Skip to main content

การรวมกลุ่มประเทศในระดับภูมิภาคเพื่อสร้างนโยบาย หรือกฎหมายร่วมกันของรัฐสมาชิก ตั้งอยู่บนหลักความสมัครใจเข้าร่วมของรัฐ โดยส่วนใหญ่ยึดถือเจตจำนงของรัฐเป็นสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด   เนื่องจากรัฐทั้งหลายที่เข้ารวมกลุ่มนั้นย่อมีความหวังที่จะบรรลุเป้าหมายความเจริญก้าวหน้า และประโยชน์ของรัฐตนเป็นที่ตั้ง  หลักการสำคัญที่สะท้อนให้เห็นในบางภูมิภาค คือ กิจกรรมใดที่จะผูกพันหรือบีบบังคับให้รัฐต้องยอมตามมติ หรือความเห็นของ ภูมิภาค จะกระทำไม่ได้ถ้าปราศจากความเห็นชอบของรัฐเสียก่อน

            การรวมกลุ่มประเทศในภูมิภาคอาเซียนได้ยึด “หลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในรัฐ” นี้เป็นที่ตั้งเสมอมานับตั้งแต่วันแรกที่เริ่มตกลงเข้าสร้างความสัมพันธ์กัน   นักกฎหมายระหว่างประเทศและนักการทูตทั้งหลายจึงมักมองภูมิภาคอาเซียนว่าเป็น การรวมกลุ่มทางการทูต เสียมากกว่าการรวมกลุ่มประเทศในระดับภูมิภาคที่มีกฎหมายผูกพันให้รัฐต้องปฏิบัติตามข้อผูกพันและหลักการสำคัญบางประการ แม้รัฐหรือรัฐบาลของรัฐนั้นไม่ยินยอมก็ตาม

            หากลองเทียบเคียงกับภูมิภาคยุโรปซึ่งเป็นต้นแบบสำคัญในการยกระดับการรวมกลุ่มของรัฐเป็นภูมิภาค(การรวมกลุ่มในทุกภูมิภาคล้วนได้รับอิทธิพลมาจาการรวมกลุ่มของภูมิภาคยุโรปนับจากหลังสงครามโลกครั้งที่ 2) ก็จะเห็นความแตกต่างที่สำคัญอยู่สองประการ คือ 1. การสร้างความสำพันธ์ระหว่างรัฐโดยใช้กฎหมายเป็นกรอบความสัมพันธ์หลัก 2. พัฒนาการทางวัฒนธรรมที่มุ่งสร้างภราดรภาพระหว่างประชาชนในภูมิภาคมากกว่ายึดติดเกียรติยศศักดิ์ศรีแบบ “ชาตินิยมเหนือสิ่งอื่นใด” (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน บทความของผู้เขียนที่เคยตีพิมพ์ใน นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 4 ก.พ. 2553 หน้า 11 เรื่องการจัดการความขัดแย้งระดับภูมิภาค: จากผลประโยชน์รัฐ สู่ ผลประโยชน์ร่วม)

  1. นโยบายของภูมิภาคยุโรปตั้งอยู่บนฐานจิตสำนึกที่สำคัญประการหนึ่ง คือ   “การยึดถือกฎหมายเป็นใหญ่”   หรือนิติรัฐ(นิติภูมิภาค) นั่นเอง   หากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นระหว่างรัฐสมาชิกจำต้องมีการแสวงหาข้อยุติโดยกระบวนการทางกฎหมาย   อาทิ   การเริ่มต้นด้วยการสร้างพันธะระหว่างรัฐด้วยสนธิสัญญา   การสร้างสภายุโรปเพื่อออกกฎหมายระดับภูมิภาค   การสร้างคณะกรรมการบริหารงานเพื่อบังคับใช้กฎหมายของสหภาพยุโรป   รวมถึงการมีองค์กรชี้ขาดข้อพิพาทต่างๆ   ทั้งนี้ยังมีการบังคับให้ทุกประเทศที่เข้าร่วมต้องรับเอาปฏิญญาสิทธิมนุษยชนยุโรปและรับเขตอำนาจศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปด้วย   ทำให้ข้อพิพาทใดที่เกิดขึ้นมีแนวทางในการแสวงหาจุดร่วมสงวนจุดต่าง โดยอาศัยกติกาที่ประเทศต่างๆมีส่วนร่วมกำหนดมาบังคับใช้ หรือเป็นแนวทางปฏิบัติต่อไป   รวมถึงกรณีที่ภูมิภาคและรัฐต่างๆเห็นว่า รัฐใดละเมิดสิทธิของประชาชนมีลักษณะฝ่าฝืนกฎหมายของภูมิภาค เช่น กฎบัตรสิทธิมนุษยชน   ภูมิภาคก็จะมีบทบาทเข้าแก้ไข หรือเยียวยาความเสียหายให้กับประชาชนด้วย
  2. วัฒนธรรมการระงับข้อพิพาทโดยอ้างอิงกฎหมายถือเป็นการตกผลึกของอารยธรรมตะวันตกที่ผ่านการต่อสู้ช่วงชิงตลอดระยะเวลานับพันปี ไม่ว่าจะเป็นการทำสงครามระหว่างรัฐ สงครามกลางเมือง สงครามปลดแอกหรือสงครามปฏิวัติ   การทำสงครามเป็นจำนวนมากและมีผลกระทบมหาศาลนี้เองได้สร้างบทเรียนคอยย้ำเตือนให้ประชาชนชาวยุโรปตระหนักถึงคุณค่าของสันติภาพ จนอาจจะมากเสียกว่าความภาคภูมิใจในชาติหรือรัฐของตนแบบสุดลิ่มทิ่มประตู   ยิ่งไปกว่านั้นชนชั้นปกครองของยุโรปก็ต้องควบคุมการใช้อำนาจของตนให้มุ่งไปสู่ความร่วมมือ มากกว่าการทำลาย เนื่องจนประชาชนของตนตระหนักรู้และเพรียกหาความมั่นคงในสิทธิเสรีภาพ จนสามารถตรวจสอบควบคุมตัวแทนของตนได้อย่างเข้มแข็ง   หากมีกรณีที่ภูมิภาคและรัฐต่างๆเห็นว่า รัฐใดละเมิดสิทธิของประชาชนจนมีลักษณะกระทบต่อสันติภาพของภูมิภาค เช่น การละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง   ภูมิภาคก็จะมีบทบาทเข้าแก้ไข หรือเยียวยาความเสียหายให้กับประชาชนด้วย

อย่างไรก็ดีสิ่งสำคัญที่ประชาชนในภูมิภาคอาเซียนอย่างเราๆท่านๆจะต้องร่วมกันตัดสินใจต่อไป คือ เราจะยังคงมีการคงนโยบายไม่แทรกแซงกิจการภายในรัฐสมาชิกประชาคมอาเซียนต่อไป หรือลดความเข้มข้นของหลักการนี้เพื่อนำไปสู่การรวมกลุ่มอย่างเป็นเอกภาพและมีสภาพบังคับในทางกฎหมายให้เกิดการดำเนินการเพื่อผลประโยชน์ร่วมของภูมิภาค   เพราะหากเราเลือกที่จะมุ่งสู่การรวมกลุ่มอย่างจริงจังประเด็นสำคัญๆในการรวมกลุ่มจะต้องมีสภาพบังคับทางกฎหมายมากขึ้น อาทิ เศรษฐกิจเสรีและเป็นธรรมมากขึ้น การแก้ไขปัญหาสิทธิมนุษยชนร้ายแรงมิให้กระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของสังคม เป็นต้น

            ความซับซ้อนซ่อนเงื่อน จึงอยู่ที่ว่า   เรามองผลประโยชน์ร่วมของใครเป็นสำคัญ ระหว่าง ผลประโยชน์ของประชาชน(ชนชั้นกลางไปจนถึงชนชั้นล่าง) หรือ ผลประโยชน์ของผู้ปกครองหรือกลุ่มผลประโยชน์ที่มีอิทธิพลต่อผู้ปกครอง (ชนชั้นนำทางการเมืองและเศรษฐกิจ)

            หากมองประเด็นสำคัญที่มุ่งผลักดัน และไม่ผลักดันในภูมิภาคอาเซียนจะเห็นถึง นโยบายที่มุ่งผลักดันอย่างชัดเจนของ ผู้ปกครองหรือกลุ่มผลประโยชน์ที่มีอิทธิพลต่อผู้ปกครอง   อาทิ   การเปิดตลาดการค้าเสรีที่มากขึ้นโดยไม่พูดถึงเรื่องความเป็นธรรมในการแข่งขันของธุรกิจท้องถิ่นและผู้ประกอบการรายย่อยมากนัก   การปิดประตูประเทศไม่ให้ก้าวก่ายเรื่องการเมืองเมื่อมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนภายในรัฐโดยหยิบหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในเป็นข้ออ้าง

            กฎบัตรอาเซียน แม้เป็นเอกสารทางกฎหมายที่สำคัญของภูมิภาคอาเซียน และได้กล่าวถึงความเป็นธรรมในการพัฒนา และส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในภูมิภาค   แต่ก็ไม่สามารถก้าวข้ามอุปสรรคเรื่องการห้ามแทรกแซงกิจการภายในโดยเฉพาะเรื่องการเมือง แม้ให้มีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนอาเซียน แต่ก็ไม่สามารถบีบบังคับรัฐให้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด  ดังปรากฏในเหตุการณ์ความรุนแรงภายในรัฐไทย

            ประชาชนชาวไทยในฐานะ พลเมืองอาเซียน จะได้ประโยชน์อย่างไร หากผู้นำยังคงหลักไม่แทรกแซงกิจการภายในสืบไปเช่นนี้   หรือคนที่จะได้ประโยชน์จริงๆเป็นเพียง ผู้ปกครอง/กลุ่มผลประโยชน์

เขียนโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้มีน้องคนหนึ่งนำเรื่องแปลกมากเล่าให้ฟัง เหตุการณ์ก็มีดังนี้ครับ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องสุดท้ายของบริการด้านสื่อสารแล้วนะครับ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกบ้านแน่ๆ เพราะเดี๋ยวนี้เรามีอินเตอร์เน็ตใช้ที่บ้านกันแล้วแทบทุกหลังเพราะมันทำให้เราสามารถทำงานหรือพักผ่อนที่บ้านได้โดยไม่ต้องเดินทางออกไปนั่งทำงานที่อื่นหรือเสียเงินออกไปซื้อความบันเทิงนอกบ้าน   หนูก็ชอบดูซีรี่ส์แล
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อมาผมคิดว่าหลายท่านคงเคยหงุดหงิดอารมณ์เสียกับรถที่ดันมาพังเอาตอนที่เรารีบเร่งจะต้องใช้งานใช่ไหมครับ ที่แย่ไปกว่านั้น คือ เราขับได้แต่ซ่อมไม่เป็นต้องเข็นไปเข้าอู่ซึ่งก็ไม่รู้ว่าที่ไหนดีไม่ดี มีฝีมือน่าเชื่อถือจริงรึเปล่า เพราะเราก็ไม่มีความรู้ด้านเครื่องยนต์กลไกและช่วงล่างใดๆทั้งสิ้น ผู้ชา
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้หลายท่านอาจจะเคยเจอปัญหาเดียวกัน หรือเคยได้ยินตามข่าวคราวที่ออกมาหลายครั้งนะครับ เพราะว่าปัจจุบันศูนย์ออกกำลังกายหรือฟิตเนสเซ็นเตอร์เป็นที่นิยมมาก ก็เพราะเราอยากมีร่างกายแข็งแรง รูปร่างสวยงาม เปล่งปลั่งมาจากภายในแต่ไม่มีเวลาไปออกกำลังกายในที่โล่งแจ้งเพราะไม่ตรงกับเวลาว่าง ก็มักจะเข้าฟิตเ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องยุ่งๆ เกิดจากการไม่ได้รับความเป็นธรรมตามเงื่อนไขการสมัครเป็นสมาชิกของบริษัทจำกัดแห่งหนึ่ง ซึ่งได้เข้ามาชักชวนคนในพื้นที่ให้เข้าร่วมทำสัญญาประกันชีวิตแต่ไม่ได้ทำตามเงื่อนไขของสัญญาที่มาเล่าปากเปล่าและมีการปิดบังซ่อนเร้น เพิ่มเติมเงื่อนไขบางอย่าง เมื่อผู้เอาประกันตาย ญาติ ลูกหลานไปร้องขอรับปร
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังเป็นกรณีที่เกี่ยวกับความเสียหายที่เกิดจากการกระทำของผู้อื่นที่อาจมาเคาะประตูบ้านเราได้ทั้งที่เราก็อยู่เฉยๆในบ้านไม่ได้ออกไปทำอะไรเสี่ยงภัย  แต่กลับประสบภัยจากความประมาทเลินเล่ออย่างรายแรงของผู้อื่น  ลองไปฟังเคราะห์หามยามซวยของน้องคนหนึ่งที่หวังจะใช้กฎหมายเป็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
ป้าคนหนึ่งเข้ามาปรึกษาว่าไปโรงพยาบาลรัฐแถวบ้านซึ่งตนมีชื่อเป็นคนใช้สิทธิบัตรทองอยู่ที่นั่น แต่ด้วยความที่ป้าได้รับบัตรมานานมากแล้ว และเมื่อสองปีก่อนได้มีการก่อสร้างและซ่อมบ้านทำให้ต้องโยกย้ายข้าวของออกจากบ้านก่อนจะกลับเข้าไปอยู่อีกครั้งเมื่อซ่อมแซมเสร็จ ทำให้บัตรที่เก็บไว้สูญหายไปเมื่อไหร่ก็ไม่ทร
ทศพล ทรรศนพรรณ
สิ่งที่ขับเคลื่อนโลก คือ เทคโนโลยี การทหาร การค้า และการแพร่ความคิด ความเชื่อ ศาสนา
ทศพล ทรรศนพรรณ
กฎหมาย เขียนด้วยคน บังคับด้วยคน และก็เป็นการควบคุมพฤติกรรมของคน   จึงมีคนสงสัยว่า แล้วอย่างนี้จะมีกฎหมายสิ่งแวดล้อมไปทำไมในเมื่อไปบังคับ ดิน ฟ้า อากาศ หรือน้ำ ไม่ได้  
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ผมได้ใช้เวลาวนเวียนอยู่กับการทำวิจัยเกี่ยวกับกฎหมายมาโดยตลอด ตั้งแต่ตอนเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาโท
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจากคำทำนายในบทความ “รัฐเผด็จการ กับ การล้วงตับ” ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ (http://blogazine.in.th/blogs/streetlawyer/post/4833) จึงเป็นเวลาอันสมควรที่ประชาชนและสังคมไทยต้องร่วมกันต่อต้าน ชุดกฎหมายความมั่นคงโดยเฉพาะ พรบ.ความมั่นคงไซเบอร์ ที่มีเนื้อหาจำนวนมากขัดกับ หลักกฎหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ทศพล ทรรศนพรรณ
“ความซวยไม่เข้าใครออกใคร” รถหาย โดนเบี้ยวหนี้ ชนแล้วหนีไม่มีใครรับผิดชอบเด็กในท้อง ไปจนถึงเรื่องเงินๆ ทองๆ ที่ถ้าลองได้เกิดขึ้นในหมู่คนรู้จัก ก็มักจบลงด้วยการตัดญาติขาดมิตร ไม่เผาผีกัน คงเป็นสิ่งที่ได้ยินไม่เว้นแต่ละวันใช่ไหม