Skip to main content

Nick Srnicek ได้สรุปภาพรวมของแพลตฟอร์มดิจิทัลที่แตกต่างกัน 5 ประเภท คือ

1.แพลตฟอร์มโฆษณา, 2.แพลตฟอร์มจัดเก็ยข้อมูล, 3.แพลตฟอร์มอุตสาหกรรม, 4.แพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์, และ 5.แพลตฟอร์มแบบลีน

 

1) แพลตฟอร์มโฆษณา Advertising Platform
ก่อนหน้านี้ในยุคดอทคอม ช่วง 1990s บริษัทต่าง ๆ ในตลาดสหรัฐอเมริกาต่างใช้กลยุทธ์ 'การเติบโตก่อนผลกำไร' ที่ได้สร้างพื้นฐานสำหรับรูปแบบธุรกิจที่เน้นการโฆษณาและดึงดูดผู้ใช้อยู่แล้ว แต่วิกฤติฟองสบู่แตกในปี 20088 บริษัทเหล่านี้หันไปลงทุนในการโฆษณาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งได้กลายเป็นพื้นที่ในการแสวงหารายได้หลัก
แพลตฟอร์มโฆษณาคือความพยายามครั้งแรกในการสร้างแบบจำลองสำหรับยุคดิจิทัล โดยมี Google และ Facebook เป็นแนวหน้าในการทำตลาดโฆษณา
Google ได้รวบรวมข้อมูลผู้ใช้จากการค้นหาและใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อปรับปรุงการค้นหา  ซึ่งในหนังสือได้ชี้ให้เห็นว่านี่คือ การใช้ข้อมูลแบบคลาสสิกในระบบทุนนิยม คือ ใช้ข้อมูลและกิจกรรมที่บันทุกไว้จากระบบเพื่อปรับปรุงบริการสำหรับลูกค้าและผู้ใช้ แต่ด้วยความต้องการรายได้เพิ่มขึ้น Google ก็เริ่มนำข้อมูลการค้นหาพร้อมกับคุกกี้และข้อมูลอื่น ๆ ของผู้ใช้เพื่อสร้างพื้นที่โฆษณา และขายข้อมูลเหล่านั้นให้กับผู้โฆษณาผ่านระบบอัตโนมัติ 
วิธีที่ Google และ Facebook สร้างรายได้นั้นเป็นเรื่องง่าย หากมองว่าข้อมูลและกิจกรรมที่ไหลเวียนอยู่ในระบบนั้นนั้นมีฐานะเป็นผู้ใช้เป็นแรงงานที่ไม่ได้รับค่าจ้างในการผลิตสินค้า  (ข้อมูลและเนื้อหา) ที่บริษัทนำไปขายให้กับผู้โฆษณาและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ
ภายใต้แนวคิดมาร์กซิสต์ แรงงานมีความหมายถึงผู้ทำกิจกรรมที่สร้างมูลค่าส่วนเกินภายในบริบทของตลาดแรงงานและกระบวนการผลิตที่มุ่งเน้นการแลกเปลี่ยน  ดังนี้ การจะอภิปรายว่าปฏิสัมพันธ์ทางสังคมออนไลน์เป็นส่วนหนึ่งของการผลิตทุนนิยมหรือไม่ ไม่ใช่แค่การถกเถียงเชิงวิชาการที่เกี่ยวกับคำจำกัดความเท่านั้น ดังนี้ แม้ว่าจะมีแรงกดดันที่จะทำให้คนหันมาทำกิจกรรมต่าง ๆ ทางออนไลน์มากขึ้น ถ้าการโต้ตอบออนไลน์ของผู้คนในยุคปัจจุบันเป็นแรงงานฟรี แรงงานฟรีที่เกิดขึ้นใหม่นี้ก็จะถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างรุนแรง 
ปัจจุบันแพลตฟอร์มโฆษณาเหล่านี้เป็นธุรกิจแพลตฟอร์มใหม่ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด มีรายได้สูง ผลกำไรจำนวนมาก และมีพลังขับเคลื่อนที่แข็งแกร่ง ซึ่งสวนทางกับระดับการลงทุนที่ยังคงมีการลงทุนในระดับที่ต่ำในตลาดทั่วโลก เนื่องจากบริษัทเหล่านี้มักจะลงทุนด้วยเงินสดและหลีกเลี่ยงภาษี 

 

2) แพลตฟอร์มจัดเก็บข้อมูล Cloud Platform
เรื่องราวของการเช่าระบบคลาวด์ขององค์กรเริ่มต้นด้วยอีคอมเมิร์ซในปี 1990 ในช่วงปลายทศวรรษ 1990 บริษัทอีคอมเมิร์ซต่างๆ ลงทุนในการสร้างคลังสินค้าและจ้างคนงานจำนวนมาก 
ในปี 2016 Amazon ได้ลงทุนในศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีเทคโนโลยีในการดำเนินการต่าง ๆ ในกิจการ หุ่นยนต์ขนย้ายคลังสินค้า และระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ กระทั่งมีการใช้โดรนสำหรับส่งของ นอกจากนี้ยังเป็นนายจ้างรายใหญ่ที่สุดในเศรษฐกิจดิจิทัลด้วย มีพนักงานมากกว่า 230,000 คนและคนงานตามฤดูกาลหลายหมื่นคน ซึ่งส่วนใหญ่ทำงานด้วยค่าแรงต่ำ และงานที่มีความเครียดสูงในคลังสินค้า เพื่อเติบโตเป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ Amazon พยายามที่จะเข้าถึงผู้ใช้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ผ่านการซื้อขายข้ามประเทศ
แต่แท้จริงแล้ว ตรรกะเบื้องหลังของแพลตฟอร์มจัดเก็บข้อมูลนั้นคล้ายกับนั้นคล้ายกับวิธีการทำงานในการจัดหาสาธารณูปโภค Jeff Bezos ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Amazon เปรียบเทียบกระบวนการสร้าง AWS กับการจัดการทรัพยากรไฟฟ้า  คือ โรงงานในยุคแรกๆ จะมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็นของตัวเอง แต่ในที่สุดการผลิตไฟฟ้าก็ถูกรวมศูนย์และปล่อยให้เช่า 'ตามความจำเป็น' แต่ทุกวันนี้ ทุกด้านของเศรษฐกิจมีการบูรณาการเข้ากับมากขึ้น ดังนั้นการเป็นเจ้าของโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับอุตสาหกรรมอื่น ๆ ทั้งหมดจึงเป็นตำแหน่งที่ทรงพลังและให้ผลกำไรมหาศาล

 

3) แพลตฟอร์มอุตสาหกรรม Industrial Platform
เนื่องจากการเก็บรวบรวม การจัดเก็บ และการวิเคราะห์ข้อมูลมีราคาถูกลงเรื่อย ๆ บริษัทต่างๆ ได้พยายามนำแพลตฟอร์มเข้ามาสู่การผลิตแบบดั้งเดิมมากขึ้นเรื่อยๆ ความพยายามที่สำคัญที่สุดเหล่านี้อยู่ภายใต้ภาพของ อุตสาหกรรม Internet of Things (IOT Industrial)
แพลตฟอร์มอุตสาหกรรมถูกสร้างขึ้นด้วยความหวังที่จะทำให้เพิ่มกำลังให้แก่กระบวนการผลิต อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดต้นทุนและเวลาทำงาน โดยมีความสำคัญคือมีจุดมุ่งหมายที่จะเชื่อมโยงกระบวนการผลิตให้ใกล้ชิดกับกระบวนการผลิต แทนที่จะอาศัยการสนทนากลุ่มหรือการสำรวจจากแรงงานมนุษย์ ผู้ผลิตต่างหวังที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และออกแบบคุณสมบัติใหม่โดยพิจารณาจากข้อมูลการใช้งานที่ดึงมาจากผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ก่อนหน้าแล้วอย่างเป็นระบบ  ดังนั้น แพลตฟอร์มอุตสาหกรรมนั้นจึงเกี่ยวข้องกับการฝังเซ็นเซอร์และชิปคอมพิวเตอร์ในกระบวนการผลิตและการขนส่งโลจิสติกส์ที่ทั้งหมดเชื่อมโยงกันผ่านการเชื่อมต่อทางอินเทอร์เน็ต กระบวนการนี้กำลังได้รับการประกาศว่าเป็น 'Industry 4.0' ในเยอรมนี   โดยมีแนวคิดคือแต่ละแผนกในกระบวนการผลิตสามารถระหว่างกันได้ โดยไม่จำเป็นต้องขอคำแนะนำจากคนงานหรือผู้จัดการ โดยทำการแบ่งปันข้อมูลเฉพาะทางในกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง
หนังสือได้นำเสนอว่า แพลตฟอร์มอุตสาหกรรมนี้สามารถช่วยลดต้นทุนแรงงานได้ 25 เปอร์เซ็นต์,  ลดต้นทุนด้านพลังงานลง 20 เปอร์เซ็นต์, ลดต้นทุนการบำรุงรักษาลงร้อยละ 40 และสามารถลดข้อผิดพลาดในสายพานการผลิตและเพิ่มคุณภาพแก่สินค้าได้ 
ความท้าทายสำคัญประการหนึ่งของแพลตฟอร์มอุตสาหกรรมคือการสร้างมาตรฐานสำหรับการสื่อสารขององค์กร ที่จำเป็นต้องมีการทำงานร่วมกันระหว่างแผนกต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของเครื่องจักรรุ่นเก่า แพลตฟอร์มอุตสาหกรรมจะทำหน้าที่เป็นเฟรมเวิร์กพื้นฐานสำหรับการเชื่อมโยงระหว่างโรงงานและซัพพลายเออร์, ผู้ผลิตและผู้บริโภค, ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ เข้าด้วยกัน

 

4) แพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์ Product Platform
แพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์เป็นหนึ่งในวิธีการที่ใหญ่ที่สุดที่บริษัทนำมาใช้ เพื่อฟื้นฟูแนวโน้มที่จะไม่มีต้นทุนส่วนเกินในสินค้าบางประเภท โดยในหนังสือได้ยกตัวอย่างผ่านอุตสาหกรรมดนตรี ในช่วงปลายทศวรรษ 1990 ที่การดาวน์โหลดเพลงฟรีแบบละเมิดลิขสิทธิ์ทำให้รายได้ของค่ายเพลงลดลงอย่างมาก  เนื่องจากผู้บริโภคหยุดซื้อผลิตภัณฑ์โดยตรงจากอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมดนตรีได้รับการฟื้นฟูในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาโดยแพลตฟอร์ม Spotify, Pandora ที่ใช้วิธีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้ฟัง ค่ายเพลง และผู้โฆษณา  นอกจากนี้ ยังยกตัวอย่างการจัดการการดูแลเครื่องยนต์ไอพ่นจากบริษัท Rolls Royce ที่ใช้วิธีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไอพ่นแก่สายการบินต่าง ๆ โดยมีการเชื่อมต่อข้อมูลการบำรุงรักษาเครื่องยนต์ในระบบเพื่อคอยตรวจสอบและดูแลมาตรฐานของผลิตภัณฑ์อยู่เสมอ 

 

5) แพลตฟอร์มแบบลีน Lean Platform
แพลตฟอร์มแบบลีนนี้เป็นการย้อนกลับไปยังระยะแรกสุดของยุคอินเทอร์เน็ต ในขณะที่แพลตฟอร์มแบบอื่น ๆ นี้มีรูปแบบธุรกิจที่มุ่งสร้างผลกำไรในทางใดทางหนึ่ง แต่แพลตฟอร์มแบบลีนกลับใช้แนวคิด 'การเติบโตก่อนทำกำไร' เช่นเดียวกับกระแสในปี 1990 
บริษัทต่างๆ เช่น Uber และ Airbnb ได้กลายเป็นชื่อที่คุ้นเคยอย่างรวดเร็วและได้เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของรูปแบบธุรกิจแบบลีน มีคำพูดที่กล่าวว่า 'Uber เป็นบริษัทแท็กซี่ที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่กลับไม่มียานพาหนะ และ Airbnb คือผู้ให้บริการที่พักรายใหญ่ที่สุด แต่กลับไม่มีอสังหาริมทรัพย์ในครอบครอง'  ในแง่นี้ หน้าที่หลักของแพลคฟอร์มแบบลีนนี้คือควบคุมแพลตฟอร์มที่ช่วยให้ได้รับค่าเช่าผูกขาด โดยไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงจากการเข้าครอบครองต้นทุนอื่น ๆ
ในแง่ของตลาดแรงงาน แพลตฟอร์มแบบลีนได้เปลี่ยนบริการที่ครั้งหนึ่งเคยซื้อขายไม่ได้ให้กลายเป็นบริการที่ซื้อขายได้ ส่งผลให้อุปทานแรงงานเพิ่มขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ ตอนนี้งานใหม่ๆ มากมายสามารถทำได้ทางออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม ซึ่งสิ่งนี้ช่วยให้ธุรกิจสามารถลดต้นทุนได้อีกครั้งด้วยการใช้ประโยชน์จากแรงงานราคาถูกในประเทศกำลังพัฒนา และสร้างแรงกดดันต่อค่าแรงที่ลดลงด้วยการวางงานเหล่านี้ในตลาดแรงงานทั่วโลก
เมื่อพิจารณาจากต้นทุนค่าแรงที่ลดลงจากวิธีการดังกล่าว จึงไม่น่าแปลกใจที่มาร์กซ์เขียนว่า 'ค่าจ้างรายชิ้น เป็นรูปแบบของค่าจ้างที่สอดคล้องกับวิธีการผลิตแบบทุนนิยมมากที่สุด'  การจ้างแรงงานภายนอกแสดงให้เห็นภถึงแนวโน้มการเอาท์ซอร์สที่กว้างขึ้นและยาวนานขึ้น  ในอเมริกา แพลตฟอร์มเหล่านี้อธิบายว่าคนงานของพวกเขาเป็น 'ผู้รับเหมาอิสระ' มากกว่า 'พนักงาน' ซึ่งช่วยให้บริษัทสามารถประหยัดค่าแรงได้ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์  จากการลดต้นทุนค่าสวัสดิการ ค่าล่วงเวลา วันลาป่วย และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ นอกจากนี้ยังหมายถึงการจ้างจ้างภายนอกค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม เนื่องจากการฝึกอบรมอนุญาตเฉพาะสำหรับพนักงานเท่านั้น
ตลาดแรงงานแบบดั้งเดิมที่ใกล้เคียงที่สุดกับแพลตฟอร์มแบบลีนคือ ตลาดแรงงานรายวัน เช่น คนงานเกษตร, คนงานท่าเรือ หรือคนงานค่าแรงต่ำอื่น ๆ ซึ่งจะมาปรากฏตัวที่ไซต์งานในตอนเช้าด้วยความหวังว่าจะหางานทำในวันนั้น 

 

อ้างอิง
Nick Srnicek, Platform Capitalism (Cambridge: Polity, 2017).
Shoshana Zuboff, “Google as a Fortune Teller: The Secrets of Surveillance Capitalism,” Faznet (Frankfurter Allgemeine Zeitung, March 5, 2016), http://www.faz.net/aktuell/feuilleton/debatten/the-digital-debate/shoshana-zuboff-secrets-of-surveillance-capitalism-14103616.html.
Hal R Varian, “Online Ad Auctions,” American Economic Review 99, no. 2 (January 2009): 430-434. in Nick Srnicek, Platform Capitalism (Cambridge: Polity, 2017).
McKenzie Wark, A Hacker Manifesto (Cambridge, MA: Harvard University Press, 2004).


*ปรับปรุงจากบททบทวนวรรณกรรม โดย ภาณุพงศ์ จือเหลียง ใน วิจัย โครงการสังเคราะห์องค์ความรู้ทางกฎหมายเพื่อสนับสนุนการแบ่งปันผลประโยชน์จากข้อมูลดิจิทัลอย่างเป็นธรรม, 2565. โดย สถาบันพระปกเกล้า.

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะไม่พูดถึงเหตุการณ์ในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 เนื่องจากการแสดงความคิดเห็นต่อต้านการลงประชามติรับรองรัฐธรรมนูญในปัจจุบันอาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมาย ไม่ว่าเราจะเห็นต่างและไม่ยอมรับกระบวนการที่ไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างไร ก็ห้ามแสดงความคิดเห็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
จากกรณีฮือฮาที่บัณฑิตนิติศาสตร์ถูกจับดำเนินคดี เนื่องจากผลิตเบียร์โดยไม่ได้รับอนุญาต จนมีการถกเถียงว่า “ทำไมรัฐไทยไม่อนุญาตให้คนทั่วไปผลิตเบียร์” ทั้งที่ชอบป่าวประกาศให้คนรุ่นใหม่ลุกขึ้นมาคิดค้นผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างแบรนด์สินค้าท้องถิ่น ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย  จนทายาทเบียร์ยี่ห้อดังออกมาตอบโต้ โ
ทศพล ทรรศนพรรณ
นอกจากประเด็นที่สื่อมวลชนกำลังตื่นตัวว่าจะมีการออกกฎหมายมาควบคุมตีตราสื่อให้อยู่ภายใต้การควบคุมขององค์กรในลักษณะที่ผู้มีอำนาจอาจเข้ามาแทรกแซงแล้ว  อีกประเด็นที่เชื่อมโยงกันและกระเทือนไปสู่วงกว้างมาก คือ การขยายขอบเขตการควบคุมไปยัง สื่อใหม่  
ทศพล ทรรศนพรรณ
จากประสบการณ์ตรงและการสังเกตการณ์งานต่อสู้ของประชาชนในท้องถิ่นหลายงานสะท้อนปัญหาหนึ่งที่คล้ายกันในหลายพื้นที่ คือ ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการและนโยบายพัฒนาขนาดใหญ่ของรัฐ หรือการลงทุนของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม มักจะถูกจ้องมองด้วยสายตาหวาดระแวงไปจนถึงการถูกสลายทำลายขบวนการเรื่อยมา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การเมืองประเด็นใหญ่ช่วงปลายปี 2016 ที่ชาวโลกจับตามองเห็นจะไม่พ้นการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และการทยอยประกาศรางวัลโนเบลสาขาต่างๆ บ็อบ ดีแลน ได้โนเบล แต่ โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ตำแหน่งประธานาธิบดี
ทศพล ทรรศนพรรณ
การเมืองในโลกออนไลน์ที่ฮือฮาในช่วงปลายปีก่อนต่อเนื่องมาถึงช่วงต้นปีหนีไม่พ้นเรื่องกระแสวิพากษ์วิจารณ์ ร่างแก้ไขพระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ ที่ สนช. ภายใต้การผลักดันของรัฐบาล คสช.
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสื่อสารที่ตัดข้ามผ่านพรมแดนตลอดเวลา และเศรษฐกิจระบบตลาดที่มีพละกำลังมหาศาลจนมิมีรัฐใดทัดทานได้ จนต้องเปิดกำแพงให้สินค้า บริการและผู้คนเคลื่อนไหวไปมาได้สะดวกกว่ายุคสงครามเย็นที่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย จนนักคิดไม่น้อยหลุดปากว่า “รัฐชาติลดความสำคัญ” ไปแล้ว
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากประเทศไทยต้องการผลักดันนโยบายไทยแลนด์ 4.0 จำต้องมีพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และกฎหมายที่ประกันความเป็นส่วนตัวในการสื่อสาร ตามมาตรฐานสากลใน 12 ประเด็นนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
จะพัฒนารัฐ ต้องมุ้งเป้าไปที่ ลูกหลานแรงงานและเกษตรกรโดยเฉพาะสตรี นี่คือสิ่งที่องค์การระหว่างประเทศด้านการพัฒนาเน้นย้ำเสมอ
ทศพล ทรรศนพรรณ
รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ปีนี้มอบให้แด่ ศาสตราจารย์ชอง ติโรล (Jean Tirole) แห่งมหาวิทยาลัยตูลูส ประเทศฝรั่งเศส    องค์กรให้เหตุผลอย่างชัดเจว่าเป็นผลจาก การวิเคราะห์อำนาจเหนือตลาดของผู้เล่นน้อยรายที่มักจะมีอำนาจเหนือตลาด ประสิทธิภาพของกลไกตลาดจึงเสียหาย และมีข้อเสนอในงานวิจัยของเขา
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเข้าใจผิดประการหนึ่งต่อการกระตุ้นตลาดเศรษฐกิจดิจิทัลและดึงดูดการลงทุนในอภิมหาโครงการไทยแลนด์ 4.0 ก็คือ การมุ่งไปชักชวนผู้ประกอบการรายใหญ่โดยใช้มาตรการลดแลกแจกแถมในรูปแบบการเชิญชวนนักลงทุนในยุคอุตสาหกรรมหนักซึ่งพ้นยุคสมัยไปแล้ว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เมื่อมีรัฐบาลใหม่สิ่งทีตามมาด้วยเสมอ คือ นโยบายด้านเกษตรกรรม   ในอดีตเกษตรกร หรือที่คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็น “ชาวนา” คือ กลุ่มเป้าหมายหลักในการหยิบมาเป็นกลุ่มคนที่ต้องได้รับนโยบายอุดหนุน   ตามสโลแกน “ชาวนา คือ กระดูกสันหลังของชาติ”  ที่แม้แต่คนรุ่นหลังๆ ก็ยังได้ฟังคำขวัญเห