Skip to main content
 
            ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
 
 
 
 
ผมเคยเข้าใจว่า

             ท่านอาจารย์ธเนศวร์ เจริญเมือง อดีตอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาฯ ในปัจจุบัน เป็นคนแรกที่คิดและเสนอให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ แทนผู้ว่าฯที่ส่งมาจากส่วนกลาง เพราะผมเคยอ่านบทความของอาจารย์ไม่ว่าจะพูดเรื่องอะไร...ในที่สุดก็มักจะวกเข้ามาหาเรื่องนี้อย่างเอาจริงเอาจัง ประมาณว่า ผมนึกถึงอาจารย์ธเนศวร์ทีไร ผมก็จะนึกถึงเรื่องผู้ว่าฯจากการเลือกตั้งขึ้นมาพร้อมๆกัน 
 
            แต่เมื่อผมเข้าไปร่วมสัมมนา “เวทีปฏิบัติการ เพื่อขับเคลื่อนร่าง พ.ร.บ. เชียงใหม่มหานคร” ที่คุณสวิง ตันอุด ผู้อำนวยการวิทยาลัยจัดการสังคมภาคเหนือ คุณชัชวาลย์ ทองดีเลิศ อดีต ผู้อำนวยการ “โฮงเฮียนสืบสานล้านนา” เชียงใหม่ และตัวแทนองค์กรภาคประชาชนระดับผู้นำ 10 กว่าองค์กรร่วมกันจัด ณ ที่ห้องประชุม ภูอิงฟ้ารีสอร์ท ต.โป่งแยง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 30 - 31 พฤษภาคม 2555 เพื่อเตรียมตัวปฏิบัติการขับเคลื่อนนำเรื่องนี้ ที่ค่อยๆพัฒนาอย่างเงียบๆ เหมือนหน่อไม้ที่ค่อยๆเติบโตภายใต้พื้นดิน จนแทงหน้าดินทะลุโผล่ยอดแหลมๆออกมา - เป็นร่าง พ.ร.บ. เพื่อนำไปยื่นเสนอรัฐสภาให้พิจารณา
 
          ในงานนี้เองแหละครับ ที่ผมได้ข้อมูลใหม่ท่านอาจารย์ชำนาญ จันทร์เรือง ซึ่งเป็นผู้ตั้งต้น ร่าง พรบ.ฉบับนี้ และเป็นวิทยากรผู้บรรยายคนสำคัญในขณะบรรยายท้าวความหลังเรื่องนี้ว่า - ผู้ที่เป็นต้นคิดและออกมาพูดเรื่องนี้เป็นคนแรก ซึ่งเป็นเวลานานมาแล้วถึงสามสิบกว่าปี คือ คุณไกรสร ตันติพงศ์ อดีต ส.ส. หลายสมัยของจังหวัดเชียงใหม่ แต่ไม่ได้รับการขานรับจากภาคประชาชน 
 
          ต่อมา ท่านอาจารย์ธเนศวร์ เจริญเมือง จึงได้ลุกขึ้นมาพูดและเสนอให้มีผู้ว่าฯ มาจากการเลือกตั้งเมื่อปี  2533 ซึ่งว่ากันว่า นอกจากเสียงของอาจารย์จะไม่ได้รับการขานรับจากภาคประชาชนแล้ว อาจารย์ยังถูกคัดค้านต่อต้านแบบรุมกินโต๊ะกันอย่างเอร็ดอร่อยจากนักวิชาการทางรัฐศาสตร์ด้วยกันอีก
     
            จึงพอสรุปได้ว่า ณ ห้วงเวลานี้ เรื่องที่เคยแสลงใจใครต่อใครในเรื่องนี้ ได้รับการขานรับแล้วจากภาคประชาชนและแทบทุกภาคในสังคม ด้วยเหตุผลมากมายจากความเปลี่ยนแปลงของสังคม และการเมืองตั้งแต่ปี 2547 มาจนถึงปัจจุบันที่ยังอึมครึมอยู่
 
 
สิ่งที่บ่งบอกก็คือ 
 
       ร่างพรบ.ฉบับนี้ ที่อาจารย์ชำนาญ จันทร์เรือง อาจารย์ผู้สอนกฎหมายจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นผู้ตั้งต้นร่าง พรบ.ฉบับนี้ได้ให้รายละเอียดที่มาของ พรบ.เอาไว้ว่า “ปรับแก้เนื้อหา จากประชาชน นักวิชาการ ข้าราชการ องค์กรปกครองท้องถิ่น ในการประชุมกว่า 40 เวที จากเวทีอำเภอ 25 เวที และจากเวทีการประชุมตรวจการสอบ และการออกแบบที่ประชาชนมีส่วนร่วมอีก 10 กว่าครั้ง” โดยสรุปสาระสำคัญของ ร่าง พรบ.เชียงใหม่มหานคร  เอาไว้ 3 แนวทางด้วยกันคือ
 
      1. ยกเลิกการบริหารราชการส่วนภูมิภาค เหลือเพียงราชการส่วนกลางและราชการท้องถิ่นเต็มพื้นที่ และมีฐานะเป็นนิติบุคคล มีอำนาจในการกำหนดแนวนโยบาย ระเบียบ ข้อบัญญัติ การจัดงบประมาณ การคลัง การจัดการบริหารบุคลากร กลไกโครงสร้างการบริหารงานภายในท้องถิ่น เพื่อการบริหารราชการท้องถิ่นได้ โดยไม่ขัดต่อ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนท้องถิ่นให้ครอบคลุมทุกเรื่อง ยกเว้น 4 เรื่องหลัก คือ การทหาร ระบบเงินตรา การต่างประเทศ และการศาล
 
        โดยแบ่งการปกครองเป็น 2 ระดับ คือ ระดับบน (เชียงใหม่มหานคร) และระดับล่าง (เทศบาล) ทำให้สามารถดูแลครอบคลุมพื้นที่โดยทั้ง 2 ระดับมีการบริหารที่อิสระต่อกัน เป็นลักษณะการแบ่งหน้าที่การทำงานให้ชัดเจน
 
      2. ทำให้การเมืองมีความโปร่งใส มีคุณธรรม จริยธรรม ทำให้ระบบตรวจสอบมีความเข้มแข็ง และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการสร้างดุลภาพ 3 คือ ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร สภาเชียงใหม่มหานคร และสภาพลเมือง
 
        รวมถึงการสนับสนุนให้ประชาชนสามารถใช้อำนาจโดยตรงในการกำหนดทิศทางการพัฒนาตรวจสอบการทำงานของหน่วยงาน ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ทุกระดับ และเข้าถึงการใช้งบประมาณ ผ่านกระบวนการกลไกต่างๆ เช่น สภาพลเมือง การไต่สวนสาธารณะ กรรมาธิการด้านต่างๆ เช่น  การศึกษา เกษตร ซึ่งมีการรับรองการใช้อำนาจ และมีงบประมาณกระบวนการดังกล่าว
 
      3. การปรับโครงสร้างด้านภาษี โดยภาษี โดยภาษีทุกชนิดที่เก็บได้ในพื้นที่จะส่งคืนรัฐบาลส่วนกลางร้อยละ 30 และคงไว้ที่จังหวัดร้อยละ 70
 
      และจากสาระสำคัญของ ร่างพรบ.ทั้ง 3 ประการนี้ ได้แตกรายละเอียดออกไปเป็นมาตราต่างๆ 4 หมวด รวมกันทั้งหมด 157 มาตรา (ที่ผมต้องกลับบ้านมานั่งอ่านจนเกือบป่วย)
     ครับ นี่คือที่มาและภาพรวมทั้งหมดของ ร่าง พรบ. ที่ผมเข้าไปร่วมในงานสัมมนาที่เพิ่งผ่านพ้นไป
 

ส่วนการขับเคลื่อน พรบ.สืบเนื่องต่อจากนี้ไป

 
       เป็นเรื่องของผู้นำองค์กรแต่ละท้องถิ่นจะทำการประชาสัมพันธ์แก่ประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง พร้อมกับรวบรวมรายชื่อผู้ร่วมสนับสนุนทุกองค์กรรวมกันไปจนถึงปลายเดือนมิถุนาให้ได้ตามเป้าหมายในขั้นตอนนี้ไม่ต่ำกว่า 10,000 คนหรือ 15,000 คน เพื่อเปิดเวทีประกาศเจตนารมณ์ “เชียงใหม่จัดการตนเอง สู่การขับเคลื่อน พรบ.เชียงใหม่มหานคร” ในวันที่ 24 มิถุนายน 2555 ที่อนุสาวรีย์สามกษัตริย์เพื่อส่งสัญญาณให้รัฐบาลตรียมตัวรับการยื่นรายชื่อผู้สนับสนุน ร่าง พรบ.นี้ในช่วงเวลาระหว่างปลายเดือนกรกฏาถึงต้นเดือนสิงหา
 
        หลังจากยื่นรายชื่อแล้ว พวกเขายังจะจัดงานเกี่ยวกับเรื่องนี้อีกที่อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ติดต่อกันทุกวัน ไปจนถึงเดือนพฤศจิกายนเป็นเวลา 120 วัน (โอ พระเจ้า ผมฟังแล้วตกใจจนหายง่วงเป็นปลิดทิ้ง เพราะคิดไม่ถึงว่าเขาจะเล่นกันหนักถึงขนาดนี้)
 
 
นี่คือ 

         การเริ่มต้นเคลื่อนไหวของพลังการเมืองอันมหึมาอีกแนวทางหนึ่งจากส่วนภูมิภาค ที่ผมยังพบว่าในการรวมกันเป็นองค์ประกอบของพลังนี้ ยังมีกลุ่มคนเสื้อแดงและคนเสื้อเหลืองจำนวนหนึ่ง ที่ก้าวข้ามความขัดแย้งที่เคยมีต่อกันเข้ามาร่วมขับเคลื่อนด้วย 
 
        พร้อมกับการสรุปบทเรียนที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับทุกฝ่ายว่า ปัญหาแทบทุกอย่างในท้องถิ่นรวมทั้งปัญหาการแตกแยกเป็นคนเสื้อเหลือง - เสื้อแดงในสังคมไทย ล้วนแล้วแต่มีรากเหง้าต้นตอมาจากการรวมศูนย์อำนาจการบริหารปกครองไปกระจุกไว้ที่ส่วนกลางมาตั้งแต่สมัยรัชการที่ 5 รวมทั้งความผิดหวังจากรัฐบาลแบบนายทุนที่ต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ของทุนที่ชักใยอยู่เบื้องหลังมากกว่าเพื่อชาวบ้านชาวเมืองส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นทุนศักดินาหรือว่าทุนโลกาภิวัตน์ที่ยังคงห้ำหั่นกันไม่รู้จักเลิกรา 
 
      ครับ ก็คงต้องรอดูกันต่อไป ถ้าปัญหา ร่าง พรบ.ปรองดองของรัฐบาลที่ถูกฝ่ายค้าน และกลุ่มพันธมิตรฯ ออกมาคัดค้านแบบเอาเป็นเอาตายในห้วงเวลานี้ ไม่ถูกหยิบขึ้นมาอ้างเป็นเหตุแห่งความชอบธรรมให้ใครสักคนหนึ่ง...ลุกขึ้นมายึดอำนาจให้เสียรังวัดเสียก่อน 
 
       แล้วเราคงจะได้เห็นขบวนการภาคประชาชน “เชียงใหม่จัดการตนเอง สู่การขับเคลื่อน พรบ.เชียงใหม่มหานคร” ขับเคลื่อนไปตามขั้นตอนจนถึงปลายทางที่รัฐสภา ด้วยความระทึกใจ...ในอนาคตอันใกล้นี้.
 
                     *****************************************************************
 
 
หมายเหตุ: ตีพิมพ์ครั้งแรก มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับ 29 มิ.ย. - 5 ก.ค. 2555
 

 

บล็อกของ ถนอม ไชยวงษ์แก้ว

ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
    เมื่อยังมีชีวิต จงหายใจเข้าไว้ หายใจแรงๆ และหายใจอย่างสดชื่น เพราะภาระหน้าที่ของชีวิตคือการมีชีวิต ชีวิตที่กระปรี้กระเปร่า และถ้าเป็นไปได้ควรต้องรื่นรมย์กับชีวิต บาปอันยิ่งใหญ่ของมนุษย์ (บางทีสำหรับสิ่งมีชีวิตทั้งปวง) คือการปฏิเสธชีวิต   การมีชีวิต
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
    ฉันเป็นเท่าที่ฉันเป็น ฉันทำเท่าที่ฉันหวัง ฉันหวังเท่าที่ฉันเห็น ฉันง่ายฉันงามฉันแจ่มชัด ฉันเชื่อหนึ่งมากกว่าร้อย ฉันเชื่อคนมากกว่าลัทธิ ฉันเชื่อดินมากกว่าฟ้า ฉันเชื่อต้นหญ้ามากกว่าขุนเขา ฉันเชื่อสวนหลังบ้านมากกว่าป่าหิมพานต์ ฉันเชื่อวันนี้มากกว่าวันวาน ฉันง่ายฉันงามฉันแจ่มชัด ฉันไม่เชื่ออำนาจรัฐจากกระบอกปืน   ฉันเป็นเท่าที่ฉันเป็น.  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  อิสรภาพ   ฉันต้องการอิสรภาพ ที่จะได้เห็น ที่จะได้ยิน ในสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  เป็นที่ทราบกันดีว่า กฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นกฎหมายที่สร้างความทุกข์สาหัสให้แก่ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่า “หมิ่นสถาบัน” มามากมายหลายคน เพราะกฎหมายนี้ถูกตราขึ้นมาอย่างกว้างๆไม่ระบุขอบข่ายความผิดให้ชัดเจน รวมทั้งกระบวนการจับกุม สอบสวน ดำเนินคดี ก็มิได้เป็นไปตามปกติทั่วไป มิหนำซ้ำการตีความบังคับใช้มาตรานี้ ว่ากันว่า เจ้าหน้าที่สามารถตีความใช้ได้อย่างกว้างขวาง และนักการเมืองมักจะใช้เป็นเครื่องมือในการทำลายฝ่ายตรงกันข้ามอยู่เสมอ และผู้ต้องคดีนี้นอกจากจะติดคุกติดตะรางแล้ว ยังถูกซ้ำเติมจากสังคมที่จงรักภักดีต่อสถาบันอย่างรุนแรง    
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
    คือแม่น้ำและขุนเขาอันขรึมขลัง คือพลังคีตกานท์อันหวานไหว คือหนึ่งจิตวิญญาณล้านนาไทย คือดอกไม้สวยสะคราญบานนิรันดร์  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  ย้อนกลับไปทบทวนดู คำประกาศหลังจากรับพระราชทานโปรดเกล้าฯของคุณยิ่งลักษณ์ตอนหนึ่งที่กล่าวว่า “อุปสรรคข้างหน้ายังรอเราอยู่มาก ทั้งที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ แต่ทั้งหมดมิใช่อุปสรรคขวางกั้นมิให้ทำงาน พร้อมที่จะอุทิศตัวด้วยความทุ่มเท เสียสละอดทน ทำงานแข่งกับเวลา ไม่เกรงต่อความลำบากใดๆ”
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
    แล้ว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย หมายเลข 1 ก็ได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 28 และ เป็นนายกหญิงคนแรกในประวัติศาสตร์การเมืองของเมืองไทย และเป็นคนที่ 52 ของโลก อย่างสมบูรณ์ โดยได้รับการโหวตเสียงจากที่ประชุมสภาฯ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2554 ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 296 เสียง ไม่เห็นด้วย 3 เสียง และงดออกเสียง 197 เสียง ก่อนจะได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ในวันที่ 8 สิงหาคม 2554 เวลา 18.40 น. ณ บริเวณตึกชั้น 7 ที่ทำงานพรรคเพื่อไทย ท่ามกลางความยินดีของคนจำนวนมากมาย ที่สนับสนุนคุณยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทย  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
    คราวที่แล้ว ผมนำเรื่อง “คนดีของคนเมือง และ คนดีของชนบท” ที่แตกต่างกัน จากบทสัมภาษณ์ที่ชื่อว่า “ความคาดหวังและความจริงของประชาธิปไตยแบบไทยๆ” ของ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ซึ่งให้สัมภาษณ์ลงนิตยสารสารคดี ฉบับเดือนตุลาคม 2543 ผมคิดว่าจะหยุดเพียงแค่นั้น แต่ก็หยุดไม่ได้ เพราะพบว่ายังมีประเด็นที่ผมคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านอีกสองประเด็น ที่ยังเป็นเรื่องราวที่ยังดำรงอยู่ในปี 2544 และต่อไปอีกนานเท่าไหร่ ก็คงไม่มีใครรู้ เพราะมันเป็นรื่องของอนาคต  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
      ผมมักจะได้ยิน ผู้คนและสื่อต่างๆเกี่ยวกับการเมือง มักจะพูดกันให้ได้ยินอยู่เสมอว่า “คนชนบทเป็นคนเลือกตั้งรัฐบาล คนเมืองเป็นคนล้ม” ซึ่งดูเหมือนจะเป็นความจริงมาโดยตลอด แต่ก็ไม่มีใครให้คำอธิบายที่ฟังดู สมเหตุสมผลและชอบธรรม ให้ฟัง ว่าทำไมคนเมืองที่หมายถึงคนชั้นกลาง จึงไม่ชอบรัฐบาลที่ได้มาจากเสียงส่วนใหญ่ที่เป็นคนชนบทในประเทศ และช่วยกันล้มรัฐบาลที่เขาเลือกตามกติกา 
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
      ถึงแม้ คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะได้รับการรับรองจาก กกต. ให้หลุดพ้นจากข้อหาไปช่วยขบวนแห่ที่เชียงราย ให้พ้นจากข่ายความผิดด้วยมติ 5 ต่อ 0 ท่ามกลางความโล่งอกของใครต่อใครมากมายหลายคน ที่ว่ากันว่า เป็นเพราะโพลเสียงจากประชาชน 80 เปอร์เซ็นต์ ต้องการคุณยิ่งลักษณ์นายกฯ (รวมทั้ง นปช.) เป็นกระแสกดดัน กกต. หรือเพราะเหตุใดก็ช่างเถิด แต่เราก็สามารถฟันธงกันได้เลยว่า อีกไม่นาน เราจะต้องได้นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศอย่างแน่นอน 
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
      ผมไม่แน่ใจว่า ก่อนที่คุณยิ่งลักษณ์ ว่าที่นายกฯ ยิ่งลักษณ์ คนสวย และกลุ่มมันสมองของพรรคเพื่อไทยจะชูนโยบายประชานิยม เพิ่มค่าแรงงานขั้นต่ำให้กรรมกรผู้ใช้แรงงานจาก 221 บาท เป็น 300 บาท และเพิ่มเงินเดือนให้แก่ผู้จบปริญญาตรีที่เริ่มเข้าบรรจุงานจาก 11,028 บาท เป็น 15,000 บาท
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมกำลังจะชวนใครต่อใคร เข้ามาคุยเรื่องปัญหาที่รัฐบาลใหม่จะต้องเข้ามาสะสางและแก้ไข จากข้อมูลของนักวิเคราะห์การเมืองท่านหนึ่งที่รวบรวมและชี้แนะเอาไว้ล่วงหน้าแก่รัฐบาลของคุณยิ่งลักษณ์เอาไว้