Skip to main content

การใช้กำลังเข้าประหัตประหารกันของมนุษย์ปรากฏอยู่อย่างต่อเนื่องยาวนานควบคู่กับทุกสังคม   แต่ก็มีหลายอารยธรรมพยายามสร้างขอบเขตและแนวทางในการควบคุมความเสียหายของการใช้กำลังมิให้กระทบกระเทือนชีวิตผู้คน ทรัพย์สิน และสังคม มากเกินกว่าจะธำรงเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ไว้ได้

            หลักการสำคัญของกฎหมายสงครามที่รัฐไทยต้องผูกพันตามพันธกรณีระหว่างประเทศมีอยู่ 2 ประการสำคัญ คือ การแบ่งแยกเป้าหมายทางการทหารออกจากเป้าหมายพลเรือน   การโจมตีเป้าหมายที่มีความจำเป็นทางการทหารเท่านั้น

            หากแต่หลักการตามกฎหมายสงครามนั้นจะนำมาใช้กับความขัดแย้งที่มีลักษณะขัดกันอย่างร้ายแรง ไม่ว่าจะเป็น การทำสงครามระหว่างรัฐ หรือสงครามภายในประเทศที่มีลักษณะนำไปสู่การแบ่งแยกประเทศ หรือสงครามภายในที่มีคู่ขัดแย้งเป็นกองกำลังที่ชัดเจน   เพราะฉะนั้นกองกำลังที่ขัดกับรัฐต้องมีสถานะตามกฎหมายสงครามก่อน จึงจะถือเป็นการปะทะกันตามกฎหมายสงคราม

          หลักการได้สถานะเป็นกองกำลังที่เข้าตามลักษณะกฎหมายสงคราม มีดังต่อไปนี้  เป็นกองกำลังติดอาวุธที่มีความสามารถในการบังคับบัญชา   กองกำลังสามารถควบคุมพื้นที่ของตนได้   กองกำลังต้องสามารถกำหนดสถานะของตนเองได้ชัดเจน   และหากกองกำลังนั้นจะนำไปสู่การแบ่งแยกดินแดน หรือที่เรียกกันว่า “การกำหนดอนาคตตนเอง” เพื่อตั้งรัฐใหม่นั้น จะต้องมีเงื่อนไขที่สำคัญอีกประการ คือ ต้องเป็นตัวแทนของประชาชนในพื้นที่ของตนเอง

            ความขัดแย้งภายในประเทศไทยที่มีการกล่าวอ้างว่าเป็น “สงครามกลางเมืองนั้น” ยังไม่เข้าลักษณะตาม กฎหมายสงครามระหว่างประเทศก็จริง   แต่ก็อาจนำหลักการใช้กำลังปะทะ “Rule of Engagement” มาเทียบเคียงใช้ได้บางส่วน   ทั้งนี้ต้องมีการใช้หลัก “นิติธรรม” เป็นกรอบการควบคุมการใช้อำนาจ และกำลังมิให้นำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ประชาชนทุกคนพึงมีตลอดเวลาไม่ว่ายามสงคราม หรือยามสงบ

  1. การแบ่งแยกเป้าหมายทางการทหารออกจากเป้าหมายพลเรือน   หลักการนี้มุ่งปกป้องพลเรือนซึ่งถือเป็นประชาชนธรรมดามิให้ได้รับผลกระทบจากการใช้กำลังเข้าปะทะกันของกองกำลังทั้งสอง   ไม่ว่าจะเป็นการ ห้ามโจมตีเป้าหมายพลเรือน เช่น บ้านเรือน เส้นทางคมนาคม สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน หรือทำร้ายชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน   ห้ามใช้อาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างกว้างขวางไม่อาจจำกัดผลได้ เช่น การใช้ระเบิดที่มีสะเก็ดกระจายในวงกว้าง กับระเบิดสังหาร กระสุนที่แตกกระจาย หรือการใช้เครื่องบินโปรยสารพิษทางอากาศ   เป็นต้น   ทั้งนี้ก็เพื่อให้มีการจำกัดวงความเสียหายเพียงเป้าหมายทางการรบ แต่ไม่กระทบสิทธิของประชาชน
  2. การโจมตีที่มีความจำเป็นทางการทหารเท่านั้น   หลักการนี้มุ่งลดความเสียหายที่มีต่อชีวิตและทรัพย์สินทั้งของประชาชน และ”พลรบ”   เพราะสุดท้าย “คนเหมือนกัน” ที่ต้อง ตาย และได้รับความเสียหายจากการใช้กำลังปะทะกัน   ไม่ว่าจะเป็น “พลเรือน” หรือ “พลรบ” ก็ตาม   อาทิ   การโจมตีเป้าหมายที่จะทำให้เกิดความได้เปรียบทางยุทธศาสตร์เท่านั้น เช่น ยิงยุทโธปกรณ์ และผู้ที่จับอาวุธเข้าปะทะกัน ไม่ทำลายทหาร หรือกองกำลังที่พักรบ บาดเจ็บอยู่ หรือโรงพยาบาล รถลำเลียงผู้บาดเจ็บ   การไม่ใช้อาวุธที่ทำให้เกิดการทำลายร้างรุนแรง เช่น ระเบิดเพลิงที่แผดเผาร่างกายทรัพย์สิน อาวุธชีวภาพหรือกัมมันตรังสีที่ตกค้างยาวนาน การใช้กระสุนบดขยี้เนื้อหรือทำลายอวัยวะอย่างรุนแรง   เป็นต้น   ทั้งนี้ก็เพื่อให้มีการจำกัดวงความเสียหายมิให้รุนแรงเกินกว่าจะเยียวยาสิทธิของประชาชน และทหารทั้งหลายได้ 

เป้าหมาย ของกฎหมายสงคราม ก็คือ การรักษามนุษยธรรมที่มนุษย์พึงมีต่อกันแม้จะขัดแย้งกัน   เนื่องจากสุดท้ายแล้วไม่มีใครชนะเด็ดขาด และเสมอไป   จึงต้องรักษาความเป็นคนไว้เพื่อเปิดช่องทางให้รื้อฟื้นความสัมพันธ์เพื่อสร้างสันติภาพต่อไปภายหลัง

ส่วนมาตรการ “หนักไปหาเบา” ที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลซึ่งถูกกล่าวถึงในคำพิพากษาศาลแพ่งเกี่ยวกับแนวทางจัดการการชุมนุมให้คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนนั้นก็ต้องสอดคล้องกับหลักการข้างต้น ทั้งเรื่องแบ่งแยกเป้าหมายยุทธศาสตร์ที่ต้องจัดการ ออกจากประชาชนผู้บริสุทธิ์   รวมถึงการพยายามลดความเสียหายให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้

แนวทางการจัดการกับการชุมนุมที่ปรากฏในต่างประเทศมีลักษณะไล่ระดับไป “จากเบาไปหาหนัก” นั้น อาจนำมาเทียบเคียง ปรับใช้กับการชุมนุมในประเทศไทยได้หลายประการ   ดังมีขั้นตอนต่อไปนี้

  • การจำกัดจำนวนคนที่จะเข้าร่วมชุมนุมรายใหม่ มิให้เข้าร่วมการชุมนุมได้ง่าย 
  • การเปิดโอกาสให้ผู้ชุมนุมเก่าออกไปเสมอ โดยไม่มีการขู่ว่าจะใช้กำลังสลายที่จะยิ่งปลุกเร้าอารมณ์
  • การปิดห้องน้ำ และสาธารณูปโภคภายในการชุมนุมแต่จัดให้มีนอกเขตการชุมนุมอย่างสะดวก  
  • การห้ามลำเลียงอาหารน้ำดื่มเข้าสู่บริเวณการชุมนุม แต่จัดให้มีมากมายรอบการชุมนุม  
  • การใช้กระบวนการทางจิตวิทยาเกลี้ยกล่อมโดยญาติพี่น้อง   มิใช่เพียงให้ข้อมูลผ่านสื่อของรัฐ
  • การใช้น้ำสีฉีดสลายการชุมนุม เพื่อให้สีติดผู้ชุมนุมสลายตัวออกไป   และอาจจับกุมตัวได้ภายหลัง
  • การใช้เสียง หรือเทคโนโลยีอื่นๆ เพื่อก่อกวนโสตประสาท และการดำรงชีวิตในที่ชุมนุม  
  • ก่อนที่จะไปถึงการสลายการชุมนุมโดยใช้กำลัง อาทิ แก๊ซน้ำตา หรือใช้กำลังคนผลักดัน จับกุม

ขั้นตอน การใช้กำลังสลายการชุมนุมนี้เองที่อาจปรับเอาแนวทางการใช้กำลังของกฎหมายสงครามมาใช้ได้ในเชิงวิธีการที่รัฐจะใช้สลายการชุมนุม

            หลักการใหญ่ที่สำคัญกว่า คือ “หลักนิติธรรม” ซึ่งไม่ว่าจะเป็นกฎหมายสงคราม หรือกฎหมายอื่นๆ ที่ย้ำเสมอว่าหากรัฐจะใช้อำนาจนั้นจะต้องเป็นไปโดยชอบธรรม กล่าวคือ คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างเสมอภาค ไม่เลือกประติบัติกับคนกลุ่มใดทั้งสิ้น

 

เขียนโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้มีน้องคนหนึ่งนำเรื่องแปลกมากเล่าให้ฟัง เหตุการณ์ก็มีดังนี้ครับ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องสุดท้ายของบริการด้านสื่อสารแล้วนะครับ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกบ้านแน่ๆ เพราะเดี๋ยวนี้เรามีอินเตอร์เน็ตใช้ที่บ้านกันแล้วแทบทุกหลังเพราะมันทำให้เราสามารถทำงานหรือพักผ่อนที่บ้านได้โดยไม่ต้องเดินทางออกไปนั่งทำงานที่อื่นหรือเสียเงินออกไปซื้อความบันเทิงนอกบ้าน   หนูก็ชอบดูซีรี่ส์แล
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อมาผมคิดว่าหลายท่านคงเคยหงุดหงิดอารมณ์เสียกับรถที่ดันมาพังเอาตอนที่เรารีบเร่งจะต้องใช้งานใช่ไหมครับ ที่แย่ไปกว่านั้น คือ เราขับได้แต่ซ่อมไม่เป็นต้องเข็นไปเข้าอู่ซึ่งก็ไม่รู้ว่าที่ไหนดีไม่ดี มีฝีมือน่าเชื่อถือจริงรึเปล่า เพราะเราก็ไม่มีความรู้ด้านเครื่องยนต์กลไกและช่วงล่างใดๆทั้งสิ้น ผู้ชา
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้หลายท่านอาจจะเคยเจอปัญหาเดียวกัน หรือเคยได้ยินตามข่าวคราวที่ออกมาหลายครั้งนะครับ เพราะว่าปัจจุบันศูนย์ออกกำลังกายหรือฟิตเนสเซ็นเตอร์เป็นที่นิยมมาก ก็เพราะเราอยากมีร่างกายแข็งแรง รูปร่างสวยงาม เปล่งปลั่งมาจากภายในแต่ไม่มีเวลาไปออกกำลังกายในที่โล่งแจ้งเพราะไม่ตรงกับเวลาว่าง ก็มักจะเข้าฟิตเ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องยุ่งๆ เกิดจากการไม่ได้รับความเป็นธรรมตามเงื่อนไขการสมัครเป็นสมาชิกของบริษัทจำกัดแห่งหนึ่ง ซึ่งได้เข้ามาชักชวนคนในพื้นที่ให้เข้าร่วมทำสัญญาประกันชีวิตแต่ไม่ได้ทำตามเงื่อนไขของสัญญาที่มาเล่าปากเปล่าและมีการปิดบังซ่อนเร้น เพิ่มเติมเงื่อนไขบางอย่าง เมื่อผู้เอาประกันตาย ญาติ ลูกหลานไปร้องขอรับปร
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังเป็นกรณีที่เกี่ยวกับความเสียหายที่เกิดจากการกระทำของผู้อื่นที่อาจมาเคาะประตูบ้านเราได้ทั้งที่เราก็อยู่เฉยๆในบ้านไม่ได้ออกไปทำอะไรเสี่ยงภัย  แต่กลับประสบภัยจากความประมาทเลินเล่ออย่างรายแรงของผู้อื่น  ลองไปฟังเคราะห์หามยามซวยของน้องคนหนึ่งที่หวังจะใช้กฎหมายเป็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
ป้าคนหนึ่งเข้ามาปรึกษาว่าไปโรงพยาบาลรัฐแถวบ้านซึ่งตนมีชื่อเป็นคนใช้สิทธิบัตรทองอยู่ที่นั่น แต่ด้วยความที่ป้าได้รับบัตรมานานมากแล้ว และเมื่อสองปีก่อนได้มีการก่อสร้างและซ่อมบ้านทำให้ต้องโยกย้ายข้าวของออกจากบ้านก่อนจะกลับเข้าไปอยู่อีกครั้งเมื่อซ่อมแซมเสร็จ ทำให้บัตรที่เก็บไว้สูญหายไปเมื่อไหร่ก็ไม่ทร
ทศพล ทรรศนพรรณ
สิ่งที่ขับเคลื่อนโลก คือ เทคโนโลยี การทหาร การค้า และการแพร่ความคิด ความเชื่อ ศาสนา
ทศพล ทรรศนพรรณ
กฎหมาย เขียนด้วยคน บังคับด้วยคน และก็เป็นการควบคุมพฤติกรรมของคน   จึงมีคนสงสัยว่า แล้วอย่างนี้จะมีกฎหมายสิ่งแวดล้อมไปทำไมในเมื่อไปบังคับ ดิน ฟ้า อากาศ หรือน้ำ ไม่ได้  
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ผมได้ใช้เวลาวนเวียนอยู่กับการทำวิจัยเกี่ยวกับกฎหมายมาโดยตลอด ตั้งแต่ตอนเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาโท
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจากคำทำนายในบทความ “รัฐเผด็จการ กับ การล้วงตับ” ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ (http://blogazine.in.th/blogs/streetlawyer/post/4833) จึงเป็นเวลาอันสมควรที่ประชาชนและสังคมไทยต้องร่วมกันต่อต้าน ชุดกฎหมายความมั่นคงโดยเฉพาะ พรบ.ความมั่นคงไซเบอร์ ที่มีเนื้อหาจำนวนมากขัดกับ หลักกฎหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ทศพล ทรรศนพรรณ
“ความซวยไม่เข้าใครออกใคร” รถหาย โดนเบี้ยวหนี้ ชนแล้วหนีไม่มีใครรับผิดชอบเด็กในท้อง ไปจนถึงเรื่องเงินๆ ทองๆ ที่ถ้าลองได้เกิดขึ้นในหมู่คนรู้จัก ก็มักจบลงด้วยการตัดญาติขาดมิตร ไม่เผาผีกัน คงเป็นสิ่งที่ได้ยินไม่เว้นแต่ละวันใช่ไหม