Skip to main content

 

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

 


ผมย้ายที่นั่ง

เปลี่ยนแว่นอันใหม่เพื่อเปลี่ยนมุมมอง จะไม่เรียกว่า “โจรก่อการร้าย” หรือ”โจรแบ่งแยกดินแดน” หรือ”ผู้ก่อความไม่สงบ”ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะเป็นการมองมุมเดียวแล้วตั้งชื่อตามความเข้าใจ บนข้อมูลจากสื่อที่ได้รับทางเดียว แต่จะเรียกกลางๆว่า “ผู้ก่อเหตุรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนใต้” น่าจะเหมาะสม การตัดสินสรุปเรื่องราวใด คงต้องหาข้อมูลรอบด้านทั้งสองฝ่าย มองย้อนหลังไปหาอดีต หารากเหง้า

อาณาจักรปัตตานี

ไม่มีข้อสรุปแน่ชัดว่าเกิดขึ้นเมื่อใด ใครเป็นผู้ก่อตั้ง แต่น่าจะเกิดในสมัยแคว้นลังกาสุกะ ราวพุทธศตวรรษที่ 11 เดิมนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน แต่ราวพุทธศตวรรษที่ 21 ได้เริ่มเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม มีความเจริญรุ่งเรืองมาก แต่หลังจากสิ้นสุดราชวงศ์ศรีวังสา อาณาจักรปัตตานีก็เริ่มเสื่อมลง ปี พ.ศ.2329 รัชกาลที่ 1 ทรงยกทัพไปตีเมืองปัตตานีได้ ปัตตานีจึงตกเป็นของสยามตั้งแต่บัดนั้น สยามยึดเอาทรัพย์สมบัติและปืนใหญ่ที่หล่อในสมัยรายาบีรูไป 3 กระบอก เหลือมาถึงกรุงเทพฯเพียง 1 กระบอก คือปืนใหญ่       พญาปัตตานี ปัจจุบันอยู่หน้ากระทรวงกลาโหม แต่ความไม่พอใจต่อการปกครองของชาวสยาม ทำให้เกิดกบฏ 2 ครั้ง ต่อมาสมัยรัชการที่ 2 จึงแยกปัตตานีเป็น 7 หัวเมือง พอถึงรัชกาลที่ 3 ทรงตัดสินพระทัยให้ราชวงศ์กลันตันปกครองปัตตานีต่อมา และกวาดเอาเชลยมาตั้งถิ่นฐานริมคลองแสนแสบ จนมาถึงปี พ.ศ.2445ในรัชกาลที่ 5 ได้จัดการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล ถือเป็นปีสิ้นสุดของอาณาจักรปัตตานี กลายเป็นส่วนหนึ่งของสยามโดยสมบูรณ์

ในปี พ.ศ.2466

 ชาวบ้านจำนวนมากออกมาประท้วงข้าราชการและเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ในรัชกาลที่ 6 ทรงออกพระบรม       ราโชบายไว้ 6 ข้อ เพื่อแก้ไขความไม่เป็นธรรมของเจ้าหน้าที่และข้าราชการ นำไปสู่การยุบมณฑลปัตตานีเป็น 3 จังหวัดคือ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จึงถึงปัจจุบัน พอมาถึง พ.ศ.2482 จอมพล ป.พิบูลสงครามจัดตั้งสภาวัฒนธรรม บังคับให้ประชาชนสวมหมวก แต่งกายแบบไทย ห้ามพูดภาษามลายู ทำตามวัฒนธรรมไทย และยังมีการกดขี่จากเจ้าหน้าที่รัฐ จนลุกลามเป็นกบฏในปี พ.ศ.2491 มีคนเสียชีวิต 400 คนยังไม่พอ มีการประท้วงของชาวบ้านกว่า 3 หมื่นคนในพ.ศ.2528 เมื่อกระทรวงศึกษาธิการออกคำสั่งให้ประดิษฐานพระพุทธรูปข้างเสาธงโรงเรียน เพื่อจัดกิจกรรมหน้าเสาธงในตอนเช้าทุกวัน...เป็นปีที่ผมดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ ได้นำพระพุทธรูปจำนวน 3 องค์บรรทุกรถสี่ล้อรับจ้างขึ้นอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อส่งมอบให้โรงเรียนดำเนินการ...อีก 3 ปีต่อมาออกคำสั่งห้ามคลุมศีรษะ(ฮิญาบ)เข้าสถานศึกษาหรือกรณีมัสยิดกรือเซะ มีผู้เสียชีวิต 107 คน รวมทั้งเหตุการณ์ตากใบมีผู้เสียชีวิต 84 คน.

การศึกษาประวัติศาสตร์

ปัตตานีในภาษาไทย มีไม่มากนัก หลักสูตรในโรงเรียนนำเสนอตามที่ชนชั้นปกครองที่มีอำนาจขณะนั้นตั้งธงไว้ เรื่องราวบางอย่างจึงไม่ได้ถูกบันทึกไว้หรือละเลยมองข้ามไป ประวัติศาสตร์ในโรงเรียน จึงเป็นเพียงเหตุการณ์ส่วนหนึ่ง ไม่ใช่ทั้งหมด บางครั้งถูกบิดเบือนผิดเพี้ยนไป ปัตตานีในประวัติศาสตร์ไทย คือประเทศเอกราช แขก ที่มีแต่เรื่องวุ่นวาย มีการเคลื่อนไหวประท้วงและก่อการกบฏ อิสลามในประเทศไทยมี 2 กลุ่ม ซึ่งเราเรียกว่าแขกหรือบัง ขอบอกว่า แขกพวกหนึ่งใจไม่รักคนไทยเลย ไม่ยอมรับว่าตนเองเป็นคนไทย แขกพวกนั้นเรียกว่า แขกมลายู ...อย่ามึนหัวนะครับ อีกพวกหนึ่งเรียกว่า แขกไทย  แขกไทยก็คือพี่น้องอิสลามที่เป็นคนไทยทั้งกายและใจ ไม่เอาเรื่องศาสนามาเป็นปัญหา ไม่ว่ากรณีใด ส่วนพวกแขกมลายูตั้งตัวเป็นโจรปัตตานี...ผมยิ่งค้นคว้าหาความจริงมากขึ้น ก็ยิ่งเข้าใจและเห็นใจพี่น้อง 3 จังหวัดชายแดนใต้มากขึ้นเป็นลำดับ.

 ................................................................................................

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
                                                            
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง