Skip to main content


"นางแบบภาพประกอบ สุธาทิพย์ โมราลาย คอลัมนิสต์วรรณกรรมกุลสตรี ถ่ายโดยผู้เขียน"

เงินตรา
ย่อมเป็นวัตถุที่ก่อความชื่นชมแก่มนุษย์โดยทั่วหน้า
เป็นศุภนิมิตอันดีเลิศแก่วัฒนธรรมในสากลโลก
เป็นหลักประกันแก่สังคม
แก่จิตใจมนุษย์ชาติ
 
วัตถุ ที่สำคัญที่สุดในโลกคือเงินตรา
ความมั่งมีศรีสุข
บ่งบอกถึงความเข้มแข็ง
มีพลังกาย เมตตา สัจจะ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ หมดจดงดงาม
 
ส่วนความยากจนข้นแค้น
บ่งบอกถึงความอ่อนแอ
เจ็บไข้ได้ป่วย อัปยศอดสู ขี้ริ้วขี้เหร่
มันเป็นหลักธรรมชาติอันแท้จริง
ซึ่งไม่มีคำกล่าวอ้างใดลบล้างได้
 
จุดเด่นอีกอย่างหนึ่ง คือ
เงินตราก่อให้คนชั้นต่ำสิ้นเนื้อประดาตัว
คนชั้นสูงจิตใจคึกคัก
ถ้ายุคไหนคนกลุ่มหนึ่งมีความพยายาม
แต่ควานหามัน (เงิน) ไม่เจอ
แต่อีกกลุ่มมีใช้อย่างฟุ่มเฟือย
โดยไม่ต้องควานหา
นั่นก็หมายถึง
สังคมเข้าสู่ยุคเงินตรา
เงินตราเป็นบ่อเกิดของความชั่วร้าย
 
เมื่อใดระบบสังคม
ไม่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม
ชีวิตย่อมหมายถึงความชั่วช้า
เงินตราก็เป็นวัตถุชั่วช้าเช่นกัน - เมื่อเงินตราบ่งถึงชีวิต
ธนบัตรใช้หมุนเวียนในสังคม - เพื่อปันส่วนชีวิต
ภาระเบื้องต้นของสาธารณะชน
คือหวังได้มาซึ่งเงินที่หามาโดยง่าย
แต่เมื่อถึงคราวสู่ยุคที่จ่ายค่าตอบแทนแรงงาน 5 คน
คนหนึ่งได้รับค่าแรงงาน 10 - 12 ชั่วโมง ต่อจำนวนเงิน 3 ชิลลิ่ง
อีกคนหนึ่งไม่ต้องทำอะไรเลย
ได้เงินเป็นจำนวน 1 พันปอนด์
การหวังได้มาซึ่งเงินที่หามาได้ง่าย
ย่อมไม่บรรลุผล...
 
ยอดปรารถนาของมนุษย์
ไม่ใช่ปรับปรุงขนบประเพณี
ขนมปังถูกๆ การออมทรัพย์
อิสระ วิวัฒนาการด้านวิทยาการ
สงเคราะห์หญิงนครโสเภณี
ปลุกใจเยาวชน
และก็ไม่ใช่ - รับส่วนบุญจากหลักศาสนาเยซู
แต่เงินตราสิ่งเดียวเท่านั้น
เป็นยอดปรารถนาของมนุษย์
 
สิ่งที่มนุษย์พึงล้มล้าง...
ไม่ใช่บาปโทษ ความเจ็บปวด คอรัปชั่น
บาทหลวง กษัตริย์ ประชาธิปไตย อภิสิทธิ์ชน
เหล้าชั้นดี สงคราม โลกระบาด
และก็ไม่ใช่วัตถุที่เสียสละจากนักปฏิวัติสังคม
สิ่งที่มนุษย์พึงล้มล้าง คือ ความจน...
 
 
หมายเหตุ ; นี่คือวาทะตอนหนึ่งจากคำนำบทละคร เรื่อง “Major Barbara” ของ ยอร์ช เบอร์นาร์ด ชอว์ นักเขียนชาวอังกฤษ ที่ผมชอบมากๆ เคยอ่านท่อนสั้นๆที่พูดถึงยอดปรารถนาของมนุษย์ จากหนังสือเกี่ยวกับวาทะบุคลสำคัญ ต่อมา พยายามค้นหาอย่างไรๆ ก็ไม่พบ เพราะจำชื่อหนังสือไม่ได้ แล้วก็มาบังเอิญได้พบ มากกว่าที่เคยได้อ่าน โดยไม่ได้ตั้งใจจาก “โลกหนังสือ” ปีที่ 1 ฉบับที่ 4 มกราคม 2521 หน้าปกรูปคุณ คำพูน บุญทวี นักเขียนชื่อดังจากภาคอีสานที่ล่วงลับไปแล้ว
 
โดยส่วนตัวผม ยังรู้สึกว่า วาทะเสียดสีสังคม และทิ่มแทงใจดำมนุษย์นี้ ยังทันสมัย และสะท้อนยุคสมัยปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง จึงขออนุญาตพี่ สุชาติ สวัสดิ์ศรี อดีตบก.โลกหนังสือ และปัจจุบันบก.ช่อการะเกด ยุค เวียง วัชระ และ สุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ มาเผยแพร่อีกครั้งหนึ่ง ณ ที่นี้ ท่านผู้อ่านมีความคิดเห็นประการใด ว่ากันมาตามสบายเลยนะครับ
 
ต้องขออภัยคุณ น้ำลัด (และทุกท่าน) ด้วยครับ ตอนนี้ ผมไม่สามารถโพสท์เข้ามาสนทนากับคุณได้ ที่มีน้องคนหนึ่งสอนให้ตอนแกมาเยี่ยมผม และใช้ได้อย่างราบรื่นในคราวก่อน ปรากฏว่าวิธีนั้นใช้ไม่ได้แล้วในตอนนี้ ผมพยายามมั่วกดนั่นกดนี่...อย่างไรๆก็ไม่ได้ผล มิหนำซ้ำ...บางครั้งยังทำให้ข้อความที่คุณโพสท์เข้ามาหายไปหมด (ฮา) มือระดับโปรแกมเมอร์ 2 คนที่อยู่ในบ้านก็ช่วยไม่ได้ คงต้องรอการจัดเว็บจากประชาไทให้เข้าระบบเดิม ปัญหานี้คงจะหายไป
 
ขอบคุณ สำหรับความคิดเห็นในแง่มุมต่างๆจากคุณน้ำลัด เรื่องคนรู้หรือไม่รู้ธรรมะ ที่คุณตั้งคำถามมา ผมว่าคนรู้จักธรรมะมีน้อย และรู้แล้วปฏิบัติได้...ยิ่งน้อยลงไปอีก (รวมทั้งตัวผมด้วย ฮา ) แต่คนใช้ธรรมะเป็นเครื่องมือแสวงหาผลประโยชน์มีเยอะครับ ถ้าอยากรู้ ก็คงต้องค่อยๆดูกันไปเฉพาะราย.
 
29 กรกฎาคม 2553
กระท่อมทุ่งเสี้ยว เชียงใหม่  
 
 

 

บล็อกของ ถนอม ไชยวงษ์แก้ว

ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  แล้วในที่สุด ผมก็ได้รับรู้ความคิดที่เป็นเหตุเป็นผล เป็นเรื่องเป็นราว (ที่อยากรู้มานาน) ของ คุณหมอตุลย์ สิทธิสมวงศ์ แกนนำเครือข่ายราษฎร์อาสาปกป้องสถาบัน หรือกลุ่มเสื้อหลากสี ที่ออกมาต่อต้านข้อเสนอแก้ ม.112 ของนิติราษฎร์และครก.112 จากการเป็นวิทยากรรับเชิญอภิปรายในเรื่องนี้ ณ สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย หรือ FCCT เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 55 ที่ประชาไทนำมาลงในหน้าแรกประชาไท เมื่อวันที่ 17 ก.พ. 55 ทั้งคลิปภาพและเสียงการอภิปรายที่ใช้ภาษาอังกฤษล้วนๆ และเนื้อหาที่ประชาไทแปลแบบย่อความมา รวมทั้งการตอบคำถามของผู้สื่อข่าว
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมเข้าใจว่า
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ช่างเถิด ถึงแม้ว่า เขาจะดื่มตั้งแต่ลืมตาตื่นขึ้นมา ตั้งแต่เช้าจนจรดเย็น เพื่อบำบัดความเปล่าเปลี่ยวในหัวใจของเขา ในยามที่ชีวิตของเขาตกต่ำ
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
การต่อสู้กันทางการเมืองครั้งนี้ เป็นการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างชนชั้นนำในสังคมที่ขัดแย้งกัน หรือพูดง่ายๆก็คือระหว่างทุนเก่ากับทุนใหม่ ที่ช่วงชิงอำนาจกันเพื่อขึ้นเป็นรัฐบาล ที่ต่างฝ่ายต่างมีประชาชนเป็นฐานคะแนนเสียงสนับสนุนอุดมการณ์ของแต่ละฝ่าย ซึ่งต่างจากการต่อสู้กันในยุคเดือนตุลามหาวิปโยค ที่เป็นความขัดแย้งกันระหว่างรัฐบาลเผด็จการกับประชาชน นิสิตนักศึกษา ปัญญาชน โดยตรง
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
เมื่อคน คนหนึ่งล้มลงป่วย เขาย่อมได้รับการเยียวยารักษา ไม่ว่าเขาจะเป็นใครมาจากไหน ยากดีมีจนอย่างไร หาไม่เช่นนั้น..อาการป่วยไข้ของเขาย่อมลุกลามใหญ่โต และชีวิตเขาย่อมมีอันเป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือแม้กระทั่งถึงแก่ชีวิตได้  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  800x600 Normal 0 false false false EN-US X-NONE TH MicrosoftInternetExplorer4 /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-priority:99; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt;…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  1. ผมสัมผัส งานวิพากษ์วิจารณ์สังคมและการเมืองของ คำ ผกา ด้วยความรู้สึกเดียวกันกับใครบางคนหรือสองคนสามคน ที่เคยแอบเป็นห่วงความแรงเธอ และต่อมาต่างก็พากันเลิกรู้สึก เมื่อเธอยืนยันความเป็นตัวตนของเธออย่างเสมอต้นเสมอปลาย และยืนหยัดอยู่ได้มานานจนเป็นปรกติธรรมดามาจนถึงวันนี้ และสรุปกันว่ามันเป็นธรรมชาติวิสัยของเธอที่ต้องเป็นเช่นนั้น เช่นเดียวกับสังคมที่เคยตกอกตกใจ ต่างก็เคยชิน...และยอมรับความเป็นตัวตนในการสื่อสารของเธอ ทั้งคนที่รักเธอและเกลียดเธอในเรื่องอุดมการณ์ความคิดที่ต่างกัน
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  สวย เขาก็หาว่า สวยแต่รูปจูบไม่หอม  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
"นางแบบโดย อรวรรณ ชมพู จาก ชมพูเชียงดาว coffe" คุณพยายามหลีกเลี่ยงลดละ การดื่มเหล้า การสูบบุหรี่ การถกเถียงกันเพื่อเอาชนะกัน การทะเลาะเบาะแว้งกัน การท่องเที่ยวในยามวิกาล การขับรถด้วยความรีบร้อน  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  น้ำท่วม เดือนตุลาคม 2554 ไหลลงไปจากที่สูงลงไปท่วมท้น ทุกหนทุกแห่งที่เป็นที่ต่ำ - ตามธรรมชาติของน้ำ ไม่ละเว้นว่าพื้นที่แห่งนั้นจะเป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจ กี่พัน กี่หมื่น กี่แสน กี่ล้าน ล้านเท่าไหร่ ไม่ละเว้น ไม่ว่าจะเป็นเมืองหลวงหรือชนบท แม้แต่วัดวาอารามศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้คนกราบไหว้ ยังมิอาจป้องกัน ยังมิอาจสวดมนต์ภาวนาใดๆ ขอให้มวลมหึมาของอุทกภัยอันยิ่งใหญ่ ละเว้นไว้อยู่กับองค์พระปฏิมา