Skip to main content
แพลตฟอร์มมักเป็นระบบแบบเปิดให้ทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหา จากการที่ทำให้การเข้าถึงข้ามเขตอํานาจ ในทางกลับกัน กลับมีการกําหนดให้หน่วยงานกํากับดูแลและผู้ออกกฎหมายต้องร่วมมือกันข้ามพรมแดนแห่งชาติเพื่อประสานระบอบกฎหมายและกฎระเบียบในขณะที่จัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงประเด็นการผูกขาดและการจัดการตลาด ทั้งนี้เนื่องจากกฎหมายมักจะอ้างถึงสถานที่เกิดความเสียหาย ประเด็นที่น่าสนใจอีกประการซึ่งอาจเป็นผลลัพธ์ในบั้นปลายของการขยายตัวของเศรษฐกิจดิจิทัลนั่น คือ ปัญหาความขาดแคลนทางดิจิทัล (Digital Scarcity) หมายความถึง ข้อจํากัด ที่ได้รับการดูแลจากซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศดิจิทัล รวมไปถึงข้อมูลดิจิทัลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ความขาดแคลนทางดิจิทัล สามารถสร้างแรงจูงใจที่จะสนับสนุนรูปแบบธุรกิจ ที่ทำกําไรจากความขาดแคลน (เช่น ธุรกิจให้เช่าภาพยนตร์ หนังสือ หรือเพลง) หรือความเป็นเอกลักษณ์ในอาณาจักรดิจิทัล เช่น การขายงานศิลปะที่มีความดั้งเดิมเพียงชิ้นเดียวในโลก เป็นต้น พัฒนาการทางเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดดของโทรศัพท์มือถือ ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงมหาศาล และสร้างอุปทานให้แก่บรรดาผู้บริโภคที่ต้องการก้าวทันเทคโนโลยี ประกอบกันกับการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตที่เพิ่มมากขึ้น และมีการสร้างเนื้อหาแบบดิจิทัลเพิ่มขึ้น ได้เปลี่ยนแปลงความหมายของคำว่า ‘ความขาดแคลนทางดิจิทัล’ ให้หมายถึง การจํากัดและเงื่อนไขเกี่ยวกับความสามารถในการเข้าถึงเนื้อหาดิจิทัล ข้อมูลดิจิทัลสามารถคัดลอกได้ง่ายขึ้น และมีจำนวนมหาศาล โดยธรรมชาติแล้ว ข้อมูลดิจิทัลจึงไม่ขาดแคลน สามารถใช้ร่วมกันได้ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ทั้งยังไม่มีการลดทอนคุณภาพ ความขาดแคลนทางดิจิทัล จึงเป็นเรื่องที่อธิบายถึงข้อจํากัดในการเข้าถึงข้อมูลดิจิทัล เพื่อปกป้องรูปแบบธุรกิจ ที่ต้องอาศัยความความขาดแคลนในข้อมูลบางประเภท เช่นเดียวกับในการพัฒนาตลาดดิจิทัลและเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ ตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมที่ใช้ลิขสิทธิ์ พยายามที่จะกําหนดความขาดแคลนทางดิจิทัลเพื่อป้องกันการคัดลอกข้อมูล จนทำให้เกิดการผูกขาดด้วยพลังอำนาจของความเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาที่หวงกันการเข้าถึงความรู้ของสังคมโดยเฉพาะประชาชนผู้ยากจนในประเทศกำลังพัฒนา หรือไม่สามารถกระตุ้นให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่ขึ้นมาแข่งขันในตลาด เพราะไม่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาต่อยอดได้เพราะติดข้อจำกัดด้านกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาตั้งแต่ต้น ในบริบทของบล็อกเชน Bitcoin ความขาดแคลนทางดิจิทัลหมายถึง ‘ข้อจํากัดในการจัดหา Bitcoin ทั้งหมด’ ซึ่งเป็นคนละทิศทางกับความหมายของความขาดแคลนทางดิจิทัล ก่อนหน้านี้ที่การเข้าถึงข้อมูลจะไม่ถูกจํากัด ในการเข้าใช้ระบบ Bitcoin เครือข่ายบล็อกเชนได้ให้อิสระสำหรับทุกคนที่จะคัดลอก เพื่อให้ทํางานได้อย่างปลอดภัย สิ่งที่กําหนดลักษณะเฉพาะของ Bitcoin จึงไม่ใช่เอกลักษณ์ในฐานะชิ้นส่วนของข้อมูล แต่มีไว้เพื่อการตรวจสอบ ในการแยกประเภทบัญชีการใช้งานแบบกระจาย จากการที่ Bitcoin ได้มีการจํากัดอุปทานการครอบครองไว้ หมายความว่าจำนวนของการธุรกรรมทั้งหมดได้มีการกำหนดขีดจำกัด เหล่านี้เป็นตัวอย่างของความขาดแคลนในการขุด (การจำกัดจำนวนการเข้าไปหาประโยชน์ในแพลตฟอร์ม) นอกเหนือจากความขาดแคลนของ Cryptocurrencies และ 'Tokens' ก็ยังมีการเกิดขึ้นใหม่ของ 'รายการดิจิทัลที่ไม่ซ้ำกัน' เช่น Non Fungible Tokens หรือ NFTs ที่ได้ก้าวข้ามข้อจำกัดในการครอบครองเป็นเจ้าของอย่างเป็นเหนือสินทรัพย์ในโลกแห่งความเป็นจริง (ออฟไลน์) ไปยังของสะสมดิจิทัล และได้รับการยอมรับและใช้งานจริง การเพิ่มขึ้นของ NFTs ได้นําไปสู่การทดลองกับคุณสมบัติดิจิทัลรูปแบบใหม่ที่มีความตั้งใจที่กว้างขึ้น โดยไม่ลดการไหลเวียนการนำมาผลิตซ้ำของงาน แต่แทนที่จะสร้างชื่อและอนุพันธ์จากการใช้งานและการไหลเวียน ตัวอย่างเช่น การครอบครอง 'ต้นฉบับ' งานอาร์ตในรูปแบบดิจิทัล ที่สามารถตรวจสอบแหล่งที่มา และพิสูจน์ได้ว่ามีความสำคัญเพียงพอที่จะวัดเป็นมูลค่าจากการเป็นวัตถุดิจิทัล 'ที่ไม่ซ้ำกันกับงานชิ้นอื่น' อ้างอิง Tom Lyons et al, “Legal and regulatory framework of blockchains and smart contracts,” Thematic Report of European Union Blockchain Observatory & Forum, (September 27, 2019). Jaya Klara Brekke and Aron Fischer, “Digital Scarcity,” Internet Policy Review 10, no. 2 (2021). *ค้นคว้าและเรียบเรียงร่วมกับ ภานุพงศ์ จือเหลียง ในงานวิจัยเรื่อง ทบทวนพรมแดนความรู้เพื่อเตรียมความพร้อมด้านนิติบัญญัติในการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล, 2565. สนับสนุนโดยสถาบันพระปกเกล้า

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้มีน้องคนหนึ่งนำเรื่องแปลกมากเล่าให้ฟัง เหตุการณ์ก็มีดังนี้ครับ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องสุดท้ายของบริการด้านสื่อสารแล้วนะครับ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกบ้านแน่ๆ เพราะเดี๋ยวนี้เรามีอินเตอร์เน็ตใช้ที่บ้านกันแล้วแทบทุกหลังเพราะมันทำให้เราสามารถทำงานหรือพักผ่อนที่บ้านได้โดยไม่ต้องเดินทางออกไปนั่งทำงานที่อื่นหรือเสียเงินออกไปซื้อความบันเทิงนอกบ้าน   หนูก็ชอบดูซีรี่ส์แล
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อมาผมคิดว่าหลายท่านคงเคยหงุดหงิดอารมณ์เสียกับรถที่ดันมาพังเอาตอนที่เรารีบเร่งจะต้องใช้งานใช่ไหมครับ ที่แย่ไปกว่านั้น คือ เราขับได้แต่ซ่อมไม่เป็นต้องเข็นไปเข้าอู่ซึ่งก็ไม่รู้ว่าที่ไหนดีไม่ดี มีฝีมือน่าเชื่อถือจริงรึเปล่า เพราะเราก็ไม่มีความรู้ด้านเครื่องยนต์กลไกและช่วงล่างใดๆทั้งสิ้น ผู้ชา
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้หลายท่านอาจจะเคยเจอปัญหาเดียวกัน หรือเคยได้ยินตามข่าวคราวที่ออกมาหลายครั้งนะครับ เพราะว่าปัจจุบันศูนย์ออกกำลังกายหรือฟิตเนสเซ็นเตอร์เป็นที่นิยมมาก ก็เพราะเราอยากมีร่างกายแข็งแรง รูปร่างสวยงาม เปล่งปลั่งมาจากภายในแต่ไม่มีเวลาไปออกกำลังกายในที่โล่งแจ้งเพราะไม่ตรงกับเวลาว่าง ก็มักจะเข้าฟิตเ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องยุ่งๆ เกิดจากการไม่ได้รับความเป็นธรรมตามเงื่อนไขการสมัครเป็นสมาชิกของบริษัทจำกัดแห่งหนึ่ง ซึ่งได้เข้ามาชักชวนคนในพื้นที่ให้เข้าร่วมทำสัญญาประกันชีวิตแต่ไม่ได้ทำตามเงื่อนไขของสัญญาที่มาเล่าปากเปล่าและมีการปิดบังซ่อนเร้น เพิ่มเติมเงื่อนไขบางอย่าง เมื่อผู้เอาประกันตาย ญาติ ลูกหลานไปร้องขอรับปร
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังเป็นกรณีที่เกี่ยวกับความเสียหายที่เกิดจากการกระทำของผู้อื่นที่อาจมาเคาะประตูบ้านเราได้ทั้งที่เราก็อยู่เฉยๆในบ้านไม่ได้ออกไปทำอะไรเสี่ยงภัย  แต่กลับประสบภัยจากความประมาทเลินเล่ออย่างรายแรงของผู้อื่น  ลองไปฟังเคราะห์หามยามซวยของน้องคนหนึ่งที่หวังจะใช้กฎหมายเป็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
ป้าคนหนึ่งเข้ามาปรึกษาว่าไปโรงพยาบาลรัฐแถวบ้านซึ่งตนมีชื่อเป็นคนใช้สิทธิบัตรทองอยู่ที่นั่น แต่ด้วยความที่ป้าได้รับบัตรมานานมากแล้ว และเมื่อสองปีก่อนได้มีการก่อสร้างและซ่อมบ้านทำให้ต้องโยกย้ายข้าวของออกจากบ้านก่อนจะกลับเข้าไปอยู่อีกครั้งเมื่อซ่อมแซมเสร็จ ทำให้บัตรที่เก็บไว้สูญหายไปเมื่อไหร่ก็ไม่ทร
ทศพล ทรรศนพรรณ
สิ่งที่ขับเคลื่อนโลก คือ เทคโนโลยี การทหาร การค้า และการแพร่ความคิด ความเชื่อ ศาสนา
ทศพล ทรรศนพรรณ
กฎหมาย เขียนด้วยคน บังคับด้วยคน และก็เป็นการควบคุมพฤติกรรมของคน   จึงมีคนสงสัยว่า แล้วอย่างนี้จะมีกฎหมายสิ่งแวดล้อมไปทำไมในเมื่อไปบังคับ ดิน ฟ้า อากาศ หรือน้ำ ไม่ได้  
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ผมได้ใช้เวลาวนเวียนอยู่กับการทำวิจัยเกี่ยวกับกฎหมายมาโดยตลอด ตั้งแต่ตอนเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาโท
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจากคำทำนายในบทความ “รัฐเผด็จการ กับ การล้วงตับ” ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ (http://blogazine.in.th/blogs/streetlawyer/post/4833) จึงเป็นเวลาอันสมควรที่ประชาชนและสังคมไทยต้องร่วมกันต่อต้าน ชุดกฎหมายความมั่นคงโดยเฉพาะ พรบ.ความมั่นคงไซเบอร์ ที่มีเนื้อหาจำนวนมากขัดกับ หลักกฎหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ทศพล ทรรศนพรรณ
“ความซวยไม่เข้าใครออกใคร” รถหาย โดนเบี้ยวหนี้ ชนแล้วหนีไม่มีใครรับผิดชอบเด็กในท้อง ไปจนถึงเรื่องเงินๆ ทองๆ ที่ถ้าลองได้เกิดขึ้นในหมู่คนรู้จัก ก็มักจบลงด้วยการตัดญาติขาดมิตร ไม่เผาผีกัน คงเป็นสิ่งที่ได้ยินไม่เว้นแต่ละวันใช่ไหม