Skip to main content

20080225 ภาพดอกไม้สีแดง ประกอบเรื่องเล่าเล็กๆ

เมื่อไม่นานมานี้
ผมได้ค้นพบหนังสือธรรมะเล่มเล็กๆขนาดฝ่ามือ หนาร้อยกว่าหน้าเล่มหนึ่ง ชื่อว่า “หลวงปู่ฝากไว้” ที่ร้านหนังสือเก่าหลังตลาดมะจำโรงในตัวอำเภอ ซึ่งอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากบ้านผมเท่าใดนัก หนังสือเล่มนี้ เป็นหนังสือเผยแพร่การแสดงธรรมะของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล แห่งวัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์ ซึ่งรวบรวมและบันทึกเอาไว้โดย พระโพธินันทมุนี

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เป็นลูกศิษย์อาวุโสรุ่นแรกสุดของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ฝ่ายอรัญญวาสีในยุคปัจจุบัน ท่านเป็นพระที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว ดังที่ พระโพธินันทมุนี ได้กล่าวเอาไว้ในคำนำหนังสือว่า
“หลวงปู่เป็นผู้ไม่พูดหรือพูดน้อยที่สุด แต่มีปฏิภาณไหวพริบฉับไวมาก และไม่มีผิดพลาด พูดสั้นๆย่อๆแต่อมความหมายไว้อย่างสมบูรณ์ คำพูดของท่านแต่ละประโยคมีความหมายและเนื้อหาจบสิ้นลงโดยสิ้นเชิง เหมือนหนึ่งสะกดจิตผู้ฟังหรือผู้ถาม ให้ฉุกคิดอยู่เป็นเวลานาน แล้วก็ต้องใช้ความตริตรองด้วยปัญญาอย่างลึกซึ้ง”

เมื่อผมได้อ่าน
บันทึกธรรมะสั้นๆร้อยกว่าเรื่องของหลวงปู่ในหนังสือเล่มนี้ ซึ่งมีทั้งธรรมะแบบธรรมดา แบบชวนขบขัน และแบบสัจธรรมล้วนๆ  ผมก็เห็นคล้อยตามที่ พระโพธินันทมุนี ได้เกริ่นกล่าวเอาไว้ ไม่เชื่อคุณลองชิมอ่านตัวอย่างที่ผมคัดมาดังต่อไปนี้

1.ทุกข์เพราะอะไร
สุภาพสตรีวัยกลางคนผู้หนึ่ง เข้านมัสการหลวงปู่พรรณนาถึงฐานะของตนว่าอยู่ในฐานะดี ไม่เคยขาดแคลนสิ่งใดเลย แต่มาเสียใจกับลูกชายที่สอนไม่ได้ เพราะลูกไม่อยู่ในระเบียบแบบแผนที่ดี ตกอยู่ภายใต้อบายมุขทุกอย่าง ทำลายทรัพย์สมบัติและจิตใจของพ่อแม่ จนเหลือที่จะทนได้ ขอความกรุณาหลวงปู่ให้ช่วยแนะอุบายบรรเทาทุกข์ และแก้ไขให้ลูกชายพ้นจากอบายมุขนั้นด้วย
หลวงปู่แนะนำสั่งสอนไปตามเรื่องราวนั้นๆ ถึงแนะอุบายทำใจให้สงบ รู้จักปล่อยวางให้เป็น เมื่อสุภาพสตรีผู้นั้นกลับไปแล้ว หลวงปู่ได้ปรารภธรรมให้ฟังว่า
“คนสมัยนี้ เขาเป็นทุกข์เพราะความคิด”

2. จริงตามความเป็นจริง
สุภาพสตรีชาวจีนคนหนึ่ง ถวายสักการะแด่หลวงปู่แล้ว เข้ากราบเรียนว่า ดิฉันต้องไปอยู่ที่อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อทำมาค้าขายอยู่ใกล้ญาติทางโน้น ทีนี้บรรดาญาติๆก็เสนอว่า ควรจะขายของชนิดนั้นบ้างชนิดนี้บ้าง ตามแต่เขาจะเห็นดีว่าขายอะไรได้ดี ดิฉันยังมีความลังเลใจ ตัดสินใจเองไม่ได้ว่าควรจะเลือกขายของอะไร จึงขอให้หลวงปู่ช่วยแนะนำด้วยว่า จะให้ดิฉันขายอะไรจึงจะดีเจ้าคะ
หลวงปู่ตอบว่า
“ขายอะไรก็ดีทั้งนั้นแหละ ถ้ามีคนซื้อ”

3. คนละเรื่อง
มีชายหนุ่มจากต่างจังหวัดแดนไกลสามสี่คน เข้าไปหาหลวงปู่ ขณะที่ท่านนั่งพักผ่อนอยู่ที่มุขศาลาการเปรียญ ดูอากัปกิริยาของพวกเขาแล้ว คงคุ้นเคยกับพระแบบนักเลงองค์ใดองค์หนึ่งมาก่อน สังเกตจากการนั่ง การพูด เขานั่งตามสบาย พูดตามถนัด
ยิ่งกว่านั้นเขาคงเข้าใจว่า หลวงปู่องค์นี้คงสนใจในเรื่องเครื่องรางของขลัง เขาจึงพูดถึงชื่อเกจิอาจารย์อื่นๆ ว่าให้ของดีของวิเศษแก่ตนอย่างไร ในที่สุดก็งัดเอาของออกมาอวดกันเองต่อหน้าหลวงปู่ คนหนึ่งมีเขี้ยวหมูตัน คนหนึ่งมีเขี้ยวเสือ อีกคนมีนอแรด ต่างคนต่างอวดอ้างของตนดีวิเศษอย่างนั้นอย่างนี้ คนหนึ่งเอยถามหลวงปู่ว่า
“อย่างไหนแน่ดีวิเศษกว่ากันครับ”
หลวงปู่อารมณ์รื่นเป็นพิเศษจึงตอบว่า
“ไม่มีดี ไม่มีวิเศษอะไรหรอก เป็นของสัตว์เดรัจฉานเหมือนกันหมด”

4. รู้ให้พร้อม
ระหว่างที่หลวงปู่อยู่รักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์นั้น มีผู้ไปกราบนมัสการและฟังธรรมเป็นจำนวนมาก คุณบำรุงศักดิ์ กองสุข เป็นผู้หนึ่งที่สนใจในการปฏิบัติสมาธิภาวนา นัยว่าเป็นลูกศิษย์ของหลวง พ่อสนอง กตปุญโญ แห่งวัดสังฆทาน จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นวัดปฏิบัติที่เคร่งครัดฝ่ายธุดงค์กรรมฐานในยุคปัจจุบัน ได้ปรารภธรรมกับหลวงปู่ ถึงเรื่องการละกิเลสว่า
“หลวงปู่ครับ ทำอย่างไรจึงจะตัดความโกรธให้ขาดได้”
หลวงปู่ตอบว่า
“ไม่มีใครตัดให้ขาดได้หรอก มีแต่รู้ทัน เมื่อรู้ทันมันก็ดับไปเอง”

5. ขันติ
เท่าที่อยู่ใกล้ชิดกับหลวงปู่ตลอดเวลาอันยาวนาน ไม่เคยเห็นท่านแสดงอากัปกิริยาใดๆ ให้เห็นว่า ท่านอึดอัดหรือรำคาญจนทนไม่ได้ ถึงต้องบ่นอุบอิบอู้อี้กับกรณีใดๆ ทั้งสิ้น เช่น ไปเป็นประธานไม่ว่าในงานสถานที่ใดๆ ท่านจะไม่ทำตัวเป็นเจ้ากี้เจ้าการรื้อฟื้น หรือให้เขาจัดแจงดัดแปลงอะไรใหม่ หรือไปในสถานที่มีกิจนิมนต์ แม้จะต้องนั่งนานหรืออากาศอบอ้าวอย่างไร ก็ไม่เคยบ่น

เวลาเจ็บไข้ไม่สบาย หรือเวลาอาหารมาไม่ตรงเวลา แม้จะหิวกระหายสักเพียงใด ก็ไม่เคยบ่น หรือสำออย หรือแม้รสชาดอาหารจะจืดจางอย่างไร ก็ไม่เคยเรียกหาเครื่องปรุงเพิ่มเติมอะไรเลย ตรงกันข้าม ถ้าเเห็นพระเถระรูปไหน ชอบเป็นเจ้ากี้เจ้าการ ขี้บ่น หรือทำสำออยให้คนอื่นเอาใจ หลวงปู่มักจะปรารภให้ฟังว่า
“แค่นี้อดทนไม่ได้หรือ ถ้าแค่นี้อดทนไม่ได้ จะเอาชนะกิเลสตัณหาได้อย่างไร”

6. ไม่เบียดเบียนวาจา
หลวงปู่กล่าววาจาบริสุทธิ์ เพราะท่านกล่าวเฉพาะวาจาที่เป็นประโยชน์ และไม่ทำให้ตนและผู้อื่นเดือดร้อน…เพราะคำพูดของท่าน แม้จะมีผู้ใดมาพูดชักชวนให้ท่านวิพากษ์วิจารณ์ใครๆให้เขาฟังสักอย่าง ท่านก็ไม่เคยคล้อยตาม

หลายครั้งมีคนถามท่านว่า หลวงปู่ ทำไมพระนักพูดนักเผยแพร่ธรรมะระดับประเทศบางองค์ เวลาพูดหรือเทศน์ จึงชอบโจมตีผู้อื่น หรือพูดกระทบกระแทกพระเถระด้วยกัน พระพูดในลักษณะนี้ จ้างผมก็ไม่นับถือ
หลวงปู่ตอบว่า
“ก็ท่านมีภูมิรู้ มีภูมิธรรมอยู่อย่างนั้น ท่านก็ต้องพูดไปตามความรู้ความถนัดของท่านนั่นแหละ การจ้างไม่ให้นับถือ ไม่มีใครเขาจ้างกันหรอก เมื่อไม่อยากนับถือ ก็อย่าไปนับถือสิ ท่านคงไม่ว่าอะไรหรอก”

7. อยู่ ก็อยู่ให้เหนือ
ผู้ที่เข้านมัสการหลวงปู่ทุกคนและทุกครั้ง มักจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า แม้หลวงปู่จะมีอายุใกล้ร้อยปีก็จริง แต่ดูผิวพรรณยังผ่องใส และสุขภาพแข็งแรงอนามัยดี แม้ผู้อยู่ใกล้ชิดท่านตลอดมา ก็ยากที่จะได้เห็นท่านแสดงอาการหมองคล้ำหรืออิดโรย หรือหน้านิ่วคิ้วขมวดออกมาให้เห็น

ท่านมีปรกติสงบเย็นเบิกบานอยู่เสมอ มีอาพาธน้อย มีอารมณ์ดี ไม่ตื่นเต้นตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่เผลอคล้อยตามคำสรรเสริญ หรือคำตำหนิติเตียน
มีอยู่ครั้งหนึ่ง ท่ามกลางพระเถระฝ่ายวิปัสสนาที่สนทนาธรรม เรื่องการปฏิบัติกับหลวงปู่ ถึงปรกติจิตที่อยู่เหนือความทุกข์โดยลักษณะการอย่างไร
หลวงปู่ตอบว่า
“การไม่กังวล การไม่ยึดถือ นั่นแหละคือวิหารธรรมของนักปฏิบัติ”

ครับ นี่คือสื่อธรรมะสั้นๆ ของหลวงปู่ดูลย์ ที่ผมได้อ่านแล้ว รู้สึกว่ามันเป็นธรรมะที่น่ารัก อ่านแล้ว คิดแล้ว…ทำให้เราต้องอุทานกับตัวเองว่า เออ ใช่ๆ สิ่งที่ถูกต้องและดีงาม มันต้องเป็นอย่างนี้นี่เอง สาธุ!

18 กุมภาพันธุ์ 2551
กระท่อมทุ่งเสี้ยว เชียงใหม่

บล็อกของ ถนอม ไชยวงษ์แก้ว

ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
หล่อนเป็นผู้หญิง พาร์ทเน่อร์หรือบุตรีนักปราชญ์ หล่อนก็เป็นผู้หญิง รายละเอียดของชีวิตเท่านั้นที่อาจแตกต่างกัน แต่หล่อนก็เป็นผู้หญิง ผู้หญิงในยุครุ่งเรืองของพาราณศรี ผู้หญิงนุ่งบิกินีแถวริเวียร่า หรือผู้หญิงนั่งอยู่ในซ่องราคายี่สิบบาท หล่อนเป็นผู้หญิง มันเป็นความผิดหรือ ถ้าคุณจะรักผู้หญิงสักคน.  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  มาดามสนิทใจมีความสุขมาก เมื่อวันที่พ้องกลับจากทำงานพร้อมด้วยข่าวดี “คณะกรรมการบริษัทเห็นต้องกัน เลือกบทละครเรื่องยาวของผม” เขาบอกหล่อน “เห็นไหมหนิท นี่เช็คเงินสดห้าพันบาท ค่าล่วงหน้ายี่สิบห้าเปอร์เซ็น” พ้องชูแผ่นกระดาษที่มีความหมายนั้นขึ้นให้หล่อนดู กวัดแกว่งมันอย่างร่าเริง และส่งให้เมีย “ดิฉันดีใจด้วยค่ะ เงินจำนวนนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับเรามากทีเดียว” “นั่นแล้วแต่หนิทจะจัดการอย่างไร”
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ครับ หัวชื่อเรื่องข้างบนนี่ มิใช่เรื่องที่ผมจะเขียน แต่เป็นชื่องานแสดงภาพถ่ายขาวดำและประวัติผลงาน ’รงค์ วงษ์สวรรค์ นักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ ที่เป็นแรงบันดาลใจ ทำให้คนหนุ่มสาวมากมายหลายคน และหลายรุ่น เดินเข้ามาสู่ถนนสายวรรณกรรม ซึ่งล่วงลับไปเมื่อต้นปีที่แล้ว และผมเลือกให้ฉายาแก่เขาว่า “พ่อมดแห่งภาษากวีมาดวิไลจากบ้านสวนทูนอิน”
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
 
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
    สวัสดีปีใหม่ 2553 ถึงโลกยังทรามสังคมยังบัดสี ไม่เป็นไร เรายังพอ...มีความดี ณ วัน เดือน ปีใหม่...มอบให้กัน
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  ผีเสื้อสีขาว จะบินไปไหน ไปหาดอกไม้ ใช่ไหมผีเสื้อ
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  พระองค์ทรงตรัสกับสาวกของพระองค์ว่า อย่ากระวนกระวายถึงชีวิตของตน ว่าจะเอาอะไรกิน และอย่ากระวนกระวายถึงร่างกายของตน ว่าจะเอาอะไรมานุ่งห่ม เพราะว่าชีวิตสำคัญยิ่งกว่าอาหาร และร่างกายสำคัญยิ่งกว่าเครื่องนุ่งห่ม จงพิจารณาดูอีกา มันมิได้หว่านมิได้เกี่ยว และมิได้มียุ้งฉาง แต่พระเจ้ายังทรงเลี้ยงมันไว้ ท่านทั้งหลายประเสริฐกว่านกกามากทีเดียว มีใครในพวกท่านโดยความกระวนกระวาย อาจต่อชีวิตให้ยาวออกไปอีกศอกหนึ่งได้หรือ
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
    คืนดำ พายุฝนกระหน่ำลงมาอย่างบ้าคลั่ง ฉันได้แต่นั่งซุกกายอยู่ในกระท่อม ณ ท่ามกลางปรากฏการณ์ของธรรมชาติที่เกิดขึ้น เฝ้ามองดูพายุฝนเกรี้ยวกราดโหมกระหน่ำซัดสาดสรรพสิ่ง เฝ้ามองดูสายฟ้าแล่บแปลบปลาบ เฝ้ามองดูสายฟ้าผ่าเปรี้ยงปร้าง ณ ซอกมุมที่อบอุ่นและปลอดภัยที่สุด
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  ครั้งหนึ่ง ชายคนหนึ่ง ขุดรูปสลักหินอ่อนที่สวยงามอย่างยิ่ง ได้จากท้องทุ่ง เขาจึงนำมันไปหานักสะสมของเก่า ซึ่งรักของสวยๆงามๆ และเสนอขายให้แก่เขา นักสะสมก็ซื้อไปในราคาสูง แล้วคนทั้งสองก็จากกัน
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ปลายปีที่แล้ว ผมได้รับข่าวฝากประชาสัมพันธ์การแสดงภาพเขียนสีน้ำของพิบูลศักดิ์ ละครพล ชื่อ "ภาพประทับจากการแรมทาง" จากหอศิลป์ริมน่าน จังหวัดน่าน ผ่านมาจนถึงปลายปีนี้ ผมก็ได้รับข่าวคราวการแสดงงานของเขาอีกครั้งหนึ่งจากคุณนิลจากร้านหนังสือ "2521" จังหวัดภูเก็ต ส่งอีเมล์ มาฝากข่าว เพื่อให้ช่วยประชาสัมพันธ์มาว่า
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  1.  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  ฉันเป็นดอกไม้ริมทาง เบ่งบานอ้างว้างอยู่นอกรั้วบ้าน ไม่สวยแจ่มใสไม่งามตระการ ด้วยเกิดมาเบ่งบานตามบุญตามกรรม