เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า
ได้ประเมินหรือไม่ว่า ทำไมเราสู้กับน้ำไม่ได้เลย ปัญหาอยู่ตรงจุดไหน นางสาวยิ่งลักษณ์ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ประการที่ 1 ปริมาณน้ำมากกว่าทุกปีเป็นประวัติศาสตร์ มากกว่าถึง 3 เท่า ประการที่ 2 ปริมาณน้ำที่เจอนั้น ไม่มีโอกาสได้ระบายเลย ขังมา 2-3 เดือนแล้ว ดังนั้นจะให้แก้ในเดือนที่ 3 นั้นเป็นไปไม่ได้ อีกทั้งปริมาณน้ำในเขื่อนใช้อย่างเต็มพิกัดหรือเรียกว่าเกินศักยภาพก็ได้ ประการที่ 3 สภาพภูมิประเทศไม่เอื้อต่อการระบายน้ำ วันนี้การสร้างตึก สร้างถนน เป็นสิ่งที่ต้องมาหารือกันในเรื่องการวังผังเมือง ประการที่ 4 ต้องไปหารือกันในระยะยาวในเรื่องการวางแผนการไหลของน้ำให้สัมพันธ์กัน ทั้งกรมชลประทานและการคมนาคม ซึ่งเป็นจุดที่รัฐบาลจะนำสิ่งต่างๆมาวิเคราะห์และดำเนินการลงทุนแก้ไขปัญหาต่อไป (ไทยรัฐ 20 ตุลาคม 2554)
มติชนสุดสัปดาห์
ฉบับประจำวันที่ 14-20 ตุลาคม 2554 คอลัมน์ “วิกฤตน้ำท่วม ฯ” ได้เขียนว่า รัฐบาลจะต้องรีบวางแผนระยะยาว อาจเป็น 10 ปี สิ่งที่ทำส่วนใหญ่ยังเป็นการแก้ปัญหาขณะน้ำท่วมและบูรณะเยียวยาเมื่อน้ำลดลงแล้ว มีแนวทางการป้องกันน้ำท่วม 3 วิธี 1.การสร้างคันกั้นน้ำบนตลิ่งขนานไปกับลำน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้นำล้นตลิ่งเข้าไปท่วมพื้นที่ด้านใน เช่น ริมแม่น้ำปิง เชียงใหม่ ปากน้ำโพ นครสวรรค์ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา 2.สร้างเขื่อนเพื่อเก็บกักน้ำไม่ให้ไหลลงสู่พื้นที่ต่ำเร็วเกินไป 3. ก่อสร้างทางผันน้ำเพื่อผันน้ำให้ออกไปโดยเร็ว โดยการขุดคลองสายใหม่เชื่อมต่อกับที่มีน้ำท่วม เพื่อให้ไหลออกไปสู่ทะเล หรือปรับปรุงสภาพลำน้ำเดิม ขุดลอกให้น้ำไหลสะดวก...การดิ้นรนเอาตัวรอดจากน้ำท่วมในบ้านเราใช้วิธีสร้างคันกั้นน้ำ การสร้างเขื่อนหรือฝายกั้นน้ำ การขุดคลองระบายน้ำยังเป็นคลองขนาดเล็กและมีน้อย ภัยน้ำท่วมในปีนี้มีขนาดรุนแรงกว่าในอดีต คันกั้นน้ำ (พนัง) ที่สร้างด้วยดินหรือกระสอบทรายจึงพังลงหลายแห่ง...วันนี้เขื่อนจึงไม่สามารถป้องกันน้ำท่วมได้ถ้าพบกับอุทกภัยขนาดใหญ่
แต่ละจังหวัดแก้ปัญหาน้ำท่วม
โดยป้องกันไม่ให้น้ำท่วมเขตจังหวัดของตน ไม่ได้มองปัญหาในภาพรวม ไม่ได้คำนึงว่าแก้ปัญหาจุดนี้ได้จะส่งผลกระทบจุดอื่นอีกที่ไหม วิธีแก้ยังคงใช้พนังกั้นน้ำ ใช้กระสอบทรายมาวางซ้อนๆกัน แถวเดียวต้านไม่ไหวเพิ่มความหนาเข้าไป เป็นทั้งสูงทั้งกว้างหนา น่าเห็นใจเพราะนึกไม่ถึงว่าน้ำมันจะมามากมหาศาล แก้ปัญหาเฉพาะหน้ากันไป ปีหน้าและในอนาคต น้ำคงปริมาณมากขึ้น รุนแรงขึ้น การวางแผนต่อสู้กับน้ำ ต่อสู้ธรรมชาติ มนุษย์จะเอาชนะธรรมชาติได้ไหม ยังน่ากังวล ถ้าอย่างนั้น ถามใจตนเอง ? เราจะสู้หรือเราจะถอย(หนี ย้ายที่อยู่)...ทุกคนต้องตอบและลงมือทำ ไม่มีเวลาอีกต่อไปแล้ว.
บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
พื้นที่ป่าเมืองไทยล่าสุดเหลือเท่าไร ระหว่างปี พ.ศ. 2504-2552 ประเทศไทยมีพื้นที่ป่ามากกว่า 72 ล้านไร่ เฉลี่ยป่าถูกทำลายปีละ 1.6 ล้านไร่ และในปี พ.ศ. 2504 ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าร้อยละ 53.3 หรือประมาณ 171 ล้านไร่ พอมาถึงปี พ.ศ.