Skip to main content

คนเหนือ

หรือชาวเหนือเรียกตนเองว่า “คนเมือง” เรียกคนกรุงเทพฯซึ่งพูดภาษากลางว่า “คนไทย” ในกลุ่ม “คนเมือง” มักมีวจีที่เกี่ยวโยงการเป็นคนท้องถิ่นเดียวกันว่า “หมู่เฮาคนเมือง” ย้อนหลังไปราว50ปี แม้หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นฉบับหนึ่งยังแสดงความเป็นตัวตนโดยใช้ชื่อว่าหนังสือพิมพ์ “คนเมือง” สอดคล้องกับข้อความในหนังสือ “ฅนเมืองอู้คำเมือง” ในหน้าที่ 1โดยคุณบุญคิดวัชรศาสตร์ได้เขียนเอาไว้ว่า


...
ในอดีตอาณาจักรล้านนามีการปกครองตนเองมีภาษาพูด และภาษาหนังสือใช้เป็นของตนเองมาก่อนและนิยมชมชอบเรียกตนเองว่า “คนเมือง” เรียกภาษาพูดว่า “คำเมือง” และเรียกภาษาหนังสือว่า “ตัวหนังสือเมือง” และล้านนาประกอบด้วย จังหวัดเชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง เชียงใหม่ แพร่ น่าน ตาก...


วิถีชีวิตคนเมือง

อยู่กันอย่างเอื้อเฟื้อช่วยเหลือกัน มีอะไรแบ่งปันกัน ชอบอยู่อย่างสงบไม่ทะเลาะกัน ผักตำลึงตามรั้วพืชผักในสวนในบ้านขอแบ่งปันกันได้ บ้านชิดติดกันตักแกงใส่ถ้วยให้กัน บ้านใดมีงานศพงานแต่งงานไม่ต้องแจกบัตรเชิญเพียงบอกด้วยวาจาหรือเพียงทราบข่าวผู้คนในชุมชนก็ไปร่วม กาลเวลาผ่านไปทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปด้วย ผู้คนโยกย้ายคนรุ่นใหม่ถูกหล่อหลอมตามยุคสมัย ความคิดถูกป้อนข้อมูลใหม่ แนวคิดวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมจืดจางไป คนรุ่นลูกรุ่นหลานทอดทิ้งสังคมบ้านเกิด มุ่งเดินตามรอยสังคมเมือง ใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบตัวใครตัวมัน ใช้ชีวิตฟุ้งเฟ้อกินอาหารไร้คุณภาพตามห้างสรรพสินค้า


ในตัวเมืองเชียงใหม่

หลายแห่งถูกกลืนด้วยสังคมเมือง คนต่างถิ่นต่างวัฒนธรรมมาอาศัยอยู่บ้านติดกัน ไม่รู้จักกัน รั้วไม้ไผ่รั้วที่ปลูกด้วยกระถิน ต้นชา ฯลฯ หายไปกลายเป็นคอนกรีตสิ้นความสัมพันธ์ต่อกัน หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นลงข่าวว่า ในเชียงใหม่เหลือชุมชนที่มีวัฒนธรรมดั้งเดิมแบบคนเมืองเพียง 2 แห่ง ได้แก่ ชุมชนวัดเกตุ และชุมชนวัดศรี-สุพรรณ


ในชนบทดั้งเดิม

ที่ข้างประตูหน้าบ้านจะมีหม้อน้ำกระบวยตั้งอยู่บนที่วางสูงจากพื้นราว 50 เซนติเมตร ที่วางนี้บางแห่งจะทำหลังคามุงด้วยกระเบื้องแผ่นเล็ก บางแห่งเป็นแผ่นไม้สร้างอย่างสวยงาม ใครผ่านไปมาหิวน้ำก็แวะกินได้


เจ้าของบ้านจะเปลี่ยนน้ำในหม้อดินทุกวัน ในปัจจุบันแทบไม่มีแล้ว ผมเคยทำงานในหลายอำเภอ เช่น ฝาง แม่อาย ไชยปราการ เวียงแหง และเชียงดาว เคยเห็นหม้อน้ำหน้าบ้านที่ถนนเข้าถ้ำเชียงดาว อำเภอเชียงดาว เพียง2-3แห่งอีกแห่งหนึ่งจะพบในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอเชียงดาว เช่น โรงเรียนบ้านเชียงดาว

 



มีเหตุการณ์

ที่เป็นอุทาหรณ์เกิดขึ้นในหมู่บ้าน ซึ่งอยู่ใกล้กับโรงเรียนที่ผมสอนหนังสือ ทุกเช้าและเย็นจะมีชาวบ้านเดินผ่านบ้านหลังหนึ่งไปยังนาข้าวของตน หน้าบ้านหลังนี้จะมีหม้อน้ำหรือ “ฮ้านน้ำ” หรือ “หิ้งน้ำ” วางตั้งอยู่ใครผ่านไปมากระหายน้ำก็มักตักน้ำดื่มเสมอ วันหนึ่งตอนเย็นผู้ที่ดื่มน้ำบ้านหลังนี้ท้องร่วงรุนแรงต้องหามส่งโรงพยาบาลราว8-9คน ผู้ใหญ่บ้านสอบสวนเจ้าของบ้าน เจ้าของบ้านยืนยันหนักแน่นว่าไม่ได้ใส่อะไรในหม้อน้ำ ผลการสอบสวนในเวลาต่อมาได้ทราบความจริงว่ามีผู้ที่มีเรื่องขัดแย้งกับเจ้าของบ้านนำสลอดมาใส่ในหม้อน้ำ เพื่อไม่ให้เรื่องยุ่งยากยืดยาว ผู้ใหญ่บ้านสั่งให้ผู้ร้ายตัวจริงรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลคนป่วยกำชับอย่าทำอีก...จากนั้นหิ้งน้ำหน้าบ้านหรือฮ้านน้ำหน้าบ้านก็หายไปจากหมู่บ้าน


หม้อน้ำหน้าบ้าน

ของคนเมืองเรียกชื่อว่า “ฮ้านน้ำ” หรือ “หิ้งน้ำ” เป็นนัยบอกถึงวิถีชีวิตของคนในชุมชนอยู่กันอย่างมีจิตใจที่ดีต่อกันคือมีคุณธรรมนั่นเอง โลกหมุนไปทุกอย่างย่อมมีการเปลี่ยนแปลง แต่มนุษย์เป็นสัตว์โลกที่ฉลาดย่อมรู้จักรักษาสิ่งที่คิดว่ามีคุณค่าก็ต้องรักษาไว้ แต่มิได้หมายความว่าเราต้องจมอยู่กับโบราณวัตถุ จารีตประเพณีซากปรักหักพังที่พูดไม่ได้จนไม่มองไปข้างหน้า....ผมเขียนเรื่องนี้ต้องการเพียงยกมือชูป้ายบอกว่า

ให้เหลียวหลังฤาแลหน้าวิถีแบบไทยด้วยใจ (สมอง) แบบสากล” เท่านั้นเองครับ.



บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
                                                            
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง