Skip to main content

การสร้างความเชื่อถือให้กับผู้บริโภคจึงเป็นผลดีต่อการเติบโตของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ และการตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะทำธุรกรรมออนไลน์กับผู้ขายต่อไป ทำให้ประเทศต่าง ๆ  รวมถึงประเทศไทยให้ความสนใจและมุ่งให้เกิดการคุ้มครองอย่างจริงจังต่อปัญหาการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภคที่จะกระทบต่อความน่าเชื่อถือของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ เนื่องจากข้อมูลส่วนบุคคลจำนวนมากได้ถูกเก็บและไหลเวียนอยู่ในอินเทอร์เน็ต และผู้บริโภคเกิดความกังวลว่าข้อมูลส่วนบุคคลของตนจะถูกผู้ขายส่งต่อหรือขายให้แก่บุคคลที่สาม อย่างไรก็ดี ปัญหาที่กระทบต่อความน่าเชื่อถือของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซในปัจจุบันไม่ได้มีแต่เพียงเรื่องการส่งต่อหรือขายข้อมูลส่วนบุคคลเท่านั้น แต่ปัญหาการประจานผู้บริโภคกำลังก็เกิดขึ้นเช่นกัน โดยการที่ผู้ขายนำข้อความสนทนาออนไลน์ รวมทั้งข้อมูลของผู้บริโภคมาเปิดเผยในลักษณะประจานเมื่อเกิดความขัดแย้งหรือไม่พอใจกัน โดยอาศัยความได้เปรียบของร้านค้าออนไลน์ที่ไม่ได้แสดงตัวตนของผู้ขายที่แท้จริง จนกลายเป็นวัฒนธรรมของผู้ขายในระบบอี-คอมเมิร์ซ โดยการติดแท็กต่าง ๆ ซึ่งแฮชแท็กประจานผู้บริโภคที่มีจำนวนมากที่สุดของร้านค้าออนไลน์

การที่ผู้ขายได้นำข้อความสนทนาออนไลน์ของผู้บริโภคมาประจานต่อสาธารณะเพื่อให้ผู้บริโภครู้สึกอับอายและเสื่อมเสียเกียรติยศชื่อเสียง ทั้งที่ผู้ขายควรเก็บข้อความสนทนาออนไลน์ รูปถ่าย ชื่อสกุล หรือชื่อบัญชีโซเชียลมีเดียของผู้บริโภคไว้เป็นความลับ จึงเป็นการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภคอย่างรุนแรง ยิ่งไปกว่านั้นอาจส่งผลกระทบต่อสิทธิในการทำสัญญาของผู้บริโภค เนื่องจากภาพลักษณ์ของผู้บริโภคได้ถูกทำลายโดยการประจาน และเป็นไปได้ว่าผู้ขายรายเดิมหรือรายอื่นอาจกีดกันหรือปฏิเสธที่จะติดต่อซื้อขายกับผู้บริโภคคนนั้นในอนาคตด้วย จึงจำเป็นต้องมีมาตรการทางกฎหมายเข้ามาแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภคที่ถูกประจานให้อับอายในลักษณะดังกล่าวอย่างเหมาะสม เนื่องจากกิจกรรมดังกล่าวเป็นอันตรายต่อทุนที่สำคัญมากในยุคดิจิทัลที่ผู้คนติดต่อกันผ่าน “ภาพลักษณ์” ภายนอกที่สื่อสารถึงกันผ่านโลกไซเบอร์ นั่นคือ เกียรติยศชื่อเสียง

เกียรติยศชื่อเสียงอีกประการที่สำคัญ คือ เกียรติยศชื่อเสียงในระบบตัวแทนดิจิทัล (Digital Reputation) ในระบบที่ใช้บล็อกเชน คือตัวแทนดิจิทัล ที่บ่งบอกความน่าเชื่อถือในสถานะเอนทิตีในโดเมนเฉพาะ มักจะมาจากการประเมินจากประวัติการใช้งานในระบบผ่าน Peer ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ในการจำแนกผ่านฟังก์ชั่นในรหัส (เช่น เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติการโหวต, หรือตรวจสอบสิทธิทางเศรษฐกิจ) และกลายมาเป็นตัวบ่งบอกความน่าเชื่อถือของโดเมนไปโดยปริยาย

เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต หรือบล็อกเชน ได้สร้างปฏิสัมพันธ์ขนาดใหญ่ขึ้นในหมู่คนแปลกหน้า

ความมีชื่อเสียง (Reputation) ถูกสร้างขึ้นเพื่ออํานวยความสะดวกในการตรวจสอบความน่าเชื่อถือ หรือความไว้วางใจ ระหว่างคนแปลกหน้าที่จะเข้าปฏิสัมพันธ์กันและกัน  เช่น การช็อปปิ้งออนไลน์ผ่านระบบ Peer to Peer เช่น eBay
มีระบบชื่อเสียง (Reputation) หลายระบบที่ใช้การจัดการแบบกระจายศูนย์  ซึ่งส่วนใหญ่อ้างอิงจากโหนด ทั้งน่าเชื่อถือและไม่น่าเชื่อถือ ซึ่งเป็นไปด้วยความมึนงง; หรือใช้ตารางแฮชแบบกระจายเพื่อจัดการไดเรกทอรีส่วนกลางของโหนดกึ่งเชื่อถือได้ 

เทคโนโลยีบล็อกเชน ได้สร้างความเป็นไปได้ในการใช้งานระบบชื่อเสียง (Reputation)  โดยยกระดับขึ้นมาเป็นมาตรฐานระดับโลก (World State) และตรวจสอบจากการทําธุรกรรมที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงประวัติการใช้งาน ซึ่งสามารถรับประกันถึงความโปร่งใสและความปลอดภัยในตัวข้อมูล ซึ่งไม่สามารถทำได้ในยุคก่อนหน้านี้ นอกจากนี้การเปิดกว้างและการคงอยู่ของบล็อกเชน ได้สร้างเครื่องมือที่สนับสนุนการใช้ข้อมูลร่วมกัน ซึ่งจะสร้างประโยชน์ให้กับบริการที่หลากหลาย ที่ต้องการตรวจสอบความปลอดภัยหรือความน่าเชื่อถือของอีกฝ่าย ในการทํางานร่วมกัน

แม้ว่าค่าของ "ชื่อเสียง" จะเป็นสิ่งจําเป็นสำหรับการจัดตั้งระบบ ที่ควรจะมีความน่าไว้วางใจในการดําเนินงาน แต่ในอีกด้านหนึ่ง ระบบที่น่าเชื่อถือเช่น Bitcoin นั้นขึ้นอยู่กับสมมติฐานที่ว่าไม่มีใครน่าเชื่อถือ  ดังนั้นระบบเหล่านี้จึงถูกออกแบบมาเพื่อ ขจัดความจําเป็นในการไว้วางใจทั้งหมดโดยอาศัย พื้นฐานการเข้ารหัส และหลักฐาน เพียงตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ใช้คนดังกล่าวได้ทําตามกฎ แต่ก็ยังมีสมมติฐานที่ว่า ตัวละคนบางตัวยังมีความน่าเชื่อถือ ที่จะประพฤติตนอย่างซื่อสัตย์ ระบบ "ชื่อเสียง" จึงช่วยให้ผู้ใช้ประเมินความน่าเชื่อถือของผู้ใช้รายอื่น (เช่น แพลตฟอร์ม Uber, AirBNB)

ความแตกต่าง ระหว่างระบบชื่อเสียงสองประเภท ได้แก่ ระบบชื่อเสียง"ส่วนบุคคล" และ "ระดับโลก" Personal and Global
Personal Reputation มีความเฉพาะเจาะจงสำหรับแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นกลไกมาตรฐานของการกําหนดชื่อเสียงแบบ Peer-to-Peer ระบบนี้ถูกออกแบบมาเพื่อกําหนดคะแนนชื่อเสียงส่วนบุคคลให้กับสมาชิกแต่ละคนของเครือข่ายหรือชุมชนที่เฉพาะเจาะจง แม้ว่าคะแนนดังกล่าวจะเกี่ยวข้องกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นจึงจําเป็นที่จะต้องพึ่งพาการป้อนข้อมูลจากผู้ใช้โดยตรง
Global Reputation ไม่ได้เฉพาะเจาะจงสำหรับสมาชิกชุมชนใด ๆ หากแต่วัดค่ากับชุมชนโดยรวม ระบบเหล่านี้กําหนดคะแนนชื่อเสียงเดียวและไม่ซ้ำกันให้กับตัวละครที่แตกต่างกันในชุมชน หรือเครือข่ายเฉพาะซึ่งจะได้รับการยกย่องจากสมาชิกชุมชนทุกคนว่าเป็นคะแนนที่เป็นทางการ และสมควรแก่การยอมรับนับถือ

ปัญหาจากทั้ง ชื่อเสียง"ส่วนบุคคล" และ "ระดับโลก" Personal and Global มีสองประการ คือ
1. การวัดค่าความมีชื่อเสียง อาจสะท้อนถึงความชอบของแต่ละชุมชนไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของระบบ Global Reputation ซึ่งมีการลงนามในชื่อเสียงเฉลี่ยเป็นคะแนนเฉพาะ แม้ว่าค่าจะมีความไม่แน่นอนหรือความผันผวนอยู่มากภายในชุมชนที่ลงคะแนน
2. ทั้ง Personal Reputation และ Global Reputation ก็อาจประสบกับการขาดมาตรฐาน เนื่องจาก ผู้ประเมิน หรือผู้ใช้ที่มีสิทธิลงคะแนนอาจไม่ได้แยกความแตกต่างระหว่างลักษณะหรือคุณสมบัติที่ถูกเปรียบเทียบ อาจมีการผสมปนเประหว่างข้อเท็จจริง และความคิดเห็น จนออกมาเป็นค่าเฉลี่ยที่ไม่สัมพันธ์กับความเป็นจริง หรือไม่น่าเชื่อถือ

ผู้ที่มีชื่อเสียงต่ำ จะมีโอกาสน้อยลงในการเพิ่มชื่อเสียงของพวกเขา เนื่องจากระบบบล็อกเชนใช้ชื่อเสียงเป็นแหล่งของอํานาจทางเศรษฐกิจหรือการเมือง ดังนั้นการสะสมของชื่อเสียงในระบบบล็อกเชนดังกล่าวอาจส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำ และเป็นการสะสมอิทธิพลในชุมชนออนไลน์  และอีกปัญหาที่อาจต้องเตรียมมาตรการทางกฎหมายป้องกันผลกระทบก็คือ ระบบการใช้คะแนนชื่อเสียงในการวัดค่าความน่าเชื่อถือต่อผู้ใช้ อาจสร้างความไม่เท่าเทียมทางสังคม หรือผลิตซ้ำอคติได้  โดย อคติประเภทนี้สามารถก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำรูปแบบใหม่ ที่รวมอยู่ในอัลกอริทึมโดยตรง ในการจัดการแพลตฟอร์ม เช่นเวลาทํางานที่สูงขึ้นและค่าจ้างเฉลี่ยที่ลดลงสำหรับผู้หญิง  ระบบชื่อเสียง จึงเป็นอาจกลายมาเป็นเครื่องมือผลิตซ้ำความไม่เท่าเทียมกันทางเพศ รวมไปถึงอคติอื่น ๆ เช่นอคติเชื้อชาติ หรือชนชั้น

 

อ้างอิง
Primavera De Filippi, Ori Shimony, and Antonio Tenorio-Fornés, “Reputation,” Internet Policy Review 10, no. 2 (April 19, 2021).Ferry Hendrikx, Kris Bubendorfer, and Ryan Chard, “Reputation Systems: A Survey and Taxonomy,” Journal of Parallel and Distributed Computing 75 (2015): 184-197. อ้างอิงใน Primavera De Filippi, Ori Shimony, and Antonio Tenorio-Fornés, “Reputation,” Internet Policy Review 10, no. 2 (April 19, 2021)
Yatin Chawathe, Sylvia Ratnasamy, Lee Breslau, Nick Lanham and Scott Shenker, “Making gnutella-like p2p systems scalable”. Proceedings of the 2003 Conference on Applications, Technologies, Architectures, and Protocols for Computer Communications, (2003), 407–418. อ้างอิงใน Primavera De Filippi, Ori Shimony, and Antonio Tenorio-Fornés, “Reputation,” Internet Policy Review 10, no. 2 (April 19, 2021)
Arianne Renan Barzilay and Anat Ben-David, “Platform Inequality: Gender in the Gig-Economy,” Seton Hall Law Review 47, no. 2 (2016): 393-431.

*ค้นคว้าและเรียบเรียงร่วมกับ ภานุพงศ์ จือเหลียง ในงานวิจัยเรื่อง ทบทวนพรมแดนความรู้เพื่อเตรียมความพร้อมด้านนิติบัญญัติในการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล, 2565. สนับสนุนโดยสถาบันพระปกเกล้า

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้มีน้องคนหนึ่งนำเรื่องแปลกมากเล่าให้ฟัง เหตุการณ์ก็มีดังนี้ครับ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องสุดท้ายของบริการด้านสื่อสารแล้วนะครับ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกบ้านแน่ๆ เพราะเดี๋ยวนี้เรามีอินเตอร์เน็ตใช้ที่บ้านกันแล้วแทบทุกหลังเพราะมันทำให้เราสามารถทำงานหรือพักผ่อนที่บ้านได้โดยไม่ต้องเดินทางออกไปนั่งทำงานที่อื่นหรือเสียเงินออกไปซื้อความบันเทิงนอกบ้าน   หนูก็ชอบดูซีรี่ส์แล
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อมาผมคิดว่าหลายท่านคงเคยหงุดหงิดอารมณ์เสียกับรถที่ดันมาพังเอาตอนที่เรารีบเร่งจะต้องใช้งานใช่ไหมครับ ที่แย่ไปกว่านั้น คือ เราขับได้แต่ซ่อมไม่เป็นต้องเข็นไปเข้าอู่ซึ่งก็ไม่รู้ว่าที่ไหนดีไม่ดี มีฝีมือน่าเชื่อถือจริงรึเปล่า เพราะเราก็ไม่มีความรู้ด้านเครื่องยนต์กลไกและช่วงล่างใดๆทั้งสิ้น ผู้ชา
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้หลายท่านอาจจะเคยเจอปัญหาเดียวกัน หรือเคยได้ยินตามข่าวคราวที่ออกมาหลายครั้งนะครับ เพราะว่าปัจจุบันศูนย์ออกกำลังกายหรือฟิตเนสเซ็นเตอร์เป็นที่นิยมมาก ก็เพราะเราอยากมีร่างกายแข็งแรง รูปร่างสวยงาม เปล่งปลั่งมาจากภายในแต่ไม่มีเวลาไปออกกำลังกายในที่โล่งแจ้งเพราะไม่ตรงกับเวลาว่าง ก็มักจะเข้าฟิตเ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องยุ่งๆ เกิดจากการไม่ได้รับความเป็นธรรมตามเงื่อนไขการสมัครเป็นสมาชิกของบริษัทจำกัดแห่งหนึ่ง ซึ่งได้เข้ามาชักชวนคนในพื้นที่ให้เข้าร่วมทำสัญญาประกันชีวิตแต่ไม่ได้ทำตามเงื่อนไขของสัญญาที่มาเล่าปากเปล่าและมีการปิดบังซ่อนเร้น เพิ่มเติมเงื่อนไขบางอย่าง เมื่อผู้เอาประกันตาย ญาติ ลูกหลานไปร้องขอรับปร
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังเป็นกรณีที่เกี่ยวกับความเสียหายที่เกิดจากการกระทำของผู้อื่นที่อาจมาเคาะประตูบ้านเราได้ทั้งที่เราก็อยู่เฉยๆในบ้านไม่ได้ออกไปทำอะไรเสี่ยงภัย  แต่กลับประสบภัยจากความประมาทเลินเล่ออย่างรายแรงของผู้อื่น  ลองไปฟังเคราะห์หามยามซวยของน้องคนหนึ่งที่หวังจะใช้กฎหมายเป็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
ป้าคนหนึ่งเข้ามาปรึกษาว่าไปโรงพยาบาลรัฐแถวบ้านซึ่งตนมีชื่อเป็นคนใช้สิทธิบัตรทองอยู่ที่นั่น แต่ด้วยความที่ป้าได้รับบัตรมานานมากแล้ว และเมื่อสองปีก่อนได้มีการก่อสร้างและซ่อมบ้านทำให้ต้องโยกย้ายข้าวของออกจากบ้านก่อนจะกลับเข้าไปอยู่อีกครั้งเมื่อซ่อมแซมเสร็จ ทำให้บัตรที่เก็บไว้สูญหายไปเมื่อไหร่ก็ไม่ทร
ทศพล ทรรศนพรรณ
สิ่งที่ขับเคลื่อนโลก คือ เทคโนโลยี การทหาร การค้า และการแพร่ความคิด ความเชื่อ ศาสนา
ทศพล ทรรศนพรรณ
กฎหมาย เขียนด้วยคน บังคับด้วยคน และก็เป็นการควบคุมพฤติกรรมของคน   จึงมีคนสงสัยว่า แล้วอย่างนี้จะมีกฎหมายสิ่งแวดล้อมไปทำไมในเมื่อไปบังคับ ดิน ฟ้า อากาศ หรือน้ำ ไม่ได้  
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ผมได้ใช้เวลาวนเวียนอยู่กับการทำวิจัยเกี่ยวกับกฎหมายมาโดยตลอด ตั้งแต่ตอนเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาโท
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจากคำทำนายในบทความ “รัฐเผด็จการ กับ การล้วงตับ” ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ (http://blogazine.in.th/blogs/streetlawyer/post/4833) จึงเป็นเวลาอันสมควรที่ประชาชนและสังคมไทยต้องร่วมกันต่อต้าน ชุดกฎหมายความมั่นคงโดยเฉพาะ พรบ.ความมั่นคงไซเบอร์ ที่มีเนื้อหาจำนวนมากขัดกับ หลักกฎหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ทศพล ทรรศนพรรณ
“ความซวยไม่เข้าใครออกใคร” รถหาย โดนเบี้ยวหนี้ ชนแล้วหนีไม่มีใครรับผิดชอบเด็กในท้อง ไปจนถึงเรื่องเงินๆ ทองๆ ที่ถ้าลองได้เกิดขึ้นในหมู่คนรู้จัก ก็มักจบลงด้วยการตัดญาติขาดมิตร ไม่เผาผีกัน คงเป็นสิ่งที่ได้ยินไม่เว้นแต่ละวันใช่ไหม