เมื่อพูดถึงคำว่า“เสรีภาพ”
คำ คำนี้ช่างมีพลังอย่างแปลกประหลาด ทำให้รู้สึกดึงดูดเย้ายวนใจสำหรับคนบางคน พอๆกับที่ก่อให้เกิดความรู้สึกหวาดกลัวกับคนบางคน ยิ่งไปกว่านั้นบางคนปรารถนาเสรีภาพ ในขณะเดียวกันก็รู้สึกหวาดหวั่นอยู่ลึกๆ เรียกร้องอยากจะได้มา และก็กลัวที่จะได้มันมาจริงๆ
ความรู้สึกนานาประการนี้
ย่อม เกิดจากการเข้าถึงเสรีภาพ จากแง่มุมและความหมายต่างๆกัน ผู้ที่ไม่เคยมีย่อมหวาดกลัว ผู้มีแล้วแต่ไม่เข้าใจยิ่งหวาดกลัวกว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมา มนุษย์เคยชินกับการถูกบังคับให้ทำตามกฎเกณฑ์ต่างๆ และมักมองเสรีภาพไปในความหมายด้านตรงกันข้ามกับกฎเกณฑ์เหล่านั้น คนส่วนมากมักจะมองหาขอบเขตของมันไม่พบ และคิดเอาเองว่า เสรีภาพน่าจะเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ ในขณะที่ตัวเองก็ไม่กล้าที่จะออกจากกฎเกณฑ์เก่าๆที่เคยชิน
เรากลัวเกินไป
ที่ จะเริ่มต้นทดลองสิ่งใหม่ๆ ดูเหมือนว่าการได้ยึดอะไรบางอย่างเป็นหลักไว้ ย่อมให้ความรู้สึกที่ปลอดภัยกว่า พวกเรายังติดอยู่กับความคิดชนิดที่ว่า
“อยู่กับสิ่งที่เลวน้อยที่สุด ดีกว่าเสี่ยงกับสิ่งที่ไม่รู้ว่า จะดีหรือเลว”
ความคิดเช่นนี้ ทำให้กระบวนการวิวัฒน์ทางสังคมและตัวเองหยุดนิ่ง เป็นพลังที่เฉื่อยชาและจำยอม
ชีวิตมนุษย์
น่า จะมีโอกาสได้ค้นหาและทดลองสิ่งใหม่ๆหรือไม่ หรือว่ากฎเกณฑ์แบบแผนข้อบังคับ และคำตอบสำเร็จรูป ได้ทดแทนให้รู้สึกอิ่มอกอิ่มใจพอแล้ว และถ้าเลือกเอาอย่างแรก ก็หมายความว่าเราได้เริ่มเรียนรู้สิ่งที่เรียกว่าเสรีภาพนี้ ต่างกันไกลจากความหมายเดิมๆที่เราเคยเข้าใจ จากบทเรียนบทต่อๆไป คงจะทำให้เข้าใจความหมายอันแท้จริงมากขึ้น
มีผู้สงสัยว่า
หาก มนุษย์มีอิสระในตัวเอง และเต็มไปด้วยเสรีภาพแล้ว หากปราศจากแบบแผนกฎเกณฑ์แล้ว สังคมจะอยู่ร่วมกันได้อย่างไร จะมิวุ่นวายไปหมดหรือ ต่อคำถามนี้ ตอบได้ง่ายๆว่า เสรีภาพมิได้หมายถึง การทำตามใจตัวเองอย่างสุดโต่ง และไม่ใช่การไร้แบบแผน เพราะเสรีภาพนั่นเองหมายถึงการมีวินัยอย่างสูงสุด ไม่ใช่จากกฎหมายของรัฐหรือกฎเกณฑ์ที่บังคับใช้ในสังคม...
หากเป็นวินัยในตัวเอง
ที่เกิดจากการพิจารณาไตร่ตรองด้วยวิจารญาณและจิตสำนึก กลายเป็นความรู้สึกรับผิดชอบโดยส่วนรวม และสำหรับคนที่มีสำนึกต่อส่วนรวม ย่อมรู้ว่าขอบเขตของการกระทำอยู่ตรงไหน ในกรณีนี้ แม้จะไม่มีกฎหมายบังคับ และไม่มีตำรวจเฝ้าดู... เขาก็ย่อมเลือก ที่จะทำและไม่ทำ อย่างมีเหตุผล และเต็มเปี่ยมไปด้วยจิตสำนึกเช่นนี้ การณ์ก็กลับเป็นตรงกันข้ามว่า เสรีภาพหมายถึงกฎเกณฑ์อันสูงสุด ที่มนุษย์ยินยอมรับอย่างมีศักดิ์ศรี ด้วยการใช้สติปัญญาและวิจารณญาณด้วยตนเอง
จะเห็นว่าความหมายในที่นี้
แตกต่างจากความหมายเก่าๆโดยสิ้นเชิง ความคิดและการกระทำของคนในสังคมอารยะนั้น เข้าถึงแง่มุมความเป็นจริงมากกว่าสังคมทาส ในสังคมใดๆจะเข้าถึงการอยู่ร่วมกันโดยสันติ และความดีงามโดยส่วนรวมไม่ได้เลย หากประชาชนปราศจากเสรีภาพ...
เราพบว่าเสรีภาพ
กับ ความรับผิดชอบต่อส่วนรวมเป็นสิ่งเดียวกัน ความเป็นตัวของตัวเองก็เช่นกัน ไม่ได้มีความหมายต่างไปจากนี้ คนเป็นอันมากกลัวที่จะเป็นตัวของตัวเอง และไม่กล้าพอที่จะอนุญาตให้คนอื่นเป็นด้วย ที่จริงไม่น่ากลัวเลย เพราะการเป็นตัวของตัวเองอย่างแท้จริงนั้น ย่อมหมายถึงการพัฒนาภายในของมนุษย์ในระดับสูงสุด คุณภาพภายในของปัจเจกชนนั่นเอง ที่จะเกื้อหนุนให้ส่วนรวมดำรงอยู่ได้ หากปราศจากสิ่งนี้
เชื่อแน่ว่าสังคมแบบแผนอันเส็งเคร็งนี้
จะต้องพังทลายลงสักวันหนึ่ง.
หมายเหตุ ; พจนา จันทรสันติ เป็นนักเขียนและนักแปล ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันมานานจากงานเขียนบทกวีอิสระที่ชื่อว่า “ขลุ่ยไม้ไผ่” และงานแปลของ กฤษณะ มูรติ ที่ชื่อว่า “แด่หนุ่มสาว” ที่ผมเข้าใจว่าคุณพจนาเป็นคนแรกที่นำงานของ กฤษณะมาเผยแพร่ และมีผู้แปลติดตามมาอีกมากมายหลายท่าน...
ภาพรวม ผลงาน ของ คุณพจนา ไม่ว่าจะเป็นงานเขียนเพียวๆของเขาหรือว่างานแปล เป็นงานเชิงศาสนา ปรัชญา และจิตวิทยา ซึ่งเขาก็ได้ยืนหยัดทำงานในแนวนี้มาโดยตลอด และผมเชื่อว่า นี่เป็นเป็นการยืนยันถึงการค้นพบตัวเองของเขาอย่างแน่ชัด...
โดยส่วนตัวผม ผมถือว่าคุณพจนาเป็นนักคิดทางจิตวิญญาณที่สำคัญคนหนึ่งของยุคสมัย งานของเขาเป็นงานที่อบอุ่นเช่นเดียวกับบุคลิกภาพของเขา ที่ใครเห็นแล้วก็รู้สึกปลอดภัย และอยากเข้าใกล้ เป็นงานที่อ่านแล้วก่อให้เราเกิดความรู้สึก...อยากจะพัฒนาความคิดจิตใจของ ตัวเอง โดยไม่ต้องมีใครมาบีบบังคับ และสามารถหยิบมาอ่านได้ทุกยุคทุกสมัย เพราะเป็นงานที่ขุดค้นเข้าไป ข้างในอันละเอียดอ่อนซับซ้อนของมนุษย์ ที่เขายังแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆในชีวิตจริงของคนเราด้วย ไม่ว่าจะเป็นงานเขียนหรืองานแปล ที่คุณพจนาทำออกมาอย่างประณีต มีเป้าหมายที่ชัดเจน และมีคุณูปการต่อผู้อ่านเป็นอย่างยิ่ง...
น่าแปลกใจ
ที่ องค์กรบางองค์กรของรัฐ ที่มอบรางวัลให้ผู้ทำงานดีเด่นเกี่ยวศาสนาทุกปี มักจะให้รางวัลแก่ผู้ที่ทำบุญทางวัตถุอย่างออกหน้าออกตาเป็นหลัก แต่ไม่ได้เหลียวแลคนที่ทำบุญทาง จิตวิญญาณ อย่างอย่างเงียบๆด้วยผลงานที่เป็น มวลอันมหึมา เช่นคุณพจนา คงเป็นเพราะว่าสังคมปัจจุบันของเราเป็นสังคมที่เน้นหนักไปทางวัตถุนิยม การให้คุณค่าสิ่งต่างๆจึงพลอยเน้นหนักไปในเรื่องวัตถุ ตามค่านิยมของสังคมไปจนหมด...
แม้แต่เรื่องศาสนา
ที่เป็นเรื่องของความคิดจิตใจ ที่ทางพุทธศาสนาของเราถือว่าเป็นเรื่องสำคัญถึงขนาดมีคำกล่าวว่า “จิตเป็นนายกายเป็นบ่าว” ก็ พากันหลงทางไปเน้นหนักในการเรื่องสร้างวัตถุ คนที่ทำงานถูกที่ถูกทาง และยืนหยัดอย่างยาวนานมาโดยตลอด เช่นคุณพจนา - จึงถูกมองไม่เห็น เพราะพวกเราต่างพากันหน้ามืดตามัวอยู่ในโลกของวัตถุนิยมที่ครอบงำพวกเราเอา ไว้อย่างแน่นหนา ถึงแม้โดยส่วนตัว ผมสามารถจะหยั่งรู้ด้วยว่า... คนแบบคุณพจนา ไม่ได้สนใจไยดีอะไรกับเรื่องพวกนี้ก็ตาม
แต่สังคมที่พอจะมีสติปัญญา
ก็น่าจะปักป้ายไว้ให้แก่คุณค่าที่แท้จริง
เพื่อผู้ที่สนใจแสวงหาแนวทางนี้
จะไม่ได้เสียเวลาไปกับของปลอมและฉาบฉวย...
ความเรียงเชิงบันทึกชื่อ “เสรีภาพกับความเป็นตัวของตัวเอง” ของคุณพจนา ที่ผมคัดเลือกมาจากหนังสือ “ชัยชนะ” พิมพ์ครั้งที่ 3 โดยสำนักพิมพ์ เคล็ดไทย 2533 ที่ ผมนำมาเสนอชิ้นนี้ ผมเชื่อมั่นว่า ใครๆได้อ่านแล้ว คงยากจะปฏิเสธได้ว่า ทัศนะในเรื่องเสรีภาพและความเป็นตัวของตัวเองของมนุษย์ จากทัศนะของเขา เรายากที่จะไม่ยอมรับว่า
ทัศนะที่ถูกต้องที่สุดในเรื่องนี้
มันควรจะเป็นเช่นนี้
ใช่หรือมิใช่.
***ขอขอบคุณภาพประกอบจาก โอเคเนชั่น.com
2 สิงหาคม 2553
กระท่อมทุ่งเสี้ยว เชียงใหม่
บล็อกของ ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
แล้วในที่สุด
ผมก็ได้รับรู้ความคิดที่เป็นเหตุเป็นผล เป็นเรื่องเป็นราว (ที่อยากรู้มานาน) ของ คุณหมอตุลย์ สิทธิสมวงศ์ แกนนำเครือข่ายราษฎร์อาสาปกป้องสถาบัน หรือกลุ่มเสื้อหลากสี ที่ออกมาต่อต้านข้อเสนอแก้ ม.112 ของนิติราษฎร์และครก.112 จากการเป็นวิทยากรรับเชิญอภิปรายในเรื่องนี้ ณ สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย หรือ FCCT เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 55 ที่ประชาไทนำมาลงในหน้าแรกประชาไท เมื่อวันที่ 17 ก.พ. 55 ทั้งคลิปภาพและเสียงการอภิปรายที่ใช้ภาษาอังกฤษล้วนๆ และเนื้อหาที่ประชาไทแปลแบบย่อความมา รวมทั้งการตอบคำถามของผู้สื่อข่าว
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ช่างเถิด
ถึงแม้ว่า
เขาจะดื่มตั้งแต่ลืมตาตื่นขึ้นมา
ตั้งแต่เช้าจนจรดเย็น
เพื่อบำบัดความเปล่าเปลี่ยวในหัวใจของเขา
ในยามที่ชีวิตของเขาตกต่ำ
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
การต่อสู้กันทางการเมืองครั้งนี้ เป็นการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างชนชั้นนำในสังคมที่ขัดแย้งกัน หรือพูดง่ายๆก็คือระหว่างทุนเก่ากับทุนใหม่ ที่ช่วงชิงอำนาจกันเพื่อขึ้นเป็นรัฐบาล ที่ต่างฝ่ายต่างมีประชาชนเป็นฐานคะแนนเสียงสนับสนุนอุดมการณ์ของแต่ละฝ่าย ซึ่งต่างจากการต่อสู้กันในยุคเดือนตุลามหาวิปโยค ที่เป็นความขัดแย้งกันระหว่างรัฐบาลเผด็จการกับประชาชน นิสิตนักศึกษา ปัญญาชน โดยตรง
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
เมื่อคน คนหนึ่งล้มลงป่วย เขาย่อมได้รับการเยียวยารักษา ไม่ว่าเขาจะเป็นใครมาจากไหน ยากดีมีจนอย่างไร หาไม่เช่นนั้น..อาการป่วยไข้ของเขาย่อมลุกลามใหญ่โต และชีวิตเขาย่อมมีอันเป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือแม้กระทั่งถึงแก่ชีวิตได้
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
800x600
Normal
0
false
false
false
EN-US
X-NONE
TH
MicrosoftInternetExplorer4
/* Style Definitions */
table.MsoNormalTable
{mso-style-name:"Table Normal";
mso-tstyle-rowband-size:0;
mso-tstyle-colband-size:0;
mso-style-noshow:yes;
mso-style-priority:99;
mso-style-parent:"";
mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt;
mso-para-margin:0cm;
mso-para-margin-bottom:.0001pt;
mso-pagination:widow-orphan;
font-size:10.0pt;…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
1.
ผมสัมผัส งานวิพากษ์วิจารณ์สังคมและการเมืองของ คำ ผกา ด้วยความรู้สึกเดียวกันกับใครบางคนหรือสองคนสามคน ที่เคยแอบเป็นห่วงความแรงเธอ และต่อมาต่างก็พากันเลิกรู้สึก เมื่อเธอยืนยันความเป็นตัวตนของเธออย่างเสมอต้นเสมอปลาย และยืนหยัดอยู่ได้มานานจนเป็นปรกติธรรมดามาจนถึงวันนี้ และสรุปกันว่ามันเป็นธรรมชาติวิสัยของเธอที่ต้องเป็นเช่นนั้น เช่นเดียวกับสังคมที่เคยตกอกตกใจ ต่างก็เคยชิน...และยอมรับความเป็นตัวตนในการสื่อสารของเธอ ทั้งคนที่รักเธอและเกลียดเธอในเรื่องอุดมการณ์ความคิดที่ต่างกัน
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
สวย
เขาก็หาว่า
สวยแต่รูปจูบไม่หอม
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
"นางแบบโดย อรวรรณ ชมพู จาก ชมพูเชียงดาว coffe"
คุณพยายามหลีกเลี่ยงลดละ
การดื่มเหล้า การสูบบุหรี่
การถกเถียงกันเพื่อเอาชนะกัน
การทะเลาะเบาะแว้งกัน
การท่องเที่ยวในยามวิกาล
การขับรถด้วยความรีบร้อน
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
น้ำท่วม
เดือนตุลาคม 2554
ไหลลงไปจากที่สูงลงไปท่วมท้น
ทุกหนทุกแห่งที่เป็นที่ต่ำ - ตามธรรมชาติของน้ำ
ไม่ละเว้นว่าพื้นที่แห่งนั้นจะเป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจ
กี่พัน กี่หมื่น กี่แสน กี่ล้าน ล้านเท่าไหร่
ไม่ละเว้น ไม่ว่าจะเป็นเมืองหลวงหรือชนบท
แม้แต่วัดวาอารามศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้คนกราบไหว้
ยังมิอาจป้องกัน ยังมิอาจสวดมนต์ภาวนาใดๆ
ขอให้มวลมหึมาของอุทกภัยอันยิ่งใหญ่
ละเว้นไว้อยู่กับองค์พระปฏิมา