Skip to main content

มาตรการทั่วไปที่ใช้ในการประกันความอิ่มท้องของประชากรในประเทศตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติที่รัฐบาลไทยประกาศสมาทานยึดถือนั้น ตั้งอยู่บนหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนเรื่องสิทธิด้านอาหาร นั้นหมายถึงรัฐไทยต้องมีมาตรการเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิประกอบด้วย กรอบทางกฎหมาย   กรอบทางนโยบาย   และกรอบทางสถาบัน    ซึ่งกรอบทั้งสามนี้จะครอบคลุมมาตรการทุกประเด็นในเบื้องต้น


กรอบทางกฎหมายที่สำคัญในการคุ้มครองสิทธิด้านอาหาร คือ สนธิสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับสิทธิด้านอาหาร อาทิ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน   และกติกาสากลว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เป็นต้น   ทั้งนี้การบังคับใช้สิทธิภายในประเทศยังต้องอาศัยการออกกฎหมายภายในมารับรองสิทธิโดยตรง หรือการรับรองสิทธิตามรัฐธรรมนูญของแต่ละประเทศด้วย  ซึ่งรัฐไทยมีพันธกรณีต่อตราสารทั้งสองทั้งในลักษณะกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศและสนธิสัญญา 


หากลองศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายและประสบการณ์ในต่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องสิทธิด้านอาหาร มีตัวอย่างที่น่าสนใจดังต่อไปนี้


ประเทศที่มีรัฐธรรมนูญรับรองสิทธิด้านอาหารอย่างชัดแจ้ง และเข้มแข็ง คือ ประเทศอัฟริกาใต้ ซึ่งมีผลผูกพันทั้งทางด้านนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ รวมถึงหน่วยงานของรัฐทุกระดับ   อันมีผลให้สิทธิด้านอาหารมีผลบังคับใช้ได้ในชั้นศาล   ส่วนประเทศที่รับรองสิทธิด้านอาหารในฐานะเป็นสิทธิที่เกี่ยวข้องกับสิทธิด้านอื่นๆ ได้แก่   ประเทศบราซิล ที่รัฐธรรมนูญรับรองสิทธิด้านอาหารในฐานะสิทธิทางสังคมในการดำรงชีพที่ดีของประชาชน   และยังได้ประกันสิทธิในการรับค่าจ้างที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต   ส่วนประเทศอูกันดาได้รับรองสิทธิด้านอาหารในฐานะสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลในการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ และสังคม อย่างเป็นธรรม ซึ่งกำหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องส่งเสริมความมั่นคงด้านอาหารให้แก่ประชาชน   ส่วนในประเทศอินเดียสิทธิด้านอาหารได้รับการรับรองในฐานะที่เป็นปัจจัยสำคัญของสิทธิในการมีชีวิต   ในขณะที่รัฐธรรมนูญของประเทศแคนาดามิได้รับรองสิทธิด้านอาหารโดยตรง   แต่ศาลสูงแคนาดาได้ตีความกฎบัตรสิทธิและเสรีภาพ ค.ศ.1982 ว่า “สิทธิด้านอาหารของชนพื้นเมืองชาวอะบอริจิ้นที่มีวัฒนธรรมการบริโภคที่แตกต่างออกไปต้องได้รับการคุ้มครอง”   แม้หลายประเทศจะยังมิได้รับรองสิทธิด้านอาหารไว้ในรัฐธรรมนูญของตนอย่างชัดแจ้งก็ตาม   แต่การให้สัตยาบันของรัฐต่อสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ย่อมมีผลให้รัฐต้องบังคับใช้สิทธิด้านอาหารภายในประเทศตามพันธกรณีที่กติกากำหนด


นอกจากตัวบทกฎหมายแล้ว กรณีศึกษาที่สะท้อนให้เห็นว่าเมื่อเกิดข้อพิพาทขึ้นจริง กฎหมายได้รับรองสิทธิด้านอาหารของประชาชนจริงหรือไม่ ปรากฏในคำพิพากษาและการผลักดันนโยบายตามแนวทางสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน ดังนี้

คดีศึกษาที่แสดงให้เห็นว่า สิทธิด้านอาหารอาหารมีผลบังคับใช้ตามกฎหมายได้แก่   คดีศาลสูงอินเดีย มีคำสั่งให้รัฐบาลต้องคุ้มครองสิทธิด้านอาหารของประชาชน   โดยรัฐต้องมีมาตรการประกันสิทธิของกลุ่มเสี่ยงต่างๆ อย่างเหมาะสม   รัฐต้องควบคุมให้ระบบแจกจ่ายอาหารทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ   รวมทั้งต้องจัดให้มีโครงการทำงานแลกอาหาร และโครงการความช่วยเหลือด้านอาหารโดยตรง เช่น โครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน   การจัดให้ประชาชนสามารถซื้อหาอาหารราคาถูกได้ โดยศาลแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นสองคนเพื่อทำหน้าที่ตรวจตราการบังคับใช้สิทธิด้านอาหารตามคำพิพากษา     กรณี มลรัฐควีเบคแห่งแคนาดาได้ออก พรบ.แก้ไขความยากจนที่มีสิทธิด้านอาหารเป็นแกนกลาง และแผนปฏิบัติการความมั่นคงด้านอาหาร ตามนัยยะที่ศาลสูงได้ตีความไว้       รวมถึง กรณีรัฐสภาแห่งอัฟริกาใต้ได้เรียกร้องให้รัฐบาลอัฟริกาใต้ออกกฎหมายความมั่นคงด้านอาหารให้เป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด หากไม่สำเร็จรัฐบาลต้องรับผิดในฐานะที่ไม่สามารถปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญได้


นอกจากความเข้มข้นทางกฎหมายแล้ว   ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบังคับใช้สิทธิด้านอาหารก็มีความสำคัญในการประกันสิทธิด้านอาหารของบุคคลในทางปฏิบัติด้วย   ดังนั้นจึงต้องพิจารณาถึง   หลักนิติธรรม   หลักธรรมาภิบาล   หลักความรับผิด   และการมีส่วนร่วมของประชาชน ประกอบด้วย

การบังคับใช้สิทธิด้านอาหารจึงต้องครอบคลุมไปถึงการใช้อำนาจอธิปไตยของ ฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ    ดังนั้นเราอาจสังเกตได้ว่าการบังคับใช้สิทธิด้านอาหารนอกจากจะอยู่ในรูปแบบ    กฎหมายจากฝ่านิติบัญญัติ   และคำตัดสินของฝ่ายตุลาการแล้ว   ยังปรากฏในรูปแบบ สถาบัน และนโยบายสาธารณะ ที่ออกโดยฝ่ายบริหาร ด้วย
ทั้งนี้ กรอบทางนโยบายที่ออกมาเพื่อบังคับใช้สิทธิด้านอาหาร ต้องมีลักษณะเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับบุคคล หรือกลุ่มเสี่ยงเพื่อให้บุคคลเหล่านี้มีศักยภาพในการเข้าถึงอาหารอย่างเพียงพอ   และต้องส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสาธารณะ และตรวจสอบการดำเนินนโยบายด้วย   กรอบในการพิจารณานโยบายต่าง ๆ ต้องอยู่บนพื้นฐานของ หลักการห้ามเลือกประติบัติ   หลักความสัมพันธ์และพึ่งพิงกันระหว่างสิทธิด้านอาหารกับสิทธิอื่น ๆ   และหลักการแบ่งแยกไม่ได้ระหว่างสิทธิด้านอาหารกับสิทธิอื่น ๆ เช่น สิทธิในการมีชีวิต

เมื่อมีกฎหมาย และนโยบายที่ส่งเสริมการบังคับใช้สิทธิด้านอาหารแล้ว   ก็ต้องมีสถาบันเพื่อตรวจตราการบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์   รวมถึงตรวจตราการดำเนินนโยบายและโครงการให้เป็นไปตามที่วางเป้าหมายไว้   ดังนั้นจึงอาจมีการจัดตั้งสถาบันขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น   โดยที่สถาบันที่มาตรวจตรานี้อาจแบ่งออกได้เป็นสองลักษณะ คือ
1)   สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวคือ สถาบันดังกล่าวจะทำหน้าที่ตรวจตราการบังคับใช้สิทธิมนุษยชนภายในประเทศทั้งหมดโดยมิได้เฉพาะเจาะจงลงไปที่สิทธิใดสิทธิหนึ่ง
2)   สถาบันสิทธิด้านอาหาร   กล่าวคือ   สถาบันดังกล่าวจะทำหน้าที่ตรวจตราการบังคับใช้สิทธิด้านอาหารโดยเฉพาะ

กรอบทางสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการตรวจตรา การบังคับใช้สิทธิด้านอาหารได้แก่   คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งอัฟริกาใต้ที่จัดตั้งขึ้นโดยรัฐธรรมนูญ   มีอำนาจหน้าที่อย่างอิสระในการรับคำร้องจากปัจเจกชน หรือกลุ่มบุคคล  แล้วทำการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง เพื่อทำข้อเสนอแนะไปยังหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง หรือทำรายงานไปยังรัฐสภาโดยตรง   ซึ่งมีหลายกรณีที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งอัฟริกาใต้ได้ทำหน้าที่ตรวจตราว่าคำสั่งของศาลได้รับการตอบสนองโดยฝ่ายบริหารหรือไม่    เช่นเดียวกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของอูกันดาที่มีส่วนผลักดันสิทธิด้านอาหารเข้าสู่การสัมมนากำหนดนโยบายของรัฐตามกรอบของรัฐธรรมนูญ ซึ่งนำไปสู่การตระหนักถึงสิทธิด้านอาหารของหน่วยงานรัฐและองค์กรพัฒนาเอกชนในประเทศด้วย   ส่วนในประเทศบราซิลนั้นในขั้นต้นมีเลขาธิการพิเศษด้านสิทธิมนุษยชน แต่ขาดอำนาจในการปฏิบัติงาน   จึงมีการจัดตั้งทบวงกิจการสาธารณะ (Ministerio Publico) ขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิมนุษยชนของปัจเจกชนโดยเฉพาะ   องค์กรนี้มีความสำคัญในการให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมาย   และริเริ่มมาตรการต่างๆให้รัฐนำไปกำหนดเป็นนโยบาย และจัดตั้งโครงการ  รวมไปถึงร่วมมือกับองค์กรพัฒนาเอกชนในการปกป้องสิทธิของกลุ่มเสี่ยงต่าง ๆ ด้วย เช่น การผลักดันให้รัฐจัดโครงการอาหารในโรงเรียน  โครงการอาหารสำหรับเด็กและชนพื้นเมือง   ในประเทศอินเดียคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้ร่วมมือกับองค์กรพัฒนาเอกชนผลักดันประเด็นความขาดแคลนอาหารและทุพโภชนาการเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาลสูง   จนในที่สุดศาลตัดสินให้รัฐต้องหามาตรการที่เหมาะสมเพื่อรองรับกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับความเดือดร้อนจากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจด้านอาหาร

นอกจากสถาบันสิทธิมนุษยชนระดับชาติที่กล่าวมาแล้ว   ยังมีสถาบันที่ทำหน้าที่ตรวจตราการบังคับใช้สิทธิด้านอาหารโดยตรง อาทิ ผู้แทนพิเศษสิทธิด้านอาหารแห่งชาติ ที่แต่งตั้งโดยกระทรวงยุติธรรมของบราซิล   ซึ่งมีหน้าที่ในการตรวจตราการบังคับใช้สิทธิ ทั้งในส่วนนโยบายอาหาร และน้ำ ของทุกภูมิภาค ซึ่งจะทำงานร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนของบราซิลด้วย   ส่วนในประเทศอินเดีย ศาลสูงได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นสองคน เพื่อลงไปตรวจตราและควบคุมให้รัฐปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลเพื่อขจัดการละเมิดสิทธิด้านอาหารที่เกิดขึ้น  ทั้งนี้เป็นไปตามคำพิพากษาที่ศาลสูงได้ออกมาบังคับให้รัฐจัดหามาตรการรองรับกลุ่มเสี่ยงที่อาจได้รับความเสียหายจากการละเมิดสิทธิด้านอาหาร

กรอบทางกฎหมาย   กรอบทางนโยบาย และกรอบทางสถาบันที่ได้กล่าวไปนั้น   ถือเป็นมาตรการทั่วไปที่สร้างหลักประกันสิทธิด้านอาหารให้แก่ปัจเจกชน   ซึ่งเป็นเพียงเนื้อหาเบื้องต้น หากรัฐไทยที่ต้องการประกาศศักดาเป็นครัวโลก ต้องการขจัดความหิวโหยให้หายไปจากประเทศ    จำต้องเจาะลึกลงสู่มาตรการที่ใช้แก้ปัญหาที่มีความจำเพาะเจาะจงลงไปในแต่ละประเด็นมากขึ้น   แล้วตรวจสอบว่ามีมาตรการระหว่างประเทศ และภายในประเทศใดบ้างที่ปรากฏอยู่   และศึกษาถึงบทเรียนของการดำเนินมาตรการเหล่านั้น และอุดช่องว่าหรือสร้างมาตรการเสริมให้ก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ เท่าที่ทรัพยากรเอื้ออำนวย


สกัดจากงานวิจัย โครงการศึกษาเพื่อจัดทำหลักการประกอบร่างกฎหมายเกษตรกรรมยั่งยืน 2554

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
อย่างที่เราเคยได้ยินกันว่า “คนที่ตายแล้วก็สบายไป ที่เหลือไว้คือลูกหลานที่แย่งชิงมรดก” หากไม่มีการวางแผนและจัดการปัญหาไว้ล่วงหน้า ก็อาจมีปัญหาในครอบครัวตามมาหากว่าความรักไม่อาจเอาชนะความโลภได้ แต่ในบางครั้งก็มิใช่เพียงกิเลสเท่านั้นที่ทำให้เกิดเรื่องเนื่องจากยังมีความยุ่งยากภายในครอบครัวตามมาอีกมาก
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัญหาบางเรื่องมิได้เกิดจากการเดินเข้าไปพบปัญหา แต่บางครั้งปัญหาก็บุกมาถึงตัวเราด้วยปฏิบัติการเป็นหมู่คณะของบริษัทห้างร้านที่ทำธุรกิจร่วมกันไขว้โปรโมชั่นไปมา แล้วเอาข้อมูลของเรามาหาประโยชน์ทางการค้า ด้วยการติดต่อมาหาแล้วพูดจาหว่านล้อมสารพัดจนเราพลัดตกลงไปในหลุมพรางหรือบ่วงล่อบางอย่างจนทำให้เกิดการ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เดี๋ยวทรัพย์สินไม่ใช่ของที่จับต้องได้อย่างข้าวของ เงินทองอย่างเดียวแล้ว มีทรัพย์สินทางปัญญาที่เขารณรงค์กันตลอดเวลาว่าอย่าละเมิด บางทีก็งงใช่ไหมครับ ว่าทำไมเราซื้อหนังสือหรือซีดีมาแต่ทว่า เขาบอกห้ามเผยแพร่ ทำซ้ำ เราก็กลัวว่าถ้าปั้มไปให้เพื่อนเยอะจะผิดไหม แต่ใครๆก็ทำกัน ไหนจะข่าวคนเก็บขยะเอาแผ่นซีด
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะคอยเตือนให้ทุกคนจดจำไว้เสมอคือ “ไม่ควรไว้ใจเรื่องทรัพย์สินเงินทองกับคนรู้จัก” หากจะรักษาความสัมพันธ์ที่ดีอาจต้องกันเรื่องเงินๆทองๆไม่ให้มีภาระผูกพันกันไว้เป็นดี   หากจะเห็นใจกันก็ต้องทำใจไว้ล่วงหน้าว่า ถ้าช่วยอะไรกันไปแล้วอาจไม่ได้คืนมา  แต่ทว่ามีเรื่องหนึ่งในทางกฎหมาย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัญหาที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับสังคมที่ใช้เงินทองเป็นตัวกลางแลกเปลี่ยนสินค้า ก็คือ การกู้ยืมเงิน มีตั้งแต่การกู้ยืมกันธรรมดาระหว่างญาติพี่น้องคนรู้จักและเพื่อนฝูง ไปจนถึงการกู้ยืมกับคนร่ำรวยในพื้นที่ ถึงขนาดมีผู้มีอิทธิพลปล่อยกู้นอกระบบจนกลายเป็นเรื่องราวใหญ่โตเมื่อเกิดการทวงหนี้แล้วมีปัญหาใช้ความรุนแ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องถัดมาก็เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมากกับคนที่ต้องย้ายตัวเข้ามาทำงานหรือมาเรียนต่างที่ ยิ่งเดี๋ยวนี้การเข้ามาอยู่ในเมืองเป็นเรื่องที่คนเจเนอร์เรชั่นวอล์ค (Generation Walk) อย่างเราๆท่านๆที่ไม่มีบ้านเป็นของตัวเอง ไม่ซื้อรถยนต์ขับ และยังไม่แต่งงานต้องคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี   เพราะบางคนย้ายที
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากใครทำธุรกิจการค้าก็คงหวั่นเกรงจะเกิดปัญหาที่จะพูดถึงต่อไปนี้กับกิจการตนเองใช่ไหมล่ะครับ ใช่แล้วครับ เช็คเด้ง!
ทศพล ทรรศนพรรณ
เมื่อถึงเทศกาลสำคัญที่ทุกคนได้ปลดปล่อยกันสุดเหวี่ยงอย่างสงกรานต์   คนจำนวนมากก็เลยถือโอกาสเมาหัวทิ่มมันทุกวันเช้ายันเช้ามืดอีกวันหนึ่ง ตื่นมาก็กินต่อ   ไม่แค่นั้นความสุขทุกรูปแบบที่นึกได้ก็จะหามาปรนเปรอตัวเองให้สนุกสุดเหวี่ยง   ถ้าออกไปนอกบ้านก็จะเจอสงครามสาดน้ำและลู
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับคนไทยยุคหลังครับ เพราะห้างสรรพสินค้ากลายเป็นสถานที่สำคัญของการรวมผู้คนในยุคสมัยที่ชุมชนของเราเปลี่ยนไป จากที่แต่ก่อนอยากได้อะไรก็ซื้อของในร้านใกล้บ้าน อยากซื้อของกินของใช้ก็ไปร้านของชำ อยากได้เสื้อผ้ารองเท้าก็ไปสั่งตัดเอาจากร้านที่เชื่อมือกัน ร้านอาหารดังๆ ยี่ห้อใหญ่ๆ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ มีเรื่องจำนวนมากเกี่ยวกับ  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในบางพื้นที่เพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญา
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อไปนี้สะท้อนความเป็นไปในระบบการศึกษาไทยได้เป็นอย่างดีเลยครับ เพราะอย่างที่เรารู้กันว่าอนาคตของเราฝากไว้ที่การสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่น้อยเลยทีเดียว   หากอยากเข้ามหาวิทยาลัยดีๆ คณะดังๆ เพื่อหวังว่าจบมาจะหางานทำง่ายๆ คงรู้กันว่าต้องเตรียมตัวสอบเข้าให้ได้ เลยเกิดโรงเรียนกวดวิชาขึ้นมาม
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผมคิดว่าทุกคนคงเคยเจอปัญหาแบบนี้เข้ากับตัวเองบ่อยๆ เลยครับ ก็เรื่องข้าวของราคาแพง จะไปกิน ไปเที่ยวให้หายเปรี้ยวปากก็ลำบากขึ้น เพราะไม่รู้ว่าต้องรู้สึกผิดหลังจากรู้ราคาและควักเงินจ่ายออกไปรึเปล่า เพราะบางทีก็เจอร้านหรือบริการที่ไม่บอกราคาชัดเจน มีงุบงิบปิดบังราคาหลบซ่อน โฆษณาจนเราเข้าใจผิดว่าราคาถ