Skip to main content

 

เมื่อพูดถึงคำว่า“เสรีภาพ”
คำ คำนี้ช่างมีพลังอย่างแปลกประหลาด ทำให้รู้สึกดึงดูดเย้ายวนใจสำหรับคนบางคน พอๆกับที่ก่อให้เกิดความรู้สึกหวาดกลัวกับคนบางคน ยิ่งไปกว่านั้นบางคนปรารถนาเสรีภาพ ในขณะเดียวกันก็รู้สึกหวาดหวั่นอยู่ลึกๆ เรียกร้องอยากจะได้มา และก็กลัวที่จะได้มันมาจริงๆ
 
ความรู้สึกนานาประการนี้
ย่อม เกิดจากการเข้าถึงเสรีภาพ จากแง่มุมและความหมายต่างๆกัน ผู้ที่ไม่เคยมีย่อมหวาดกลัว ผู้มีแล้วแต่ไม่เข้าใจยิ่งหวาดกลัวกว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมา มนุษย์เคยชินกับการถูกบังคับให้ทำตามกฎเกณฑ์ต่างๆ และมักมองเสรีภาพไปในความหมายด้านตรงกันข้ามกับกฎเกณฑ์เหล่านั้น คนส่วนมากมักจะมองหาขอบเขตของมันไม่พบ และคิดเอาเองว่า เสรีภาพน่าจะเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ ในขณะที่ตัวเองก็ไม่กล้าที่จะออกจากกฎเกณฑ์เก่าๆที่เคยชิน
 
เรากลัวเกินไป
ที่ จะเริ่มต้นทดลองสิ่งใหม่ๆ ดูเหมือนว่าการได้ยึดอะไรบางอย่างเป็นหลักไว้ ย่อมให้ความรู้สึกที่ปลอดภัยกว่า พวกเรายังติดอยู่กับความคิดชนิดที่ว่า
“อยู่กับสิ่งที่เลวน้อยที่สุด ดีกว่าเสี่ยงกับสิ่งที่ไม่รู้ว่า จะดีหรือเลว
ความคิดเช่นนี้ ทำให้กระบวนการวิวัฒน์ทางสังคมและตัวเองหยุดนิ่ง เป็นพลังที่เฉื่อยชาและจำยอม
 
ชีวิตมนุษย์
น่า จะมีโอกาสได้ค้นหาและทดลองสิ่งใหม่ๆหรือไม่ หรือว่ากฎเกณฑ์แบบแผนข้อบังคับ และคำตอบสำเร็จรูป ได้ทดแทนให้รู้สึกอิ่มอกอิ่มใจพอแล้ว และถ้าเลือกเอาอย่างแรก ก็หมายความว่าเราได้เริ่มเรียนรู้สิ่งที่เรียกว่าเสรีภาพนี้ ต่างกันไกลจากความหมายเดิมๆที่เราเคยเข้าใจ จากบทเรียนบทต่อๆไป คงจะทำให้เข้าใจความหมายอันแท้จริงมากขึ้น
 
มีผู้สงสัยว่า
หาก มนุษย์มีอิสระในตัวเอง และเต็มไปด้วยเสรีภาพแล้ว หากปราศจากแบบแผนกฎเกณฑ์แล้ว สังคมจะอยู่ร่วมกันได้อย่างไร จะมิวุ่นวายไปหมดหรือ ต่อคำถามนี้ ตอบได้ง่ายๆว่า เสรีภาพมิได้หมายถึง การทำตามใจตัวเองอย่างสุดโต่ง และไม่ใช่การไร้แบบแผน เพราะเสรีภาพนั่นเองหมายถึงการมีวินัยอย่างสูงสุด ไม่ใช่จากกฎหมายของรัฐหรือกฎเกณฑ์ที่บังคับใช้ในสังคม...
 
หากเป็นวินัยในตัวเอง
ที่เกิดจากการพิจารณาไตร่ตรองด้วยวิจารญาณและจิตสำนึก กลายเป็นความรู้สึกรับผิดชอบโดยส่วนรวม และสำหรับคนที่มีสำนึกต่อส่วนรวม ย่อมรู้ว่าขอบเขตของการกระทำอยู่ตรงไหน ในกรณีนี้ แม้จะไม่มีกฎหมายบังคับ และไม่มีตำรวจเฝ้าดู... เขาก็ย่อมเลือก ที่จะทำและไม่ทำ อย่างมีเหตุผล และเต็มเปี่ยมไปด้วยจิตสำนึกเช่นนี้ การณ์ก็กลับเป็นตรงกันข้ามว่า เสรีภาพหมายถึงกฎเกณฑ์อันสูงสุด ที่มนุษย์ยินยอมรับอย่างมีศักดิ์ศรี ด้วยการใช้สติปัญญาและวิจารณญาณด้วยตนเอง
 
จะเห็นว่าความหมายในที่นี้
แตกต่างจากความหมายเก่าๆโดยสิ้นเชิง ความคิดและการกระทำของคนในสังคมอารยะนั้น เข้าถึงแง่มุมความเป็นจริงมากกว่าสังคมทาส ในสังคมใดๆจะเข้าถึงการอยู่ร่วมกันโดยสันติ และความดีงามโดยส่วนรวมไม่ได้เลย หากประชาชนปราศจากเสรีภาพ...
 
เราพบว่าเสรีภาพ
กับ ความรับผิดชอบต่อส่วนรวมเป็นสิ่งเดียวกัน ความเป็นตัวของตัวเองก็เช่นกัน ไม่ได้มีความหมายต่างไปจากนี้ คนเป็นอันมากกลัวที่จะเป็นตัวของตัวเอง และไม่กล้าพอที่จะอนุญาตให้คนอื่นเป็นด้วย ที่จริงไม่น่ากลัวเลย เพราะการเป็นตัวของตัวเองอย่างแท้จริงนั้น ย่อมหมายถึงการพัฒนาภายในของมนุษย์ในระดับสูงสุด คุณภาพภายในของปัจเจกชนนั่นเอง ที่จะเกื้อหนุนให้ส่วนรวมดำรงอยู่ได้ หากปราศจากสิ่งนี้
เชื่อแน่ว่าสังคมแบบแผนอันเส็งเคร็งนี้
จะต้องพังทลายลงสักวันหนึ่ง.
 
หมายเหตุ ; พจนา จันทรสันติ เป็นนักเขียนและนักแปล ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันมานานจากงานเขียนบทกวีอิสระที่ชื่อว่า “ขลุ่ยไม้ไผ่” และงานแปลของ กฤษณะ มูรติ ที่ชื่อว่า “แด่หนุ่มสาว” ที่ผมเข้าใจว่าคุณพจนาเป็นคนแรกที่นำงานของ กฤษณะมาเผยแพร่ และมีผู้แปลติดตามมาอีกมากมายหลายท่าน...   

ภาพรวม ผลงาน ของ คุณพจนา ไม่ว่าจะเป็นงานเขียนเพียวๆของเขาหรือว่างานแปล เป็นงานเชิงศาสนา ปรัชญา และจิตวิทยา ซึ่งเขาก็ได้ยืนหยัดทำงานในแนวนี้มาโดยตลอด และผมเชื่อว่า นี่เป็นเป็นการยืนยันถึงการค้นพบตัวเองของเขาอย่างแน่ชัด...
 
โดยส่วนตัวผม ผมถือว่าคุณพจนาเป็นนักคิดทางจิตวิญญาณที่สำคัญคนหนึ่งของยุคสมัย งานของเขาเป็นงานที่อบอุ่นเช่นเดียวกับบุคลิกภาพของเขา ที่ใครเห็นแล้วก็รู้สึกปลอดภัย และอยากเข้าใกล้ เป็นงานที่อ่านแล้วก่อให้เราเกิดความรู้สึก...อยากจะพัฒนาความคิดจิตใจของ ตัวเอง โดยไม่ต้องมีใครมาบีบบังคับ และสามารถหยิบมาอ่านได้ทุกยุคทุกสมัย เพราะเป็นงานที่ขุดค้นเข้าไป ข้างในอันละเอียดอ่อนซับซ้อนของมนุษย์ ที่เขายังแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆในชีวิตจริงของคนเราด้วย ไม่ว่าจะเป็นงานเขียนหรืองานแปล ที่คุณพจนาทำออกมาอย่างประณีต มีเป้าหมายที่ชัดเจน และมีคุณูปการต่อผู้อ่านเป็นอย่างยิ่ง...
 
น่าแปลกใจ
ที่ องค์กรบางองค์กรของรัฐ ที่มอบรางวัลให้ผู้ทำงานดีเด่นเกี่ยวศาสนาทุกปี มักจะให้รางวัลแก่ผู้ที่ทำบุญทางวัตถุอย่างออกหน้าออกตาเป็นหลัก แต่ไม่ได้เหลียวแลคนที่ทำบุญทาง จิตวิญญาณ อย่างอย่างเงียบๆด้วยผลงานที่เป็น มวลอันมหึมา เช่นคุณพจนา คงเป็นเพราะว่าสังคมปัจจุบันของเราเป็นสังคมที่เน้นหนักไปทางวัตถุนิยม การให้คุณค่าสิ่งต่างๆจึงพลอยเน้นหนักไปในเรื่องวัตถุ ตามค่านิยมของสังคมไปจนหมด...
 
แม้แต่เรื่องศาสนา
ที่เป็นเรื่องของความคิดจิตใจ ที่ทางพุทธศาสนาของเราถือว่าเป็นเรื่องสำคัญถึงขนาดมีคำกล่าวว่า “จิตเป็นนายกายเป็นบ่าว” ก็ พากันหลงทางไปเน้นหนักในการเรื่องสร้างวัตถุ คนที่ทำงานถูกที่ถูกทาง และยืนหยัดอย่างยาวนานมาโดยตลอด เช่นคุณพจนา - จึงถูกมองไม่เห็น เพราะพวกเราต่างพากันหน้ามืดตามัวอยู่ในโลกของวัตถุนิยมที่ครอบงำพวกเราเอา ไว้อย่างแน่นหนา ถึงแม้โดยส่วนตัว ผมสามารถจะหยั่งรู้ด้วยว่า... คนแบบคุณพจนา ไม่ได้สนใจไยดีอะไรกับเรื่องพวกนี้ก็ตาม

แต่สังคมที่พอจะมีสติปัญญา
ก็น่าจะปักป้ายไว้ให้แก่คุณค่าที่แท้จริง
เพื่อผู้ที่สนใจแสวงหาแนวทางนี้
จะไม่ได้เสียเวลาไปกับของปลอมและฉาบฉวย...
 
ความเรียงเชิงบันทึกชื่อ “เสรีภาพกับความเป็นตัวของตัวเอง” ของคุณพจนา ที่ผมคัดเลือกมาจากหนังสือ “ชัยชนะ” พิมพ์ครั้งที่ 3 โดยสำนักพิมพ์ เคล็ดไทย 2533 ที่ ผมนำมาเสนอชิ้นนี้ ผมเชื่อมั่นว่า ใครๆได้อ่านแล้ว คงยากจะปฏิเสธได้ว่า ทัศนะในเรื่องเสรีภาพและความเป็นตัวของตัวเองของมนุษย์ จากทัศนะของเขา เรายากที่จะไม่ยอมรับว่า

ทัศนะที่ถูกต้องที่สุดในเรื่องนี้
มันควรจะเป็นเช่นนี้
ใช่หรือมิใช่.
 

***ขอขอบคุณภาพประกอบจาก โอเคเนชั่น.com

 


2 สิงหาคม 2553
กระท่อมทุ่งเสี้ยว เชียงใหม่
 

 

บล็อกของ ถนอม ไชยวงษ์แก้ว

ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
    เมื่อยังมีชีวิต จงหายใจเข้าไว้ หายใจแรงๆ และหายใจอย่างสดชื่น เพราะภาระหน้าที่ของชีวิตคือการมีชีวิต ชีวิตที่กระปรี้กระเปร่า และถ้าเป็นไปได้ควรต้องรื่นรมย์กับชีวิต บาปอันยิ่งใหญ่ของมนุษย์ (บางทีสำหรับสิ่งมีชีวิตทั้งปวง) คือการปฏิเสธชีวิต   การมีชีวิต
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
    ฉันเป็นเท่าที่ฉันเป็น ฉันทำเท่าที่ฉันหวัง ฉันหวังเท่าที่ฉันเห็น ฉันง่ายฉันงามฉันแจ่มชัด ฉันเชื่อหนึ่งมากกว่าร้อย ฉันเชื่อคนมากกว่าลัทธิ ฉันเชื่อดินมากกว่าฟ้า ฉันเชื่อต้นหญ้ามากกว่าขุนเขา ฉันเชื่อสวนหลังบ้านมากกว่าป่าหิมพานต์ ฉันเชื่อวันนี้มากกว่าวันวาน ฉันง่ายฉันงามฉันแจ่มชัด ฉันไม่เชื่ออำนาจรัฐจากกระบอกปืน   ฉันเป็นเท่าที่ฉันเป็น.  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  อิสรภาพ   ฉันต้องการอิสรภาพ ที่จะได้เห็น ที่จะได้ยิน ในสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  เป็นที่ทราบกันดีว่า กฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นกฎหมายที่สร้างความทุกข์สาหัสให้แก่ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่า “หมิ่นสถาบัน” มามากมายหลายคน เพราะกฎหมายนี้ถูกตราขึ้นมาอย่างกว้างๆไม่ระบุขอบข่ายความผิดให้ชัดเจน รวมทั้งกระบวนการจับกุม สอบสวน ดำเนินคดี ก็มิได้เป็นไปตามปกติทั่วไป มิหนำซ้ำการตีความบังคับใช้มาตรานี้ ว่ากันว่า เจ้าหน้าที่สามารถตีความใช้ได้อย่างกว้างขวาง และนักการเมืองมักจะใช้เป็นเครื่องมือในการทำลายฝ่ายตรงกันข้ามอยู่เสมอ และผู้ต้องคดีนี้นอกจากจะติดคุกติดตะรางแล้ว ยังถูกซ้ำเติมจากสังคมที่จงรักภักดีต่อสถาบันอย่างรุนแรง    
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
    คือแม่น้ำและขุนเขาอันขรึมขลัง คือพลังคีตกานท์อันหวานไหว คือหนึ่งจิตวิญญาณล้านนาไทย คือดอกไม้สวยสะคราญบานนิรันดร์  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  ย้อนกลับไปทบทวนดู คำประกาศหลังจากรับพระราชทานโปรดเกล้าฯของคุณยิ่งลักษณ์ตอนหนึ่งที่กล่าวว่า “อุปสรรคข้างหน้ายังรอเราอยู่มาก ทั้งที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ แต่ทั้งหมดมิใช่อุปสรรคขวางกั้นมิให้ทำงาน พร้อมที่จะอุทิศตัวด้วยความทุ่มเท เสียสละอดทน ทำงานแข่งกับเวลา ไม่เกรงต่อความลำบากใดๆ”
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
    แล้ว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย หมายเลข 1 ก็ได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 28 และ เป็นนายกหญิงคนแรกในประวัติศาสตร์การเมืองของเมืองไทย และเป็นคนที่ 52 ของโลก อย่างสมบูรณ์ โดยได้รับการโหวตเสียงจากที่ประชุมสภาฯ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2554 ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 296 เสียง ไม่เห็นด้วย 3 เสียง และงดออกเสียง 197 เสียง ก่อนจะได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ในวันที่ 8 สิงหาคม 2554 เวลา 18.40 น. ณ บริเวณตึกชั้น 7 ที่ทำงานพรรคเพื่อไทย ท่ามกลางความยินดีของคนจำนวนมากมาย ที่สนับสนุนคุณยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทย  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
    คราวที่แล้ว ผมนำเรื่อง “คนดีของคนเมือง และ คนดีของชนบท” ที่แตกต่างกัน จากบทสัมภาษณ์ที่ชื่อว่า “ความคาดหวังและความจริงของประชาธิปไตยแบบไทยๆ” ของ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ซึ่งให้สัมภาษณ์ลงนิตยสารสารคดี ฉบับเดือนตุลาคม 2543 ผมคิดว่าจะหยุดเพียงแค่นั้น แต่ก็หยุดไม่ได้ เพราะพบว่ายังมีประเด็นที่ผมคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านอีกสองประเด็น ที่ยังเป็นเรื่องราวที่ยังดำรงอยู่ในปี 2544 และต่อไปอีกนานเท่าไหร่ ก็คงไม่มีใครรู้ เพราะมันเป็นรื่องของอนาคต  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
      ผมมักจะได้ยิน ผู้คนและสื่อต่างๆเกี่ยวกับการเมือง มักจะพูดกันให้ได้ยินอยู่เสมอว่า “คนชนบทเป็นคนเลือกตั้งรัฐบาล คนเมืองเป็นคนล้ม” ซึ่งดูเหมือนจะเป็นความจริงมาโดยตลอด แต่ก็ไม่มีใครให้คำอธิบายที่ฟังดู สมเหตุสมผลและชอบธรรม ให้ฟัง ว่าทำไมคนเมืองที่หมายถึงคนชั้นกลาง จึงไม่ชอบรัฐบาลที่ได้มาจากเสียงส่วนใหญ่ที่เป็นคนชนบทในประเทศ และช่วยกันล้มรัฐบาลที่เขาเลือกตามกติกา 
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
      ถึงแม้ คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะได้รับการรับรองจาก กกต. ให้หลุดพ้นจากข้อหาไปช่วยขบวนแห่ที่เชียงราย ให้พ้นจากข่ายความผิดด้วยมติ 5 ต่อ 0 ท่ามกลางความโล่งอกของใครต่อใครมากมายหลายคน ที่ว่ากันว่า เป็นเพราะโพลเสียงจากประชาชน 80 เปอร์เซ็นต์ ต้องการคุณยิ่งลักษณ์นายกฯ (รวมทั้ง นปช.) เป็นกระแสกดดัน กกต. หรือเพราะเหตุใดก็ช่างเถิด แต่เราก็สามารถฟันธงกันได้เลยว่า อีกไม่นาน เราจะต้องได้นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศอย่างแน่นอน 
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
      ผมไม่แน่ใจว่า ก่อนที่คุณยิ่งลักษณ์ ว่าที่นายกฯ ยิ่งลักษณ์ คนสวย และกลุ่มมันสมองของพรรคเพื่อไทยจะชูนโยบายประชานิยม เพิ่มค่าแรงงานขั้นต่ำให้กรรมกรผู้ใช้แรงงานจาก 221 บาท เป็น 300 บาท และเพิ่มเงินเดือนให้แก่ผู้จบปริญญาตรีที่เริ่มเข้าบรรจุงานจาก 11,028 บาท เป็น 15,000 บาท
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมกำลังจะชวนใครต่อใคร เข้ามาคุยเรื่องปัญหาที่รัฐบาลใหม่จะต้องเข้ามาสะสางและแก้ไข จากข้อมูลของนักวิเคราะห์การเมืองท่านหนึ่งที่รวบรวมและชี้แนะเอาไว้ล่วงหน้าแก่รัฐบาลของคุณยิ่งลักษณ์เอาไว้