Skip to main content


"นางแบบภาพประกอบ สุธาทิพย์ โมราลาย คอลัมนิสต์วรรณกรรมกุลสตรี ถ่ายโดยผู้เขียน"

สมัยหนึ่ง
ขงจื๊อกับศิษยานุศิษย์เดินทางไปรัฐชี้ เส้นทางผ่านป่าใหญ่เชิงภูเขาไท้ซัว ได้ยินเสียงร่ำไห้ของสตรีนางหนึ่งแว่วมาแต่ไกล ขงจื๊อหยุดม้า นิ่งอยู่ครู่หนึ่งแล้วพูดขึ้นว่า
“เสียงร้องไห้ฟังโหยหวนน่าเวทนานัก หญิงผู้นั้นคงได้รับทุกข์แสนสาหัสเป็นแน่”
จื๊อกุงศิษย์ผู้ใกล้ชิดรับอาสาไปถามเหตุ
หญิงนั้นกล่าวแก่จื๊อกุงว่า
“น้าชายของฉันถูกเสือขบตายไม่นานมานี้ ต่อมาสามีของฉันก็ถูกเสือกินอีก บัดนี้เจ้าวายร้ายก็คาบเอาลูกชายตัวเล็กๆของฉันไปอีก”
จื๊อกุงถามว่า
“ทำไมท่านไม่ย้ายไปอยู่เสียที่อื่นเล่า”
เธอตอบสะอื้น
“ฉันย้ายไม่ได้ดอก”
“ทำไมล่ะ”
“ก็ที่นี่...ไม่มีรัฐบาลที่กดขี่ข่มเหงน่ะซี”
เมื่อจื๊อกุงนำความมาเล่าให้ขงจื๊อฟัง ขงจื๊อกล่าวแก่คณะศิษย์ผู้ติดตามว่า
“พวกเธอจงจำไว้ รัฐบาลที่กดขี่ข่มเหงประชาชนนั้น ร้ายกว่าเสือเสียอีก”
 
ครับ นี่เป็นเรื่องสั้นๆ ที่ผมคัดมาจากหนังสือ “นิทานปรัชญาเต๋า” ของ เสถียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต พิมพ์ครั้งที่ 4 โดยสำนักพิมพ์มติชน 2539 อ่านแล้วก็ได้แต่นึกปลงตกว่า รัฐบาลที่ตั้งตัวเป็นศัตรูผู้กดขี่ข่มเหงประชาชน มิใช่ของที่แปลกใหม่แต่อย่างไร เพราะมันมีมานานนับเป็นพันกว่าปีแล้ว และน่าเกลียดน่ากลัวอย่างนี้นี่เอง ผู้หญิงคนนี้ถึงยอมตายอยู่กับเสือดีกว่า ยอมอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลที่เลวร้ายแบบนี้
 
 นอกจากเรื่องนี้แล้ว ยังมีเรื่องอื่นเกี่ยวกับรัฐในทัศนะของขงจื๊อที่น่าสนใจอีกหลายเรื่อง ที่ผมชอบมากที่สุดก็คือเรื่อง “กฎเกณฑ์ของการเป็นคนดี” เพราะเรื่องนี้มิได้มีความหมายเฉพาะเรื่องของรัฐ แต่ยังเป็นเรื่องจริยธรรมที่ครอบคลุมถึงสังคมของคนทั่วๆไป และปัจเจกชนทุกรูปแบบ (พึงตระหนักด้วย)  เรื่องนี้คุณเสถียรพงษ์เล่าเอาไว้ว่า
 
เมื่อขงจื๊ออายุ 52 ปี
ได้รับตำแหน่งเป็นนคราภิบาล นครซุงตู ภายในระยะเวลาไม่ถึงสามปี เมืองซุงตูก็มีชื่อเสียงไปทั่ว กิติศัพท์เล่าลือว่า ตั้งแต่ขงจื๊อมาเป็นนคราภิบาล จะหาชาวเมืองไหนที่ว่านอนสอนง่าย และมีความสุขเสมอชาวเมืองตุงซูเป็นไม่มี
เจ้าผู้ครองนครรัฐลู่ได้ทราบข่าว จึงส่งคนมาเชิญขงจื๊อไปเรียนถามว่า
“ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าได้ทราบข่าวว่าตั้งแต่ท่านได้รับหน้าที่ปกครอง ชาวเมืองมีความสุขความเจริญกันทั่วหน้า ท่านใช้วิธีการอย่างไรจึงสัมฤทธิ์ผลในระยะเวลาอันสั้นเช่นนั้น”
ขงจื๊อตอบว่า
“ข้าพเจ้าข่มผู้ควรข่ม ยกย่องผู้ควรยกย่อง เมื่อชาวเมืองเห็นว่า การทำดีได้ผลดี การทำชั่วได้รับผลชั่วจริง จึงพากันทำดี คนดีก็ย่อมซื่อสัตย์ต่อกันและต่อรัฐบาล”
เจ้าผู้ครองนครถามว่า
“จะปกครองรัฐด้วยวิธีเดียวกับที่ท่านปกครองนครได้หรือไม่”
ขงจื๊อตอบว่า
“วิธีการนี้แม้จะใช้ปกครองทั้งประเทศก็ได้”
เจ้าผู้ปกครองรัฐลู่จึงตั้งให้ขงจื๊อเป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมของรัฐลู่ เมื่อได้รับตำแหน่ง ขงจื๊อก็เริ่มศึกษาคุกตะรางก่อน
หลังจากศึกษาข้อเท็จจริงอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้วได้ความว่า นักโทษเกือบทั้งหมดเป็นคนจน ไร้การศึกษา ความจนและขาดการศึกษาเป็นสาเหตุก่ออาชญากรรม ถ้าเรากำจัดความโง่เขลาก็คือให้การศึกษาแก่ประชาชนทั่วๆไปโดยทั่วถึง และวิธีกำจัดความจนก็คือสนับสนุนประชาชนประกอบอาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเป็นพลเมืองดีของชาติ
ผู้พิพากษาคนหนึ่งถามว่า
“เราจะเริ่มต้นตรงไหน ด้วยวิธีใด ที่จะให้ประชาชนซื่อสัตย์และเป็นพลเมืองดี”
ขงจื๊อตอบว่า
“เริ่มต้นที่ตัวท่านทั้งหลายนี่แหละ ท่านทั้งหลายเป็นผู้ปกครอง ถ้าผู้ปกครองเลว ประชาชนก็เลวตาม ถ้าผู้ปกครองดี ประชาชนก็ดีตาม กฎเกณฑ์หรือวิธีการข้อแรกของการเป็นคนดีก็คือ
อยากให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อตนอย่างไร จงปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างนั้น และอย่าปฏิบัติต่อผู้อื่นในสิ่งที่ตัวเองไม่ต้องการ
 
ขอบคุณ คุณเสถียรพงษ์ ที่นำข้อคิดที่ดีๆจากเต๋ามาเผยแพร่ ผมถือว่าหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่ง ที่มีไว้อ่านเตือนสติตัวเองได้ตลอดชีวิต คืออ่านทีไรก็รู้สึกเหมือนนึกรู้ว่า...ความถูกต้องและแสงสว่างของชีวิตอยู่ ณ ที่ตรงไหน แม้ในวันที่ชีวิตตกอยู่ในความมืดแปดด้าน นี่...ผมยังหมายถึงข้อคิดดีๆจากหนังสือเล่มนี้อีกหลายชิ้น หลายเรื่องราว นอกเหนือจากทัศนะในเรื่องรัฐและประชาชน สมกับสโลแกนที่เขาโปรยไว้ที่หน้าปกด้านล่างว่า
“นิทานอ่านสนุก แต่ลุ่มลึกด้วยแง่คิดกับปรัชญาชีวิตแบบเต๋า”
 ขอบคุณครับ.
 
17 กรกฎาคม 2553
กระท่อมทุ่งเสี้ยว อ.สันป่าตอง เชียงใหม่
 
 

 

บล็อกของ ถนอม ไชยวงษ์แก้ว

ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  แล้วในที่สุด ผมก็ได้รับรู้ความคิดที่เป็นเหตุเป็นผล เป็นเรื่องเป็นราว (ที่อยากรู้มานาน) ของ คุณหมอตุลย์ สิทธิสมวงศ์ แกนนำเครือข่ายราษฎร์อาสาปกป้องสถาบัน หรือกลุ่มเสื้อหลากสี ที่ออกมาต่อต้านข้อเสนอแก้ ม.112 ของนิติราษฎร์และครก.112 จากการเป็นวิทยากรรับเชิญอภิปรายในเรื่องนี้ ณ สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย หรือ FCCT เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 55 ที่ประชาไทนำมาลงในหน้าแรกประชาไท เมื่อวันที่ 17 ก.พ. 55 ทั้งคลิปภาพและเสียงการอภิปรายที่ใช้ภาษาอังกฤษล้วนๆ และเนื้อหาที่ประชาไทแปลแบบย่อความมา รวมทั้งการตอบคำถามของผู้สื่อข่าว
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมเข้าใจว่า
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ช่างเถิด ถึงแม้ว่า เขาจะดื่มตั้งแต่ลืมตาตื่นขึ้นมา ตั้งแต่เช้าจนจรดเย็น เพื่อบำบัดความเปล่าเปลี่ยวในหัวใจของเขา ในยามที่ชีวิตของเขาตกต่ำ
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
การต่อสู้กันทางการเมืองครั้งนี้ เป็นการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างชนชั้นนำในสังคมที่ขัดแย้งกัน หรือพูดง่ายๆก็คือระหว่างทุนเก่ากับทุนใหม่ ที่ช่วงชิงอำนาจกันเพื่อขึ้นเป็นรัฐบาล ที่ต่างฝ่ายต่างมีประชาชนเป็นฐานคะแนนเสียงสนับสนุนอุดมการณ์ของแต่ละฝ่าย ซึ่งต่างจากการต่อสู้กันในยุคเดือนตุลามหาวิปโยค ที่เป็นความขัดแย้งกันระหว่างรัฐบาลเผด็จการกับประชาชน นิสิตนักศึกษา ปัญญาชน โดยตรง
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
เมื่อคน คนหนึ่งล้มลงป่วย เขาย่อมได้รับการเยียวยารักษา ไม่ว่าเขาจะเป็นใครมาจากไหน ยากดีมีจนอย่างไร หาไม่เช่นนั้น..อาการป่วยไข้ของเขาย่อมลุกลามใหญ่โต และชีวิตเขาย่อมมีอันเป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือแม้กระทั่งถึงแก่ชีวิตได้  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  800x600 Normal 0 false false false EN-US X-NONE TH MicrosoftInternetExplorer4 /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-priority:99; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt;…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  1. ผมสัมผัส งานวิพากษ์วิจารณ์สังคมและการเมืองของ คำ ผกา ด้วยความรู้สึกเดียวกันกับใครบางคนหรือสองคนสามคน ที่เคยแอบเป็นห่วงความแรงเธอ และต่อมาต่างก็พากันเลิกรู้สึก เมื่อเธอยืนยันความเป็นตัวตนของเธออย่างเสมอต้นเสมอปลาย และยืนหยัดอยู่ได้มานานจนเป็นปรกติธรรมดามาจนถึงวันนี้ และสรุปกันว่ามันเป็นธรรมชาติวิสัยของเธอที่ต้องเป็นเช่นนั้น เช่นเดียวกับสังคมที่เคยตกอกตกใจ ต่างก็เคยชิน...และยอมรับความเป็นตัวตนในการสื่อสารของเธอ ทั้งคนที่รักเธอและเกลียดเธอในเรื่องอุดมการณ์ความคิดที่ต่างกัน
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  สวย เขาก็หาว่า สวยแต่รูปจูบไม่หอม  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
"นางแบบโดย อรวรรณ ชมพู จาก ชมพูเชียงดาว coffe" คุณพยายามหลีกเลี่ยงลดละ การดื่มเหล้า การสูบบุหรี่ การถกเถียงกันเพื่อเอาชนะกัน การทะเลาะเบาะแว้งกัน การท่องเที่ยวในยามวิกาล การขับรถด้วยความรีบร้อน  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  น้ำท่วม เดือนตุลาคม 2554 ไหลลงไปจากที่สูงลงไปท่วมท้น ทุกหนทุกแห่งที่เป็นที่ต่ำ - ตามธรรมชาติของน้ำ ไม่ละเว้นว่าพื้นที่แห่งนั้นจะเป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจ กี่พัน กี่หมื่น กี่แสน กี่ล้าน ล้านเท่าไหร่ ไม่ละเว้น ไม่ว่าจะเป็นเมืองหลวงหรือชนบท แม้แต่วัดวาอารามศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้คนกราบไหว้ ยังมิอาจป้องกัน ยังมิอาจสวดมนต์ภาวนาใดๆ ขอให้มวลมหึมาของอุทกภัยอันยิ่งใหญ่ ละเว้นไว้อยู่กับองค์พระปฏิมา