Skip to main content

 


เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า
ได้ประเมินหรือไม่ว่า ทำไมเราสู้กับน้ำไม่ได้เลย ปัญหาอยู่ตรงจุดไหน นางสาวยิ่งลักษณ์ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ประการที่ 1 ปริมาณน้ำมากกว่าทุกปีเป็นประวัติศาสตร์ มากกว่าถึง 3 เท่า ประการที่ 2 ปริมาณน้ำที่เจอนั้น ไม่มีโอกาสได้ระบายเลย ขังมา 2-3 เดือนแล้ว ดังนั้นจะให้แก้ในเดือนที่ 3 นั้นเป็นไปไม่ได้ อีกทั้งปริมาณน้ำในเขื่อนใช้อย่างเต็มพิกัดหรือเรียกว่าเกินศักยภาพก็ได้ ประการที่ 3 สภาพภูมิประเทศไม่เอื้อต่อการระบายน้ำ วันนี้การสร้างตึก สร้างถนน เป็นสิ่งที่ต้องมาหารือกันในเรื่องการวังผังเมือง ประการที่ 4  ต้องไปหารือกันในระยะยาวในเรื่องการวางแผนการไหลของน้ำให้สัมพันธ์กัน ทั้งกรมชลประทานและการคมนาคม  ซึ่งเป็นจุดที่รัฐบาลจะนำสิ่งต่างๆมาวิเคราะห์และดำเนินการลงทุนแก้ไขปัญหาต่อไป (ไทยรัฐ 20 ตุลาคม 2554)
 
มติชนสุดสัปดาห์
ฉบับประจำวันที่ 14-20 ตุลาคม 2554    คอลัมน์ “วิกฤตน้ำท่วม ฯ”   ได้เขียนว่า รัฐบาลจะต้องรีบวางแผนระยะยาว อาจเป็น 10 ปี สิ่งที่ทำส่วนใหญ่ยังเป็นการแก้ปัญหาขณะน้ำท่วมและบูรณะเยียวยาเมื่อน้ำลดลงแล้ว มีแนวทางการป้องกันน้ำท่วม 3 วิธี 1.การสร้างคันกั้นน้ำบนตลิ่งขนานไปกับลำน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้นำล้นตลิ่งเข้าไปท่วมพื้นที่ด้านใน เช่น ริมแม่น้ำปิง เชียงใหม่ ปากน้ำโพ นครสวรรค์ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา 2.สร้างเขื่อนเพื่อเก็บกักน้ำไม่ให้ไหลลงสู่พื้นที่ต่ำเร็วเกินไป 3. ก่อสร้างทางผันน้ำเพื่อผันน้ำให้ออกไปโดยเร็ว โดยการขุดคลองสายใหม่เชื่อมต่อกับที่มีน้ำท่วม เพื่อให้ไหลออกไปสู่ทะเล หรือปรับปรุงสภาพลำน้ำเดิม ขุดลอกให้น้ำไหลสะดวก...การดิ้นรนเอาตัวรอดจากน้ำท่วมในบ้านเราใช้วิธีสร้างคันกั้นน้ำ การสร้างเขื่อนหรือฝายกั้นน้ำ การขุดคลองระบายน้ำยังเป็นคลองขนาดเล็กและมีน้อย ภัยน้ำท่วมในปีนี้มีขนาดรุนแรงกว่าในอดีต คันกั้นน้ำ (พนัง) ที่สร้างด้วยดินหรือกระสอบทรายจึงพังลงหลายแห่ง...วันนี้เขื่อนจึงไม่สามารถป้องกันน้ำท่วมได้ถ้าพบกับอุทกภัยขนาดใหญ่
 
แต่ละจังหวัดแก้ปัญหาน้ำท่วม
โดยป้องกันไม่ให้น้ำท่วมเขตจังหวัดของตน ไม่ได้มองปัญหาในภาพรวม ไม่ได้คำนึงว่าแก้ปัญหาจุดนี้ได้จะส่งผลกระทบจุดอื่นอีกที่ไหม วิธีแก้ยังคงใช้พนังกั้นน้ำ ใช้กระสอบทรายมาวางซ้อนๆกัน แถวเดียวต้านไม่ไหวเพิ่มความหนาเข้าไป เป็นทั้งสูงทั้งกว้างหนา น่าเห็นใจเพราะนึกไม่ถึงว่าน้ำมันจะมามากมหาศาล แก้ปัญหาเฉพาะหน้ากันไป ปีหน้าและในอนาคต น้ำคงปริมาณมากขึ้น รุนแรงขึ้น การวางแผนต่อสู้กับน้ำ ต่อสู้ธรรมชาติ มนุษย์จะเอาชนะธรรมชาติได้ไหม ยังน่ากังวล ถ้าอย่างนั้น ถามใจตนเอง ? เราจะสู้หรือเราจะถอย(หนี ย้ายที่อยู่)...ทุกคนต้องตอบและลงมือทำ ไม่มีเวลาอีกต่อไปแล้ว.
 
 

 

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ขณะเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3 ได้ยินผู้ใหญ่หลายคนมานั่งคุยกับย่า พูดในทิศทางเดียวกันว่า อุ๊ย(ย่าหรือยาย)
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ตื่นแล้ว ยังหนาวขอนอนงอเข่านิ่งๆต่ออีกหน่อย เสียงเจ้าเหมียวแมวตัวผู้ประจำบ้านร้องเหมียวๆที่ประตูห้องนอน ได้ยินเสียงเล็บมันข่วนประตูถี่ มันจะมาร้องทุกเช้าปลุกเจ้าของบ้าน ผมตะโกนบอกมันว่ายังไม่ลุกยังหนาวอยู่ มันไม่ยอมยังคงร้องเหมียวๆและข่วนประตูต่อไป ผมชักฉุนมันเป็นเจ้าของบ้านหรือผู้อาศัย พูดกันคนละภาษา อับจนสุดปัญญาหาล่ามแปล มันอาจคิดว่าเราเป็นคนใช้ก็ได้ ถ้าหิวมันร้องเราก็เอาอาหารให้ มันหนาวมันร้องบอกอีก
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
มองเข้าไปในมิติการเมืองไทย
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีกล่าวกับสื่อมวลชนประจำทำเนียบที่เข้าอวยพรว่า “...ไม่ว่าจะมีเสียงวิจารณ์อย่างไรเราก็น้อมรับ...ขอโอกาสให้ทำงานอยู่จนครบ เทอม จะได้ตอบว่า ผลงานที่ได้แถลงไว้ทำได้อย่างไร ได้คะแนนเท่าไรบ้าง.”
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
วันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ท่านยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้หาเสียงเลือกตั้งให้พรรคเพื่อไทย โดยชูนโยบายเด่นด้าน ความปรองดอง การแก้ไขและป้องกันยาเสพติด ปราบปรามคอรัปชั่น ยกร่างรัฐธรรมนูญ และอื่นๆอีกยาวเหยียด และท่านมักจะทิ้งท้ายวาทะสำคัญคือ “ ขอโอกาส” จากประชาชน
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ฮัก(รัก)รออยู่ นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย ท่านยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เดินทางมาบ้านเกิดที่เชียงใหม่ เป็นการกลับมาบ้านเกิดครั้งแรก หลังจากรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ท่านตั้งใจจะกลับมาเยี่ยมบ้านเกิดหลังพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณ(10 สิงหาคม 2554) แต่เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ จึงต้องอยู่กรุงเทพฯ เพื่อบริหารจัดการน้ำก่อน
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    หากไม่ย้ายเมืองหลวง คนไทยจะปักหลักอยู่ที่เดิมสู้ต่อไป  มาในแนวสู้ไม่ถอย  ขอแก้ตัวอีกสักครั้ง  หรือจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม  กรุงเทพฯจะต้องมีระบบป้องกันน้ำท่วมที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าปัจจุบัน  และคาดว่าจะใช้งบประมาณมหาศาลทีเดียว  ลองมาดูตัวเลขความเสียหายจากน้ำท่วมใหญ่ปี 2554  ธนาคารโลกได้ประเมินค่าความเสียหายประมาณ 1.36 ล้านล้านบาท  แยกเป็นความเสียหายจากทรัพย์สิน 6.4 แสนล้านบาท  ค่าเสียโอกาสทางธุรกิจ 7.16 แสนล้านบาท  แรงงานว่างงาน 7-9.2  แสนคน  และไทยจะใช้เงินฟื้นฟูเศรษฐกิจจากน้ำท่วม  ในวงเงินประมาณ 7.56  แสนล้านบาท…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ประเทศแรก ที่จะจมมหาสมุทร คือประเทศมัลดิฟว์ ประเทศเป็นเกาะอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดีย มีประชากรราว 270,000 คน มีพื้นที่ 298 ตารางกิโลเมตร เล็กกว่าภูเก็ตที่มีพื้นที่ 543.034 ตารางกิโลเมตร มัลดิฟว์เป็นหมู่เกาะปะการัง มีหาดทรายขาวและสวยงามมาก หมู่เกาะกระจายราว 1,200 เกาะ พื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลราว 1.5 เมตรเท่านั้น ประธานาธิบดีคนใหม่ชื่อ นายโมฮัมเหม็ด แอนนี นาชิด กำลังหนักใจเกี่ยวกับการมองหาที่ตั้งประเทศแห่งใหม่ ได้มองไปที่ประเทศศรีลังกา …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
     ในอดีต มีผู้ใหญ่ในบ้านเมืองไทย  เสนอแนวคิดการย้ายเมืองหลวงหลายครั้งหลายยุค  ลองไล่ตามลำดับ เริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ. 2486  บุรุษผู้กล้าหาญคนแรก  ท่านจอมพล ป.พิบูลสงคราม  คิดจะย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่จังหวัดเพชรบูรณ์  ต่อมาในในสมัยรัฐบาล  พลเอกชวลิต  ยงใจยุทธ  จะย้ายเมืองหลวงไปที่เขาตะเกียบ  จังหวัดฉะเชิงเทรา  พอมาถึงยุคท่านสมัคร  สุนทรเวช  เจ้าของวลีเด็ดๆ  เช่น “ กระเหี้ยนกระหือรือ   อะไรกันนักหนา ฯลฯ”  ขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่ง  รัฐมนตรีช่วยว่าราชการกระทรวงมหาดไทย …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  การย้ายเมือง มักมีสาเหตุต่างๆ ที่สำคัญ  ดังเช่น  เมืองลำพูนในอดีต  ในปี พ.ศ. 1490  เมืองลำพูนได้เกิดโรคระบาดร้ายแรงคือ “โรคห่า” หรืออหิวาตกโลก  ผู้คนล้มตายมากมาย  ผู้ที่ยังไม่ตายเห็นว่า  ถ้าอยู่ต่อไปอาจต้องเสียชีวิต  จึงพากันไปอยู่เมือง “สุธรรมวดี”  คือเมืองสะเทิม  ประเทศรามัญหรือมอญ  และยังระหกระเหินย้ายไปอยู่เมืองอื่นนานถึง 6 ปี  เมื่อทราบว่าโรคระบาดลดลง  จึงพากันกลับมาอยู่เมืองลำพูนดังเดิม เวียงกุมกาม
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    เขตอุตสาหกรรม 5 แห่ง ที่อยุธยาถูกน้ำท่วม มูลค่าลงทุนหลายแสนล้านบาท ตามลำดับดังนี้ 1.นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องหนัง ฯลฯ มูลค่าลงทุน 9,472 ล้านบาท คนงาน 14,000 คน โรงงาน 48 โรง พื้นที่ 2,050 ไร่ 2.ส่วนอุตสาหกรรมโรจนะ ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนไฟฟ้า โรงงานผลิตรถยนต์ฮอนด้า ฯลฯ มูลค่าลงทุน 58,000 ล้านบาท คนงาน 90,000 คน โรงงาน 183 โรง พื้นที่ 12,000 ไร่ 3.นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค) ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์คอมฯ…