Skip to main content

แถลงการณ์ กป.อพช.ใต้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แถลงข่าว

คณะกรรมการประสานงานองค์กรเอกชนภาคใต้(กป.อพช.ใต้)

การพัฒนาประเทศในปัจจุบันไม่ได้ก่อให้เกิดการพัฒนาที่นำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของคน ชุมชน สิ่งแวดล้อม แม้กระทั่งมิติเศรษฐกิจ เห็นได้ชัดจากช่องว่างทางรายได้ยังเพิ่มสูงขึ้น สัดส่วนคนจนและปัญหาสังคมยังเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ทั้งนี้เนื่องจากการพัฒนาประเทศยังคงเน้นภาคอุตสาหกรรมเป็นหลัก ซึ่งเป็นภาคเศรษฐกิจที่ก่อให้เกิดช่องว่างของรายได้ เกิดกระทบต่อคนส่วนใหญ่ ทำลายสิ่งแวดล้อม สุขภาพและสังคม ซึ่งผลกระทบดังกล่าวมีส่วนอย่างสำคัญในการลดทอนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งหากประเทศไทยยังไม่เปลี่ยนทิศทางการพัฒนาที่ก่อให้เกิดปัญหาและความรุนแรงเพิ่มขึ้นจนไม่อาจเยียวยาได้ในอนาคต ปัจจุบันได้เกิดผลพวงจากการพัฒนาอุตสาหกรรมเกิดขึ้นแล้วในหลายพื้นที่ซึ่งมีผลทำลายคนส่วนใหญ่แต่ปรนเปรอคนส่วนน้อย เช่น กรณีมาบตาพุดซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบขนาดใหญ่ดังที่ทราบกันทั่วประเทศและรัฐบาลยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้เลยแม้มิติเดียว ในทางตรงกันข้ามรัฐได้สร้างกลไกที่ก่อให้เกิดความรุนแรงเพิ่มขึ้นในการพัฒนาอุตสาหกรรมซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงในอนาคต ซึ่งหากไม่สามารถสร้างทิศทางการพัฒนาประเทศที่ชัดเจนและยึดถือประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ประเทศไทยจะประสบวิกฤติอย่างร้ายแรง

กป.อพช.ใต้ได้ติดตามกระบวนการพัฒนาอุตสาหกรรมของรัฐมาโดยตลอด วิตกกังวล ในรอบการประชุมคณะกรรมการองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้ วันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๓ มีมติ ดังต่อไปนี้

๑. ประเด็นการกำหนดประเภทโครงการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างร้ายแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๖๗

กป.อพช.ใต้ มีความเห็นว่า เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญมาตรา ๖๗ เป็นการสะท้อนความคิดสังคมไทยว่า พร้อมที่จะรับโครงการพัฒนาที่อาจมีผลกระทบต่างๆ แต่ผู้ดำเนินโครงการต้องมีกระบวนการศึกษาและวางมาตรการลดผลกระทบทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อม สังคม สุขภาพ รวมทั้งเปิดให้มีกระบวนการมีส่วนร่วมจากประชาชนและจากผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นประกอบในนามองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อม เป็นกลไกกลั่นกรองโครงการที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนอย่างรุนแรงให้ดำเนินการอย่างรอบคอบ ไว้ระดับหนึ่ง ส่วนกระบวนการอนุมัติ อนุญาต เป็นบทบาทของฝ่ายการเมืองที่จะต้องกำหนดนโยบาย และรับผิดชอบต่อนโยบายและการตัดสินใจของตน   

อย่างไรก็ตาม ได้มีความพยายามที่จะกำหนดนิยาม โครงการที่มีผลกระทบรุนแรง ผ่านการทำงานของคณะกรรมการ๔ ฝ่าย ซึ่งประชาชนในภาคใต้ได้ร่วมกันเสนอโครงการที่จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงตามกลไกของคณะกรรมการ๔ฝ่าย และเข้าใจว่าจะมีการประกาศตามข้อเสนอของประชาชน แต่ปรากฏว่ารัฐบาลนำข้อเสนอของคณะกรรมการ๔ฝ่าย กลับไปให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเอง เป็นประธาน พิจารณาแก้ไข ทั้งที่ไม่มีกฎหมายฉบับใด รองรับความชอบธรรมในการกำหนดตัดสินใจว่าโครงการใดอาจก่อให้เกิดความรุนแรงฯ ของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม

ขั้นตอนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๖๗ ไม่ใช่ขั้นตอนที่เหนือบ่ากว่าแรง เกินกว่าที่เจ้าของโครงการจะดำเนินการไม่ได้ ทั้งจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อประโยชน์สุขของทุกฝ่าย ถ้านักลงทุนและบริษัทต่างมีความจริงใจ มีธรรมาภิบาล มีมาตรฐานสูง มีความรับผิดชอบ กป.อพช.ใต้ จึงเห็นว่ารัฐบาลต้องยึดหลักเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ในเบื้องต้นให้ยึดรูปแบบและจำนวนโครงการที่คณะกรรมการ๔ฝ่ายกำหนด และเพิ่มจำนวนโครงการฯที่เสนอโดยประชาชน ซึ่งหลายโครงการได้ถูกตัดออกไป ตั้งแต่ขั้นคณะกรรมการ ๔ฝ่าย เช่น ปิโตรเคมีปลายน้ำ การขุดเจาะน้ำมัน ซึ่งล้วนเป็นโครงการที่ก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรงทั้งสิ้น

กป.อพช.ใต้ เสนอให้ องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อม ต้องเป็นกลไกหลักในการทบทวนการกำหนดประเภทโครงการรุนแรงที่ต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๖๗

๒. กรณีโครงการต่างๆในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ซึ่งตัวนายกรัฐมนตรีเองเป็นประธาน มีเจตนายกเว้นมิให้ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ มีผลทำให้โครงการต่างๆเพิ่มขึ้น ทั้งๆที่ปัญหามลพิษในมาบตาพุด รุนแรงเกินจะรองรับได้อีก กป.อพช.ใต้ เห็นว่า รัฐบาลต้องแก้ปัญหามาบตาพุดให้ได้ก่อนเป็นเบื้องต้น ไม่ใช่เพิ่มปัญหาด้วยการลดขั้นตอน อำนวยความสะดวกแก่ฝ่ายอุตสาหกรรมอย่างน่ารังเกียจ

๓. รัฐบาลต้องทำให้เห็นถึงความจริงใจในการที่จะดูแลประชาชนทุกฝ่าย ก่อนที่จะกำหนดการพัฒนาในพื้นที่อื่นๆ ด้วยการยุติโครงการศึกษาของหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาพื้นที่ในภาคใต้  ซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายของการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของรัฐและเอกชนทั้งในและนอกประเทศ ทั้งนี้คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ประเด็น แผนพัฒนาที่ยั่งยืน...กรณีภาคใต้ตามกระบวนการพิจารณาของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่๒ โดยมีสาระสำคัญให้คณะรัฐมนตรีพิจารณามอบหมายให้สภาพัฒน์ฯ ทบทวนและยุติแผนพัฒนาอุตสาหกรรมภาคใต้ และให้คณะรัฐมนตรีออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจภาคใต้และภาคอื่นๆอย่างยั่งยืน กป.อพช.ใต้ เรียกร้องให้คณะรัฐมนตรีผลักดันให้เกิดผลในทางปฏิบัติ และให้ยุติการพัฒนาอุตสาหกรรมภาคใต้ทั้งหมดก่อน จนกว่าจะเกิดแผนแม่บทการพัฒนาที่ยั่งยืน

๔.รัฐบาลโดยสำนักงานนโยบายแผนและสิ่งแวดล้อม(สผ.) ได้จัดทำแผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๓-๒๕๖๒ ซึ่งไม่ได้นำไปสู่การลดภาวะโลกร้อนอย่างแท้จริง เนื่องจากเนื้อหาของแผนแม่บทดังกล่าวไม่ได้นำไปสู่การควบคุมการเกิดขึ้นและการปล่อยสารพิษของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นภาคการผลิตที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนมากที่สุด อีกทั้งกระบวนการกำหนดเนื้อหาสาระไม่ได้สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนตั้งแต่ขั้นต้นตลอดจนการรับฟังความคิดเห็น

กป.อพช.ใต้ จึงไม่เห็นด้วยกับร่างแผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๓-๒๕๖๒ ทั้งฉบับ จนกว่าจะผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการจัดทำแนวคิด เนื้อหา และโครงการทั้งหมดเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาของโลกร้อน

กป.อพช.ใต้ ปรารถนาที่จะเห็นการพัฒนาที่ยึดถือประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม สังคมและชุมชน การพัฒนาที่ทุกคนมีส่วนร่วมคิด ร่วมรับประโยชน์ ซึ่งจะเป็นการพัฒนาที่ถูกต้องอย่างแท้จริง นอกเหนือจากนี้เป็นการพัฒนาที่เราไม่เห็นด้วยและขอคัดค้านถึงที่สุด

บล็อกของ คนไม่มีอะไร

คนไม่มีอะไร
  ประมวลภาพวันที่ 30 มีนาคม 2552 ณ สีแยกจองม่องไปจนถึงหน้าสถานีตำรวจภูธรสิชลวันที่ 30 มีนาคม 2552 เวลาประมาณ 08 : 30 น.  ณ สีแยกจองม่อง (อำเภอสิชล) ชาวบ้านประมาณ 300 คน ได้จัดขบวนรถยนต์ยาวประมาณ 30-40 คัน เพื่อไปมอบตัวพี่ด้วงตามหมายเรียก ที่ถูกนายอำเภอสิชลแจ้งความว่า "ดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการหน้าที่ หรือเพราะได้กระทำการหน้าที่" ชาวบ้าน เพือนพ้อง และมิตรสหายต่างพร้อมใจไปให้กำลังใจพี่ด้วงที่สถานีตำรวจภูธรสิชล ตามที่หมายเรียกผู้ต้องหา และพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับตำรวจขั้นต่อไป และค่อยไปว่ากันบนชั้นศาลกันต่อไป หมายเรียกผู้ต้องหา ของพี่ด้วงชาวบ้านเตรียมขบวนรถ…
คนไม่มีอะไร
  หยุดสร้างภาพด้วยวาทะ "การมีส่วนร่วมของประชาชน" ศยามล  ไกยูรวงศ์โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา           ในยุคสมัยนี้ไม่ว่าภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชนใช้ วาทะ "การมีส่วนร่วมของประชาชน" ทุกวงการ โดยกำหนดตัวชี้วัดของการบริหารงานแบบธรรมาภิบาลให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ  นับเป็นนิมิตรหมายอันดีสำหรับสังคมไทย ที่ทุกภาคส่วนตระหนักชัดในหลักการนี้    แต่ในความเป็นจริงการใช้วาทะกรรมดังกล่าว   ได้ถูกบิดเบือนเพื่อสร้างภาพพจน์ของการแสวงหาผลประโยชน์ของระบบ และตนเอง       …
คนไม่มีอะไร
  เอนก  นาคะบุตร ขอยุติการประชุมเวทีรับฝังความคิดเห็นชาวบ้าน                 วันที่ 19 มกราคม 2552 เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุมศาลาประชาคมอำเภอสิชล การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นชาวบ้าน ตำบลทุ่งปรัง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช เรื่องการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมีนครศรีธรรมราช  (ชาวบ้านกว่า 90%  ที่มาประชุมวันนี้ไม่ได้ถูกเชิญจากบริษัททีม และกนอ. )                …
คนไม่มีอะไร
 ถ้ามันเกิดขึ้นจริงๆ คนใด้เดือดร้อนแน่นอนทางเข้าท่าเรือน้ำลึกปากบาราจังหวัดสตูล เป็นโครงการเชื่อมสงขลา - สตูล (สะพานเศรษฐกิจ)แบบก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบาราระยะแรกผังโครงอาหารฮาลาลจังหวัดปัตตานีสิ่งที่จะเกิดในสตูล มองภาพสวยมาก แต่แปลกรูปทั้งหมดที่ผ่านเจ้าของโครงการไม่พูดถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น พูดแต่ตัวเลข    
คนไม่มีอะไร
  พืชน้ำมันในผืนป่า พื้นที่ชุ่มน้ำ และนาข้าว ศยามล   ไกยูรวงศ์โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา            กระแสการส่งเสริมปลูกพืชน้ำมันทดแทนการนำเข้าเริ่มจางหายไป เมื่อราคาน้ำมันตกต่ำลงเรื่อยๆ   ในขณะที่การส่งเสริมการปลูกพืชน้ำมันโดยภาครัฐยังดำเนินการต่อไป มันสำปะหลัง อ้อย และปาล์มน้ำมัน   เป็นพืชเศรษฐกิจที่ถูกส่งเสริมให้เพิ่มผลผลิตเพื่อเป็นพืชน้ำมันตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับกระทรวงพลังงาน  ในแผน ๕ ปี ของกระทรวงเกษตรฯ (พ.ศ.๒๕๕๑-๒๕๕๔) กำหนดให้ขยายพื้นที่ปลูกปาล์ม ๖ ล้านไร่…
คนไม่มีอะไร
   แผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ต้องถูกกำหนดโดยคนใต้   ศยามล  ไกยูรวงศ์โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา               การโฆษณาประชาสัมพันธ์กระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดการลงทุนดำเนินการโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งภาคใต้มีอย่างต่อเนื่อง จากรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานคณะกรรมการการลงทุน (BOI) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)  ยิ่งไปกว่านั้นยังได้รับการขานรับจากนักเศรษฐศาสตร์กันถ้วนหน้า เช่น ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล  …
คนไม่มีอะไร
  ทางออกของชาวสวนยางเมื่อราคายางพาราตกต่ำ ศยามล  ไกยูรวงศ์โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา               ยางพาราถือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนใต้ที่ผูกพันทั้งทางวัฒนธรรมและทางเศรษฐกิจมานานถึง ๑๐๘ ปี  ระบบการผลิตแบบพืชเชิงเดี่ยวได้เข้ามาแทนที่ป่ายางที่เติบโตพร้อมกับสวนผลไม้และป่าธรรมชาติซึ่งเป็นระบบการผลิตแบบสวนสมรม  หรือสวนพ่อเฒ่า   เงื่อนไขส่งเสริมการปลูกสวนยางโดยใช้กลยุทธ์ของเงินกองทุนสงเคราะห์สวนยางจากสำนักงานกองทุนสงเคราะห์สวนยาง (สกย.) การส่งเสริมการขยายพื้นที่ปลูก …
คนไม่มีอะไร
    แผนที่โครงการที่ตั้งโรงงานงานของเดิม และพื้นที่ถูกเพิกถอนแล้ว แผนที่ทางอากาศ ที่ตั้งของโครงการ และที่เห็นเส้นสีแดงเป็นสายพานลำเลียงจากโครงการถึงท่าเรือ มี 3 เส้น พื้นที่ป่าชายเลนที่หลืออยู่ป่ายชายเลนทางทิศโรงงานป่ายเลนอีกฟากถนนเส้นทางสาธารณของชาวบ้านใช้สัญจรเมื่อก่อนเป็น สวนมะพร้าว แต่ตอนนี้มันหายไปไหนก็ไม่รู้รองรอยบ้านชาวบ้านเดิม ที่เคยอาศัยแล้วใครมากั้นรั้วในพื้นที่สาธารณนี้ คิดอะไรหรือเปล่า? เนี้ยอย่าคิดว่าเรามาเที่ยวทะเลหมอก เพราะว่าฟ้าครึมๆ ที่เห็นอยู่นี้มันมีที่มา แต่ไม่มีที่ไปต้นมะพร้าวที่ถูกตัดไปแล้ว  
คนไม่มีอะไร
  แลนด์บริดจ์ ทางลัดสู่เศรษฐกิจ หรือทางตันสำหรับชาวปากบารา                  ตามที่เราทราบโดยทั่วกัน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่10 (พ.ศ.2550-2554) จะเน้นพื้นที่การพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ ทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ฯน ได้จัดทำแผนพัฒนาภาคใต้ต่างๆ                 1. การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งภาคใต้              …
คนไม่มีอะไร
    ชาวปัตตานีไม่คิดต่อต้าน  "ฮาลาล"  แต่...เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2551 ได้ลงไปสัมผัสพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในสภาวะความขัดแย้งของพื้นที่สามจังหวัด ณ วันนี้ เชื่อว่าหลายๆ คนอาจไม่รู้ว่า "ปัตตานีกำลังจะกลายเป็นครัวอาหารฮาลาลสู่ระดับโลก" ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่10 (พ.ศ.2550-2554) และภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาล จังหวัดชายแดนภาตใต้ ปี 2552-2555 ครัวฮาลาลแห่งนี้จะกินพื้นที่บริเวณอำเภอสายบุหรี่ และพื้นที่อำเภอปะนะเระ พื้นที่ที่จะใช้ก่อสร้างโดยประมาณทั้งหมด 933 ไร่ และจะกลายเป็นนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล  รูปที่1…
คนไม่มีอะไร
เคยส่งสัยไหมว่าทำไมหิ่งห้อยชอบอยู่แถวบริเวณต้นลำพู แล้วข้างๆ ต้นลำพูต้องมีต้นโกงกาง มีเรื่องเล่ามายาวนานว่า ต้นลำพูเคยเป็นผู้ชายมาก่อน แล้วไปลงรักนางหิ่งห้อยชวนหนีไปด้วยกัน แต่นางโกงกางก็มีใจให้นายลำพู จึงไม่ยอมให้หนีเลยเอารากตัวเองยึดนายลำพูไว้ นางหิ่งห้อยเลยจำเป็นบินเฝ้าต้นลำพูในยามค่ำคืน       เมื่อวันที่ 22-25 กรกฎาคม 2551 ที่ผ่านมาทางสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) ได้จัดประชุมเชิงปฎิบัติการครั้งที่2 การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพระดับชุมชน (CHIA) ณ บ้านทิพย์ สวนทอง จังหวัดสมุทรสงคราม ในการประชุมครั้งนี้ทางสช.…