Skip to main content

 


ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง

มีนักเขียนดัง
ระดับโลกอีกหลายคน ไม่ได้รับรางวัลโนเบล ด้วยสาเหตุต่างๆกัน เป็นต้นว่า ลิโอ ตอลสตอย ,  เจมส์ จอยส์ ,
เวอร์จิเนีย  วูลฟ์  , คาลิล ยิบราน และ โอมาร์ คัยยัม ไม่มีชื่อได้รับรางวัลโนเบล เช่นกัน ส่วน ฌอง-ปอล-ซาร์ เป็นผู้ปฏิเสธไม่รับรางวัลโนเบล


อุษาคเนย์
คือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน(ASEAN)นั่นเอง ประกอบด้วยประเทศ  บรูไน  พม่า  อินโดนีเซีย กัมพูชา ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์  สิงคโปร์ ไทย  เวียตนาม ว่ากันว่านักเขียนในอุษาคเนย์ ไม่ได้รับความสนใจจากคณะกรรมการรางวัลโนเบล นักเขียนโนเบลส่วนใหญ่จะเป็นฝั่งยุโรปกับอเมริกา

รางวัลโนเบล
สาขาวรรณกรรม เริ่มมอบแต่ปี ค.ศ.1901 พิจารณาผลงานนักเขียนที่ยังมีชีวิตอยู่ ในพินัยกรรมของ อัลเฟรดโนเบล กล่าวถึงการให้รางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรมว่า ผลงานต้องมีคุณค่าในเชิงวรรณศิลป์ และมีความเป็น “ideal” หรือ “idealistic” คำแรกแปลว่า อุดมคติ คำที่สองแปลว่า อุดมการณ์ เปิดพจนานุกรมอังกฤษ-ไทย คำว่า “idealistic” แปลว่า ตามฝัน...ชักเริ่มมึนงงแล้ว แต่ก็ขอแปลต่อจนที่สุด พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ได้อธิบายว่า อุดมคติหมายถึง จินตนาการที่ถือว่า เป็นมาตรฐานแห่งความดี ความงาม ความจริง ทางใดทางหนึ่งที่มนุษย์ถือว่าเป็นเป้าหมายแห่งชีวิตตน ส่วนอุดมการณ์หมายถึง อุดมคติอันสูงส่งที่จูงใจมนุษย์ให้บรรลุถึง


บทสัมภาษณ์
ของบัญชา วิทยสรณะ ในนิตยสารสกุลไทย ฉบับวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2521 ปรากฏในหนังสือรวมเรื่องสั้นของประภัสสร เสวิกุล ชื่อ “คืนนี้ไม่มีแสงดาว” แม้จะผ่านมา 36-37 ปี แต่ข้อคิดเห็นยังน่าสนใจ

(บัญชา)  คิดว่านักเขียนไทยมีสิทธิจะได้รับรางวัลโนเบลไหม

(ประภัสสร) ผมว่านักเขียนทุกชาติ มีสิทธิที่จะได้รับรางวัลที่ว่านะครับ แต่อยู่ที่โอกาสและผลงาน สำหรับเมืองไทย ผมเห็นมีอยู่คนเดียว คือหม่อมราชวงค์คึกฤทธิ์ ปราโมช.

ข้อความสัมภาษณ์ ไม่อาจเป็นจริงเพราะรางวัลโนเบลกำหนดให้นักเขียนที่ยังมีชีวิตอยู่ หม่อมคึกฤทธิ์ท่านจากพวกเราไปเสียแล้ว


เส้นทางสู่รางวัลโนเบล
แนวทางหนึ่ง รพินทรนาถ ฐากูร ได้รับรางวัลโนเบล สาขาวรณคดีปี ค.ศ.1913 จากหนังสือ “คีตาญชลี” เส้นทางสู่รางวัลโนเบลเริ่มจาก เพื่อนๆที่เป็นนักเลงหนังสือชาวอังกฤษ ได้ยืมต้นฉบับไปดู พากันพอใจ จึงพิมพ์เป็นเล่มเพื่อให้แพร่หลาย สมาคมอินเดียในกรุงลอนดอน ได้จัดพิมพ์ “คีตาญชลี” เป็นเล่มเพื่อเผยแพร่ ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2455 จำนวน 750 เล่ม  500 เล่มเพื่อเป็นอภินันทนาการ จำหน่ายเพียง 250 เล่ม โดยมีนาย William B. Yeats  นักเขียนและนักกวีชาวไอร์แลนด์ ได้เขียนคำนำให้ พอพิมพ์เสร็จ “คีตาญชลี” ได้รับการต้อนรับจากนักอ่านอย่างมากมาย ผลของการพิมพ์เผยแพร่ ทำให้รพินทรนาถ ฐากูร ได้รับรางวัลโนเบลในปี พ.ศ.2456.

 

 

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
                                                            
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง