Skip to main content

คนกลาย พูดดังๆ ว่า ไม่เอา...เชฟรอน

           วันที่  8 มีนาคม 2553 เวลา 08.30-12.00 น. ณ ลานหน้าองค์การบริหารส่วนตำบลกลาย ทางบริษัทเชฟรอนและบริษัทที่ปรึกษา ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นชาวบ้านตำบลกลาย อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เรื่องการสร้างท่าเรือ และคลังเก็บวัสดุของบริษัทเชฟรอน

เนื่องจากเชฟรอนต้องการย้ายฐานปฏิบัติการจาก จังหวัดชลบุรีและสงขลา มาอยู่ที่บ้านบางสาร ตำบลกลาย จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งทางบริษัทให้เหตุพลว่า ประหยัดค่าใช้จ่ายเพราะว่าสามารถลดต้นทุนในการขนส่งจากแท่นขุดเจาะมาบนฝั่ง และยังอีกบอกว่าบริษัทเชฟไม่เกี่ยวกับนิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่จะเกิดขึ้นในนครศรีธรรมราช
 
สำหรับเวทีวันนี้มีผู้เข้าร่วมประมาณ 700 คน โดยมี นายบุญวัฒน์ ชีช้าง รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราชได้มาเป็นประธานเปิดงาน และตอนท้ายสุดท่านก็ได้ขอให้ชาวบ้านฟังสิ่งที่บริษัทจะนำเสนอให้จบก่อน แล้วค่อยถาม ค่อยเสนอแนะ 
 
ทางบริษัทที่ปรึกษาและเชฟรอนก็นำเสนอโครงการจากเวลา 09.00-11.00 น. โดยประมาณ แต่ด้วยความน่ารักของชาวบ้านก็ฟังสิ่งที่เขานำนอจนจบ ซึ่งได้ทำตามตามที่รองผู้ว่าฯได้ขอไว้ตอนต้น
 
หลังจากนั้นชาวบ้านได้ขึ้นเวที ชาวบ้านที่ขึ้นเวที มีอยู่ประมาณ 7-8 คน ที่พยายามได้เสนอ และให้ข้อมูลเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องผลกระทบที่จะเกิดขึ้น เรื่องระเบิด เรื่องการทิ้งตะก้อนดิน เรื่องความไม่เป็นธรรมของบริษัทเชฟรอนที่ได้มาแจกของ แจกขนมปัง แจกคอมพิวเตอร์ และกรอบการศึกษาของบริษัทที่ปรึกษา ที่มาที่ไปของนักวิชาการ เป็นต้น คำเหล่านี้ล้วนแต่มาจากใจของชาวบ้านทั้งสิน
 
เชฟรอนเป็นบริษัทพลังงานที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก และเป็นของอเมริกา ปัจจุบันเชฟรอนทำธุรกิจในประเทศต่างๆ กว่า 180 ประเทศทั่วโลก ร่วมประเทศไทยด้วยเช่นกัน ซึ่งทำแบบครอบคลุมการดำเนินงานด้านพลังที่ครบวงจร แต่แต่การสำรวจและผลิต การกลั่น การตลาดและขนส่ง การผลิตและจำหน่ายเคมีภัณ์ รวมไปถึงการผลิตไฟฟ้า…ดังนั้นเชฟรอนจึงไม่แค่สร้างท่าเรือเท่านั้น แต่เป็นการทำอุตสาหกรรมปิโตรเลียม ซึ่งตำบลกลายเป็นพื้นที่เป้าหมาย 
 
ได้เวลาทานข้าวเที่ยงชาวบ้านไม่ต้องการยืดเยื้อจึงขอมติจากผู้ร่วมเวทีโดยการยกมือว่า จะเอา หรือ ไม่เอา เชฟรอน  มติออกมาชัดเจนว่า ไม่เอาเชฟรอน ซึ่งมติวันนี้มีรองผูว่าฯ นายอำเภอท่าศาลา นายกอบต. กลาย ข้าราชการ สมาชิก อบต. นักวิชาการจากบริษัทที่ปรึกษาฯ และที่สำคัญคือเชฟรอน ต่างรับรู้ และรับทราบทุกช่วงเวลา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 ยกมือไม่เอาเชฟรอน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อีกมุมหนึ่ง 

 

ความไม่เป็นธรรมจากเวทีเชฟรอน
 
1. เวทีวันนี้จัดประชุมใน 08.30-12.00 น. เจ้าของโครงการและบริษัทที่ปรึกษาเสนอโครงการใช้เวลาจาก 08.30 – 11.00 น. 1 ชั่วโมงที่เหลือสำหรับชาวบ้านซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่มันพอแล้วเหรอ เวลาน้อยมากถ้าเปรียบเทียบกับสิ่งที่เชฟรอนกำลังจะทำในพื้นที่กลาย ความเป็นธรรมจากเวทีนี้มันอยู่ที่ไหน? ชาวบ้านสรุปว่า ไม่เอาเชฟรอน เชฟรอนออกไป
 
2. เวทีวันนี้มีการถ่ายทอดสดทางสื่อวิทยุชุมชนตั้งแต่เริ่มเวทีช่วงเริ่มเวทีทางบริษัทที่ปรึกษาและเชฟรอน ได้อธิบายโครงการ ว่าโครงการนี้ดีอย่างนี้ โครงการนี้ดีอย่างโน้น สรุปแล้วดีทุกอย่างทุกอย่าง ผลกระทบก็ไม่มี (ฟังดูแล้วก็ตลกดี เพราะโครงการใหญ่ขนาดนี้ไม่มีผลกระทบเลยเหรอ? ) แต่พอถึงเวลาที่ชาวบ้านได้แสดงความคิดเห็น ได้มีโอกาสเสนอแนะ ก็มีการตัดสายเสียงที่ถ่ายสดออกทันที ความเป็นธรรมจากเวทีนี้มันอยู่ที่ไหน? ชาวบ้านสรุปว่า ไม่เอาเชฟรอน  เชฟรอนออกไป
 
3.เวทีวันนี้หลังจากบริษัทที่ปรึกษา และเชฟรอน ได้เสนอรายละเอียดของโครงการเสร็จแล้ว ก็มีอาจารย์มานะ ช่วยชู ลุกขึ้นมาให้ความคิดเห็นและให้ความจริงเกี่ยวกับโครงการที่ทางบริษัทยังไม่ได้พูดถึง เช่น ผลกระทบจากการทิ้งตะกอนดิน ลูกระเบิดที่ทางเชฟรอนมีไว้ในคลัง แต่ทางบริษัทยังไม่ได้พูด อะไรทำนองนี้ แต่ถูกกลั้นแกล้งมีคนทอดสายไมค์ออกจากลำโพง (คิดๆ ดูแล้วเหมือนไม่อยากให้ชาวบ้านได้รับรู้ความจริง) ซึ่งเป็นการริรอนสิทธิของประชาชน และชุมชนตามรัฐธรรมนูญมาตรา 66 และ 67 ความเป็นธรรมจากเวทีนี้มันอยู่ที่ไหน? ชาวบ้านสรุปว่า ไม่เอาเชฟรอน  เชฟรอนออกไป
 
ชาวบ้านชัดเจนแล้วว่า ไม่เอาเชฟรอน  เชฟรอนออกไป แต่ทางบริษัทที่ปรึกษาก็พยายามยัดเยียดให้ชาวบ้านรับฟังความคิดเห็น และให้ชาวบ้านเสนอความคิดเห็น และข้อกังวลใจ แสดงว่าทางบริษัทที่ปรึกษายังไม่เข้าใจที่ชาวบ้านหลายๆ คนพยายามพูด และพูดดังๆ ว่าไม่เอาเชฟรอน  เชฟรอนออกไป  ถ้าไม่เอาแล้ว ทำไมต้องฟังความคิดเห็น ทำไมต้องมีความกังวล คือสรุปว่า ไม่เอาเชฟรอน  ไม่ต้องมาศึกษา ไม่ต้องมีข้อกังวล ไม่ต้องมีข้อเสนอแนะ

           สรุปอีกครั้งว่า ชาวบ้านไม่เอาเชฟรอน อย่าพยายามยัดเยียดสิ่งที่ไม่ดีให้กับชาวบ้านอีกเลย คุณเองก็รู้อยู่เต็มอก ว่ามันร้ายแรงขนาดไหน

บล็อกของ คนไม่มีอะไร

คนไม่มีอะไร
  ประมวลภาพวันที่ 30 มีนาคม 2552 ณ สีแยกจองม่องไปจนถึงหน้าสถานีตำรวจภูธรสิชลวันที่ 30 มีนาคม 2552 เวลาประมาณ 08 : 30 น.  ณ สีแยกจองม่อง (อำเภอสิชล) ชาวบ้านประมาณ 300 คน ได้จัดขบวนรถยนต์ยาวประมาณ 30-40 คัน เพื่อไปมอบตัวพี่ด้วงตามหมายเรียก ที่ถูกนายอำเภอสิชลแจ้งความว่า "ดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการหน้าที่ หรือเพราะได้กระทำการหน้าที่" ชาวบ้าน เพือนพ้อง และมิตรสหายต่างพร้อมใจไปให้กำลังใจพี่ด้วงที่สถานีตำรวจภูธรสิชล ตามที่หมายเรียกผู้ต้องหา และพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับตำรวจขั้นต่อไป และค่อยไปว่ากันบนชั้นศาลกันต่อไป หมายเรียกผู้ต้องหา ของพี่ด้วงชาวบ้านเตรียมขบวนรถ…
คนไม่มีอะไร
  หยุดสร้างภาพด้วยวาทะ "การมีส่วนร่วมของประชาชน" ศยามล  ไกยูรวงศ์โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา           ในยุคสมัยนี้ไม่ว่าภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชนใช้ วาทะ "การมีส่วนร่วมของประชาชน" ทุกวงการ โดยกำหนดตัวชี้วัดของการบริหารงานแบบธรรมาภิบาลให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ  นับเป็นนิมิตรหมายอันดีสำหรับสังคมไทย ที่ทุกภาคส่วนตระหนักชัดในหลักการนี้    แต่ในความเป็นจริงการใช้วาทะกรรมดังกล่าว   ได้ถูกบิดเบือนเพื่อสร้างภาพพจน์ของการแสวงหาผลประโยชน์ของระบบ และตนเอง       …
คนไม่มีอะไร
  เอนก  นาคะบุตร ขอยุติการประชุมเวทีรับฝังความคิดเห็นชาวบ้าน                 วันที่ 19 มกราคม 2552 เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุมศาลาประชาคมอำเภอสิชล การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นชาวบ้าน ตำบลทุ่งปรัง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช เรื่องการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมีนครศรีธรรมราช  (ชาวบ้านกว่า 90%  ที่มาประชุมวันนี้ไม่ได้ถูกเชิญจากบริษัททีม และกนอ. )                …
คนไม่มีอะไร
 ถ้ามันเกิดขึ้นจริงๆ คนใด้เดือดร้อนแน่นอนทางเข้าท่าเรือน้ำลึกปากบาราจังหวัดสตูล เป็นโครงการเชื่อมสงขลา - สตูล (สะพานเศรษฐกิจ)แบบก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบาราระยะแรกผังโครงอาหารฮาลาลจังหวัดปัตตานีสิ่งที่จะเกิดในสตูล มองภาพสวยมาก แต่แปลกรูปทั้งหมดที่ผ่านเจ้าของโครงการไม่พูดถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น พูดแต่ตัวเลข    
คนไม่มีอะไร
  พืชน้ำมันในผืนป่า พื้นที่ชุ่มน้ำ และนาข้าว ศยามล   ไกยูรวงศ์โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา            กระแสการส่งเสริมปลูกพืชน้ำมันทดแทนการนำเข้าเริ่มจางหายไป เมื่อราคาน้ำมันตกต่ำลงเรื่อยๆ   ในขณะที่การส่งเสริมการปลูกพืชน้ำมันโดยภาครัฐยังดำเนินการต่อไป มันสำปะหลัง อ้อย และปาล์มน้ำมัน   เป็นพืชเศรษฐกิจที่ถูกส่งเสริมให้เพิ่มผลผลิตเพื่อเป็นพืชน้ำมันตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับกระทรวงพลังงาน  ในแผน ๕ ปี ของกระทรวงเกษตรฯ (พ.ศ.๒๕๕๑-๒๕๕๔) กำหนดให้ขยายพื้นที่ปลูกปาล์ม ๖ ล้านไร่…
คนไม่มีอะไร
   แผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ต้องถูกกำหนดโดยคนใต้   ศยามล  ไกยูรวงศ์โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา               การโฆษณาประชาสัมพันธ์กระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดการลงทุนดำเนินการโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งภาคใต้มีอย่างต่อเนื่อง จากรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานคณะกรรมการการลงทุน (BOI) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)  ยิ่งไปกว่านั้นยังได้รับการขานรับจากนักเศรษฐศาสตร์กันถ้วนหน้า เช่น ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล  …
คนไม่มีอะไร
  ทางออกของชาวสวนยางเมื่อราคายางพาราตกต่ำ ศยามล  ไกยูรวงศ์โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา               ยางพาราถือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนใต้ที่ผูกพันทั้งทางวัฒนธรรมและทางเศรษฐกิจมานานถึง ๑๐๘ ปี  ระบบการผลิตแบบพืชเชิงเดี่ยวได้เข้ามาแทนที่ป่ายางที่เติบโตพร้อมกับสวนผลไม้และป่าธรรมชาติซึ่งเป็นระบบการผลิตแบบสวนสมรม  หรือสวนพ่อเฒ่า   เงื่อนไขส่งเสริมการปลูกสวนยางโดยใช้กลยุทธ์ของเงินกองทุนสงเคราะห์สวนยางจากสำนักงานกองทุนสงเคราะห์สวนยาง (สกย.) การส่งเสริมการขยายพื้นที่ปลูก …
คนไม่มีอะไร
    แผนที่โครงการที่ตั้งโรงงานงานของเดิม และพื้นที่ถูกเพิกถอนแล้ว แผนที่ทางอากาศ ที่ตั้งของโครงการ และที่เห็นเส้นสีแดงเป็นสายพานลำเลียงจากโครงการถึงท่าเรือ มี 3 เส้น พื้นที่ป่าชายเลนที่หลืออยู่ป่ายชายเลนทางทิศโรงงานป่ายเลนอีกฟากถนนเส้นทางสาธารณของชาวบ้านใช้สัญจรเมื่อก่อนเป็น สวนมะพร้าว แต่ตอนนี้มันหายไปไหนก็ไม่รู้รองรอยบ้านชาวบ้านเดิม ที่เคยอาศัยแล้วใครมากั้นรั้วในพื้นที่สาธารณนี้ คิดอะไรหรือเปล่า? เนี้ยอย่าคิดว่าเรามาเที่ยวทะเลหมอก เพราะว่าฟ้าครึมๆ ที่เห็นอยู่นี้มันมีที่มา แต่ไม่มีที่ไปต้นมะพร้าวที่ถูกตัดไปแล้ว  
คนไม่มีอะไร
  แลนด์บริดจ์ ทางลัดสู่เศรษฐกิจ หรือทางตันสำหรับชาวปากบารา                  ตามที่เราทราบโดยทั่วกัน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่10 (พ.ศ.2550-2554) จะเน้นพื้นที่การพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ ทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ฯน ได้จัดทำแผนพัฒนาภาคใต้ต่างๆ                 1. การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งภาคใต้              …
คนไม่มีอะไร
    ชาวปัตตานีไม่คิดต่อต้าน  "ฮาลาล"  แต่...เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2551 ได้ลงไปสัมผัสพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในสภาวะความขัดแย้งของพื้นที่สามจังหวัด ณ วันนี้ เชื่อว่าหลายๆ คนอาจไม่รู้ว่า "ปัตตานีกำลังจะกลายเป็นครัวอาหารฮาลาลสู่ระดับโลก" ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่10 (พ.ศ.2550-2554) และภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาล จังหวัดชายแดนภาตใต้ ปี 2552-2555 ครัวฮาลาลแห่งนี้จะกินพื้นที่บริเวณอำเภอสายบุหรี่ และพื้นที่อำเภอปะนะเระ พื้นที่ที่จะใช้ก่อสร้างโดยประมาณทั้งหมด 933 ไร่ และจะกลายเป็นนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล  รูปที่1…
คนไม่มีอะไร
เคยส่งสัยไหมว่าทำไมหิ่งห้อยชอบอยู่แถวบริเวณต้นลำพู แล้วข้างๆ ต้นลำพูต้องมีต้นโกงกาง มีเรื่องเล่ามายาวนานว่า ต้นลำพูเคยเป็นผู้ชายมาก่อน แล้วไปลงรักนางหิ่งห้อยชวนหนีไปด้วยกัน แต่นางโกงกางก็มีใจให้นายลำพู จึงไม่ยอมให้หนีเลยเอารากตัวเองยึดนายลำพูไว้ นางหิ่งห้อยเลยจำเป็นบินเฝ้าต้นลำพูในยามค่ำคืน       เมื่อวันที่ 22-25 กรกฎาคม 2551 ที่ผ่านมาทางสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) ได้จัดประชุมเชิงปฎิบัติการครั้งที่2 การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพระดับชุมชน (CHIA) ณ บ้านทิพย์ สวนทอง จังหวัดสมุทรสงคราม ในการประชุมครั้งนี้ทางสช.…