Skip to main content

ปัญหาสิ่งแวดล้อมมักสร้างผลกระทบในระยะยาว ไม่ได้เกิดการบาดเจ็บ เสียหาย ทันทีทันใด   ดังนั้นเราจึงต้องมีวิธีการพิสูจน์ว่าความเจ็บป่วย เสียหายที่เกิดขึ้นนั้นมีผลมาจากปัญหาสิ่งแวดล้อมจริง   สิ่งที่เราต้องทำคือการเก็บหลักฐานอย่างต่อเนื่องและชัดเจนเพื่อนำไปใช้เป็นพยานหลักฐาน   ซึ่งการเก็บพยานหลักฐานเพื่อเรียกร้องสิทธิมีข้อแนะนำดังต่อไปนี้


1. เมื่อรู้สึกหรือพบเห็นการรั่วไหล ปล่อยมลพิษออกสู่สิ่งแวดล้อมจากโรงงาน ฟาร์มหรือแหล่งมลพิษใด   ต้องจดบันทึกเวลาสถานที่ซึ่งพบปัญหาไว้อย่างชัดเจน
2. เราสามารถทำให้พยานหลักฐานเกี่ยวกับเวลาสถานที่หนักแน่นขึ้นได้ ด้วยการแจ้งหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง หรือไปแจ้งความที่ตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ปกครองด้วยก็ได้    เนื่องจากถือเป็นคดีอาญา
3. การพบน้ำเสีย บ่อขยะ หรือควันพิษ   ต้องมีการถ่ายภาพหรือวีดีโอเก็บไว้ให้เห็นอย่างชัดแจ้งประกอบกับการถ่ายให้เห็นถึงสถานที่ปนเปื้อนมลพิษ หรือถ้าเป็นการปล่อยออกจากโรงงานก็ถ่ายให้เห็นว่าออกมาจากโรงงานใด
4. การเก็บตัวอย่างน้ำเสีย ขยะ  หรืออากาศพิษ    อาจทำให้มีน้ำหนักมากขึ้นด้วยการเรียกให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาตรวจเก็บตัวอย่างไป   เนื่องจากวิธีตักเก็บตัวอย่างบางชนิดต้องอาศัยวิธีการที่ถูกหลัก
5. ประชาชนควรติดต่อไปยังหน่วยงานในพื้นที่ซึ่งมีอุปกรณ์เก็บตรวจตัวอย่างก่อน เช่น เทศบาล กรมควบคุมมลพิษ กรมโรงงาน ฯลฯ
6. การบาดเจ็บล้มป่วยควรจะเก็บหลักฐานการรักษาพยาบาลไว้อย่างละเอียด   ถ้าเป็นไปได้ควรจดบันทึกพร้อมเก็บบิลค่าใช้จ่าย และถ่ายสำเนาการวินิจฉัยของแพทย์ ใบรับรองแพทย์เก็บไว้ประกอบด้วย
7. คนที่ได้รับการเจ็บป่วยจากการทำงานก็ควรจดบันทึกวันเวลาสถานที่ทำงานควบคู่ไปกับหลักฐานการรักษาพยาบาลประกอบกัน   ถ้าเป็นไปได้ควรไปพบแพทย์ชีวอนามัยให้ทำความเห็นประกอบด้วย
8. หากมีพยานหลักฐานจากภายในสถานประกอบการให้เก็บรักษาไว้อย่างดี เนื่องจากมีความสำคัญในการชี้ชัดว่าผู้ประกอบการละเมิด ต้องชดใช้ค่าเสียหาย
9. การแจ้งหน่วยงานของภาครัฐให้แก้ไขปัญหาต้องมีการเก็บสำนวนคำร้อง และติดตามว่าหน่วยงานเพิกเฉย ละเลย หรือปฏิบัติงานล่าช้าหรือไม่   ถ้าใช่อาจต้องมีการร้องเรียนไปยังผู้ตรวจการแผ่นดิน หรือฟ้องร้องไปยังศาลปกครองได้
10. เราสามารถร้องเรียนไปยัง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนให้เข้ามาตรวจดูการละเมิดสิทธิของผู้ประกอบการได้   และช่วยรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อนำไปฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายที่ศาลยุติธรรมได้

อย่างไรก็ดีการเก็บพยานหลักฐานจากการปล่อยสารพิษในเขตนิคมอุตสาหกรรมกลับเป็นไปได้ยาก เนื่องจากมีอุปสรรคทั้งทางกายภาพและทางกฎหมาย   กล่าวคือ การที่บุคคลธรรมดาจะเข้าไปในเขตนิคมอุตสาหกรรมได้นั้นจะต้องเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องหรือทำงานอยู่ในนิคม ถ้าเป็นบุคคลภายนอกก็จะเข้าไปได้ยากหรือต้องตรวจค้นหรือแลกบัตรทั้งขาเข้าและขาออกจากการนิคมฯ  


ส่วนอุปสรรคทางกฎหมายก็เกิดขึ้นได้เนื่องจากพื้นที่ของเขตนิคมอุตสาหกรรมอยู่ภายใต้เขตอำนาจของการนิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมาย   การจะเข้าไปตรวจค้นเก็บพยานหลักฐานไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานรัฐอื่นหรือบุคคลภายนอกจะต้องประสานไปที่การนิคมอุตสาหกรรมเสียก่อนจึงจะเข้าไปกระทำการเก็บพยานหลักฐานได้   ซึ่งในทางปฏิบัติก็เป็นอุปสรรคมากเนื่องจากปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้นหากทิ้งระยะไปเพียงไม่กี่ชั่วโมงความเข้มข้นของมลพิษก็อาจลดลงจนแทบตรวจเก็บไม่ได้เลยทีเดียว     

อนึ่งการหาพยานบุคคลมาให้ข้อมูลเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการกล่าวหาโรงงานเพื่อเรียกร้องสิทธิก็ทำได้ยากเช่นกันเนื่องจากมีอุปสรรคอยู่หลายประการ อาทิ บุคคลที่จะมาเป็นพยานมักต้องเป็นคนในทั้งที่เป็นพนักงานของโรงงานต่าง ๆ มักไม่สะดวกใจที่จะให้ข้อมูลในทางลบต่อโรงงานของตนหรือโรงงานอื่นที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง    หรือเจ้าหน้าที่รัฐที่อยู่ภายในการนิคมอุตสาหกรรมก็ต้องปฏิบัติหน้าที่ภายใต้สายการบังคับบัญชาซึ่งมีนโยบายระดับชาติคอยกำกับอยู่อีกต่อหนึ่งเสมอ   


ความเป็นไปได้ในการเก็บพยานหลักฐานของโรงงานที่กระทำผิดกฎหมายจึงต้องอาศัยการดำเนินการในลักษณะเรียกร้องมโนสำนึกของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง (มีคนในเอาข้อมูลออกมาให้หรือยอมมาเป็นพยานให้ในชั้นศาลหรือชั้นองค์กรอิสระ)   ในทางปฏิบัติพบว่ามีบางกรณีที่พนักงานโรงงานที่เป็นคนท้องถิ่นหรือมีจิตสำนึกทางสังคมสูง เมื่อได้ออกจากสถานภาพพนักงานของโรงงานแล้วจึงจะสามารถนำข้อมูลพยานหลักฐานมาให้กับสังคมภายนอกนิคมฯรับทราบ
ในทางกลับกันหากข้อมูลหลักฐานต่าง ๆ อยู่ในมือภาครัฐ มักเกิดปัญหาที่ขึ้นกับการเก็บพยานหลักฐานเรื่องสิ่งแวดล้อมก็คือ “ความจริงที่เข้าไม่ถึง” กล่าวคือ ข้อมูลหลักฐานมักถูกเก็บงำ และเราไม่ได้เห็นข้อมูลหลักฐานที่แท้จริง ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม   กฎหมายก็ยื่นเครื่องมือมาช่วยให้เราเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้น โดยรัฐธรรมนูญมาตรา 41 ได้รับรองสิทธิของประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์กับสาธารณะและโครงการใดที่อาจมีผลกระทบกับประชาชนก็สามารถขอข้อมูลมาประกอบและยื่นข้อเสนอต่อหน่วยรัฐได้ตามมาตรา 43 ด้วย และอาศัยกลไกตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการในการเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้น

ข้อมูลที่เข้าถึงยากที่สุดตั้งแต่ดำเนินการเก็บข้อมูลเพื่อการดำเนินคดีด้านสิ่งแวดล้อม ก็คือ ข้อมูลในเขตนิคมอุตสาหกรรมฯ   เนื่องจากการติดต่อเข้าพบบุคลากรภายในการนิคมฯอาจต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของสายบังคับบัญชาที่มีการเฝ้าระวังจากผู้มีอำนาจเหนือกว่าขึ้นไป   จึงเป็นการยากที่บุคคลภายนอกจะเข้าถึงข้อมูลได้

อุปสรรคที่สำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อมอีกประการ คือ “เจ้าหน้าที่มีน้อย เราต้องหมั่นคอยเฝ้าระวัง” ดังนั้น ชุมชนและภาคประชาสังคมพึงสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อมภายในระดับพื้นที่ทั้งในชุมชนเอง และการสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อมระหว่างชุมชน  แล้วยกระดับขึ้นเป็นการสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อมระหว่างภาคประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาครัฐ ไปจนถึงการดึงภาคอุตสาหกรรมที่คำนึงถึงการรักษาสิ่งแวดล้อม เข้ามาเป็นภาคีเครือข่าย


เขตนิคมอุตสาหกรรม เปรียบเสมือนดินแดนสนธยาที่บุคคลภายนอกไม่อาจเข้าถึงทั้งในแง่อุปสรรคทางกายภาพและกฎหมาย   เนื่องจากการทำเครือข่ายกับผู้ที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม หรือเจ้าพนักงานนิคมอุตสาหกรรมทั้งในระดับพื้นที่และระดับชาติเป็นไปได้ยาก   เนื่องจากแนวนโยบายและทิศทางการทำงานของนิคมอุตสาหกรรม   อาจไม่ตรงกับแนวทางของเครือข่ายเฝ้าระวังด้านสิ่งแวดล้อม   ดังนั้นอาจต้องปรับแนวนโยบายและทัศนคติของการนิคมอุตสาหกรรมในระดับชาติจึงจะปรับเปลี่ยนแนวทางการทำงานให้เป็นคุณกับเครือข่ายสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับปรัชญาของการนิคมที่ต้องการให้มีการ “พัฒนาอย่างยั่งยืน” ตามที่รัฐบาลและบรรษัททั้งหลายได้ประกาศไว้ในเวทีประชาคมโลก และนำมาใช้โฆษณาประชาสัมพันธ์สร้างภาพลักษณ์ให้ตนเองกันอย่างเอิกเกริก

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
อย่างที่เราเคยได้ยินกันว่า “คนที่ตายแล้วก็สบายไป ที่เหลือไว้คือลูกหลานที่แย่งชิงมรดก” หากไม่มีการวางแผนและจัดการปัญหาไว้ล่วงหน้า ก็อาจมีปัญหาในครอบครัวตามมาหากว่าความรักไม่อาจเอาชนะความโลภได้ แต่ในบางครั้งก็มิใช่เพียงกิเลสเท่านั้นที่ทำให้เกิดเรื่องเนื่องจากยังมีความยุ่งยากภายในครอบครัวตามมาอีกมาก
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัญหาบางเรื่องมิได้เกิดจากการเดินเข้าไปพบปัญหา แต่บางครั้งปัญหาก็บุกมาถึงตัวเราด้วยปฏิบัติการเป็นหมู่คณะของบริษัทห้างร้านที่ทำธุรกิจร่วมกันไขว้โปรโมชั่นไปมา แล้วเอาข้อมูลของเรามาหาประโยชน์ทางการค้า ด้วยการติดต่อมาหาแล้วพูดจาหว่านล้อมสารพัดจนเราพลัดตกลงไปในหลุมพรางหรือบ่วงล่อบางอย่างจนทำให้เกิดการ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เดี๋ยวทรัพย์สินไม่ใช่ของที่จับต้องได้อย่างข้าวของ เงินทองอย่างเดียวแล้ว มีทรัพย์สินทางปัญญาที่เขารณรงค์กันตลอดเวลาว่าอย่าละเมิด บางทีก็งงใช่ไหมครับ ว่าทำไมเราซื้อหนังสือหรือซีดีมาแต่ทว่า เขาบอกห้ามเผยแพร่ ทำซ้ำ เราก็กลัวว่าถ้าปั้มไปให้เพื่อนเยอะจะผิดไหม แต่ใครๆก็ทำกัน ไหนจะข่าวคนเก็บขยะเอาแผ่นซีด
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะคอยเตือนให้ทุกคนจดจำไว้เสมอคือ “ไม่ควรไว้ใจเรื่องทรัพย์สินเงินทองกับคนรู้จัก” หากจะรักษาความสัมพันธ์ที่ดีอาจต้องกันเรื่องเงินๆทองๆไม่ให้มีภาระผูกพันกันไว้เป็นดี   หากจะเห็นใจกันก็ต้องทำใจไว้ล่วงหน้าว่า ถ้าช่วยอะไรกันไปแล้วอาจไม่ได้คืนมา  แต่ทว่ามีเรื่องหนึ่งในทางกฎหมาย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัญหาที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับสังคมที่ใช้เงินทองเป็นตัวกลางแลกเปลี่ยนสินค้า ก็คือ การกู้ยืมเงิน มีตั้งแต่การกู้ยืมกันธรรมดาระหว่างญาติพี่น้องคนรู้จักและเพื่อนฝูง ไปจนถึงการกู้ยืมกับคนร่ำรวยในพื้นที่ ถึงขนาดมีผู้มีอิทธิพลปล่อยกู้นอกระบบจนกลายเป็นเรื่องราวใหญ่โตเมื่อเกิดการทวงหนี้แล้วมีปัญหาใช้ความรุนแ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องถัดมาก็เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมากกับคนที่ต้องย้ายตัวเข้ามาทำงานหรือมาเรียนต่างที่ ยิ่งเดี๋ยวนี้การเข้ามาอยู่ในเมืองเป็นเรื่องที่คนเจเนอร์เรชั่นวอล์ค (Generation Walk) อย่างเราๆท่านๆที่ไม่มีบ้านเป็นของตัวเอง ไม่ซื้อรถยนต์ขับ และยังไม่แต่งงานต้องคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี   เพราะบางคนย้ายที
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากใครทำธุรกิจการค้าก็คงหวั่นเกรงจะเกิดปัญหาที่จะพูดถึงต่อไปนี้กับกิจการตนเองใช่ไหมล่ะครับ ใช่แล้วครับ เช็คเด้ง!
ทศพล ทรรศนพรรณ
เมื่อถึงเทศกาลสำคัญที่ทุกคนได้ปลดปล่อยกันสุดเหวี่ยงอย่างสงกรานต์   คนจำนวนมากก็เลยถือโอกาสเมาหัวทิ่มมันทุกวันเช้ายันเช้ามืดอีกวันหนึ่ง ตื่นมาก็กินต่อ   ไม่แค่นั้นความสุขทุกรูปแบบที่นึกได้ก็จะหามาปรนเปรอตัวเองให้สนุกสุดเหวี่ยง   ถ้าออกไปนอกบ้านก็จะเจอสงครามสาดน้ำและลู
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับคนไทยยุคหลังครับ เพราะห้างสรรพสินค้ากลายเป็นสถานที่สำคัญของการรวมผู้คนในยุคสมัยที่ชุมชนของเราเปลี่ยนไป จากที่แต่ก่อนอยากได้อะไรก็ซื้อของในร้านใกล้บ้าน อยากซื้อของกินของใช้ก็ไปร้านของชำ อยากได้เสื้อผ้ารองเท้าก็ไปสั่งตัดเอาจากร้านที่เชื่อมือกัน ร้านอาหารดังๆ ยี่ห้อใหญ่ๆ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ มีเรื่องจำนวนมากเกี่ยวกับ  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในบางพื้นที่เพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญา
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อไปนี้สะท้อนความเป็นไปในระบบการศึกษาไทยได้เป็นอย่างดีเลยครับ เพราะอย่างที่เรารู้กันว่าอนาคตของเราฝากไว้ที่การสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่น้อยเลยทีเดียว   หากอยากเข้ามหาวิทยาลัยดีๆ คณะดังๆ เพื่อหวังว่าจบมาจะหางานทำง่ายๆ คงรู้กันว่าต้องเตรียมตัวสอบเข้าให้ได้ เลยเกิดโรงเรียนกวดวิชาขึ้นมาม
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผมคิดว่าทุกคนคงเคยเจอปัญหาแบบนี้เข้ากับตัวเองบ่อยๆ เลยครับ ก็เรื่องข้าวของราคาแพง จะไปกิน ไปเที่ยวให้หายเปรี้ยวปากก็ลำบากขึ้น เพราะไม่รู้ว่าต้องรู้สึกผิดหลังจากรู้ราคาและควักเงินจ่ายออกไปรึเปล่า เพราะบางทีก็เจอร้านหรือบริการที่ไม่บอกราคาชัดเจน มีงุบงิบปิดบังราคาหลบซ่อน โฆษณาจนเราเข้าใจผิดว่าราคาถ