Skip to main content

 


เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า
ได้ประเมินหรือไม่ว่า ทำไมเราสู้กับน้ำไม่ได้เลย ปัญหาอยู่ตรงจุดไหน นางสาวยิ่งลักษณ์ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ประการที่ 1 ปริมาณน้ำมากกว่าทุกปีเป็นประวัติศาสตร์ มากกว่าถึง 3 เท่า ประการที่ 2 ปริมาณน้ำที่เจอนั้น ไม่มีโอกาสได้ระบายเลย ขังมา 2-3 เดือนแล้ว ดังนั้นจะให้แก้ในเดือนที่ 3 นั้นเป็นไปไม่ได้ อีกทั้งปริมาณน้ำในเขื่อนใช้อย่างเต็มพิกัดหรือเรียกว่าเกินศักยภาพก็ได้ ประการที่ 3 สภาพภูมิประเทศไม่เอื้อต่อการระบายน้ำ วันนี้การสร้างตึก สร้างถนน เป็นสิ่งที่ต้องมาหารือกันในเรื่องการวังผังเมือง ประการที่ 4  ต้องไปหารือกันในระยะยาวในเรื่องการวางแผนการไหลของน้ำให้สัมพันธ์กัน ทั้งกรมชลประทานและการคมนาคม  ซึ่งเป็นจุดที่รัฐบาลจะนำสิ่งต่างๆมาวิเคราะห์และดำเนินการลงทุนแก้ไขปัญหาต่อไป (ไทยรัฐ 20 ตุลาคม 2554)
 
มติชนสุดสัปดาห์
ฉบับประจำวันที่ 14-20 ตุลาคม 2554    คอลัมน์ “วิกฤตน้ำท่วม ฯ”   ได้เขียนว่า รัฐบาลจะต้องรีบวางแผนระยะยาว อาจเป็น 10 ปี สิ่งที่ทำส่วนใหญ่ยังเป็นการแก้ปัญหาขณะน้ำท่วมและบูรณะเยียวยาเมื่อน้ำลดลงแล้ว มีแนวทางการป้องกันน้ำท่วม 3 วิธี 1.การสร้างคันกั้นน้ำบนตลิ่งขนานไปกับลำน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้นำล้นตลิ่งเข้าไปท่วมพื้นที่ด้านใน เช่น ริมแม่น้ำปิง เชียงใหม่ ปากน้ำโพ นครสวรรค์ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา 2.สร้างเขื่อนเพื่อเก็บกักน้ำไม่ให้ไหลลงสู่พื้นที่ต่ำเร็วเกินไป 3. ก่อสร้างทางผันน้ำเพื่อผันน้ำให้ออกไปโดยเร็ว โดยการขุดคลองสายใหม่เชื่อมต่อกับที่มีน้ำท่วม เพื่อให้ไหลออกไปสู่ทะเล หรือปรับปรุงสภาพลำน้ำเดิม ขุดลอกให้น้ำไหลสะดวก...การดิ้นรนเอาตัวรอดจากน้ำท่วมในบ้านเราใช้วิธีสร้างคันกั้นน้ำ การสร้างเขื่อนหรือฝายกั้นน้ำ การขุดคลองระบายน้ำยังเป็นคลองขนาดเล็กและมีน้อย ภัยน้ำท่วมในปีนี้มีขนาดรุนแรงกว่าในอดีต คันกั้นน้ำ (พนัง) ที่สร้างด้วยดินหรือกระสอบทรายจึงพังลงหลายแห่ง...วันนี้เขื่อนจึงไม่สามารถป้องกันน้ำท่วมได้ถ้าพบกับอุทกภัยขนาดใหญ่
 
แต่ละจังหวัดแก้ปัญหาน้ำท่วม
โดยป้องกันไม่ให้น้ำท่วมเขตจังหวัดของตน ไม่ได้มองปัญหาในภาพรวม ไม่ได้คำนึงว่าแก้ปัญหาจุดนี้ได้จะส่งผลกระทบจุดอื่นอีกที่ไหม วิธีแก้ยังคงใช้พนังกั้นน้ำ ใช้กระสอบทรายมาวางซ้อนๆกัน แถวเดียวต้านไม่ไหวเพิ่มความหนาเข้าไป เป็นทั้งสูงทั้งกว้างหนา น่าเห็นใจเพราะนึกไม่ถึงว่าน้ำมันจะมามากมหาศาล แก้ปัญหาเฉพาะหน้ากันไป ปีหน้าและในอนาคต น้ำคงปริมาณมากขึ้น รุนแรงขึ้น การวางแผนต่อสู้กับน้ำ ต่อสู้ธรรมชาติ มนุษย์จะเอาชนะธรรมชาติได้ไหม ยังน่ากังวล ถ้าอย่างนั้น ถามใจตนเอง ? เราจะสู้หรือเราจะถอย(หนี ย้ายที่อยู่)...ทุกคนต้องตอบและลงมือทำ ไม่มีเวลาอีกต่อไปแล้ว.
 
 

 

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ศึกครั้งนี้ใหญ่หลวง มันไม่พูด รุกคืบคลานไปข้างหน้าไม่มีหยุด เหมือนเชื้อโรคสายพันธุ์ใหม่ในหนังฝรั่งประเภท ไซไฟ (Sci-Fi) สภาพคล้ายเมือกฟองปุด ไหลกลืนกินทุกอย่างที่ขวางหน้า เป็นมฤตยูเงียบ เลือดเย็น มันคือกระแสน้ำ มิใช่หยดน้ำ...กระแสน้ำครั้งนี้เหมือนข้าศึกบ้านเมืองยุคปัจจุบัน ไม่มีการเจรจาพักรบ พักเหนื่อยพักหายใจ ไพร่พลมหาศาลหนุนเนื่อง หัวเมืองใหญ่น้อยจากเหนือลงใต้ถูกโจมตีแตกพ่าย มันกรีฑาทัพมุ่งโจมตีเมืองหลวง ที่มั่นสุดท้ายของเรา ปริมาณมหาศาล มาแรงและเร็ว มันคือกระแสน้ำ...…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ผมย้อนกลับมาดูน้ำท่วม ที่บ้านเกิดจังหวัดเชียงใหม่ ผมมีเวลามากพอเนื่องจากเกษียณอายุราชการ อ่านหนังสือบ้าง เขียนบ้าง ลองค้นหาข้อมูลน้ำท่วมจังหวัดเชียงใหม่ โดยค้นจากอินเทอร์เน็ต หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ได้พบข้อมูลน่าสนใจ ปีนี้ (29 กันยายน พ.ศ.2554) ระดับน้ำที่ P 1  ณ สะพานนวรัฐอยู่ที่ 4.94 เมตร เป็นสถิติสูงสุด สูงกว่าปี พ.ศ. 2548 ที่สูง 4.93 เมตร ในปี 2548 นั้น น้ำท่วมเชียงใหม่ครั้งแรกเมื่อ 13 สิงหาคม 2548 และท่วมอีก 3 ครั้ง ในเดือนกันยายน กลางเดือนกันยายน และต้นตุลาคม …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ลองพิจารณาคำพูดของน้องธัญญ์ คุณสรยุทธจากรายการ “ เจาะข่าวเด่นช่อง 3 .”(14 มิ.ย. 2554)ถามว่า “ ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์มา เคยมีเวลาใดที่รู้สึกทุกข์ใจบ้างหรือไม่ ?.”
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  3 เมษายน 2554 ได้ทราบข่าว นักเรียนไทยในสิงคโปร์ประสบอุบัติเหตุ ถูกรถไฟ  MRT ของสิงคโปร์ทับขาขาดทั้งสองข้าง ในเวลาต่อมาได้มีการเสนอข่าวเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง ได้ทราบเรื่องราวต่อมา คนไทยที่ได้รับอุบัติเหตุครั้งนี้ ชื่อ เด็กหญิงณิชชารีย์ เป็นเอกชนะศักดิ์ อายุ 14 ปี เดินทางไปเรียนซัมเมอร์คอร์สภาษาอังกฤษ เคมบริดจ์ ที่สิงคโปร์ เธอเป็นนักเรียนชั้น ม. 2 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย จังหวัดตรัง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  หากวิเคราะห์เรื่องน้ำท่วม ปีหนึ่งหากท่วม 1 ครั้งต่อปี ประชาชนเดือนร้อนก็ช่วยเหลือกันไป มอบถุงยังชีพมอบอาหาร ให้ค่าชดเชยหลัง 5, 000 บาท พอพ้นฤดูน้ำท่วมปัญหาหมดไปลืมกันไป ปีหน้าว่ากันอีกที ไม่ทราบว่ามีแผนป้องกันระดับประเทศไหมหนอ มีหน่วยงานใดเป็นเจ้าของเรื่องป้องกันน้ำท่วมระดับประเทศ แม้จะมีพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ 2550 และคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ แต่ยังขาดการทำงานที่เป็นระบบ คือสอดคล้องสัมพันธ์กันทุกขั้นตอนการทำงาน ยังขาดเอกภาพ ขาดความร่วมมือ  …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ที่บ้านทุ่งแป้ง  อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ฝนตกตลอดคืนวันที่ 6 , 9 , 13 กันยายน พ.ศ. 2554 พอเช้าวันที่ 14 กันยายน แม่น้ำขานเริ่มมีระดับสูงขึ้นรวดเร็ว และล้น บ่าข้ามถนนข้างแม่น้ำเข้าท่วมบ้านทุ่งแป้งจำนวน 90 กว่าหลังคา ระดับน้ำสูงขึ้นช้าๆ ต่อมาเริ่มท่วมถนนข้างบ้าน ที่คั่นระหว่าง บ้านผมกับวัดทุ่งแป้ง    ได้ยินเสียงน้ำไหลซ่าเข้าประตูวัด บริเวณบ้านผมได้ถมดินให้สูงก่อนปลูก น้ำ จึงยังไม่ท่วม บ้านอื่นรอบๆถูกน้ำท่วมหมดแล้ว มีเพื่อนบ้านนำรถยนต์มาฝาก 2 คัน…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  กรณีกลุ่มชาวบ้านอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา อ้างว่าได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ป่าไม้ และเตรียมยื่นรัฐบาลชุดใหม่แก้กฎหมายจำนวน 3 ฉบับ รวมทั้งมีการต่อต้านและกล่าวโจมตีเจ้าหน้าที่นั้น ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชี้แจงว่า ไม่น่ามีปัญหาเพราะได้ชี้แจงทำความเข้าใจแล้วว่า จุดมุ่งหมายของทั้งกรมป่าไม้และกรมอุทยานแห่งชาติฯ ไม่ได้ดำเนินคดีกับชาวบ้าน แต่ดำเนินคดีกับกลุ่มทุนคนรวยคนมีเงิน ที่ไปบุกรุกเพื่อตัดวงจรการบุกรุกป่า ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    อธิบดีกรมป่าไม้กล่าวอย่างน่าสนใจ คดีบุกรุกป่าไม้ ใช้เวลาในการสอบคดีนาน 1-10 ปี กรณีบุกรุกอุทยานทับลาน ใช้เวลานานมาก กว่าคดีจะสิ้นสุดและมีผลบังคับใช้ให้รื้อถอนออกไป แต่ยังไม่ยอมรื้อ กรมป่าไม้จะใช้วังน้ำเขียวเป็นโมเดล ในการจัดการปัญหาการรุกป่า ให้เป็นตัวอย่างกับพื้นที่อื่นอย่างถึงที่สุด  
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  หน่วยงานต่างๆ เช่น กรมป่าไม้ สำนักงานการปฏิรูปที่เดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ(ป.ป.ท.) ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เข้ามาร่วมกันดำเนินการทางกฎหมายกับกลุ่มข้าราชการ รวมทั้งหน่วยงานราชการที่ทำผิดกฎหมาย เช่น เอกสารที่ไม่ชอบให้กับเอกชนบุกรุกที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่อุทยานแห่งชาติ และ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร(ส.ป.ก.)  
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  คนบางคนเสียชีวิตแล้ว ยังมีคนคิดถึง นึกถึงผลงานความดีที่ได้ทำ ยิ่งเสียชีวิตเพื่อปกป้องสิ่งอันเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมและผู้อื่น คนยิ่งไม่ลืมเลือน น่าเสียดาย คนทั่วไปมักยกย่องชื่นชม สืบสานเจตนารมณ์ เมื่อเขาหมดสิ้นลมหายใจ ยามมีลมหายใจเข้าออก มีกำลังทำงาน กลับไม่มีใครตระหนัก ให้การสนับสนุน ให้พลังใจ ไม่มีเลยจริงๆ คนหนึ่งนั้นคือ คุณสืบ นาคะเสถียร  
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    มีภาพคลื่นผู้คนแย่งกันขึ้นสะพานเรือ  แต่สะพานหย่อนลงไม่ถึงพื้น จึงไม่มีใครเข้าไปได้ มีอะไรบางอย่างขัดสะพานที่ทำหน้าที่คล้ายประตูเข้าเรือ เรือถูกคลื่นสึนามิกระแทกเคลื่อนเข้าใกล้ภูเขาเอเวอเรสต์ “ โอ้โฮ ! น้ำมันท่วมสูงถึงเพียงนี้หรือ ?.” ผมพูดในใจ คลื่นพาเรือใกล้ภูเขาเอเวอเรสต์เข้าไปอีก ใกล้เข้าไปๆ เรือติดเครื่องไม่ได้ เพราะประตูปิดค้างอยู่ ทำให้ไม่สามารถถอยเรือออกห่างภูเขาเอเวอเรสต์ได้ ถ้าเรือกระแทกเขาเอเวอเรสต์ที่ยังมีน้ำแข็งปกคลุมอยู่ เรือย่อมแตกเป็นหลายเสี่ยง พระเอกดำน้ำลงไปแก้ไข ตื่นเต้นเหลือเกิน…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  นักตีความ ให้ความสนใจโคลงบทนี้มาก ต้องมาตีความกันอย่างหนัก เหตุการณ์จริงคือ สลัดอากาศจี้เครื่องบินโบอิ้ง จำนวน 2 ลำ พุ่งชนอาคารเวิร์ลเทรดเซ็นเตอร์ของอเมริกา ซึ่งเป็นตึกแฝดพังทลายลง(11 กันยนยน 2001) เหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้น  ตรงตามคำพยากรณ์ แต่ปี เดือน ไม่ตรงกัน