Skip to main content


"นางแบบภาพประกอบ สุธาทิพย์ โมราลาย คอลัมนิสต์วรรณกรรมกุลสตรี ถ่ายโดยผู้เขียน"

สมัยหนึ่ง
ขงจื๊อกับศิษยานุศิษย์เดินทางไปรัฐชี้ เส้นทางผ่านป่าใหญ่เชิงภูเขาไท้ซัว ได้ยินเสียงร่ำไห้ของสตรีนางหนึ่งแว่วมาแต่ไกล ขงจื๊อหยุดม้า นิ่งอยู่ครู่หนึ่งแล้วพูดขึ้นว่า
“เสียงร้องไห้ฟังโหยหวนน่าเวทนานัก หญิงผู้นั้นคงได้รับทุกข์แสนสาหัสเป็นแน่”
จื๊อกุงศิษย์ผู้ใกล้ชิดรับอาสาไปถามเหตุ
หญิงนั้นกล่าวแก่จื๊อกุงว่า
“น้าชายของฉันถูกเสือขบตายไม่นานมานี้ ต่อมาสามีของฉันก็ถูกเสือกินอีก บัดนี้เจ้าวายร้ายก็คาบเอาลูกชายตัวเล็กๆของฉันไปอีก”
จื๊อกุงถามว่า
“ทำไมท่านไม่ย้ายไปอยู่เสียที่อื่นเล่า”
เธอตอบสะอื้น
“ฉันย้ายไม่ได้ดอก”
“ทำไมล่ะ”
“ก็ที่นี่...ไม่มีรัฐบาลที่กดขี่ข่มเหงน่ะซี”
เมื่อจื๊อกุงนำความมาเล่าให้ขงจื๊อฟัง ขงจื๊อกล่าวแก่คณะศิษย์ผู้ติดตามว่า
“พวกเธอจงจำไว้ รัฐบาลที่กดขี่ข่มเหงประชาชนนั้น ร้ายกว่าเสือเสียอีก”
 
ครับ นี่เป็นเรื่องสั้นๆ ที่ผมคัดมาจากหนังสือ “นิทานปรัชญาเต๋า” ของ เสถียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต พิมพ์ครั้งที่ 4 โดยสำนักพิมพ์มติชน 2539 อ่านแล้วก็ได้แต่นึกปลงตกว่า รัฐบาลที่ตั้งตัวเป็นศัตรูผู้กดขี่ข่มเหงประชาชน มิใช่ของที่แปลกใหม่แต่อย่างไร เพราะมันมีมานานนับเป็นพันกว่าปีแล้ว และน่าเกลียดน่ากลัวอย่างนี้นี่เอง ผู้หญิงคนนี้ถึงยอมตายอยู่กับเสือดีกว่า ยอมอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลที่เลวร้ายแบบนี้
 
 นอกจากเรื่องนี้แล้ว ยังมีเรื่องอื่นเกี่ยวกับรัฐในทัศนะของขงจื๊อที่น่าสนใจอีกหลายเรื่อง ที่ผมชอบมากที่สุดก็คือเรื่อง “กฎเกณฑ์ของการเป็นคนดี” เพราะเรื่องนี้มิได้มีความหมายเฉพาะเรื่องของรัฐ แต่ยังเป็นเรื่องจริยธรรมที่ครอบคลุมถึงสังคมของคนทั่วๆไป และปัจเจกชนทุกรูปแบบ (พึงตระหนักด้วย)  เรื่องนี้คุณเสถียรพงษ์เล่าเอาไว้ว่า
 
เมื่อขงจื๊ออายุ 52 ปี
ได้รับตำแหน่งเป็นนคราภิบาล นครซุงตู ภายในระยะเวลาไม่ถึงสามปี เมืองซุงตูก็มีชื่อเสียงไปทั่ว กิติศัพท์เล่าลือว่า ตั้งแต่ขงจื๊อมาเป็นนคราภิบาล จะหาชาวเมืองไหนที่ว่านอนสอนง่าย และมีความสุขเสมอชาวเมืองตุงซูเป็นไม่มี
เจ้าผู้ครองนครรัฐลู่ได้ทราบข่าว จึงส่งคนมาเชิญขงจื๊อไปเรียนถามว่า
“ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าได้ทราบข่าวว่าตั้งแต่ท่านได้รับหน้าที่ปกครอง ชาวเมืองมีความสุขความเจริญกันทั่วหน้า ท่านใช้วิธีการอย่างไรจึงสัมฤทธิ์ผลในระยะเวลาอันสั้นเช่นนั้น”
ขงจื๊อตอบว่า
“ข้าพเจ้าข่มผู้ควรข่ม ยกย่องผู้ควรยกย่อง เมื่อชาวเมืองเห็นว่า การทำดีได้ผลดี การทำชั่วได้รับผลชั่วจริง จึงพากันทำดี คนดีก็ย่อมซื่อสัตย์ต่อกันและต่อรัฐบาล”
เจ้าผู้ครองนครถามว่า
“จะปกครองรัฐด้วยวิธีเดียวกับที่ท่านปกครองนครได้หรือไม่”
ขงจื๊อตอบว่า
“วิธีการนี้แม้จะใช้ปกครองทั้งประเทศก็ได้”
เจ้าผู้ปกครองรัฐลู่จึงตั้งให้ขงจื๊อเป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมของรัฐลู่ เมื่อได้รับตำแหน่ง ขงจื๊อก็เริ่มศึกษาคุกตะรางก่อน
หลังจากศึกษาข้อเท็จจริงอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้วได้ความว่า นักโทษเกือบทั้งหมดเป็นคนจน ไร้การศึกษา ความจนและขาดการศึกษาเป็นสาเหตุก่ออาชญากรรม ถ้าเรากำจัดความโง่เขลาก็คือให้การศึกษาแก่ประชาชนทั่วๆไปโดยทั่วถึง และวิธีกำจัดความจนก็คือสนับสนุนประชาชนประกอบอาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเป็นพลเมืองดีของชาติ
ผู้พิพากษาคนหนึ่งถามว่า
“เราจะเริ่มต้นตรงไหน ด้วยวิธีใด ที่จะให้ประชาชนซื่อสัตย์และเป็นพลเมืองดี”
ขงจื๊อตอบว่า
“เริ่มต้นที่ตัวท่านทั้งหลายนี่แหละ ท่านทั้งหลายเป็นผู้ปกครอง ถ้าผู้ปกครองเลว ประชาชนก็เลวตาม ถ้าผู้ปกครองดี ประชาชนก็ดีตาม กฎเกณฑ์หรือวิธีการข้อแรกของการเป็นคนดีก็คือ
อยากให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อตนอย่างไร จงปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างนั้น และอย่าปฏิบัติต่อผู้อื่นในสิ่งที่ตัวเองไม่ต้องการ
 
ขอบคุณ คุณเสถียรพงษ์ ที่นำข้อคิดที่ดีๆจากเต๋ามาเผยแพร่ ผมถือว่าหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่ง ที่มีไว้อ่านเตือนสติตัวเองได้ตลอดชีวิต คืออ่านทีไรก็รู้สึกเหมือนนึกรู้ว่า...ความถูกต้องและแสงสว่างของชีวิตอยู่ ณ ที่ตรงไหน แม้ในวันที่ชีวิตตกอยู่ในความมืดแปดด้าน นี่...ผมยังหมายถึงข้อคิดดีๆจากหนังสือเล่มนี้อีกหลายชิ้น หลายเรื่องราว นอกเหนือจากทัศนะในเรื่องรัฐและประชาชน สมกับสโลแกนที่เขาโปรยไว้ที่หน้าปกด้านล่างว่า
“นิทานอ่านสนุก แต่ลุ่มลึกด้วยแง่คิดกับปรัชญาชีวิตแบบเต๋า”
 ขอบคุณครับ.
 
17 กรกฎาคม 2553
กระท่อมทุ่งเสี้ยว อ.สันป่าตอง เชียงใหม่
 
 

 

บล็อกของ ถนอม ไชยวงษ์แก้ว

ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
    เมื่อยังมีชีวิต จงหายใจเข้าไว้ หายใจแรงๆ และหายใจอย่างสดชื่น เพราะภาระหน้าที่ของชีวิตคือการมีชีวิต ชีวิตที่กระปรี้กระเปร่า และถ้าเป็นไปได้ควรต้องรื่นรมย์กับชีวิต บาปอันยิ่งใหญ่ของมนุษย์ (บางทีสำหรับสิ่งมีชีวิตทั้งปวง) คือการปฏิเสธชีวิต   การมีชีวิต
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
    ฉันเป็นเท่าที่ฉันเป็น ฉันทำเท่าที่ฉันหวัง ฉันหวังเท่าที่ฉันเห็น ฉันง่ายฉันงามฉันแจ่มชัด ฉันเชื่อหนึ่งมากกว่าร้อย ฉันเชื่อคนมากกว่าลัทธิ ฉันเชื่อดินมากกว่าฟ้า ฉันเชื่อต้นหญ้ามากกว่าขุนเขา ฉันเชื่อสวนหลังบ้านมากกว่าป่าหิมพานต์ ฉันเชื่อวันนี้มากกว่าวันวาน ฉันง่ายฉันงามฉันแจ่มชัด ฉันไม่เชื่ออำนาจรัฐจากกระบอกปืน   ฉันเป็นเท่าที่ฉันเป็น.  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  อิสรภาพ   ฉันต้องการอิสรภาพ ที่จะได้เห็น ที่จะได้ยิน ในสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  เป็นที่ทราบกันดีว่า กฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นกฎหมายที่สร้างความทุกข์สาหัสให้แก่ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่า “หมิ่นสถาบัน” มามากมายหลายคน เพราะกฎหมายนี้ถูกตราขึ้นมาอย่างกว้างๆไม่ระบุขอบข่ายความผิดให้ชัดเจน รวมทั้งกระบวนการจับกุม สอบสวน ดำเนินคดี ก็มิได้เป็นไปตามปกติทั่วไป มิหนำซ้ำการตีความบังคับใช้มาตรานี้ ว่ากันว่า เจ้าหน้าที่สามารถตีความใช้ได้อย่างกว้างขวาง และนักการเมืองมักจะใช้เป็นเครื่องมือในการทำลายฝ่ายตรงกันข้ามอยู่เสมอ และผู้ต้องคดีนี้นอกจากจะติดคุกติดตะรางแล้ว ยังถูกซ้ำเติมจากสังคมที่จงรักภักดีต่อสถาบันอย่างรุนแรง    
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
    คือแม่น้ำและขุนเขาอันขรึมขลัง คือพลังคีตกานท์อันหวานไหว คือหนึ่งจิตวิญญาณล้านนาไทย คือดอกไม้สวยสะคราญบานนิรันดร์  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  ย้อนกลับไปทบทวนดู คำประกาศหลังจากรับพระราชทานโปรดเกล้าฯของคุณยิ่งลักษณ์ตอนหนึ่งที่กล่าวว่า “อุปสรรคข้างหน้ายังรอเราอยู่มาก ทั้งที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ แต่ทั้งหมดมิใช่อุปสรรคขวางกั้นมิให้ทำงาน พร้อมที่จะอุทิศตัวด้วยความทุ่มเท เสียสละอดทน ทำงานแข่งกับเวลา ไม่เกรงต่อความลำบากใดๆ”
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
    แล้ว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย หมายเลข 1 ก็ได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 28 และ เป็นนายกหญิงคนแรกในประวัติศาสตร์การเมืองของเมืองไทย และเป็นคนที่ 52 ของโลก อย่างสมบูรณ์ โดยได้รับการโหวตเสียงจากที่ประชุมสภาฯ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2554 ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 296 เสียง ไม่เห็นด้วย 3 เสียง และงดออกเสียง 197 เสียง ก่อนจะได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ในวันที่ 8 สิงหาคม 2554 เวลา 18.40 น. ณ บริเวณตึกชั้น 7 ที่ทำงานพรรคเพื่อไทย ท่ามกลางความยินดีของคนจำนวนมากมาย ที่สนับสนุนคุณยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทย  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
    คราวที่แล้ว ผมนำเรื่อง “คนดีของคนเมือง และ คนดีของชนบท” ที่แตกต่างกัน จากบทสัมภาษณ์ที่ชื่อว่า “ความคาดหวังและความจริงของประชาธิปไตยแบบไทยๆ” ของ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ซึ่งให้สัมภาษณ์ลงนิตยสารสารคดี ฉบับเดือนตุลาคม 2543 ผมคิดว่าจะหยุดเพียงแค่นั้น แต่ก็หยุดไม่ได้ เพราะพบว่ายังมีประเด็นที่ผมคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านอีกสองประเด็น ที่ยังเป็นเรื่องราวที่ยังดำรงอยู่ในปี 2544 และต่อไปอีกนานเท่าไหร่ ก็คงไม่มีใครรู้ เพราะมันเป็นรื่องของอนาคต  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
      ผมมักจะได้ยิน ผู้คนและสื่อต่างๆเกี่ยวกับการเมือง มักจะพูดกันให้ได้ยินอยู่เสมอว่า “คนชนบทเป็นคนเลือกตั้งรัฐบาล คนเมืองเป็นคนล้ม” ซึ่งดูเหมือนจะเป็นความจริงมาโดยตลอด แต่ก็ไม่มีใครให้คำอธิบายที่ฟังดู สมเหตุสมผลและชอบธรรม ให้ฟัง ว่าทำไมคนเมืองที่หมายถึงคนชั้นกลาง จึงไม่ชอบรัฐบาลที่ได้มาจากเสียงส่วนใหญ่ที่เป็นคนชนบทในประเทศ และช่วยกันล้มรัฐบาลที่เขาเลือกตามกติกา 
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
      ถึงแม้ คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะได้รับการรับรองจาก กกต. ให้หลุดพ้นจากข้อหาไปช่วยขบวนแห่ที่เชียงราย ให้พ้นจากข่ายความผิดด้วยมติ 5 ต่อ 0 ท่ามกลางความโล่งอกของใครต่อใครมากมายหลายคน ที่ว่ากันว่า เป็นเพราะโพลเสียงจากประชาชน 80 เปอร์เซ็นต์ ต้องการคุณยิ่งลักษณ์นายกฯ (รวมทั้ง นปช.) เป็นกระแสกดดัน กกต. หรือเพราะเหตุใดก็ช่างเถิด แต่เราก็สามารถฟันธงกันได้เลยว่า อีกไม่นาน เราจะต้องได้นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศอย่างแน่นอน 
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
      ผมไม่แน่ใจว่า ก่อนที่คุณยิ่งลักษณ์ ว่าที่นายกฯ ยิ่งลักษณ์ คนสวย และกลุ่มมันสมองของพรรคเพื่อไทยจะชูนโยบายประชานิยม เพิ่มค่าแรงงานขั้นต่ำให้กรรมกรผู้ใช้แรงงานจาก 221 บาท เป็น 300 บาท และเพิ่มเงินเดือนให้แก่ผู้จบปริญญาตรีที่เริ่มเข้าบรรจุงานจาก 11,028 บาท เป็น 15,000 บาท
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมกำลังจะชวนใครต่อใคร เข้ามาคุยเรื่องปัญหาที่รัฐบาลใหม่จะต้องเข้ามาสะสางและแก้ไข จากข้อมูลของนักวิเคราะห์การเมืองท่านหนึ่งที่รวบรวมและชี้แนะเอาไว้ล่วงหน้าแก่รัฐบาลของคุณยิ่งลักษณ์เอาไว้