Skip to main content

มาตรการรัดเข็มขัด (Austerity) หรือ นโยบายที่มีแนวโน้มปรับลดค่าใช้จ่ายภาครัฐหรือเพิ่มการจัดเก็บภาษีควบคู่ไปด้วย  แนวทางนี้เป็นสิ่งที่ถูกโจมตีโดยนักคิดนักวิเคราะห์สายส่งเสริมสวัสดิการสังคมและพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนมาอย่างต่อเนื่องเพราะการตัดลดงบประมาณหมายถึงการลดคุณภาพและปริมาณสวัสดิการสังคมที่แต่เดิมเคยมีให้กับประชาชน 

ในทางตรงกันข้ามกลับเป็นนโยบายที่องค์กรเศรษฐกิจข้ามชาติอย่าง IMF แนะนำให้ประเทศจำนวนมากปรับใช้ หรือบังคับเป็นเงื่อนไขแลกเปลี่ยนกับการขอกู้ยืมเงินเพื่อพยุงกองทุนสำรองระหว่างประเทศของตน พูดง่ายๆ คือ เงื่อนไขในการรับความช่วยเหลือเมื่อเศรษฐกิจประเทศกำลังล้มละลาย

หากเทียบให้เห็นคู่ตรงข้ามแบบที่คนไทยนึกภาพง่ายๆ ก็คือ เป็นนโยบายตรงกันข้ามกับ Populism หรือประชานิยมนั่นเอง แม้จะไม่ชัดเจนว่า นโยบายประชานิยมคืออะไร มีขอบเขตว่าแค่ไหนเป็นหรือไม่เป็นประชานิยม   แต่ที่รับรู้ร่วมกัน คือ นโยบายที่รัฐลงทุนไปกับการสร้างสวัสดิการ โครงการ ไปยังกลุ่มคนจำนวนหนึ่งเพื่อหวังคะแนนเสียง โดยเน้นการเอางบประมาณรัฐมาใช้จ่าย โดยบางกรณีถึงขั้นสุรุ่ยสุร่ายเรื่อยเปื่อยไร้จุดหมายว่า ทำไปแล้วจะได้อะไร
นั่นคือ เป็นการลงทุนที่ไม่อาจคาดหวังผลตอบแทนได้ชัด

ประเด็นที่ต้องขบให้แตก คือ จะลงทุนหรือใช้จ่ายภาครัฐอย่างไรให้เกิดผลตอบแทนกลับมา?

ไม่ว่าจะทำให้เกิดผลตอบแทนเป็นเงินรายได้ต่อรัฐทางตรง เช่น ลงทุนสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานจนมีการลงทุนหรือเกิดการบริโภคมากขึ้นจนจัดเก็บภาษีได้มากขึ้น   หรือการลงทุนไปกับสวัสดิการในคุณภาพชีวิตมนุษย์ทำให้พลเมืองอยู่อย่างสงบไม่ลักวิ่งชิงปล้น ก่อหวอด หรือมีสุขภาพดีจนไม่ต้องเข้าสถานพยาบาลบ่อยสิ้นเปลืองงบประมาณสาธารณสุข เป็นต้น

หากลองยกตัวอย่างประเทศที่มีลักษณะความเป็นอยู่ นิสัยใจคอ และเป็นต้นทางให้เกิดข้อถกเถียงเกี่ยวกับเรื่อง นโยบายรัดเข็มขัดและประชานิยม เห็นจะไม่พ้น ลาตินอเมริกา และเมื่อจะย้อนเกล็ดไปให้ถึงต้นตอ ก็ต้องพูดถึง อดีตเจ้าอาณานิคมสเปน นั่นเอง

ปีนี้สเปนจะมีการเลือกตั้งในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของอนาคตประเทศ นั่นคือ ดุลการเมืองกำลังจะเปลี่ยน โดยที่เศรษฐกิจของสเปนอยู่ในภาวะวิกฤตมาครึ่งศตวรรษแล้ว เมื่อปี 2011-12 เกิดการชุมนุมใหญ่ทั่วสเปนโดยกลุ่มคนรุ่นใหม่นักศึกษาที่ว่างงานสืบเนื่องมาจากนโยบายรัดเข็มขัด

จนนำไปสู่กระแสถกเถียงในสังคมว่า วิกฤตเศรษฐกิจของประเทศเกิดจากอะไรกันแน่ เกิดจากการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยไร้วินัย หรือความด้อยประโยชน์ของพรรคการเมืองของชนชั้นนำที่ไม่สร้างนโยบายมาแก้ปัญหาเอาแต่รักษาผลประโยชน์ของชนชั้นตนเอง  ซึ่งไปสอดคล้องกับกระแสต่อต้านการผูกขาดอำนาจของผู้มั่งคั่งเพียง 1% ในอเมริกา จนสร้างกระแส Occupy โดยเหล่านักสู้นิรนาม Annonymous ไปทั่วโลก

อย่างไรก็ดีการเลือกตั้งของชาติยุโรปในระยะหลังเริ่มเห็นความเสื่อมถอยของพรรคฝ่ายซ้ายที่เน้นนโยบายลงทุนกับคุณภาพชีวิตหรือส่งเสริมสวัสดิการต่างๆของประชาชน อย่างล่าสุดพรรคแรงงานอังกฤษก็พ่ายแพ้ไปเช่นกัน มีเพียงกรีซที่รับทราบกันดีว่าสถานการณ์ล่วงเลยจุดปกติไปแล้ว ประชาชนเริ่มทนไม่ไหวกับภาวะรัดเข็มขัดจนเกิดคนว่างงาน ไร้บ้าน เร่ร่อนจำนวนมาก จนเกิดกระแสหวนกลับทำให้พรรคซ้ายจัดกลับมามีชัยชนะและกำลังงัดข้อกับประเทศร่ำรวยของยุโรปอยู่ในขณะนี้ ว่าจะรับเงินพยุงเศรษฐกิจแลกกับเงื่อนไขรัดเข็มขัดและวินัยการเงินอีกหรือไม่

สเปนก็ไม่ต่างจากประเทศอื่นในยุโรปนัก คือ พรรคฝ่ายซ้ายอ่อนแรงและประชาชนเสื่อมศรัทธาในพรรคลงไปมาก  จนในขณะนี้เกิดพรรคใหม่ที่ชื่อว่า “เราทำได้” (Podemos) ของคนรุ่นใหม่และคนที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายรัดเข็มขัดขึ้นมา ด้วยเหตุที่พรรคการเมือง ทั้งขั้ว ซ้าย-ขวา ของสเปนวิกฤต กล่าวคือ แนวโน้มนโยบายพรรคทั้งสองขั้วแทบไม่ต่างกัน และนับวันพรรคกับประชาชนยิ่งห่างกัน มวลชนรู้สึกไม่ได้รับการตอบสนองจากพรรค คนสเปนทั่วไปรู้สึกว่า นักการเมืองทั้งสองขั้วมีลักษณะเป็นเจ้าขุนมูลนาย มีการสืบทอดทายาท ฯลฯ

ความล้มเหลวของ พรรคซ้ายและขวา ของสเปน ทำให้คนเบื่อหน่าย จึงถวิลหา "พรรคทางเลือกที่สาม"

อนึ่งต้องเข้าใจว่า คนยุโรปใต้นี่จะสนใจประเด็น ความเหลื่อมล้ำ นายทุน คนรวย ศักดินา ทุนผูกขาด ต่อต้านเผด็จการฟาสซิสต์มาก   พรรคที่เน้นตอบสนองมวลชนอย่าง Podemos เลยมาถูกที่ถูกเวลา

ย้อนกลับไปตอบคำถามข้างต้น คือ แล้วการใช้งบประมาณภาครัฐอย่างไรล่ะจึงจะเป็นที่พอใจของประชาชน และไม่ทำให้ประเทศล่มสลายไปด้วย

ประชาชนต้องการให้พรรคลดการใช้จ่ายที่ไม่มีประสิทธิภาพ เช่น การใช้เงินในการคงระบบราชการขนาดใหญ่ที่ประชาชนรู้สึกไร้ประสิทธิภาพ ล่าช้า แม้จะจ้างคนเยอะก็ตาม   การใช้จ่ายด้านการทหาร ฯลฯ

รวมไปถึงการสมยอมกันระหว่างนักการเมืองและแกนนำสหภาพแรงงานเรื่องขยายอายุเกษียณ อันเป็นเหตุให้คนรุ่นใหม่ยิ่งหางานทำยากขึ้นไปอีก

ในระดับท้องถิ่น ก็วิจารณ์ การนำเงินมาจัดงานเทศกาลต่างๆ ที่ทำให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยหรือดึงดูดนักท่องเที่ยวก็จริง แต่ก็ดูเหมือนไม่ได้ประโยชน์กับคนนอกภาคธุรกิจท่องเที่ยว  

สิ่งที่ประชาชนต้องการ คือ การลงทุนเพื่อสร้างงานใหม่ การคงหลักประกันสุขภาพ หรือสวัสดิการเมื่อว่างงานหรือพ้นวัยทำงาน นั่นก็คือ การลงทุนไปที่การขยายโอกาสทางการผลิต การบริการ มากกว่าอุดหนุนภาคราชการ

การใช้จ่ายภาครัฐไม่ผิด อยู่ที่ว่าจะลงทุนไปกับอะไร ให้ใคร แล้วจะได้ผลลัพธ์อย่างไรต่างหาก

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
Nick Srnicek ได้สรุปภาพรวมของแพลตฟอร์มดิจิทัลที่แตกต่างกัน 5 ประเภท คือ1.แพลตฟอร์มโฆษณา, 2.แพลตฟอร์มจัดเก็ยข้อมูล, 3.แพลตฟอร์มอุตสาหกรรม, 4.แพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์, และ 5.แพลตฟอร์มแบบลีน 
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลมีรายได้และผลกำไรจำนวนมหาศาลจากการประมวลผลข้อมูลการใช้งานของผู้บริโภคในระบบของตน แต่ยังไม่มีระบบการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม    เนื่องจากยังมีข้อถกเถียงเรื่องใครเป็นเจ้าของข้อมูลและมีสิทธิแสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นบ้าง    จึงจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้ พรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่ผลักดันออกมาในปี พ.ศ.
ทศพล ทรรศนพรรณ
แพลตฟอร์มมักเป็นระบบแบบเปิดให้ทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหา จากการที่ทำให้การเข้าถึงข้ามเขตอํานาจ ในทางกลับกัน กลับมีการกําหนดให้หน่วยงานกํากับดูแลและผู้ออกกฎหมายต้องร่วมมือกันข้ามพรมแดนแห่งชาติเพื่อประสานระบอบกฎหมายและกฎระเบียบในขณะที่จัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงประเด็นกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์ปรับปรุงเกระบวนการระงับข้อพิพาทของบรรดาผู้บริโภคในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ยืนยันว่าระบบสามารถใช้เพื่อทำการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้บริโภคจํานวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยงานระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution - ADR) ที่ได้รับการรับรองจากสาธารณะให้เป็นมากกว่ากลไกการระงับข้อพิพาทใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การสร้างความเชื่อถือให้กับผู้บริโภคจึงเป็นผลดีต่อการเติบโตของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ และการตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะทำธุรกรรมออนไลน์กับผู้ขายต่อไป ทำให้ประเทศต่าง ๆ  รวมถึงประเทศไทยให้ความสนใจและมุ่งให้เกิดการคุ้มครองอย่างจริงจังต่อปัญหาการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันใดที่ผู้คนจำนวนมากขาดความรู้ความเข้าใจต่อเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อชีวิตโดยตรง รัฐในฐานะผู้คุ้มครองสิทธิประชาชนและยังต้องทำหน้าที่กระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย จึงมีภาระหนักในการสถาปนาความ “เชื่อมั่น” ให้เกิดขึ้นในใจประชาชนที่ลังเลต่อการเข้าร่วมสังฆกรรมใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริงเป็นสื่อใหม่ในโลกยุคดิจิทัลที่แสดงด้วยภาพและเสียงสามมิติซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในโลกที่ถูกสร้างขึ้นเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นสังคม (Community) ภายในโลกเสมือนจริงที่ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ แต่มิใช่เพียงการเข้าไปรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสเพียงเท่านั้น นอก
ทศพล ทรรศนพรรณ
การทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ตมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมการเข้าร่วมสัญญาอย่างรวดเร็วสะดวกลดอุปสรรค ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตก็ด้วยไม่ต้องการเดินทางหรือไม่ต้องมีตัวกลางในการประสานความร่วมมือหรือต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับผู้รับรองสถานะของสัญญาในลักษณะตัวกลางแบบที่ต้องทำในโลกจริง ที่อาจถูกกฎหมายบังคับให้ทำตามแบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริง (Virtual World) คือสภาพแวดล้อมเสมือนซึ่งสร้างและปฏิบัติการด้วยซอฟต์แวร์ (Software) ที่อยู่ในเซิร์ฟเวอร์ (Server) ของเจ้าของแพลตฟอร์ม (Platform) สิ่งแวดล้อมเสมือนเหล่านี้ออกแบบมาให้ผู้เล่นหรือผู้ใช้โลกเสมือนจริงสามารถใช้ตัวตนเสมือนหรืออวตาร (Avatar) ในการท่องไปในโลกนั้น โดยสามารถติดต
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัลตั้งอยู่บนพื้นฐานของเสรีภาพในการแสดงออกบนโลกออนไลน์ โดยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเด็นกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเนื่องจากกฎหมายลิขสิทธิ์สามารถห้ามปรามการเผยแพร่ความคิดหรือการแสดงออกในงานสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอ้างเหตุแห่งการคุ้มครองสิทธิของปัจเจกชนอย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเฟื่องฟูของเศรษฐกิจดิจิทัลที่สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการจำนวนมหาศาลแต่นำมาซึ่งความกังขาว่า สังคมได้อะไรจากการเติบโตของบรรษัทขนาดใหญ่ผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและควบคุมแพลตฟอร์มเหล่านี้ อันเป็นที่มาของเรื่อง การจัดเก็บภาษีดิจิทัลได้กลายเป็นข้อกังวลที่สำคัญสำหรับหลาย ๆ รัฐบาล ในยุโรป เช่นใน เยอรมนี