Skip to main content

ข้อกล่าวอ้างสำคัญของรัฐบาลไทยในการเพิ่มศักยภาพในด้านข่าวกรองและออกกฎหมายที่ให้อำนาจสอดส่องการสื่อสารของประชาชน คือ “ถ้าประชาชนไม่ได้ทำผิดจะกลัวอะไร” โดยมิได้คำนึงหลักการพื้นฐานเบื้องต้นว่า แม้ประชาชนมิได้ทำผิดกฎหมายอันใดก็มีสิทธิความเป็นส่วนตัว ปลอดจากการแทรกแซงการสื่อสาร อันเป็นสิทธิพื้นฐานตามกฎหมายอันเป็นหลักประกันความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน


ยิ่งไปกว่านั้นการตกอยู่ภายใต้ระบอบการปกครองเผด็จการมานานก็ทำให้ประชาชนรู้สึกชินชาต่อการสอดส่องโดยรัฐ และหลงลืมความเป็นส่วนตัวด้วยความคิดที่ว่า “รัฐมองเห็นการสื่อสารอยู่แล้ว” การพยายามสร้างมาตรการทางกฎหมายเพื่อป้องกันการสอดส่องหรือเอาผิดเจ้าพนักงานรัฐที่ละเมิดความเป็นส่วนตัวของประชาชนหาได้จำเป็นไม่ ก็เป็นอีกอุปสรรคหนึ่งต่อการผลักดันการสร้างหลักประกันสิทธิความเป็นส่วนตัว


แนวโน้มทั้งสองประการอาจนำไปสู่การสถาปนารัฐที่ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือรับรองอำนาจในการสอดส่องควบคุมประชาชน และนำข้อมูลที่ได้จากการสอดส่องไปประกอบสำนวนฟ้องร้องดำเนินคดีต่อพลเมืองผู้ตื่นตัวทางการเมือง แสดงออกในลักษณะวิพากษ์วิจารณ์และต่อต้านแนวนโยบายของรัฐบาล อันเป็นการบั่นทอนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดอนาคตตนเองและสังคม   รัฐที่จำกัดสิทธิของประชาชนด้วยการสอดส่องนี้มีคำเรียกขานว่า “รัฐตำรวจ”


รัฐตำรวจ (Police State ) คือ รูปแบบทางการเมืองที่รัฐบาลใช้อำนาจควบคุมวิถีชีวิตทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของประชาชน โดยมีการใช้อำนาจขององค์กรในกระบวนการยุติธรรมหรือองค์กรทางปกครองด้านความมั่นคงปฏิบัติการที่มีลักษณะละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชานตามกฎหมาย ในลักษณะที่แสดงต่อสาธารณชนว่าเป็นการรวบรวมข้อมูลข่าวกรองขึ้นเป็นพยานหลักฐานทำสำนวนดำเนินคดีฟ้องสู่ศาล ถ้อยคำนี้มีที่มาทางประวัติศาสตร์จากรัฐปรัสเซีย (ระบบกฎหมายเยอรมัน) เพื่อแสดงว่าในศตวรรษที่ 19 มีการสถาปนา “รัฐพลเรือน” ที่ใช้อำนาจในการปกครองประชากรโดยควบคุมกิจกรรมของพลเมืองอย่างเข้มงวดหรือมีลักษณะจำกัดสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญของประชาชน แตกต่างจากการปกครองแบบ “นิติรัฐ” ที่รัฐจะใช้อำนาจปกครองภายใต้กรอบของกฎหมายเพื่อประกันสิทธิเสรีภาพตามกฎหมายของประชน  และมีกลไกตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจ


โดยบทความนี้จะนำแนวคิดนี้มาใช้เป็นกรอบวิเคราะห์บทบาทของรัฐบาลไทยในการสอดส่องกิจกรรมของประชาชนโดยอาศัยการเพิ่มศักยภาพทางกฎหมายเพื่อเอื้อให้เกิดปฏิบัติการด้านข่าวกรองและสอดส่องได้ครอบคลุมขึ้นไปจนถึงการนำข้อมูลทำเป็นสำนวนฟ้องคดีในชั้นศาลในหลายกรณี แล้วจึงชี้ให้เห็นความกังวลที่เกิดจากแนวโน้มดังกล่าวเพื่อพยายามเสนอแนวทางในการป้องกันการสอดส่องตามอำเภอใจอันมีลักษณะการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว สิทธิในข้อมูลส่วนบุคคล เสรีภาพในการแสดงออก ชุมนุมและสมาคม ที่สอดคล้องกับพันธกรณีสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่ไทยเป็นภาคี ฝ่าฝืนบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และบั่นทอนความมั่นใจของประชาชนในการมีส่วนร่วมทางการเมือง


ประวัติศาสตร์การพัฒนาศักยภาพด้านการข่าวกรองของรัฐไทยที่เพิ่มอำนาจในการสอดส่องประชาชนผ่านมาตรการทางกฎหมายและกลไกต่าง ๆ ที่ให้อำนาจแก่รัฐบาลในการสอดส่องการสื่อสารและกิจกรรมของประชาชนผ่านเครื่องมือต่าง ๆ ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มาจนถึงยุคหลังการรัฐประหาร พ.ศ.2557 ที่มีการสถาปนา “รัฐตำรวจ” ขึ้นอย่างเข้มแข็ง

แนวโน้มในการสอดส่องกิจกรรมทั้งหลายที่รัฐบาลเห็นว่าเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคง ได้แสดงออกมาอย่างต่อเนื่องผ่านการผลักดันกฎหมายที่มีลักษณะติดตามสอดส่อง เก็บข้อมูล เพื่อสืบย้อนหลัง แล้วแสวงหาพยานหลักฐานมาดำเนินคดีทางอาญาต่อเป้าหมายการสอดส่อง  เช่น การผลักดัน ร่างกฎหมายว่าด้วยการดำเนินงานขององค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือผลกำไรมาแบ่งปันกัน และร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม
ตามที่ คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 อนุมัติหลักการร่างกฎหมายว่าด้วยการดำเนินงานขององค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือผลกำไรมาแบ่งปันกัน และร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม พ.ศ. …. โดยให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) นำไปประกอบการพิจารณายกร่างกฎหมาย และเปิดรับความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ก่อนเสนอ ครม. พิจารณาอีกครั้ง ซึ่ง ครม. มีมติเห็นชอบเพิ่มเติมหลักการร่างกฎหมายดังกล่าว เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดตามมาตรฐานสากลด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (Anti-Money Laundering and Combating the Financing of Terrorism: AML/CFT) เมื่อ สคก. ได้ดำเนินการปรับปรุงเพิ่มเติมร่างกฎหมายดังกล่าวแล้ว จะมีการเปิดให้ประชาชนทั่วไปได้ร่วมแสดงความคิดเห็นอีกครั้ง 

ข้อสังเกตที่สำคัญ คือ ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ให้อำนาจหน่วยงานภาครัฐในการเข้าไปในสำนักงานขององค์กรไม่แสวงหากำไรเพื่อตรวจสอบและยึดข้อมูลการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ขององค์กรเป้าหมาย อันมีลักษณะฝ่าฝืนต่อกระบวนการนิติธรรม (Due Process) ซึ่งอาจถูกใช้เพื่อการข่มขู่ได้ ทั้งยังเป็นการละเมิดการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของกลุ่มเสี่ยงที่องค์กรดูแลไปจนถึงเกิดภัยคุกคามต่อครอบครัวของพวกเขา เนื่องจากข้อมูลอ่อนไหวจะถูกเก็บเป็นความลับขององค์กรที่ให้ความช่วยเหลือเหยื่อผู้เสียหาย  นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ขององค์กรยังอาจได้รับความเสี่ยงภัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพวกเขาทำงานในกรณีตรวจสอบการใช้อำนาจโดยมิชอบและการทุจริตของเจ้าหน้าที่รัฐ


การอ้างว่าการผลักดันกฎหมายดังกล่าวเป็นการทำตามพันธกรณีระหว่างประเทศด้านการต่อต้านอาชญากรรมระหว่างประเทศโดยเฉพาะการฟอกเงินขององค์กรอาชญากรรมข้ามชาติและการก่อการร้ายนั้น เป็นการสร้างตราบาปต่อองค์กรพัฒนาเอกชน (Non-Governmental Organization – NGOs) โดยตรงเป็นการปฏิบัติในฐานะผู้ต้องสงสัยว่าจะเป็นอาชญากรตั้งแต่ยังไม่มีคำพิพากษาของศาล การกำหนดภาระหน้าที่ในการต้องจดทะเบียน รายงานที่มารายได้ การใช้งบประมาณ และเก็บข้อมูลไว้ให้ตรวจสอบ หาไม่แล้วจะต้องโทษทางอาญา ล้วนเป็นการบังคับให้ องค์กรพัฒนาเอกชน “เปิดเผย” ข้อมูลเพื่อให้รัฐ “สอดส่อง” การทำงานตั้งแต่ต้น และสามารถ “มองย้อนกลับ” ไปเพื่อแสวงหาพยานหลักฐานมาดำเนินคดีต่อองค์กรพัฒนาเอกชนได้ ตั้งแต่ยังไม่มีการนำเสนอพยานหลักฐานต่อองค์กรตุลาการให้เห็นมูลเหตุที่เป็นการกระทำความผิดกฎหมายเพื่อขอหมายศาลในการตรวจค้นและเก็บพยานหลักฐานภายใต้ระบบควบคุมการใช้อำนาจมิให้ละเมิดสิทธิมนุษยชน

การสลับสับเปลี่ยนสถานะของ “ความเป็นส่วนตัวของประชาชน” ที่พึงได้รับการคุ้มครองปกป้องไม่ให้มีการแทรกแซงสอดส่องการสื่อสารและดักเก็บข้อมูลส่วนบุคคลนั้นเกิดจากความพยายามของรัฐในการสร้างฐานข้อมูลข่าวกรองโดยอ้างเรื่อง “ความมั่นคงของชาติ” ที่ปราศจากการตระหนักถึง “ความมั่นคงของมนุษย์” ในการสื่อสารภายใต้บริบทของโลกยุคดิจิทัล  เนื่องจากรัฐมุ่งแสวงหาข้อมูลที่เป็น “ความลับของประชาชน” มาบนพื้นฐานของการกล่าวอ้างว่า หากประชาชนไม่ได้มีการกระทำความผิดและบริสุทธิ์ใจก็ควรเปิดให้รัฐมองเห็นกิจกรรมในชีวิตส่วนตัวได้โดยไม่มีการปิดกั้นแบบ “รัฐตำรวจ” เพื่อเสริมศักยภาพในการมองเห็นของรัฐป้องปรามการเคลื่อนไหวของประชาชนเพราะทำให้รู้สึกว่าถูกจับจ้องตลอดเวลา


ในทางกลับกัน “ความโปร่งใสของรัฐ” อันเป็นรากฐานสำคัญของธรรมาภิบาลในการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตยและเป็นการยืนยันความรับผิดชอบของรัฐต่อการใช้อำนาจปกครองโดยเคารพสิทธิมนุษยชนของประชาชน กลับถูกปรับเปลี่ยนไปเป็น “ความลับสูงสุดของชาติ” ที่ผู้นำรัฐและองคาพยพด้านความมั่นคงสงวนไว้มิให้ประชาชนมองเห็น เสมือนว่าเป็น “เรื่องส่วนตัวของชาติ” ที่ผู้ทรงอำนาจจะพึงเก็บงำรักษาไว้ไม่ให้ใครเข้าถึง เพื่อคงไว้ซึ่งอำนาจในการปกครองของตนจากหลังม่าน


ดังนั้นการเปลี่ยนกระบวนทัศน์จึงเป็นการทะลายกำแพงด่านแรกเพื่อเปิดให้เห็นการทำงานและผลงานที่แท้จริงของรัฐเพื่อธำรงไว้ซึ่ง “ความมั่นคงของมนุษย์ในรัฐชาติไทย” และคุ้มครอง “สิทธิความเป็นส่วนตัวของประชาชน” อันเป็นรากฐานสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่ต้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนไว้เพื่อให้พลเมืองทั้งหลายกล้าที่จะแสดงออกและมีส่วนร่วมในการกำหนดอนาคตของประเทศได้อย่างปลอดภัยตามครรลองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาชนภายใต้หลักการ “นิติรัฐ” ที่มีการตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจของรัฐบาล

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
Nick Srnicek ได้สรุปภาพรวมของแพลตฟอร์มดิจิทัลที่แตกต่างกัน 5 ประเภท คือ1.แพลตฟอร์มโฆษณา, 2.แพลตฟอร์มจัดเก็ยข้อมูล, 3.แพลตฟอร์มอุตสาหกรรม, 4.แพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์, และ 5.แพลตฟอร์มแบบลีน 
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลมีรายได้และผลกำไรจำนวนมหาศาลจากการประมวลผลข้อมูลการใช้งานของผู้บริโภคในระบบของตน แต่ยังไม่มีระบบการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม    เนื่องจากยังมีข้อถกเถียงเรื่องใครเป็นเจ้าของข้อมูลและมีสิทธิแสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นบ้าง    จึงจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้ พรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่ผลักดันออกมาในปี พ.ศ.
ทศพล ทรรศนพรรณ
แพลตฟอร์มมักเป็นระบบแบบเปิดให้ทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหา จากการที่ทำให้การเข้าถึงข้ามเขตอํานาจ ในทางกลับกัน กลับมีการกําหนดให้หน่วยงานกํากับดูแลและผู้ออกกฎหมายต้องร่วมมือกันข้ามพรมแดนแห่งชาติเพื่อประสานระบอบกฎหมายและกฎระเบียบในขณะที่จัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงประเด็นกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์ปรับปรุงเกระบวนการระงับข้อพิพาทของบรรดาผู้บริโภคในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ยืนยันว่าระบบสามารถใช้เพื่อทำการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้บริโภคจํานวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยงานระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution - ADR) ที่ได้รับการรับรองจากสาธารณะให้เป็นมากกว่ากลไกการระงับข้อพิพาทใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การสร้างความเชื่อถือให้กับผู้บริโภคจึงเป็นผลดีต่อการเติบโตของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ และการตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะทำธุรกรรมออนไลน์กับผู้ขายต่อไป ทำให้ประเทศต่าง ๆ  รวมถึงประเทศไทยให้ความสนใจและมุ่งให้เกิดการคุ้มครองอย่างจริงจังต่อปัญหาการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันใดที่ผู้คนจำนวนมากขาดความรู้ความเข้าใจต่อเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อชีวิตโดยตรง รัฐในฐานะผู้คุ้มครองสิทธิประชาชนและยังต้องทำหน้าที่กระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย จึงมีภาระหนักในการสถาปนาความ “เชื่อมั่น” ให้เกิดขึ้นในใจประชาชนที่ลังเลต่อการเข้าร่วมสังฆกรรมใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริงเป็นสื่อใหม่ในโลกยุคดิจิทัลที่แสดงด้วยภาพและเสียงสามมิติซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในโลกที่ถูกสร้างขึ้นเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นสังคม (Community) ภายในโลกเสมือนจริงที่ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ แต่มิใช่เพียงการเข้าไปรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสเพียงเท่านั้น นอก
ทศพล ทรรศนพรรณ
การทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ตมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมการเข้าร่วมสัญญาอย่างรวดเร็วสะดวกลดอุปสรรค ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตก็ด้วยไม่ต้องการเดินทางหรือไม่ต้องมีตัวกลางในการประสานความร่วมมือหรือต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับผู้รับรองสถานะของสัญญาในลักษณะตัวกลางแบบที่ต้องทำในโลกจริง ที่อาจถูกกฎหมายบังคับให้ทำตามแบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริง (Virtual World) คือสภาพแวดล้อมเสมือนซึ่งสร้างและปฏิบัติการด้วยซอฟต์แวร์ (Software) ที่อยู่ในเซิร์ฟเวอร์ (Server) ของเจ้าของแพลตฟอร์ม (Platform) สิ่งแวดล้อมเสมือนเหล่านี้ออกแบบมาให้ผู้เล่นหรือผู้ใช้โลกเสมือนจริงสามารถใช้ตัวตนเสมือนหรืออวตาร (Avatar) ในการท่องไปในโลกนั้น โดยสามารถติดต
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัลตั้งอยู่บนพื้นฐานของเสรีภาพในการแสดงออกบนโลกออนไลน์ โดยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเด็นกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเนื่องจากกฎหมายลิขสิทธิ์สามารถห้ามปรามการเผยแพร่ความคิดหรือการแสดงออกในงานสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอ้างเหตุแห่งการคุ้มครองสิทธิของปัจเจกชนอย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเฟื่องฟูของเศรษฐกิจดิจิทัลที่สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการจำนวนมหาศาลแต่นำมาซึ่งความกังขาว่า สังคมได้อะไรจากการเติบโตของบรรษัทขนาดใหญ่ผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและควบคุมแพลตฟอร์มเหล่านี้ อันเป็นที่มาของเรื่อง การจัดเก็บภาษีดิจิทัลได้กลายเป็นข้อกังวลที่สำคัญสำหรับหลาย ๆ รัฐบาล ในยุโรป เช่นใน เยอรมนี