Skip to main content

20080328 ภาพประกอบ 1

วิถีในทางโลกและทางธรรม
มันเป็นเรื่องที่ตรงกันข้ามและสวนทางกันแทบทุกกรณี เช่น ในขณะที่ทางโลกสอนให้เรายึดมั่นถือมั่นเอาโน่นเอานี่ แต่ทางธรรมกลับสอนให้เราลดละปล่อยวางทั้งสิ่งที่เป็นวัตถุธรรมและนามธรรม เพื่อจะนำชีวิตไปสู่การหลุดพ้นจากความทุกข์ จากมุมมองของผม ซึ่งเป็นคนที่ยังมีกิเลสค่อนข้างหนาหนัก ผมว่ามันเป็นเรื่องที่ยากแสนยากที่ปุถุชนคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆที่ยังติดข้องอยู่ในโลก จะเดินเข้าไปสู่ทางธรรมได้ ถ้าหากไม่มีเหตุปัจจัยอะไรสักอย่าง ทำให้เกิดความศรัทธาและแรงบันดาลใจอันใหญ่หลวง ดึงดูดให้เข้าไป

โดยเฉพาะการเดินเข้าไปสู่ทางธรรมในฐานะนักปฏิบัติ เพราะมีแต่เรื่องที่ต้องฝืนใจและฝืนความเคยชินที่เราคุ้นเคยไปแทบทุกอย่าง

เมื่อพระผู้เริ่มฝึกหัดปฏิบัตินั่งวิปัสสนากรรมฐานองค์หนึ่ง
ณ สำนักปฏิบัติธรรมของหลวงพ่อชา วัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นพระอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐานชื่อดัง และเป็นที่รู้จักกันทั่วไปทั้งประเทศ ได้เกิดความหงุดหงิดและรำคาญเพื่อนพระที่เริ่มมาฝึกหัดปฏิบัติด้วยกัน เพราะไม่เอาใจใส่ในการปฏิบัติ และได้ปรารภกับหลวงพ่อชาในเชิงขอความเห็นว่า
“มีหลายครั้งหลายหน ที่ดูพระหลายรูปที่นี่ไม่ฝึกปฏิบัติ ดูท่านไม่ใส่ใจจะทำหรือขาดสติ เรื่องนี้กวนใจผม”

คำตอบจากหลวงพ่อชา แทนที่จะเป็นคำตอบที่ผมคาดหมายเอาไว้ตามฐานและกรอบการคิดที่เราคุ้นเคยกัน กลับเป็นคำตอบที่ตรงกันข้าม และทำให้ผมรู้สึกเหมือนถูกตบหน้าจนแน่นิ่ง…และหยุดคิดว่า
“มันไม่ถูกต้องที่จะคอยจับตาดูผู้อื่น นี่ไม่ช่วยการฝึกปฏิบัติของท่านเลย ถ้าท่านรำคาญใจก็จงเฝ้าดูความรำคาญในใจของท่าน ถ้าศีลของคนอื่นบกพร่องหรือเขาเหล่านั้นไม่ใช่พระที่ดี ก็ไม่ใช่เรื่องของท่านที่จะไปตัดสิน ท่านจะไม่เกิดปัญญาจากการจับตาดูผู้อื่น ไม่มีใครสามารถปฏิบัติให้ท่านได้ หรือท่านก็ไม่สามารถปฏิบัติให้ผู้อื่นได้ จงมีสติในการปฏิบัติของตัวท่านเอง และนี่คือแนวทางของการปฏิบัติ”

20080328 ภาพประกอบ 2

เช่นเดียวกันกับเมื่อครั้งแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต
ตัดสินใจบวชชี เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2523 เมื่อเกือบสามสิบกว่าปีก่อนโน้น จนกระทั่งเติบโตเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในทุกวันนี้ ในฐานะเจ้าของสำนักเสถียรธรรมสถาน ที่เต็มไปด้วยคุณูปการต่อผู้ยากไร้และผู้ด้อยโอกาสทางสังคมอย่างใหญ่หลวง เมื่อท่านพระครูภาวนาพิธาน เจ้าอาวาสวัดศิริพงษ์ธรรมนิมิตร ผู้ทำพิธีบวชให้ ได้ถามว่า
“มาบวชทำไม”
             
อดีตนางแบบสาวสวยชื่อดังของเมืองไทย ผู้กำลังหันหน้าเข้าไปหาทางธรรมในขณะนั้น เพราะเป็นทุกข์และเหน็ดเหนื่อยทางใจจากความสำเร็จในชีวิต แล้วไม่รู้จักคำว่าพอ ทำอย่างหนึ่งสำเร็จ ก็ยังอยากทำสิ่งอื่นต่อไปให้สำเร็จ จนกระทั่งเกิดคำถามกับตัวเองขึ้นมาว่า เมื่อไหร่จึงจะพอ และเกิดความสงสัยขึ้นมาว่า ชีวิตคืออะไร ได้บอกกับท่านพระครูว่า
“อยากรู้ค่ะว่าชีวิตคืออะไร”

และได้รับคำตอบจากท่านพระครูในทันทีทันใดว่า
“ถ้าคุณอยากรู้ว่าชีวิตคืออะไร คุณต้องหยุด หยุดดูคนอื่น หยุดเพ่งโทษคนอื่น อยากรู้ว่าชีวิตคืออะไรให้ดูที่ตัวเอง”

ครับนี่คือบทแรกในทางธรรมที่ต้องปฏิบัติของแม่ชีศันสนีย์ และคงเป็นบทแรกที่ยากจะปฏิบัติของใครต่อใครอีกหลายคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่มีอุปนิสัยสันดานชอบเพ่งโทษ ชอบหาเรื่องจับผิด ชอบตำหนิติเตียน ชอบนินทาว่าร้ายคนอื่น คงยากที่จะปฏิบัติ ซึ่งเป็นหนทางเดียวที่จะเข้าถึงตัวธรรมะ ที่ไม่สามารถจะเข้าถึงได้ด้วยความรู้ ด้วยความเข้าใจ หรือด้วยตรรกะที่เกิดจากการคิดด้วยเหตุด้วยผลใดๆ ทั้งสิ้น นอกจากการลงมือปฏิบัติเพียงประการเดียวเท่านั้น ทางธรรมจึงไม่ใช่ทางที่ปุถุชนคนธรรมดาอย่างเรา จะเดินเข้าไปได้ง่ายๆ เหมือนเราเดินเซเข้าไปในร้านเหล้าข้างถนน ด้วยประการฉะนี้นี่เอง.

26 มีนาคม 2551
กระท่อมทุ่งเสี้ยว เชียงใหม่

บล็อกของ ถนอม ไชยวงษ์แก้ว

ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  แล้วในที่สุด ผมก็ได้รับรู้ความคิดที่เป็นเหตุเป็นผล เป็นเรื่องเป็นราว (ที่อยากรู้มานาน) ของ คุณหมอตุลย์ สิทธิสมวงศ์ แกนนำเครือข่ายราษฎร์อาสาปกป้องสถาบัน หรือกลุ่มเสื้อหลากสี ที่ออกมาต่อต้านข้อเสนอแก้ ม.112 ของนิติราษฎร์และครก.112 จากการเป็นวิทยากรรับเชิญอภิปรายในเรื่องนี้ ณ สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย หรือ FCCT เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 55 ที่ประชาไทนำมาลงในหน้าแรกประชาไท เมื่อวันที่ 17 ก.พ. 55 ทั้งคลิปภาพและเสียงการอภิปรายที่ใช้ภาษาอังกฤษล้วนๆ และเนื้อหาที่ประชาไทแปลแบบย่อความมา รวมทั้งการตอบคำถามของผู้สื่อข่าว
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมเข้าใจว่า
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ช่างเถิด ถึงแม้ว่า เขาจะดื่มตั้งแต่ลืมตาตื่นขึ้นมา ตั้งแต่เช้าจนจรดเย็น เพื่อบำบัดความเปล่าเปลี่ยวในหัวใจของเขา ในยามที่ชีวิตของเขาตกต่ำ
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
การต่อสู้กันทางการเมืองครั้งนี้ เป็นการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างชนชั้นนำในสังคมที่ขัดแย้งกัน หรือพูดง่ายๆก็คือระหว่างทุนเก่ากับทุนใหม่ ที่ช่วงชิงอำนาจกันเพื่อขึ้นเป็นรัฐบาล ที่ต่างฝ่ายต่างมีประชาชนเป็นฐานคะแนนเสียงสนับสนุนอุดมการณ์ของแต่ละฝ่าย ซึ่งต่างจากการต่อสู้กันในยุคเดือนตุลามหาวิปโยค ที่เป็นความขัดแย้งกันระหว่างรัฐบาลเผด็จการกับประชาชน นิสิตนักศึกษา ปัญญาชน โดยตรง
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
เมื่อคน คนหนึ่งล้มลงป่วย เขาย่อมได้รับการเยียวยารักษา ไม่ว่าเขาจะเป็นใครมาจากไหน ยากดีมีจนอย่างไร หาไม่เช่นนั้น..อาการป่วยไข้ของเขาย่อมลุกลามใหญ่โต และชีวิตเขาย่อมมีอันเป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือแม้กระทั่งถึงแก่ชีวิตได้  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  800x600 Normal 0 false false false EN-US X-NONE TH MicrosoftInternetExplorer4 /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-priority:99; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt;…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  1. ผมสัมผัส งานวิพากษ์วิจารณ์สังคมและการเมืองของ คำ ผกา ด้วยความรู้สึกเดียวกันกับใครบางคนหรือสองคนสามคน ที่เคยแอบเป็นห่วงความแรงเธอ และต่อมาต่างก็พากันเลิกรู้สึก เมื่อเธอยืนยันความเป็นตัวตนของเธออย่างเสมอต้นเสมอปลาย และยืนหยัดอยู่ได้มานานจนเป็นปรกติธรรมดามาจนถึงวันนี้ และสรุปกันว่ามันเป็นธรรมชาติวิสัยของเธอที่ต้องเป็นเช่นนั้น เช่นเดียวกับสังคมที่เคยตกอกตกใจ ต่างก็เคยชิน...และยอมรับความเป็นตัวตนในการสื่อสารของเธอ ทั้งคนที่รักเธอและเกลียดเธอในเรื่องอุดมการณ์ความคิดที่ต่างกัน
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  สวย เขาก็หาว่า สวยแต่รูปจูบไม่หอม  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
"นางแบบโดย อรวรรณ ชมพู จาก ชมพูเชียงดาว coffe" คุณพยายามหลีกเลี่ยงลดละ การดื่มเหล้า การสูบบุหรี่ การถกเถียงกันเพื่อเอาชนะกัน การทะเลาะเบาะแว้งกัน การท่องเที่ยวในยามวิกาล การขับรถด้วยความรีบร้อน  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  น้ำท่วม เดือนตุลาคม 2554 ไหลลงไปจากที่สูงลงไปท่วมท้น ทุกหนทุกแห่งที่เป็นที่ต่ำ - ตามธรรมชาติของน้ำ ไม่ละเว้นว่าพื้นที่แห่งนั้นจะเป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจ กี่พัน กี่หมื่น กี่แสน กี่ล้าน ล้านเท่าไหร่ ไม่ละเว้น ไม่ว่าจะเป็นเมืองหลวงหรือชนบท แม้แต่วัดวาอารามศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้คนกราบไหว้ ยังมิอาจป้องกัน ยังมิอาจสวดมนต์ภาวนาใดๆ ขอให้มวลมหึมาของอุทกภัยอันยิ่งใหญ่ ละเว้นไว้อยู่กับองค์พระปฏิมา