Skip to main content

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

 

 

 

มนุษย์เรียนรู้ได้ดีแม้อายุมากใช่ไหม

เพื่อนผมหัดร้องเพลงดีดกีตาร์เมื่ออายุ 59 ปี คุณจริน ยุทธศาสตร์โกศล หัดเต้นบัลเลต์เมื่ออายุ 50 ปีจนเก่ง

คุณปู่แอลเลน สจ๊วด เรียนจบปริญญาโทตอนอายุ 97 ปี เกิดคำถามตามมาว่า ผู้สูงวัยเหล่านี้สามารถเรียนรู้ได้ง่าย สบายมากอย่างนั้นหรือ  เรียนรู้ได้เหมือนคนหนุ่มสาวปานนั้นหรือไร ผมไม่มีภูมิพอจะตอบได้เลย ขออนุญาตนำคำตอบจาก internet หัวข้อ “สมองเรียนรู้ได้ไม่จำกัด.” ไม่ทราบชื่อผู้เขียน แต่ระบุแหล่งข้อมูลว่า htt://www.Sudipan  มีหลายเรื่องที่น่าสนใจสำหรับทุกคน ทั้งบิดามารดา ลูกๆ และคนทั่วไป เพราะมันเกี่ยวกับสมอง เจ้าก้อนเนื้อสีเทาที่น้ำหนักราว 1.4 กิโลกรัม ดังนี้ครับ

       เรื่องไหนที่เราไม่ได้รู้ในวัยหนึ่ง ยังสามารถเรียนรู้ได้ แต่มันอาจยากขึ้น เช่น ต้องอ่านหนังสือหลายๆเที่ยวมากกว่าเด็กมากกว่าวัยหนุ่มสาว ต้องฝึกเต้นบัลเลต์อย่างหนัก ใช้เวลานานกว่าเด็ก ผู้เขียนท่านนี้ยังบอกอีกว่า สมองคนเรามีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงเป็นประจำทุกวัน ยิ่งเราเรียนรู้มากเท่าใด เส้นใยสมองยิ่งมากขึ้นเรื่อยๆ และยังบอกอีกว่า หากเราใช้สมองเป็นประจำ คิดอะไรใหม่ๆ เรียนรู้สิ่งใหม่ๆอยู่เรื่อยๆ จะช่วยชะลอสมองให้เป็นเด็กตลอดกาล และข้อความสำคัญที่ทำให้คนแก่และคนที่กำลังจะกลายเป็นคนแน่นอนในอนาคต ยิ้มได้คือ “สมองคนแก่ที่ชอบเรียนรู้ กระตือรือร้นนั้น มีลักษณะคล้ายเด็ก...” คงหมายความว่า เรียนรู้ได้เร็ว เรียนรู้ได้ง่ายอย่างนั้น

 

ผมบ้าหนังสือ

ชอบซื้อหนังสือที่เราสนใจครั้งละหลายเล่ม แม้ไม่ค่อยมีเงินนัก อ่านดะไปเรื่อยเปื่อย อ่านแล้วเหมือนเราอยู่ในอีกโลกหนึ่ง กำลังฝึกใจตนเอง  ใช้มุมมองใหม่ อ่านหนังสือที่เราไม่ชอบมาก่อน อ่านหนังสือคนที่เราเคยเบือนหน้าหนีนามปากกานั้นๆ ขณะอ่านทำใจให้ว่างเปล่า โอ ทำให้ได้พบอะไรใหม่ๆดีๆมากมายเลยครับ มีหนังสือที่ผมสนใจมากขณะนี้ ผู้เขียนชื่อ คุณหนูดี วนิษา เรซ  ผมได้ซื้อหนังสือของเธอมาจำนวน 3 เล่ม ชื่อหนังสือว่า  “อัจฉริยะสร้างได้.” “อัจฉริยะสร้างสุข.” และ “อัจฉริยะเรียนสนุก.” เธอเป็นลูกครึ่งไทย-อเมริกัน

           ปริญญาโท เกียรตินิยมจาก Harvard University , Boston , U.S.A . ด้านวิทยาการทางสมอง ในโปรแกรมชื่อ Mind , Brain and Education และปริญญาตรี เกียรตินิยม จาก  University Of  Maryland at  College Park . U.S.A . ด้านครอบครัวศึกษา(Family Studies)  อาจารย์ที่ปรึกษาคือ ดร.โฮวาร์ด

การ์เนอร์(DR. Howard Garner) เจ้าของทฤษฎีพหุปัญญา(Theory of  Multiple Intelligences) หรืออัจฉริยะ 8 ด้านของมนุษย์  ซึ่งในวงการครู วงการศึกษา รู้เรื่องนี้ดี  ผมอ่านเนื้อหาทั้งหมดจากหนังสือทั้ง 3 เล่มข้างต้น แล้วจดบันทึกไว้ว่า

                1. เราเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต ในทุกที่ทุกสังคม

                2.การฝึกฝนและเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ สามารถทำให้สมองเรามีประสิทธิภาพดีขึ้น...ส่วนนี้ผมกำลังฝึก

                3.บางส่วนของสมองต้องใช้ประสบการณ์กระตุ้น จึงจะทำให้สมองดีขึ้น เช่น การมอง การฟัง การสัมผัส การเคลื่อนไหว ดังนั้นเราต้อง “ลงมือทำ.” และทำเป็นประจำเท่านั้น จึงจะกระตุ้นสมองได้จริง เป็นต้นว่า การเรียนภาษา การเต้น(รำ) การเล่นกีฬา

                4. ภาวะที่ดีที่สุดสำหรับการเรียนรู้คือ ภาวะอารมณ์สงบแต่ตื่นตัว(Relaxed Alertness)

ถ้าสงบเกินไปเราจะง่วง แต่ถ้าเราตื่นตัวเกินไป ใจเราจะวุ่นวายจนอ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง สมองไม่รับรู้ข้อมูล

หากใจไม่สงบให้ทำสมาธิ หรือให้อาหารปลา ถ้าง่วงให้ออกวิ่งเหยาะๆ หรือหาอะไรอร่อยมากิน หรือดื่มน้ำแก้วโตแล้วมองดูใบไม้ในสวน

                  5.สมองเราทำงานตลอดเวลา ทั้งยามหลับและตื่น (บันทึกมาถึงส่วนนี้ ผมต้องหยุดคิดว่า จริงไหมหนอ)ยามเราคิดหนัก ยามใจลอย ส่วนที่ไม่เคยหยุดพักเลยคือ “ จิตใต้สำนึก.”

                  6.จิตสำนึกกับจิตใต้สำนึก มันจะผลัดกันตื่น ผลัดกันทำงาน เมื่อยามที่เราตื่นมีสติรู้สึกตัว ตอนนั้นจะเป็นจิตสำนึกทำงานแล้วจิตใต้สำนึกก็จะหลับอยู่ แต่ก็ยังคอยเก็บข้อมูลตามที่จิตสำนึกส่งไปให้เก็บอยู่เรื่อยๆ ในขณะเดียวกัน ตั้งแต่ช่วงเวลาที่เราเคลิ้มจะหลับจนถึงหลับสนิท จะเป็นเวลาที่จิตสำนึกจะหลับแล้วเป็นจิตใต้สำนึกที่ตื่นมาทำงาน ดังนั้นความฝันทั้งหลาย ก็คือจิตใต้สำนึกเป็นตัวสร้างภาพขึ้นมายามที่เราหลับ(จาก INTERNET หัวข้อ หลักการสั่งจิตใต้สำนึก-ไม่ยากเท่าที่คิด ไม่ทราบชื่อผู้เขียนครับ)

                   7.ความทุกข์สุขไม่ได้อยู่ที่ใจ แต่อยู่ในสมอง

                   8.ความเครียดอ่อนๆในช่วงก่อนสอบ ยิ่งทำให้เราอ่านหนังสือได้ดีขึ้น จำแม่นขึ้น เพราะสารเคมีที่หลั่งออกมาสำหรับความเครียดระยะสั้นคือ “อะดรีนาลิน.” นั้น มันคนละตัวกับฮอร์โมนความเครียดระยะยาว...ฮึม ประเด็นนี้น่าสนใจ ตอนเรียนหนังสือ อาจารย์ขีดเส้นใต้ให้ส่งงานวันนั้นวันนี้ เราปั่นงานกันหน้าดำคล้ำเครียด เร่งงานกันตลอดวันตลอดคืน กินข้าว 2-3 คำ ห้องน้ำห้องท่าแทบลืมไปเลย ว่าแต่เครียดอ่อนๆมันแค่ไหน อาการอย่างไร คิดเองนะว่า ขณะมีความเครียด แต่เรายังยิ้มออกบ้าง หัวเราะเล็กน้อยได้ แต่ถ้าเครียดหนัก เครียดยาว ชนิดซึมเหงาหลายๆวัน ต้องระวังแล้วครับ. จะเป็นโรคซึมเศร้าได้ อันตรายทีเดียว.

 

                                           ........................................................................

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
                                                            
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง