Skip to main content

 


 

เนารัตน์ข้าราชการบำนาญ
นั่งเก้าอี้พลาสติกของวัด   ดูซอที่ตั้งเวทีข้างประตูวัด สถานที่ซอเป็นยกพื้นขึ้นสูงราวคอผู้ใหญ่ ปูพื้นด้วยไม้กระดาน ล้อมสามด้านด้วยไม้ไผ่ลำโตขนาดข้อมือเด็ก ด้านละ 2 ต้น คล้ายเชือกกั้นเวทีมวย อีกด้านมีบันไดพาด สำหรับให้คณะซอปีนขึ้นไป สถานที่ขับซอเรียกว่า “ผามซอ” พื้นจะปูด้วยเสื่อ ความจริงเนาวรัตน์ไม่อยากมาชมเท่าไร   อยากได้เรื่องราวเกี่ยวกับด้านบันเทิงของชาวเหนือ นำไปเขียนลงเวบเพื่อเผยแพร่ หรือส่งไปยังหนังสือที่เขาต้องการ...ในวัยเด็กย่าบอกว่า ซอสนุกมาก บอกให้เนาวรัตน์ไปดูที่งานวัดใกล้บ้าน ก็ไม่ได้ไปดู เพราะฟังไม่ค่อยรู้เรื่อง เสียงดนตรีประเภทปี่ซึง มันดังอี้อ้อๆไม่เห็นเพราะตรงไหน คล้ายวนเวียนเล่นอยู่เพลงเดียวตลอด แต่เนาวรัตน์กลับขึ้นไปนั่งอมยิ้มยองๆบนกำแพงข้างศาลาวัด ดูเข่าเล่นลิเกตรงศาลาวัด เพราะมันตลก 
 
เด็กชายเนารัตน์ชอบมาก
ตอนช่วงเวลาตัวตลกแสดง มันตลกสนุกสนานจริง ยังจำติดตาเลย ตอนผู้ร้ายวิ่งไล่ฟันพระเอก วิ่งเข้าออกจากประตูหนึ่งเข้าอีกประตู วนไปมา แค่ตัวตลกแต่งหน้าตาก็แทบหัวเราะก๊าก หากถึงตอนพระเอกนางเอกออกมา ร้องเพลงเอ้อเอิงเอย ช้าๆเนิบๆ เนาวรัตน์หมดอารมณ์เลย มันยืดยาดมาก เมื่อสูงวัยขึ้น เนาวรัตน์กลับอยากดูการขับซอ อยากดูเพราะต้องการศึกษา อยากได้เรื่องราวไปเขียน พยายามมองหาจุดดีจุดที่ชวนดู... การขับซอจะเริ่มเวลาประมาณ 13.00 น. สังเกตดู มีคนนั่งเก้าอี้ใต้ต้นมะม่วงหน้าผามซอ ด้านข้างมีพอสมควร ใต้ต้นมะขามใหญ่ด้านข้างขวาผามซอ มีกลุ่มแม่บ้านนั่งล้อมวงม้าหินอ่อน บนโต๊ะมีเบียร์กระป๋องหลายกระป๋อง ขวดเหล้าอีก 2 ขวด   แน่นอนที่สุดกลุ่มนี้นำทีมโดยเมียผู้ใหญ่บ้าน หน้าแดงเรื่อดูร่าเริงผิดปรกติ ผู้ดูการแสดงส่วนใหญ่เป็นวัยกลางคนถึงสูงอายุ ผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เด็กหนุ่มสาวมองไม่เห็นเลย นอกนั้นเป็นเด็กเล็กที่ตามแม่หรือย่ายายมาด้วย 
 
ได้เวลาแล้ว 
ผู้ขับซอชายหญิงก้าวขึ้นผามซอ ผู้ขับซอฝ่ายชายที่ชื่อสิงห์คำ รูปร่างสันทัดผิวขาว สวมเสื้อแขนยาวลายเขียว ผู้หญิงร่างท้วมชื่อผ่องพรรณ รวบผมไว้ด้านหลัง แต่งกายเรียบร้อย หน้าตายามสาวคงสวยคมไม่น้อย คะเนอายุทั้งคู่คงไม่เกิน 50 ปี หรืออาจ 50 ปีต้นๆ ทั้งคู่นั่งซอคู่กัน เป็นการขับซอโต้ตอบกันไปมา เรียกทั้งคู่ว่า “คู่ถ้อง”     นักดนตรีประเภทซอซึงเดินขึ้นบันไดตามมา นั่งล้อมวงอยู่ข้างหลังผู้ขับซอทั้งคู่    แม่ยายเคยบอกเนาวรัตน์ว่า เครื่องดนตรีประกอบด้วย   ปี่กลาง   เป็นเสียงกลางๆสำหรับเป็นทำนองเพลง   ปีก้อย เป็นปี่เสียงเล็กที่เป็นเสียงนำ   ปี่ตัด เป็นปี่ที่มีขนาดเล็กที่สุด   ใช้แทรกเสียงเพื่อให้เกิดความไพเราะมากขึ้น   และปีเค้า(ปี่แม่) เป็นปีขนาดใหญ่   สำหรับทำเสียงคลอเพื่อให้เกิดความกลมกลืน   แม่ยายปิดท้ายว่า   ปัจจุบันได้ใช้เครื่องดนตรี “ซึง” แทนปี่เค้า.

 

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
                                                            
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง