วันพุธที่ 7 กรกฎาคม 2553
ผมเดินทางโดยรถยนต์พร้อมภรรยา ไปยังศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่ อำเภอสันป่าตอง เชียงใหม่ อีกครั้งหนึ่ง หลังจากตอนเย็นวันที่ 6 กรกฎาคม 2553 ได้พูดคุยนัดหมายกับคุณสกุล มูลคำ เรียบร้อยแล้ว ให้ภรรยานั่งคอยในรถยนต์ ก้าวขึ้นบันไดที่ทำงานของผู้ที่ผมไปพบ ยกมือไหว้คุณสกุลก่อนตามธรรมเนียม คุณสกุลดูยิ้มแย้ม เป็นกันเอง ไม่มากพิธี
คุณสกุล มูลคำ
ได้เล่าให้ฟังว่า พันธุ์ข้าวที่ค้นพบนี้เป็นข้าวเจ้า ไม่ต้องหุง เพียงแช่น้ำอุ่นหรือน้ำธรรมดาก็รับประทานได้ ผมพูดแทรกขอดูข้าวให้เห็นกับตา คุณสกุลบอกว่า ข้าวนี้เก็บไว้ที่อาคารถัดไปอีกหลังหนึ่ง ถามเด็กๆที่เป็นคณะวิจัย เขาก็จะนำออกมาให้ดู คุณสกุลเล่าต่ออีกว่า ข้าวไม่ต้องหุงที่ค้นพบนั้น มีข้อดีคือ มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ใกล้เคียงข้าวกล้อง ถ้าหุงต้องใช้เวลา 15 นาที ค่าไฟฟ้าราว 3-4 บาท ข้าวที่ค้นพบมีความหอมมากกว่า ข้าวเป็นเม็ดมีสีเหลืองใส พันธุ์ข้าวที่ใช้ทดลองมี 4 ชนิด แต่ละชนิดใช้ได้เหมือนกัน แล้วแต่คนชอบ ไม่มีการผลิตจำหน่าย เพราะอยู่ในระยะต่อยอด พัฒนาต่อจากเดิม หากพูดถึงประโยชน์ อาจไม่จำเป็นสำหรับคนทั่วไป ในการใช้ชีวิตประจำวัน แต่จะมีประโยชน์ต่อนักเดินทาง เพราะมีน้ำหนักเบา และยังมีประโยชน์กรณีน้ำท่วม ดินถล่ม ไฟฟ้าถูกตัดขาด
ผมถามแทรกอีกว่า
ด้านการปรับปรุงคุณภาพ คุณสกุลตอบว่า จะลดขั้นตอนทำให้น้อยลง ใช้เวลาแช่ข้าวในน้ำร้อนหรือน้ำเย็น ให้น้อยลง การสนทนาได้เสร็จสิ้นลง ผมถ่ายรูปท่าน 2-3 ท่า และขอภาพข้าวไม่ต้องหุง ท่านได้อนุเคราะห์ภาพจากคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊กลงใน Handy Drive ของผม พร้อมกับมอบเอกสาร “ข้าวไม่ต้องหุง” ให้ 1 แผ่น มีรายละเอียดน่าสนใจมาก.
บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
พื้นที่ป่าเมืองไทยล่าสุดเหลือเท่าไร ระหว่างปี พ.ศ. 2504-2552 ประเทศไทยมีพื้นที่ป่ามากกว่า 72 ล้านไร่ เฉลี่ยป่าถูกทำลายปีละ 1.6 ล้านไร่ และในปี พ.ศ. 2504 ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าร้อยละ 53.3 หรือประมาณ 171 ล้านไร่ พอมาถึงปี พ.ศ.