Skip to main content
 

 แผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ต้องถูกกำหนดโดยคนใต้ 

 

ศยามล  ไกยูรวงศ์

โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา

 

              การโฆษณาประชาสัมพันธ์กระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดการลงทุนดำเนินการโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งภาคใต้มีอย่างต่อเนื่อง จากรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานคณะกรรมการการลงทุน (BOI) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)  ยิ่งไปกว่านั้นยังได้รับการขานรับจากนักเศรษฐศาสตร์กันถ้วนหน้า เช่น ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล   และนักเศรษฐศาสตร์หลายท่าน   

              ประเด็นน่าสนใจว่ามุมมองด้านเดียวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างรายได้ประชาชาติประการเดียวนั้น ทำให้ประเทศชาติอยู่รอดได้จริงหรือไม่   เมื่อเปรียบเทียบกับการสูญเสียระบบนิเวศทรัพยากรชายฝั่งทะเลของภาคใต้ทั้งฝั่งอ่าวไทย และฝั่งอันดามัน  การเกิดมลพิษทางทะเล บนบก และอากาศ สร้างภาวะโลกร้อน  รวมถึงอุบัติภัยทั้งหลายที่จะเกิดขึ้นในภาคใต้  การพัฒนาแบบเดียวกับภาคตะวันออกเป็นวิสัยทัศน์การพัฒนาภูมิภาคที่คนใต้พึงปรารถนาหรือไม่  หรือเป็นเพียงความต้องการของนักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศร่วมกับนักการเมือง และข้าราชการประจำที่หวังผลประโยชน์มหาศาลจากการทำลายทรัพยากรธรรมชาติของชาติ  โดยคนไทยได้เพียงเศษเงินเท่านั้น

              เหตุผลสำคัญของการขยายตัวพื้นที่อุตสาหกรรมแห่งใหม่ในภาคใต้ภายใน 3 ปีข้างหน้า สืบเนื่องจากพื้นที่อุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกถึงจุดอิ่มตัว  เพราะความหนาแน่นของมลภาวะในอากาศบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกเพิ่มขึ้นจนมีผลกระทบต่อสุขภาพแล้ว หลังจากการสร้างโรงงานของโครงการปิโตรเคมี เคมีภัณฑ์ และพลังงานที่เป็นโครงการขนาดใหญ่ 11 โครงการ   เป็นเรื่องน่าเศร้าสำหรับความไม่ปลอดภัยและภยันตรายมาถึงคนไทยทุกเวลา  เพราะแม้แต่ปัญหาของภาคตะวันออกซึ่งสร้างรายได้ให้กับคนระยองปีละแปดหมื่นล้านบาท  แต่สุขภาพของคนระยองกลับมีความเสี่ยงต่อสุขภาพสูงสุด   โดยที่ปัจจุบันนี้มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษ สุขภาพของความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง ยังไม่มีคำตอบว่ารัฐบาลและนักลงทุนเจ้าของโครงการจะรับผิดชอบประการใด 

               ความเสี่ยงต่อสุขภาพ สังคม และสิ่งแวดล้อมจากภาคตะวันออก กำลังถูกผลักภาระมาขยายผลที่ภาคใต้  จากการเล็งหาพื้นที่ใหม่ของนักลงทุน ซึ่งแสวงหากำไรและผลประโยชน์อย่างไม่สิ้นสุด  โดยไม่พิจารณาศักยภาพของพื้นที่และระบบนิเวศน์ของภาคใต้รองรับได้มากน้อยเพียงใด   โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดทิศทางการพัฒนามาจากส่วนกลางคือนักลงทุนและรัฐบาลนั้น   มีความชอบธรรมหรือไม่สำหรับคนในท้องถิ่นที่เป็นคนใต้ควรสังวรณ์  

              คำว่า "การพัฒนาที่ยั่งยืน"  ซึ่งเป็นหลักการสำคัญในการกำหนดการพัฒนาระดับโลก และถูกกำหนดไว้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10  ไม่ได้พิจารณารายได้ทางเศรษฐกิจประการเดียว แต่ต้องอยู่บนฐานของการมีสังคม สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตของคนที่อยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน    การพิจารณาตัดสินใจอนุมัติโครงการของรัฐบาลจึงจำเป็นต้องศึกษาประเมินผลกระทบทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพทั้งในระดับยุทธศาสตร์เชิงพื้นที่ ต่อการกำหนดทิศทางการพัฒนาระดับภูมิภาคที่มาจากเสียงของคนใต้อย่างแท้จริง  การประเมินผลกระทบรายโครงการที่เชื่อมโยงกับแผนพัฒนาภาคใต้ว่ามีการกระจายรายได้ให้กับคนใต้อย่างเป็นธรรมหรือไม่และมีความยั่งยืนต่อการดำรงชีวิตของคนใต้ และคนไทยทั้งประเทศอย่างไร  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรักษาพื้นที่อาหารและระบบนิเวศน์ที่สมบูรณ์ของภาคใต้ ทั้งพื้นที่บนบก ทรัพยากรชายฝั่งทะเล ที่จะดำรงอยู่ให้กับลูกหลานในวันข้างหน้าอย่างยั่งยืน 

              โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้บริเวณพื้นที่ตอนบน (จ.ประจวบคีรีขันธ์-ระนอง) ตอนกลาง   (อำเภอสิชลและอำเภอขนอม ในจังหวัดนครศรีธรรมราช และนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ไปถึงทับละมุ จ.พังงา)  และตอนล่าง (อ.จะนะ จ.สงขลา- อ.ละงู จ.สตูล) มีเป้าหมายเพื่อสร้างเส้นทางเศรษฐกิจลำเลียงน้ำมัน และสินค้าต่างๆ เชื่อมระหว่างท่าเรือน้ำลึกสองฝั่ง คือ ฝั่งอ่าวไทย และฝั่งอันดามัน ซึ่งเรียกว่า "Land Bridge"  และยังประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐาน (Logistic) ได้แก่ ถนน รถไฟ และท่อลำเลียงน้ำมันระหว่างท่าเรือน้ำลึกสองฝั่ง    พร้อมกับการสร้างอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และขนาดกลางบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมพลังงาน  บริเวณพื้นที่หลายหมื่นไร่  ในลักษณะเดียวกับการตั้งอุตสาหกรรมภาคตะวันออก   

              แรงจูงใจที่นักลงทุนพูดเสมอต่อประโยชน์ของโครงการ คือ การมีอุตสาหกรรมต้นน้ำแบบอุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมเหล็ก ซึ่งเป็นพื้นฐานของอุตสาหกรรมกลางน้ำและปลายน้ำ  การมีเส้นทางขนส่งสินค้าทั้งขาเข้าและขาออกของไทย ทำให้ลดต้นทุนการส่งสินค้าได้อย่างมหาศาล  การโฆษณาชวนเชื่อเช่นนี้ยังขาดรายงานการประเมินผลกระทบอย่างรอบด้านดังที่กล่าวข้างต้น   ซึ่งทำให้คนท้องถิ่นหลงเชื่อว่าโครงการลักษณะนี้สร้างรายได้ให้คนท้องถิ่น เหมือนที่คนภาคตะวันออกถูกหลอกมาแล้ว  แต่ผลประโยชน์อยู่ที่ใครกันแน่  และผลกระทบตกอยู่กับใคร เป็นประเด็นที่คนใต้ต้องตั้งคำถาม และเรียนรู้บทเรียนจากภาคตะวันออก

                

จากการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็งของ สศช. (๒๕๕๑) ต่อศักยภาพของพื้นที่ภาคใต้ มุ่งเน้นความเป็นไปได้ของการพัฒนาเศรษฐกิจจากจุดแข็งของฐานทรัพยากรและทางกายภาพของพื้นที่ภาคใต้  ซึ่งสามารถเปิดประตูสู่ทะเลทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีพื้นที่ ๔๔.๒ ล้านไร่ โดยวิเคราะห์ว่าขนาดเศรษฐกิจของภาคใต้ค่อนข้างเล็กและมีฐานการผลิตแคบ จากผลิตภัณฑ์มวลรวมของพื้นที่ คือประมาณร้อยละ ๙ ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) และมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ยร้อยละ 4.4 ต่อปี  ในขณะที่การวิเคราะห์ด้านสังคมนำเสนอว่ากำลังแรงงานนอกพื้นที่ภาคการเกษตรสูงขึ้น  เหตุการณ์ความไม่สงบใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นความเสี่ยงต่อความมั่นคงของประเทศ สำหรับด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมปรากฏความเป็นจริงว่า พื้นที่ป่าบกและป่าชายเลนเพิ่มขึ้น แต่ยังต่ำกว่าระดับเฉลี่ยของประเทศ  ทรัพยากรสัตว์น้ำลดลง  ปัญหาการกัดเซาะเป็นแนวยาวทั้งฝั่งอันดามันและอ่าวไทย  ปัญหาการกำจัดขยะมูลฝอยและบำบัดน้ำเสียรุนแรงขึ้นในเมืองใหญ่   

              จากการวิเคราะห์ฐานข้อมูลของ สศช. แสดงให้เห็นว่า ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมก็มาจากผลพวงของการพัฒนาที่ผ่านมา  แต่ สศช.ได้นำฐานข้อมูลมาวิเคราะห์โน้มเอียงให้เห็นว่าการพัฒนาเศรษฐกิจจะแก้ไขปัญหาความไม่มั่นคง และความยากจนของสังคม  และกำหนดมาตรการป้องกันและบรรเทาปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการพัฒนา ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีสุขภาวะที่ดีได้   โดยที่การวิเคราะห์ดังกล่าวมาจากฐานข้อมูลเชิงมหภาคเท่านั้น  ไม่ได้เชื่อมโยงจากฐานข้อมูลระดับจุลภาคที่เป็นข้อมูลของชุมชน ซึ่งมีกลุ่มคนที่มีบทบาทในสังคม และเป็นปัจจัยเงื่อนไขต่อสร้างภูมิคุ้มกันของสังคม และสิ่งแวดล้อม อันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ทรัพยากรป่าบกและป่าชายเลนเพิ่มขึ้น      

              เมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐  คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ สศช. ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมของพื้นที่อุตสาหกรรมในอนาคต   เพื่อศึกษารายละเอียดพิจารณาพื้นที่ใหม่สำหรับรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลังงานในอนาคตให้สอดคล้องกับศักยภาพและภูมิสังคมของพื้นที่     และให้สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจและเกิดการยอมรับจากประชาชนก่อนดำเนินการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่ใหม่  และเน้นการดูแลสุขภาวะของประชาชนเป็นสำคัญ   

              จากมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นไปได้ยากที่จะให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการกำหนดแผนพัฒนาเชิงพื้นที่  เนื่องจากได้ถูกกำหนดโดย สศช.และรัฐบาลแล้ว   การมีส่วนร่วมคือการสร้างการยอมรับต่อการพัฒนาโครงการ  และไม่ให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง  การแก้ไขปัญหาคือการเยียวยาความเสียหายและการฟื้นฟูสุขภาวะจากการได้รับผลกระทบจากการพัฒนา    การจัดทำแผนพัฒนายุทธศาสตร์เชิงพื้นที่ (Strategic Environmental Assessment/SEA) โดยภาครัฐคือการว่าจ้างที่ปรึกษาทางเทคนิคในการดำเนินการโครงการ เพื่อป้องกันและบรรเทาปัญหา ภายในกรอบของกฎหมายและแผนพัฒนาดังกล่าว   การมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์การพัฒนา  และการตัดสินใจว่าพื้นที่ของชุมชนควรถูกพัฒนาในทิศทางใดไม่ใช่ประเด็นของการจัดทำ SEA 

              เมื่อเป็นเช่นนี้การมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนต้องเริ่มต้นวันนี้ด้วยการกำหนดด้วยตนเองว่าชุมชนของตนเองจะไปทิศทางใด วิสัยทัศน์การพัฒนาในอีก ๕๐ ปีข้างหน้าต้องการแบบไหน  มิใช่ปล่อยให้ผู้กำหนดนโยบายเช่นรัฐบาล และสภาพัฒน์ฯเท่านั้นที่เป็นผู้กำหนด   และอ้างว่าให้ประชาชนมีส่วนร่วม   การมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนเป็นแบบใด คนใต้ควรปฏิบัติการด้วยตนเองจากการร่วมกำหนดว่าแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ควรเป็นอย่างไร

บล็อกของ คนไม่มีอะไร

คนไม่มีอะไร
  ประมวลภาพวันที่ 30 มีนาคม 2552 ณ สีแยกจองม่องไปจนถึงหน้าสถานีตำรวจภูธรสิชลวันที่ 30 มีนาคม 2552 เวลาประมาณ 08 : 30 น.  ณ สีแยกจองม่อง (อำเภอสิชล) ชาวบ้านประมาณ 300 คน ได้จัดขบวนรถยนต์ยาวประมาณ 30-40 คัน เพื่อไปมอบตัวพี่ด้วงตามหมายเรียก ที่ถูกนายอำเภอสิชลแจ้งความว่า "ดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการหน้าที่ หรือเพราะได้กระทำการหน้าที่" ชาวบ้าน เพือนพ้อง และมิตรสหายต่างพร้อมใจไปให้กำลังใจพี่ด้วงที่สถานีตำรวจภูธรสิชล ตามที่หมายเรียกผู้ต้องหา และพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับตำรวจขั้นต่อไป และค่อยไปว่ากันบนชั้นศาลกันต่อไป หมายเรียกผู้ต้องหา ของพี่ด้วงชาวบ้านเตรียมขบวนรถ…
คนไม่มีอะไร
  หยุดสร้างภาพด้วยวาทะ "การมีส่วนร่วมของประชาชน" ศยามล  ไกยูรวงศ์โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา           ในยุคสมัยนี้ไม่ว่าภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชนใช้ วาทะ "การมีส่วนร่วมของประชาชน" ทุกวงการ โดยกำหนดตัวชี้วัดของการบริหารงานแบบธรรมาภิบาลให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ  นับเป็นนิมิตรหมายอันดีสำหรับสังคมไทย ที่ทุกภาคส่วนตระหนักชัดในหลักการนี้    แต่ในความเป็นจริงการใช้วาทะกรรมดังกล่าว   ได้ถูกบิดเบือนเพื่อสร้างภาพพจน์ของการแสวงหาผลประโยชน์ของระบบ และตนเอง       …
คนไม่มีอะไร
  เอนก  นาคะบุตร ขอยุติการประชุมเวทีรับฝังความคิดเห็นชาวบ้าน                 วันที่ 19 มกราคม 2552 เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุมศาลาประชาคมอำเภอสิชล การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นชาวบ้าน ตำบลทุ่งปรัง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช เรื่องการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมีนครศรีธรรมราช  (ชาวบ้านกว่า 90%  ที่มาประชุมวันนี้ไม่ได้ถูกเชิญจากบริษัททีม และกนอ. )                …
คนไม่มีอะไร
 ถ้ามันเกิดขึ้นจริงๆ คนใด้เดือดร้อนแน่นอนทางเข้าท่าเรือน้ำลึกปากบาราจังหวัดสตูล เป็นโครงการเชื่อมสงขลา - สตูล (สะพานเศรษฐกิจ)แบบก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบาราระยะแรกผังโครงอาหารฮาลาลจังหวัดปัตตานีสิ่งที่จะเกิดในสตูล มองภาพสวยมาก แต่แปลกรูปทั้งหมดที่ผ่านเจ้าของโครงการไม่พูดถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น พูดแต่ตัวเลข    
คนไม่มีอะไร
  พืชน้ำมันในผืนป่า พื้นที่ชุ่มน้ำ และนาข้าว ศยามล   ไกยูรวงศ์โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา            กระแสการส่งเสริมปลูกพืชน้ำมันทดแทนการนำเข้าเริ่มจางหายไป เมื่อราคาน้ำมันตกต่ำลงเรื่อยๆ   ในขณะที่การส่งเสริมการปลูกพืชน้ำมันโดยภาครัฐยังดำเนินการต่อไป มันสำปะหลัง อ้อย และปาล์มน้ำมัน   เป็นพืชเศรษฐกิจที่ถูกส่งเสริมให้เพิ่มผลผลิตเพื่อเป็นพืชน้ำมันตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับกระทรวงพลังงาน  ในแผน ๕ ปี ของกระทรวงเกษตรฯ (พ.ศ.๒๕๕๑-๒๕๕๔) กำหนดให้ขยายพื้นที่ปลูกปาล์ม ๖ ล้านไร่…
คนไม่มีอะไร
   แผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ต้องถูกกำหนดโดยคนใต้   ศยามล  ไกยูรวงศ์โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา               การโฆษณาประชาสัมพันธ์กระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดการลงทุนดำเนินการโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งภาคใต้มีอย่างต่อเนื่อง จากรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานคณะกรรมการการลงทุน (BOI) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)  ยิ่งไปกว่านั้นยังได้รับการขานรับจากนักเศรษฐศาสตร์กันถ้วนหน้า เช่น ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล  …
คนไม่มีอะไร
  ทางออกของชาวสวนยางเมื่อราคายางพาราตกต่ำ ศยามล  ไกยูรวงศ์โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา               ยางพาราถือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนใต้ที่ผูกพันทั้งทางวัฒนธรรมและทางเศรษฐกิจมานานถึง ๑๐๘ ปี  ระบบการผลิตแบบพืชเชิงเดี่ยวได้เข้ามาแทนที่ป่ายางที่เติบโตพร้อมกับสวนผลไม้และป่าธรรมชาติซึ่งเป็นระบบการผลิตแบบสวนสมรม  หรือสวนพ่อเฒ่า   เงื่อนไขส่งเสริมการปลูกสวนยางโดยใช้กลยุทธ์ของเงินกองทุนสงเคราะห์สวนยางจากสำนักงานกองทุนสงเคราะห์สวนยาง (สกย.) การส่งเสริมการขยายพื้นที่ปลูก …
คนไม่มีอะไร
    แผนที่โครงการที่ตั้งโรงงานงานของเดิม และพื้นที่ถูกเพิกถอนแล้ว แผนที่ทางอากาศ ที่ตั้งของโครงการ และที่เห็นเส้นสีแดงเป็นสายพานลำเลียงจากโครงการถึงท่าเรือ มี 3 เส้น พื้นที่ป่าชายเลนที่หลืออยู่ป่ายชายเลนทางทิศโรงงานป่ายเลนอีกฟากถนนเส้นทางสาธารณของชาวบ้านใช้สัญจรเมื่อก่อนเป็น สวนมะพร้าว แต่ตอนนี้มันหายไปไหนก็ไม่รู้รองรอยบ้านชาวบ้านเดิม ที่เคยอาศัยแล้วใครมากั้นรั้วในพื้นที่สาธารณนี้ คิดอะไรหรือเปล่า? เนี้ยอย่าคิดว่าเรามาเที่ยวทะเลหมอก เพราะว่าฟ้าครึมๆ ที่เห็นอยู่นี้มันมีที่มา แต่ไม่มีที่ไปต้นมะพร้าวที่ถูกตัดไปแล้ว  
คนไม่มีอะไร
  แลนด์บริดจ์ ทางลัดสู่เศรษฐกิจ หรือทางตันสำหรับชาวปากบารา                  ตามที่เราทราบโดยทั่วกัน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่10 (พ.ศ.2550-2554) จะเน้นพื้นที่การพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ ทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ฯน ได้จัดทำแผนพัฒนาภาคใต้ต่างๆ                 1. การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งภาคใต้              …
คนไม่มีอะไร
    ชาวปัตตานีไม่คิดต่อต้าน  "ฮาลาล"  แต่...เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2551 ได้ลงไปสัมผัสพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในสภาวะความขัดแย้งของพื้นที่สามจังหวัด ณ วันนี้ เชื่อว่าหลายๆ คนอาจไม่รู้ว่า "ปัตตานีกำลังจะกลายเป็นครัวอาหารฮาลาลสู่ระดับโลก" ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่10 (พ.ศ.2550-2554) และภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาล จังหวัดชายแดนภาตใต้ ปี 2552-2555 ครัวฮาลาลแห่งนี้จะกินพื้นที่บริเวณอำเภอสายบุหรี่ และพื้นที่อำเภอปะนะเระ พื้นที่ที่จะใช้ก่อสร้างโดยประมาณทั้งหมด 933 ไร่ และจะกลายเป็นนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล  รูปที่1…
คนไม่มีอะไร
เคยส่งสัยไหมว่าทำไมหิ่งห้อยชอบอยู่แถวบริเวณต้นลำพู แล้วข้างๆ ต้นลำพูต้องมีต้นโกงกาง มีเรื่องเล่ามายาวนานว่า ต้นลำพูเคยเป็นผู้ชายมาก่อน แล้วไปลงรักนางหิ่งห้อยชวนหนีไปด้วยกัน แต่นางโกงกางก็มีใจให้นายลำพู จึงไม่ยอมให้หนีเลยเอารากตัวเองยึดนายลำพูไว้ นางหิ่งห้อยเลยจำเป็นบินเฝ้าต้นลำพูในยามค่ำคืน       เมื่อวันที่ 22-25 กรกฎาคม 2551 ที่ผ่านมาทางสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) ได้จัดประชุมเชิงปฎิบัติการครั้งที่2 การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพระดับชุมชน (CHIA) ณ บ้านทิพย์ สวนทอง จังหวัดสมุทรสงคราม ในการประชุมครั้งนี้ทางสช.…