ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมเคยเข้าใจว่า
ท่านอาจารย์ธเนศวร์ เจริญเมือง อดีตอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาฯ ในปัจจุบัน เป็นคนแรกที่คิดและเสนอให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ แทนผู้ว่าฯที่ส่งมาจากส่วนกลาง เพราะผมเคยอ่านบทความของอาจารย์ไม่ว่าจะพูดเรื่องอะไร...ในที่สุดก็มักจะวกเข้ามาหาเรื่องนี้อย่างเอาจริงเอาจัง ประมาณว่า ผมนึกถึงอาจารย์ธเนศวร์ทีไร ผมก็จะนึกถึงเรื่องผู้ว่าฯจากการเลือกตั้งขึ้นมาพร้อมๆกัน
แต่เมื่อผมเข้าไปร่วมสัมมนา “เวทีปฏิบัติการ เพื่อขับเคลื่อนร่าง พ.ร.บ. เชียงใหม่มหานคร” ที่คุณสวิง ตันอุด ผู้อำนวยการวิทยาลัยจัดการสังคมภาคเหนือ คุณชัชวาลย์ ทองดีเลิศ อดีต ผู้อำนวยการ “โฮงเฮียนสืบสานล้านนา” เชียงใหม่ และตัวแทนองค์กรภาคประชาชนระดับผู้นำ 10 กว่าองค์กรร่วมกันจัด ณ ที่ห้องประชุม ภูอิงฟ้ารีสอร์ท ต.โป่งแยง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 30 - 31 พฤษภาคม 2555 เพื่อเตรียมตัวปฏิบัติการขับเคลื่อนนำเรื่องนี้ ที่ค่อยๆพัฒนาอย่างเงียบๆ เหมือนหน่อไม้ที่ค่อยๆเติบโตภายใต้พื้นดิน จนแทงหน้าดินทะลุโผล่ยอดแหลมๆออกมา - เป็นร่าง พ.ร.บ. เพื่อนำไปยื่นเสนอรัฐสภาให้พิจารณา
ในงานนี้เองแหละครับ ที่ผมได้ข้อมูลใหม่ท่านอาจารย์ชำนาญ จันทร์เรือง ซึ่งเป็นผู้ตั้งต้น ร่าง พรบ.ฉบับนี้ และเป็นวิทยากรผู้บรรยายคนสำคัญในขณะบรรยายท้าวความหลังเรื่องนี้ว่า - ผู้ที่เป็นต้นคิดและออกมาพูดเรื่องนี้เป็นคนแรก ซึ่งเป็นเวลานานมาแล้วถึงสามสิบกว่าปี คือ คุณไกรสร ตันติพงศ์ อดีต ส.ส. หลายสมัยของจังหวัดเชียงใหม่ แต่ไม่ได้รับการขานรับจากภาคประชาชน
ต่อมา ท่านอาจารย์ธเนศวร์ เจริญเมือง จึงได้ลุกขึ้นมาพูดและเสนอให้มีผู้ว่าฯ มาจากการเลือกตั้งเมื่อปี 2533 ซึ่งว่ากันว่า นอกจากเสียงของอาจารย์จะไม่ได้รับการขานรับจากภาคประชาชนแล้ว อาจารย์ยังถูกคัดค้านต่อต้านแบบรุมกินโต๊ะกันอย่างเอร็ดอร่อยจากนักวิชาการทางรัฐศาสตร์ด้วยกันอีก
จึงพอสรุปได้ว่า ณ ห้วงเวลานี้ เรื่องที่เคยแสลงใจใครต่อใครในเรื่องนี้ ได้รับการขานรับแล้วจากภาคประชาชนและแทบทุกภาคในสังคม ด้วยเหตุผลมากมายจากความเปลี่ยนแปลงของสังคม และการเมืองตั้งแต่ปี 2547 มาจนถึงปัจจุบันที่ยังอึมครึมอยู่
สิ่งที่บ่งบอกก็คือ
ร่างพรบ.ฉบับนี้ ที่อาจารย์ชำนาญ จันทร์เรือง อาจารย์ผู้สอนกฎหมายจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นผู้ตั้งต้นร่าง พรบ.ฉบับนี้ได้ให้รายละเอียดที่มาของ พรบ.เอาไว้ว่า “ปรับแก้เนื้อหา จากประชาชน นักวิชาการ ข้าราชการ องค์กรปกครองท้องถิ่น ในการประชุมกว่า 40 เวที จากเวทีอำเภอ 25 เวที และจากเวทีการประชุมตรวจการสอบ และการออกแบบที่ประชาชนมีส่วนร่วมอีก 10 กว่าครั้ง” โดยสรุปสาระสำคัญของ ร่าง พรบ.เชียงใหม่มหานคร เอาไว้ 3 แนวทางด้วยกันคือ
1. ยกเลิกการบริหารราชการส่วนภูมิภาค เหลือเพียงราชการส่วนกลางและราชการท้องถิ่นเต็มพื้นที่ และมีฐานะเป็นนิติบุคคล มีอำนาจในการกำหนดแนวนโยบาย ระเบียบ ข้อบัญญัติ การจัดงบประมาณ การคลัง การจัดการบริหารบุคลากร กลไกโครงสร้างการบริหารงานภายในท้องถิ่น เพื่อการบริหารราชการท้องถิ่นได้ โดยไม่ขัดต่อ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนท้องถิ่นให้ครอบคลุมทุกเรื่อง ยกเว้น 4 เรื่องหลัก คือ การทหาร ระบบเงินตรา การต่างประเทศ และการศาล
โดยแบ่งการปกครองเป็น 2 ระดับ คือ ระดับบน (เชียงใหม่มหานคร) และระดับล่าง (เทศบาล) ทำให้สามารถดูแลครอบคลุมพื้นที่โดยทั้ง 2 ระดับมีการบริหารที่อิสระต่อกัน เป็นลักษณะการแบ่งหน้าที่การทำงานให้ชัดเจน
2. ทำให้การเมืองมีความโปร่งใส มีคุณธรรม จริยธรรม ทำให้ระบบตรวจสอบมีความเข้มแข็ง และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการสร้างดุลภาพ 3 คือ ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร สภาเชียงใหม่มหานคร และสภาพลเมือง
รวมถึงการสนับสนุนให้ประชาชนสามารถใช้อำนาจโดยตรงในการกำหนดทิศทางการพัฒนาตรวจสอบการทำงานของหน่วยงาน ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ทุกระดับ และเข้าถึงการใช้งบประมาณ ผ่านกระบวนการกลไกต่างๆ เช่น สภาพลเมือง การไต่สวนสาธารณะ กรรมาธิการด้านต่างๆ เช่น การศึกษา เกษตร ซึ่งมีการรับรองการใช้อำนาจ และมีงบประมาณกระบวนการดังกล่าว
3. การปรับโครงสร้างด้านภาษี โดยภาษี โดยภาษีทุกชนิดที่เก็บได้ในพื้นที่จะส่งคืนรัฐบาลส่วนกลางร้อยละ 30 และคงไว้ที่จังหวัดร้อยละ 70
และจากสาระสำคัญของ ร่างพรบ.ทั้ง 3 ประการนี้ ได้แตกรายละเอียดออกไปเป็นมาตราต่างๆ 4 หมวด รวมกันทั้งหมด 157 มาตรา (ที่ผมต้องกลับบ้านมานั่งอ่านจนเกือบป่วย)
ครับ นี่คือที่มาและภาพรวมทั้งหมดของ ร่าง พรบ. ที่ผมเข้าไปร่วมในงานสัมมนาที่เพิ่งผ่านพ้นไป
ส่วนการขับเคลื่อน พรบ.สืบเนื่องต่อจากนี้ไป
เป็นเรื่องของผู้นำองค์กรแต่ละท้องถิ่นจะทำการประชาสัมพันธ์แก่ประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง พร้อมกับรวบรวมรายชื่อผู้ร่วมสนับสนุนทุกองค์กรรวมกันไปจนถึงปลายเดือนมิถุนาให้ได้ตามเป้าหมายในขั้นตอนนี้ไม่ต่ำกว่า 10,000 คนหรือ 15,000 คน เพื่อเปิดเวทีประกาศเจตนารมณ์ “เชียงใหม่จัดการตนเอง สู่การขับเคลื่อน พรบ.เชียงใหม่มหานคร” ในวันที่ 24 มิถุนายน 2555 ที่อนุสาวรีย์สามกษัตริย์เพื่อส่งสัญญาณให้รัฐบาลตรียมตัวรับการยื่นรายชื่อผู้สนับสนุน ร่าง พรบ.นี้ในช่วงเวลาระหว่างปลายเดือนกรกฏาถึงต้นเดือนสิงหา
หลังจากยื่นรายชื่อแล้ว พวกเขายังจะจัดงานเกี่ยวกับเรื่องนี้อีกที่อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ติดต่อกันทุกวัน ไปจนถึงเดือนพฤศจิกายนเป็นเวลา 120 วัน (โอ พระเจ้า ผมฟังแล้วตกใจจนหายง่วงเป็นปลิดทิ้ง เพราะคิดไม่ถึงว่าเขาจะเล่นกันหนักถึงขนาดนี้)
นี่คือ
การเริ่มต้นเคลื่อนไหวของพลังการเมืองอันมหึมาอีกแนวทางหนึ่งจากส่วนภูมิภาค ที่ผมยังพบว่าในการรวมกันเป็นองค์ประกอบของพลังนี้ ยังมีกลุ่มคนเสื้อแดงและคนเสื้อเหลืองจำนวนหนึ่ง ที่ก้าวข้ามความขัดแย้งที่เคยมีต่อกันเข้ามาร่วมขับเคลื่อนด้วย
พร้อมกับการสรุปบทเรียนที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับทุกฝ่ายว่า ปัญหาแทบทุกอย่างในท้องถิ่นรวมทั้งปัญหาการแตกแยกเป็นคนเสื้อเหลือง - เสื้อแดงในสังคมไทย ล้วนแล้วแต่มีรากเหง้าต้นตอมาจากการรวมศูนย์อำนาจการบริหารปกครองไปกระจุกไว้ที่ส่วนกลางมาตั้งแต่สมัยรัชการที่ 5 รวมทั้งความผิดหวังจากรัฐบาลแบบนายทุนที่ต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ของทุนที่ชักใยอยู่เบื้องหลังมากกว่าเพื่อชาวบ้านชาวเมืองส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นทุนศักดินาหรือว่าทุนโลกาภิวัตน์ที่ยังคงห้ำหั่นกันไม่รู้จักเลิกรา
ครับ ก็คงต้องรอดูกันต่อไป ถ้าปัญหา ร่าง พรบ.ปรองดองของรัฐบาลที่ถูกฝ่ายค้าน และกลุ่มพันธมิตรฯ ออกมาคัดค้านแบบเอาเป็นเอาตายในห้วงเวลานี้ ไม่ถูกหยิบขึ้นมาอ้างเป็นเหตุแห่งความชอบธรรมให้ใครสักคนหนึ่ง...ลุกขึ้นมายึดอำนาจให้เสียรังวัดเสียก่อน
แล้วเราคงจะได้เห็นขบวนการภาคประชาชน “เชียงใหม่จัดการตนเอง สู่การขับเคลื่อน พรบ.เชียงใหม่มหานคร” ขับเคลื่อนไปตามขั้นตอนจนถึงปลายทางที่รัฐสภา ด้วยความระทึกใจ...ในอนาคตอันใกล้นี้.
*****************************************************************
หมายเหตุ: ตีพิมพ์ครั้งแรก มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับ 29 มิ.ย. - 5 ก.ค. 2555
บล็อกของ ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
แล้วในที่สุด
ผมก็ได้รับรู้ความคิดที่เป็นเหตุเป็นผล เป็นเรื่องเป็นราว (ที่อยากรู้มานาน) ของ คุณหมอตุลย์ สิทธิสมวงศ์ แกนนำเครือข่ายราษฎร์อาสาปกป้องสถาบัน หรือกลุ่มเสื้อหลากสี ที่ออกมาต่อต้านข้อเสนอแก้ ม.112 ของนิติราษฎร์และครก.112 จากการเป็นวิทยากรรับเชิญอภิปรายในเรื่องนี้ ณ สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย หรือ FCCT เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 55 ที่ประชาไทนำมาลงในหน้าแรกประชาไท เมื่อวันที่ 17 ก.พ. 55 ทั้งคลิปภาพและเสียงการอภิปรายที่ใช้ภาษาอังกฤษล้วนๆ และเนื้อหาที่ประชาไทแปลแบบย่อความมา รวมทั้งการตอบคำถามของผู้สื่อข่าว
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ช่างเถิด
ถึงแม้ว่า
เขาจะดื่มตั้งแต่ลืมตาตื่นขึ้นมา
ตั้งแต่เช้าจนจรดเย็น
เพื่อบำบัดความเปล่าเปลี่ยวในหัวใจของเขา
ในยามที่ชีวิตของเขาตกต่ำ
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
การต่อสู้กันทางการเมืองครั้งนี้ เป็นการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างชนชั้นนำในสังคมที่ขัดแย้งกัน หรือพูดง่ายๆก็คือระหว่างทุนเก่ากับทุนใหม่ ที่ช่วงชิงอำนาจกันเพื่อขึ้นเป็นรัฐบาล ที่ต่างฝ่ายต่างมีประชาชนเป็นฐานคะแนนเสียงสนับสนุนอุดมการณ์ของแต่ละฝ่าย ซึ่งต่างจากการต่อสู้กันในยุคเดือนตุลามหาวิปโยค ที่เป็นความขัดแย้งกันระหว่างรัฐบาลเผด็จการกับประชาชน นิสิตนักศึกษา ปัญญาชน โดยตรง
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
เมื่อคน คนหนึ่งล้มลงป่วย เขาย่อมได้รับการเยียวยารักษา ไม่ว่าเขาจะเป็นใครมาจากไหน ยากดีมีจนอย่างไร หาไม่เช่นนั้น..อาการป่วยไข้ของเขาย่อมลุกลามใหญ่โต และชีวิตเขาย่อมมีอันเป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือแม้กระทั่งถึงแก่ชีวิตได้
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
800x600
Normal
0
false
false
false
EN-US
X-NONE
TH
MicrosoftInternetExplorer4
/* Style Definitions */
table.MsoNormalTable
{mso-style-name:"Table Normal";
mso-tstyle-rowband-size:0;
mso-tstyle-colband-size:0;
mso-style-noshow:yes;
mso-style-priority:99;
mso-style-parent:"";
mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt;
mso-para-margin:0cm;
mso-para-margin-bottom:.0001pt;
mso-pagination:widow-orphan;
font-size:10.0pt;…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
1.
ผมสัมผัส งานวิพากษ์วิจารณ์สังคมและการเมืองของ คำ ผกา ด้วยความรู้สึกเดียวกันกับใครบางคนหรือสองคนสามคน ที่เคยแอบเป็นห่วงความแรงเธอ และต่อมาต่างก็พากันเลิกรู้สึก เมื่อเธอยืนยันความเป็นตัวตนของเธออย่างเสมอต้นเสมอปลาย และยืนหยัดอยู่ได้มานานจนเป็นปรกติธรรมดามาจนถึงวันนี้ และสรุปกันว่ามันเป็นธรรมชาติวิสัยของเธอที่ต้องเป็นเช่นนั้น เช่นเดียวกับสังคมที่เคยตกอกตกใจ ต่างก็เคยชิน...และยอมรับความเป็นตัวตนในการสื่อสารของเธอ ทั้งคนที่รักเธอและเกลียดเธอในเรื่องอุดมการณ์ความคิดที่ต่างกัน
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
สวย
เขาก็หาว่า
สวยแต่รูปจูบไม่หอม
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
"นางแบบโดย อรวรรณ ชมพู จาก ชมพูเชียงดาว coffe"
คุณพยายามหลีกเลี่ยงลดละ
การดื่มเหล้า การสูบบุหรี่
การถกเถียงกันเพื่อเอาชนะกัน
การทะเลาะเบาะแว้งกัน
การท่องเที่ยวในยามวิกาล
การขับรถด้วยความรีบร้อน
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
น้ำท่วม
เดือนตุลาคม 2554
ไหลลงไปจากที่สูงลงไปท่วมท้น
ทุกหนทุกแห่งที่เป็นที่ต่ำ - ตามธรรมชาติของน้ำ
ไม่ละเว้นว่าพื้นที่แห่งนั้นจะเป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจ
กี่พัน กี่หมื่น กี่แสน กี่ล้าน ล้านเท่าไหร่
ไม่ละเว้น ไม่ว่าจะเป็นเมืองหลวงหรือชนบท
แม้แต่วัดวาอารามศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้คนกราบไหว้
ยังมิอาจป้องกัน ยังมิอาจสวดมนต์ภาวนาใดๆ
ขอให้มวลมหึมาของอุทกภัยอันยิ่งใหญ่
ละเว้นไว้อยู่กับองค์พระปฏิมา