Skip to main content

                                                           
                                                                                                     ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง


ถึง พ.ศ. 2316 

นับเวลาผ่านไปได้ 3 ปี  มีผู้ศรัทธากราบไหว้พระดอน  หรือครูบาดอนทั่วบ้านทั่วเมือง  ชื่อเสียงยังขจรขจายไปยังหัวเมืองต่างๆในล้านนา  ผู้คนเมืองฝางอยู่กันอย่างสงบสุข  ทำมาหากินตามปรกติ  ปราศจากการรุกรานจากพม่า  สาเหตุมาจากภายในเมืองพม่าไม่สงบเรียบร้อย  มีการแย่งชิงอำนาจกันระหว่างกษัตริย์กับเหล่าขุนนางและเหล่าทหาร  และพม่ายังต้องพะวงกับการแข็งเมืองของเมืองประเทศราชทั้งหลาย  รวมทั้งการรวมกำลังของชนกลุ่มน้อยต่อต้านพม่า  ที่มีมากมายหลายกลุ่ม  เมืองฝางจึงปลอดภัยจากพม่า  กองทัพทหารโสร่งด้วยเหตุนี้

ที่วัดพระบาทอุดมจึงมีคนเดินทางมากราบไหว้ทำบุญ  รวมทั้งบูชาของดีของขลังไม่ขาด  ที่ขาดไม่ได้เป็นการไปกราบครูบาดอนที่ใครๆเชื่อว่าเป็นตนบุญมาเกิด  ได้พบเห็นพระกับตา  ยิ่งได้สนทนาด้วย  จะเป็นการมาวัดพระบาทอุดมที่ครบถ้วนสมบูรณ์สมใจทีเดียว  เงินและสิ่งของที่ผู้แสวงบุญมาถวายวัด  พระดอนถวายเจ้าอาวาสต่อจนหมดสิ้น  พระเจ้าอาวาสเล่าหาได้ได้เก็บไว้ส่วนตัวไม่  นำมาประชุมหารือกรรมการวัดรวมทั้งศรัทธาญาติโยมทุกหลังคาเรือน  เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการสืบพระศาสนา  การสร้างสิ่งอันเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมต่อผู้คนในบ้านเมือง  บางส่วนนำมาสร้างศาลาและกุฏิเพิ่ม  ซ่อมแซมโบสถ์วิหารที่เริ่มชำรุดทรุดโทรม  บางสวนนำมาสร้างห้องอบสมุนไพรรักษาโรค  โดยไม่คิดค่ารักษา  ขอเพียงบริจาคตามกำลังศรัทธาเท่านั้น  ไม่มีการบังคับกะเกณฑ์  ผู้เจ็บป่วยยากไร้ทางวัดยินดีรักษาโดยไม่คิดเงินทอง  ด้วยเหตุฉะนี้ วัดพระบาทอุดมจึงกลายเป็นที่พึ่งทางใจและกลายของคนทั้งเมืองฝางและทั่วไป  พระเจ้าอาวาสกล่าวไว้ดังคำสอนอันลึกซึ้งของพระพุทธเจ้าไว้ว่า
                                                                    
               “ ทุกผู้ทุกคนมาจากความว่างเปล่า  เราเกิดมาบ่มีอะหยังติดตัว 
             ตายไปก็เช่นกัน  ใยเราต้องมายึดติดกับทรัพย์สินเงินทอง  อันเป็นทรัพย์นอกกาย 
             ทำบุญทำความดีต่อไปเถิด  ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน  เอื้อเฟื้อต่อกัน  มีอะหยังแบ่งกัน 
              ผักแคบ(ผักตำลึง)  ผักปั๋ง(ผักปลัง)  ที่ขึ้นตามรั้วบ้าน  เอิ้น(ตะโกน)ขอกัน 
              ก็เอ่ยปากหื้อเขาไปแกงกินได้  ดังคำพระพุทธเจ้าว่า  ความคุ้นเคยเป็นญาติอย่างยิ่ง 
              การทำบุญทำทานนั้นบ่หายไปไหน  ชาตินี้บ่ได้รับผลกรรมดี  ชาติหน้าภพหน้า
              ต้องได้รับเป็นแน่นอน  เงินทองที่ศรัทธาญาติโยมบริจาค  อาตมาและพระดอน
              ก็บ่ได้เก็บไว้ใช้ส่วนตน  ได้นำมาสร้างที่อบสมุนไพรรักษาโรคภัยไข้เจ็บไม่เลือก
               ยากดีมีจน  บางส่วนนำไปสร้างกุฏิเพิ่ม  ซ่อมโบสถ์วิหารพ่อง  เป็นการสืบทอด
              พระศาสนา  บุญนั้นเชื่อเต๊อะ  ใครทำใครคนนั้นก็ได้รับ  บ่ช้าก็เร็ว  เป็นสัจธรรมยิ่งแล้ว.”

                                           ..................................................................................

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ขณะเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3 ได้ยินผู้ใหญ่หลายคนมานั่งคุยกับย่า พูดในทิศทางเดียวกันว่า อุ๊ย(ย่าหรือยาย)
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ตื่นแล้ว ยังหนาวขอนอนงอเข่านิ่งๆต่ออีกหน่อย เสียงเจ้าเหมียวแมวตัวผู้ประจำบ้านร้องเหมียวๆที่ประตูห้องนอน ได้ยินเสียงเล็บมันข่วนประตูถี่ มันจะมาร้องทุกเช้าปลุกเจ้าของบ้าน ผมตะโกนบอกมันว่ายังไม่ลุกยังหนาวอยู่ มันไม่ยอมยังคงร้องเหมียวๆและข่วนประตูต่อไป ผมชักฉุนมันเป็นเจ้าของบ้านหรือผู้อาศัย พูดกันคนละภาษา อับจนสุดปัญญาหาล่ามแปล มันอาจคิดว่าเราเป็นคนใช้ก็ได้ ถ้าหิวมันร้องเราก็เอาอาหารให้ มันหนาวมันร้องบอกอีก
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
มองเข้าไปในมิติการเมืองไทย
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีกล่าวกับสื่อมวลชนประจำทำเนียบที่เข้าอวยพรว่า “...ไม่ว่าจะมีเสียงวิจารณ์อย่างไรเราก็น้อมรับ...ขอโอกาสให้ทำงานอยู่จนครบ เทอม จะได้ตอบว่า ผลงานที่ได้แถลงไว้ทำได้อย่างไร ได้คะแนนเท่าไรบ้าง.”
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
วันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ท่านยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้หาเสียงเลือกตั้งให้พรรคเพื่อไทย โดยชูนโยบายเด่นด้าน ความปรองดอง การแก้ไขและป้องกันยาเสพติด ปราบปรามคอรัปชั่น ยกร่างรัฐธรรมนูญ และอื่นๆอีกยาวเหยียด และท่านมักจะทิ้งท้ายวาทะสำคัญคือ “ ขอโอกาส” จากประชาชน
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ฮัก(รัก)รออยู่ นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย ท่านยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เดินทางมาบ้านเกิดที่เชียงใหม่ เป็นการกลับมาบ้านเกิดครั้งแรก หลังจากรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ท่านตั้งใจจะกลับมาเยี่ยมบ้านเกิดหลังพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณ(10 สิงหาคม 2554) แต่เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ จึงต้องอยู่กรุงเทพฯ เพื่อบริหารจัดการน้ำก่อน
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    หากไม่ย้ายเมืองหลวง คนไทยจะปักหลักอยู่ที่เดิมสู้ต่อไป  มาในแนวสู้ไม่ถอย  ขอแก้ตัวอีกสักครั้ง  หรือจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม  กรุงเทพฯจะต้องมีระบบป้องกันน้ำท่วมที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าปัจจุบัน  และคาดว่าจะใช้งบประมาณมหาศาลทีเดียว  ลองมาดูตัวเลขความเสียหายจากน้ำท่วมใหญ่ปี 2554  ธนาคารโลกได้ประเมินค่าความเสียหายประมาณ 1.36 ล้านล้านบาท  แยกเป็นความเสียหายจากทรัพย์สิน 6.4 แสนล้านบาท  ค่าเสียโอกาสทางธุรกิจ 7.16 แสนล้านบาท  แรงงานว่างงาน 7-9.2  แสนคน  และไทยจะใช้เงินฟื้นฟูเศรษฐกิจจากน้ำท่วม  ในวงเงินประมาณ 7.56  แสนล้านบาท…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ประเทศแรก ที่จะจมมหาสมุทร คือประเทศมัลดิฟว์ ประเทศเป็นเกาะอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดีย มีประชากรราว 270,000 คน มีพื้นที่ 298 ตารางกิโลเมตร เล็กกว่าภูเก็ตที่มีพื้นที่ 543.034 ตารางกิโลเมตร มัลดิฟว์เป็นหมู่เกาะปะการัง มีหาดทรายขาวและสวยงามมาก หมู่เกาะกระจายราว 1,200 เกาะ พื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลราว 1.5 เมตรเท่านั้น ประธานาธิบดีคนใหม่ชื่อ นายโมฮัมเหม็ด แอนนี นาชิด กำลังหนักใจเกี่ยวกับการมองหาที่ตั้งประเทศแห่งใหม่ ได้มองไปที่ประเทศศรีลังกา …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
     ในอดีต มีผู้ใหญ่ในบ้านเมืองไทย  เสนอแนวคิดการย้ายเมืองหลวงหลายครั้งหลายยุค  ลองไล่ตามลำดับ เริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ. 2486  บุรุษผู้กล้าหาญคนแรก  ท่านจอมพล ป.พิบูลสงคราม  คิดจะย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่จังหวัดเพชรบูรณ์  ต่อมาในในสมัยรัฐบาล  พลเอกชวลิต  ยงใจยุทธ  จะย้ายเมืองหลวงไปที่เขาตะเกียบ  จังหวัดฉะเชิงเทรา  พอมาถึงยุคท่านสมัคร  สุนทรเวช  เจ้าของวลีเด็ดๆ  เช่น “ กระเหี้ยนกระหือรือ   อะไรกันนักหนา ฯลฯ”  ขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่ง  รัฐมนตรีช่วยว่าราชการกระทรวงมหาดไทย …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  การย้ายเมือง มักมีสาเหตุต่างๆ ที่สำคัญ  ดังเช่น  เมืองลำพูนในอดีต  ในปี พ.ศ. 1490  เมืองลำพูนได้เกิดโรคระบาดร้ายแรงคือ “โรคห่า” หรืออหิวาตกโลก  ผู้คนล้มตายมากมาย  ผู้ที่ยังไม่ตายเห็นว่า  ถ้าอยู่ต่อไปอาจต้องเสียชีวิต  จึงพากันไปอยู่เมือง “สุธรรมวดี”  คือเมืองสะเทิม  ประเทศรามัญหรือมอญ  และยังระหกระเหินย้ายไปอยู่เมืองอื่นนานถึง 6 ปี  เมื่อทราบว่าโรคระบาดลดลง  จึงพากันกลับมาอยู่เมืองลำพูนดังเดิม เวียงกุมกาม
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    เขตอุตสาหกรรม 5 แห่ง ที่อยุธยาถูกน้ำท่วม มูลค่าลงทุนหลายแสนล้านบาท ตามลำดับดังนี้ 1.นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องหนัง ฯลฯ มูลค่าลงทุน 9,472 ล้านบาท คนงาน 14,000 คน โรงงาน 48 โรง พื้นที่ 2,050 ไร่ 2.ส่วนอุตสาหกรรมโรจนะ ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนไฟฟ้า โรงงานผลิตรถยนต์ฮอนด้า ฯลฯ มูลค่าลงทุน 58,000 ล้านบาท คนงาน 90,000 คน โรงงาน 183 โรง พื้นที่ 12,000 ไร่ 3.นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค) ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์คอมฯ…