจอ ได้หากันจนเจอ

 

หาก “เวลา” คือ สิ่งสำคัญในชีวิต มนุษย์จะเลือกเติมอะไรลงไปในเวลาที่ตนมีอย่างจำกัด

เรามาร่วมผลักดันให้รัฐสร้างมาตรการและสวัสดิการให้แก่คนทำงานรุ่นใหม่ ให้มี “เวลาว่าง” มากพอ ที่จะสร้างครอบครัวเพื่อส่งต่อ “คบเพลิงแห่งความหวัง”   เป็นพลังรุ่นใหม่ให้ธำรงไว้ซึ่ง มวลมนุษยชาติ กันดีไหม

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
Nick Srnicek ได้สรุปภาพรวมของแพลตฟอร์มดิจิทัลที่แตกต่างกัน 5 ประเภท คือ1.แพลตฟอร์มโฆษณา, 2.แพลตฟอร์มจัดเก็ยข้อมูล, 3.แพลตฟอร์มอุตสาหกรรม, 4.แพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์, และ 5.แพลตฟอร์มแบบลีน 
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลมีรายได้และผลกำไรจำนวนมหาศาลจากการประมวลผลข้อมูลการใช้งานของผู้บริโภคในระบบของตน แต่ยังไม่มีระบบการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม    เนื่องจากยังมีข้อถกเถียงเรื่องใครเป็นเจ้าของข้อมูลและมีสิทธิแสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นบ้าง    จึงจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้ พรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่ผลักดันออกมาในปี พ.ศ.
ทศพล ทรรศนพรรณ
แพลตฟอร์มมักเป็นระบบแบบเปิดให้ทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหา จากการที่ทำให้การเข้าถึงข้ามเขตอํานาจ ในทางกลับกัน กลับมีการกําหนดให้หน่วยงานกํากับดูแลและผู้ออกกฎหมายต้องร่วมมือกันข้ามพรมแดนแห่งชาติเพื่อประสานระบอบกฎหมายและกฎระเบียบในขณะที่จัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงประเด็นกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์ปรับปรุงเกระบวนการระงับข้อพิพาทของบรรดาผู้บริโภคในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ยืนยันว่าระบบสามารถใช้เพื่อทำการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้บริโภคจํานวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยงานระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution - ADR) ที่ได้รับการรับรองจากสาธารณะให้เป็นมากกว่ากลไกการระงับข้อพิพาทใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การสร้างความเชื่อถือให้กับผู้บริโภคจึงเป็นผลดีต่อการเติบโตของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ และการตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะทำธุรกรรมออนไลน์กับผู้ขายต่อไป ทำให้ประเทศต่าง ๆ  รวมถึงประเทศไทยให้ความสนใจและมุ่งให้เกิดการคุ้มครองอย่างจริงจังต่อปัญหาการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันใดที่ผู้คนจำนวนมากขาดความรู้ความเข้าใจต่อเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อชีวิตโดยตรง รัฐในฐานะผู้คุ้มครองสิทธิประชาชนและยังต้องทำหน้าที่กระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย จึงมีภาระหนักในการสถาปนาความ “เชื่อมั่น” ให้เกิดขึ้นในใจประชาชนที่ลังเลต่อการเข้าร่วมสังฆกรรมใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริงเป็นสื่อใหม่ในโลกยุคดิจิทัลที่แสดงด้วยภาพและเสียงสามมิติซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในโลกที่ถูกสร้างขึ้นเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นสังคม (Community) ภายในโลกเสมือนจริงที่ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ แต่มิใช่เพียงการเข้าไปรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสเพียงเท่านั้น นอก
ทศพล ทรรศนพรรณ
การทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ตมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมการเข้าร่วมสัญญาอย่างรวดเร็วสะดวกลดอุปสรรค ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตก็ด้วยไม่ต้องการเดินทางหรือไม่ต้องมีตัวกลางในการประสานความร่วมมือหรือต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับผู้รับรองสถานะของสัญญาในลักษณะตัวกลางแบบที่ต้องทำในโลกจริง ที่อาจถูกกฎหมายบังคับให้ทำตามแบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริง (Virtual World) คือสภาพแวดล้อมเสมือนซึ่งสร้างและปฏิบัติการด้วยซอฟต์แวร์ (Software) ที่อยู่ในเซิร์ฟเวอร์ (Server) ของเจ้าของแพลตฟอร์ม (Platform) สิ่งแวดล้อมเสมือนเหล่านี้ออกแบบมาให้ผู้เล่นหรือผู้ใช้โลกเสมือนจริงสามารถใช้ตัวตนเสมือนหรืออวตาร (Avatar) ในการท่องไปในโลกนั้น โดยสามารถติดต
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัลตั้งอยู่บนพื้นฐานของเสรีภาพในการแสดงออกบนโลกออนไลน์ โดยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเด็นกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเนื่องจากกฎหมายลิขสิทธิ์สามารถห้ามปรามการเผยแพร่ความคิดหรือการแสดงออกในงานสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอ้างเหตุแห่งการคุ้มครองสิทธิของปัจเจกชนอย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเฟื่องฟูของเศรษฐกิจดิจิทัลที่สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการจำนวนมหาศาลแต่นำมาซึ่งความกังขาว่า สังคมได้อะไรจากการเติบโตของบรรษัทขนาดใหญ่ผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและควบคุมแพลตฟอร์มเหล่านี้ อันเป็นที่มาของเรื่อง การจัดเก็บภาษีดิจิทัลได้กลายเป็นข้อกังวลที่สำคัญสำหรับหลาย ๆ รัฐบาล ในยุโรป เช่นใน เยอรมนี