Skip to main content

บุนทะนอง ซมไซผล

แปลโดย สุมาตร ภูลายยาว

 

 

 

.ผลน้ำเต้าบุ่ง และวรรณคดีพื้นเมือง


ถ้าจะให้พูดถึงความสัมพันธ์ไทย-ลาว ความเชื่อมโยงด้านวรรณคดีของชนชาติเผ่าพันธุ์ต่างๆ ในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำของ สิ่งแรกที่ข้าพเจ้าคิดถึงคือ น้ำเต้าบุ่ง


หนังสือ ‘นิทานขุนบรมราชาธิราช’ เป็นหนังสือประวัติศาสตร์ลาวฉบับดั้งเดิมฉบับที่ ๑ แต่งขึ้นเมื่อประมาณ พ..๒๐๒๖ (คศ.๑๔๘๓) ได้พูดถึงความเป็นมาของชนชาติไท-ลาว ‘ทุกชนชาติชนเผ่าล้วนแต่กำเนิดมาจากลูกน้ำเต้าบุ่งผลเดียวกัน’


เผ่าพันธุ์ไท-ลาวมีความผูกพันกันมาทางสายเลือด ภูมิลำเนา ถิ่นกำเนิด ที่ฝังสายรกอันเดียวกัน มีภาษาพูด มีความเชื่อ มีจารีตประเพณี วัฒนธรรมอันเดียวกัน ที่นอกเหนือไปกว่านั้นคือมีวรรณคดีพื้นเมืองอันเดียวกัน


วรรณคดีพื้นเมืองคือภาคส่วนหนึ่งในการประดิษฐ์คิดแต่งศิลปะของประชาชนผู้ใช้แรงงาน และก็เป็นภาคส่วนหนึ่งของคติสังคม


วรรณคดีพื้นเมืองกำเนิดเกิดขึ้นในขบวนวิวัฒนแห่งการต่อสู้ต้านภัยธรรมชาติ และการต่อสู้ทางสังคมของผู้คน พร้อมกันนั้นก็มีคูณประโยชน์ในการรับใช้ ผลักดันขบวนการต่อสู้เหล่านั้น วรรณคดีพื้นเมืองมีเป้าหมายชัดเจนในการต่อต้านภัยธรรมชาติ ต่อสู้ทางสังคม และการดำรงชีวิตของคนเราอย่างมีชีวิตชีวา และอุดมสมบูรณ์ที่สุด นอกจากนั้นยังแสดงให้เห็นถึงวิธีคิด จิตใจ และความมุ่งมั่นปารถนาอันมีประชาธิปไตยของประชาชนผู้ใช้แรงงาน และแสดงออกถึงการต่อสู้ ต่อต้านการกดขี่ขูดรีดของชนชั้นปกครองเป็นหลัก พูดในเรื่องตรงกันข้ามแล้ว วรรณคดีพื้นเมืองก็มีหลายส่วนที่ได้รับผลสะท้อนจากระบบวิธีคิดของชนชั้นปกครองเช่นกัน


วรรณคดีพื้นเมืองในห้วงยามที่ยังไม่มีตัวหนังสือเขียน ก็แสดงออกมาในรูปแบบของเรื่องเล่าพื้นเมือง การพรรณา เทพนิยาย เรื่องเล่าโบราณ นิทานอัศจรรย์ นิทานชวนหัว และนิทานสัตว์ วรรณคดีพื้นเมืองยังมีประเภทคำกลอน คำโฮม คำหวาย คำสุภาษิต คำผญา ขับ ลำ เซิ้ง นอกจากนั้นยังมีการแสดงพื้นเมือง ลำเรื่อง ละครสั้น ฯลฯ


การกินข้าวร่วมนา          กินปลาร่วมห้วย

กินกล้วยร่วมหวี            วิเศษสุดแสน

หากมีเสียงแคน            เสียงลำขับกล่อมจิตวิญญาณ

จะเป็นไทภาคอีสาน       หรือไทลาวทุกชนชาติชนเผ่า

โปรดอย่าลืมโอวาท       ของพ่อขุนบรมราชาธิราช ฯ


.พุทธศาสนากับวรรณคดีพื้นเมือง


ศิลาจารึกของวัดวิชุน แขวงหลวงพระบางยืนยันว่า ชนชาติลาวมีตัวหนังสือเขียนมาตั้งแต่ พ..๑๗๒๓ (คศ.๑๑๗๐)


เจ้าฟ้างุ่มมหาราชรวบรวมแผ่นดินลาวก่อตั้งเป็นอาณาจักรล้านช้างในปี คศ.๑๓๕๓ (..๑๙๐๖) และประกาศให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา


ขอบเขตอาณาจักรล้านช้าง ซึ่งหมายรวมเอาพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำของ อันประกอบไปด้วยผู้คนหลายชนชาติชนเผ่า หลายภาษาพูด หลากหลายวัฒนธรรม หลากหลายความเชื่อ เมื่อมีหนังสือผูกใบลาน มีศิลาจารึก มีตำนาน มีนิทาน กาพย์กลอน เป็นลายลักษณ์อักษรมีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับพระธรรมคำสอนพระพุทธเจ้าเป็นสิ่งอบรมบ่มเพาะความคิด ความเชื่อ สร้างสติของคนให้รักกัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน


หนังสือวรรณกรรมต่างๆ ที่ประดิษฐ์คิดแต่งในระยะต้นๆ ก็มีจำนวนมาก เช่น ตำนานขุนบรม ศรีโคตรบอง ท้าวจันทะพานิด ปู่เย้ ย่าเย้ นิทานกำพร้าผีน้อย กำพร้างัวทอง กรำพร้าเต็มด่อน ภูบาเจียง ภูมะโลง ภูท้าว ภูนาง นางเต่าดำ จำปาสี่ต้น นางสิบสอง นางผมหอม การะเกด ปลาบู่ทอง นางหล้านางหลุน วังกาผูก ห้วยตาเหงา ท้าวเต่า อ้ายหูดหิดแสนเป้า ท้าวภูไฮ กรำพร้าหมากเดื่อ กำพร้าหมากส้าน เซี่ยงเมี่ยง เซียงโพด ลุงดาว แตงอ่อน พระลักษ์พระราม ท้าวฮุ่งท้าวเจือง สังสินไซ ผาแดงนางไอ่ สามลืมสูน นางตันไต เสียวสวาท


วรรณกรรมซึ่งอิงหลักธรรมทางพุทธศาสนาเป็นสิ่งเริ่มสร้างสติให้กับสังคม เป็นสิ่งค้ำจุนทางใจ และย่อมสร้างคนให้อยู่ร่ววมกันได้อย่างสันติสุข ไม่เกรงกลัวและหวาดระแวง มีความเมตตากรุณา แต่ก็หลีกเร้นไม่พ้น ซึ่งในบางระยะประวัติศาสตร์อาจเกิดข้อโต้แย้งจนนำไปสู่การแตกแยกทางควมคิด มีสงคราม มีการแย่งชิงอำนาจอันจะนำไปสู่หนทางแห่งความหายนะ ก็เกิดความขัดข้องหมองใจ ความหลงผิด ความไม่เข้าใจกันและกัน วรรณกรรมที่เน้นให้คนในชาติรักชาติและนำไปสู่การต่อสู้กู้ชาติ สามลืมสูนเป็นแบบอย่างหนึ่งในวรรณกรรมหลายๆ เรื่อง


ใจม่อนฮ้าย               หมายมุ่งพระไพรมิตร

สิคอยปุนปรองฮัก       ฮ่วมเฮียงราวฐาน

สมภารเบื้อง              บารมีเฮียงฮอดกันแล้ว

สุดภาคลวงเลิศล้ำ       พิลาเกี้ยวกลอนลำได้เด

แม่นเก่าเกื้อ              เกิดฮ่วมแฮงฮักแล้วนั้น

ไผฮ่อนขัดเขินเซิง      สวาทดูดายได้

สมควรได้                 สิไลวางปะปล่อยเป็นหรือ

แม่นว่าสุดฟากฟ้า       ทยานเยื้อย่องถึง


.แม่น้ำของและวรรณกรรมร่วมสมัย


นักปราชญ์ อาจารย์ปัญญชาชนคนคิดค้นเขียนยุคนี้ควรบำเพ็ญตนเหมือน

แม่ของนั้น              ไหลล่องมองไกล

ผ่านภูผา                 ป่าดงดอกไม้

ทุ่งนากว้าง              เขียวงามน้ำซุ่ม

ปูปลาเลี้ยง              คนลุ่มน้ำอิ่มหนำสำราญ


อาจมีบางเวลาซึ่งการค้นคว้าศึกษาประวัติศาสตร์ การ ‘ค้นหาความเก่าแก่แล้วนำมาเล่าต่างกัน’ เหมือนที่สุภาษิตโบราณเคยสอนไว้ เรื่องราวที่ได้เกิดขึ้นได้ผ่านเลยไปเป็นอดีตซึ่งยากแก่การแก้ไข แต่พวกเราคนเจเนเรชั่นใหม่ก็สามารถช่วยกันสร้างสรรค์สังคมด้วยอาวุธชนิดใหม่คืออาวุธทางศิลปะวรรณคดี โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความสามัคคี เป็นพี่เป็นน้อง และรักกันดั่งคำสอนของคนโบราณที่พร่ำสอนลูกหลานว่า


ความปรองดองกลมเกรียวเป็นแถ่น

คึดให้แม่นหญ้าแฝกหญ้าคา

หามาพ่อฝันเกลียวเป็นเชือก

ผูกช้างเผือกซ้างใหญ่ไพศาล

ช่างใจหามหนีไปบ่อได้

เพิ่นเปรียบไว้คุณสามัคคี


คันแม่นมีความฮู้               เต็มพุงเพียงปากก็ดีถ่อน

สอนโตเองบ่ได้                ไผสิหย้องว่าดี

คันว่ามีความฮู้                  พาโลเฮ็ดบ่แม่น

ความฮู้ท่อแผ่นฟ้า             เป็นบ้าท่อแผ่นดิน

ให้เจ้าเอายาวไว้                คือสินไซฟันไฮ่

ปีกลายได้แต่ป้ำ               ปีหน้าจั่งคอยฮอน


ในฐานะนักเขียนร่วมสมัยคนหนึ่ง ข้าพเจ้าได้คิดได้เขียน ได้แสดงคามคิดความเห็น ในงานสัมมนาไทย-ลาว ข้าพเจ้าขอสรุปความคิดเห็นในวันนี้ด้วยบทกวีบทหนึ่งที่ชื่อว่า


สารตอบสาวไซยะภูมิ

สร้างผลงานวรรณกรรมนำราวเรื่อง

ปับประเทืองสืบทอดกอดประสาน

คนลาว-ไทมาฮ่วมกันสรรผลงาน

ไปเยือนบ้านเฮือนกันได้ สบายดี


               
หวังว่าวันหน้าจะมาใหม่

มาฮ่วมใจ ฮ่วมฮักหลอมศักดิ์ศรี

ฝากหัวใจฮักได้บ้างอย่างเสรี

เฮาพี่น้องจะฮักกันนิรันดร


คำกลอนจากใจเจ้า            ข้อยยังจื่อจดจำ

ซาบซึ้งในทรวงอก             ที่หักพังทลายม้าง

ประหวัดการคราวกี้             กัดกินใจบ่ไลห่าง

ซายจึ่งเจ็บปวดเนื้อ             บ่มีมื้อซ่วงเซา

หรือว่าคนฮักบ้าน               พงษ์พันธุ์เผ่ากินข้าวเหนียว

เกิดมาเพื่อฮับกัน               ทุกข์ทนจนไร้

ชีวิตคือความแค้น              เคืองใจไฟล้นจี่

ความฮักคือดั่งง้วน             ระแวงไว้สู่ยาน

ความเก่าควรที่มอด            ด้วยน้ำใหม่ใจสองเฮา

แผ่ใจปางคราวหลัง             ตาบจูนให้สูนเกลี้ยง

ไผหนอแกะแผ่เฮื้อ             สะกิดใจทุกเช้าค่ำ

อนุสาวรีย์ตระหง่านตั้ง         ยองใจซ้ำข้อยหมู่ลาว

สาวเอ้ยอ้ายนี้แนวนามเสือ    นาคาใหญ่งูจงอาง

แผ่เป็นในกลางใจ               ยากสิลืมเลือนล้าง

บางทีใจจริงเจ้า                  จูบแผ่ใจให้จักหน่อย บ่ซ่างแล้ว

หย้านแต่หลบต่าวปิ้น           ตั๋วต้มอย่างย่าโมของน้อง

สาวเอ้ยนางผู้ฮู้                   ครูคนเก่งไซยะภูมิ

คนหนึ่งที่ต้องการ                จะประสานฮอยร้าว

อยากลืมเลือนฮอยซ้ำ          แผ่ใจอันขมขื่นในใจอ้าย

เอาตี้! นงนาดน้อง วิไลน้อย   อ้ายเปิดใจให้แล้วเด้!

 

 

 

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
ปีที่ผ่านมา เหนือสายน้ำเชี่ยวกรากสายหนึ่ง ความทรงจำเกี่ยวกับแม่น้ำได้พาให้เดินทางไปสู่ห้วงยามหนึ่งของชีวิต ห้วงยามที่ทำให้ต้องจดจำไม่เคยลืม เพราะใครบ้างจะลืมประสบการณ์เฉียดตายของตัวเองได้ ในความทรงจำนั้น ภาพแม่น้ำแห่งบ้านเกิดผุดพรายขึ้นมา คล้ายภาพขาวดำหม่นมัวที่พาผมเดินทางกลับไปสู่ดินแดนแห่งความหวาดกลัวอันกว้างใหญ่ไพศาล ด้วยเรือคือความหวั่นไหว...ใช่แล้ว ตอนหัดว่ายน้ำครั้งแรก ผมเกือบจมน้ำตาย เหตุการณ์ครั้งนั้นสอนให้รู้ว่า ความรู้สึกของคนใกล้ขาดใจตายเป็นอย่างไร นี่คือภาพความทรงจำในอดีต แต่ภาพความทรงจำครั้งใหม่ได้เกิดขึ้น หลังจากผมเดินทางมาถึงเมืองริมฝั่งน้ำเหนือสุดในล้านนาเรื่องมีอยู่ว่า...…
สุมาตร ภูลายยาว
“เอยาวดี” เป็นชื่อท้องถิ่นของแม่น้ำสายสำคัญสายหนึ่งของพม่า แต่คนภายนอกทั่วไปรู้จักชื่อของแม่น้ำสายนี้ในนาม “อิรวดี” แม่น้ำเอยาวดีเป็นแม่น้ำใหญ่สายหลักของประเทศสหภาพพม่าต้นน้ำ และปลายทางของแม่น้ำอยู่ในประเทศพม่า ไม่แตกต่างกับแม่น้ำเจ้าพระยาแม่น้ำเอยาวดีไหลผ่านกลางประเทศจากเหนือจรดใต้ แบ่งประเทศพม่าออกเป็นสองส่วน แม่น้ำในตอนบนเกิดจากการละลายของหิมะ นอกจากแม่น้ำเอยาวดีจะเกิดจากการละลายของหิมะแล้ว ยังมีแม่น้ำสาขาที่คอยเติมน้ำให้กับแม่น้ำสายนี้จนกลายเป็นแม่น้ำสายใหญ่ แม่น้ำสาขาที่คอยเติมน้ำให้กับแม่น้ำเอยาวดีคือ แม่น้ำมาลี และแม่น้ำมายที่อยู่ทางตอนเหนือสุดของประเทศ รวมระยะทางจากต้นน้ำถึงปากน้ำ ๒,…
สุมาตร ภูลายยาว
อำเภอเชียงของเป็นอำเภอเล็ก ๆ อำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงราย ผู้คนที่นี่ทั้งในอดีตและปัจจุบันต่างมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย เรียนรู้และสืบทอดการใช้ประโยชน์จากแม่น้ำของนับตั้งแต่การหาปลา เก็บสาหร่ายน้ำของหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “ไก” ปลูกพืชผักริมของ หรือแม้แต่การสัญจรไปมาของผู้คนแถบนี้ ทั้งฝั่งซ้ายและฝั่งขวาของลำน้ำสายนี้ต่างก็อาศัยแม่น้ำเป็นสำคัญ ชีวิตของผู้คนที่นี่จึงมีความผูกพันใกล้ชิดกับแม่น้ำของตั้งแต่ในอดีตจนกระทั่งปัจจุบัน เมื่อลมหนาวเริ่มมาเยือนซึ่งเป็นฤดูกาลน้ำลด จิกุ่ง (แมลงชนิดหนึ่งมีลักษณะเหมือนจิ้งหรีดแต่ตัวสีน้ำตาลและมีขนาดใหญ่กว่า) เริ่มลงดอน คือ…