Skip to main content

วันนี้เปิดห้องเรียนวิชามานุษยวิทยาภาษาด้วยการคุยสืบเนื่องกับบทเรียนเมื่อสองสัปดาห์ก่อน เรื่อง "ภาษากับความคิดและโลกทัศน์" มีวิดีโอในยูทูปที่น่าสนใจสองเรื่อง เรื่องหนึ่งว่าด้วยหมอสอนศาสนาที่ถูกชนพื้นเมืองในป่าอะเมซอนแปลงให้กลายเป็นนักมานุษยวิทยาภาษา วันนี้เปิดอีกเรื่องว่าด้วยการเห็นสีที่จำกัดของคนต่างวัฒนธรรมที่มีมโนทัศน์เรื่องสีต่างกัน (เอาไว้วันหลังมาเล่าแล้วกันครับ)

เรื่องที่อยากเล่าตอนนี้คือ บทเรียนจากนักศึกษาที่อธิบายคำในพจนานุเกรียนที่น้า Art Bact' เอามาแปะไว้ในกลุ่ม "ต่อปาก..." แถมน้าแบ่คยังแนะนำคำว่า "วทน" ผมงงอยู่คืนหนึ่งเต็มๆ เพราะไม่ได้อยู่ในโลกออนไลน์มากเท่าเขามาก่อน (มีนักศึกษาอีกคนมาอธิบายให้ใน ฟบ แต่ผมไม่ได้อ่านก่อนเข้าห้องเรียน)

ในห้องเรียนวันนี้ นักศึกษาคนหนึ่งอธิบายอย่างยืดยาวว่า (ใครรู้แล้วทนอ่านไปแล้วกันครับ) "เรื่องทั้งหมดเกิดในโลกของทวิตเตอร์ค่ะ พวกเกรียนหมั่นไส้ วทน. อาจารย์รู้จักไหมคะ คนที่ทำหนังสือ อด. อ่ะค่ะ เขาชอบทวิตอะไรเลี่ยนๆ ประเภท 'วันนี้ฉันตื่นนอนขึ้นมา อาบน้ำ แล้วบรรลุธรรม' แบบ 'อิ้วอม' น่ะค่ะ...

"พวกนั้นก็ตามเกรียนเขาในทวิตเตอร์ วทน. สักพัก วทน.ทนไม่ได้ ก็ไล่บล็อคพวกมาเกรียนไปทั่ว บลาๆๆ..." (ใน "ดราม่าแอดดิค" น่าจะมีรายละเอียด) คำนี้ก็เลยเป็นที่เข้าใจกันทั่ว" ตามความหมายในพจนานุเกรียนว่า 

@wthn [censored] - ใช้เพื่อกิจการแซะ แล้วโดนบล็อคโดนอัตโนมัติเท่านั้น
[ตัวอย่าง] ใครไม่โดน วทน บล็อคนี่โคตรไม่อินดี้

นักศึกษาแนะให้ลองเปิดอีกคำหนึ่งคือ "ดงบังวงแตก" ผมนี่งงไปเลย ลองดูครับว่าหมายถึงอะไร แต่เมื่ออ่านคำแปลแล้ว ก็ไม่เข้าใจหรอก ถ้าไม่ได้อยู่ในโลก "เกรียน"

ผมชอบพจนานุเกรียนในหลายๆ มิติด้วยกัน แง่หนึ่ง ผมว่าโลกปัจจุบันมันแปลกแยกแตกต่างห่างเหินจริงๆ แต่มันไม่ใช่ในความหมายแย่หรอก ผมมองว่ามันปกติธรรมดา เพราะโลกปัจจุบันมันสร้างความเชื่อมต่อแบบใหม่ๆ เกิดสังคมใหม่ๆ ที่ไม่จำเป็นที่ใครทุกคนจะต้องรู้จักเข้าใจทุกเรื่องของคนที่เรารู้จักไปเสียทุกอย่าง นักศึกษาผมเข้าใจสิ่งเดียวกับที่น้าแบ่คเข้าใจเป๊ะ ทั้งๆ ที่เขาไม่รู้จักกันมาก่อนเลย

อีกแง่หนึ่ง ผมนึกเลยเถิดไปถึงเรื่องโลกทัศน์กับภาษา ภาษาน่าจะเชื่อมโยงกับโลกทัศน์จริงๆ เพราะแม้แต่คนที่อยู่ในโลกของภาษาเดียวกัน ก็ยังไม่สามารถเข้าใจกันได้ด้วยชุดคำศัพท์ที่แยกย่อยชุมชนภาษาลงไปมากขนาดนี้ และแม้ว่าจะรู้คำเหล่านั้น แต่ถ้าไม่มีการอธิบายความหมายเชิงบริบทที่ยืดยาว ก็คงไม่มีทางเข้าใจกันได้ง่ายๆ

อีกอย่าง พจนานุเกรียนเปิดโอกาสให้ใครก็ร่วมบัญญัติศัพท์เกรียนได้ ผมไม่แน่ใจเหมือนกันว่าพจนานุเกรียนมีใครคอยควบคุมการบัญญัติคำใหม่อย่างไรหรือไม่ แต่หากเราค้นคำที่ไม่มีในพจนานุเกรียน เขาก็จะขึ้นแบบฟอร์มให้กรอก เป็นการแนะนำคำศัพท์ใหม่ๆ นี่หากจะไม่ถึงกับนับว่าเป็นการทำลายเอกสิทธิ์ในการบัญญัติศัพท์ ก็ถือว่าเป็นการเปิดโอกาสให้เกิดการบัญญัติศัพท์จากผู้ใช้ภาษาเองได้ ไม่เหมือนพจนานุกรมของสถาบันทรงเกียรติบางแห่ง

ขอให้ชาวเกรียนจงเจริญภาษา มีปัญญาสร้างคำใหม่ๆ ให้ครูภาษาไทยต้องเวียนเกล้า กันไปอีกยาวนาน


ขอบคุณน้าแบ่คที่แนะนำ http://pojnanukrian.com/


เผยแพร่ครั้งแรกใน
:Yukti Mukdawijitra

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
อย่างที่บอกคือ ผมไม่ใช่คนเชี่ยวชาญเกาหลี จะเล่าเรื่องเกาหลีก็จะต้องมีผิดมีพลาดบ้าง เพียงแต่อยากบันทึกเก็บไว้ แล้วแบ่งปันบ้าง เผื่อใครสนใจหรือช่วยเติมต่อความรู้ อีกเรื่องหนึ่งที่ผมสนใจในการไปเกาหลีทั้งสองครั้ง (ครั้งแรกเมื่อ 8 ปีก่อน ก็ไปแค่สั้นๆ ไม่กี่วัน) ก็คือการได้พบเจอผู้คนและได้ไปเดินด่อมๆ มองๆ ตามย่านการค้า ร้านค้า และพบปะพูดคุยดื่มกินกับผู้คน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ได้อยู่นฐานะที่จะมาเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลี เดินทางไปแค่สองครั้ง ครั้งละไม่กี่วัน ไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ ไม่ได้เชี่ยวชาญอะไร แต่ด้วยนิสัยของการชอบบันทึกเก็บไว้ ก็เลยอยากเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลีที่รู้จักเอาไว้อ่านเอง เอาไว้คิดต่อ เอาไว้ก่อนที่จะลืม ก่อนที่จะไม่อยากเขียน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอร่วมรำลึกวาระ 40 ปี 6 ตุลาด้วยการกล่าวถึงงานศึกษาสังคม-วัฒนธรรมไทยที่เป็นพื้นฐานของเหตุการณ์เมื่อ 40 ปีก่อนนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จำเป็นแค่ไหนที่เราจะต้องคิดต่างจากส่วนกลาง ถ้าเราคิดว่าการครอบงำของความรู้ตะวันตกเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเข้าใจตัวตนเราเอง และทั้งยังปิดกั้นความเป็นมนุษย์ที่ไม่ได้ถูกเข้าใจจากมุมมองที่ต่างออกไป เราก็จำเป็นที่จะต้องคิดทั้งนอกกรอบตะวันตกและนอกกรอบการครอบงำจากอำนาจศูนย์กลางของรัฐ ความคิดนอกกรอบการครอบงำดังกล่าวส่วนหนึ่งเรียกว่าแนวคิดหลังอาณานิคม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายวันมานี้มีเรื่องขันขื่นหลายเรื่องที่สังคมไทยก้าวไม่พ้นเสียที แต่ผมว่าเรื่องพื้นฐานของปัญหาเหล่านี้คือเรื่องการไม่ยอมรับผิด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไปโกเบเมื่อสี่วันก่อน (7 มิถุนายน 59) นอกจากได้รู้จักความเป็นเมืองฝรั่งๆ ของโกเบแล้ว สาระสำคัญของการไปโกเบวันก่อนอย่างหนึ่งคือการไปพิพิธภัณฑ์เครื่องมือช่างไม้แห่งนี้ พิพิธภัณฑ์นี้เป็นของบริษัท Takenaka ที่บอกเล่าว่าตั้งมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 17 ส่วนพิพิธภัณฑ์นี้เปิดปี 1984 แล้วเข้าใจว่าน่าจะค่อยๆ พัฒนาคอลเล็กชั่นและการจัดแสดงขึ้นมาเรื่อยๆ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ความสุขอย่างหนึ่งของการมาอยู่ที่ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษามหาวิทยาลัยเกียวโตก็คือ การได้รู้จักผู้คนและแลกเปลี่ยนความรู้ในหลายภาษา อีกอย่างคือได้แลกเปลี่ยนความรู้ในหลายบริบท ทั้งในห้องสัมมนา ห้องทำงาน ห้องเรียน และร้านเหล้า ผมถือว่ามันเป็นบริบททางวิชาการทั้งนั้นแหละ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
รู้กันนะครับว่า เวลาที่เราเรียกว่า "หล่อๆ" นี่ ไม่ใช่ว่าต้องเป็นผู้ชาย ผู้หญิงก็หล่อได้ เพราะมันหล่อในสำนวน ในการแสดงออก ในท่าที ทั้งๆ ที่หน้าตาไม่ต้องหล่อก็ได้ แต่หล่อที่คำพูด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่งสอนผมว่า “คำวิจารณ์น่ะ น่าฟังมากกว่าคำชื่นชม เนื่องจากคนที่วิจารณ์เราน่ะ เขาจริงใจกับเรามากกว่าคนที่ชื่นชมเรา ไม่มีใครวิจารณ์เราตามมารยาท แต่คนชมน่ะ บางทีเขาก็ชมเราไปตามมารยาทเท่านั้นแหละ” ดังนั้นเมื่อโลกเขารุมวิจารณ์ไทย เราก็ควรรับฟังเขา เพราะถ้าเขาไม่มีความจริงใจ ไม่อยากเห็นเราปรับปรุงตัวจริงๆ ไม่รัก ไม่ห่วง ไม่อยากคบค้าสมาคมด้วย เขาก็คงไม่ติติงเรา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนแบบพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาไม่ได้มีแต่พลเอกประยุทธ์เพียงคนเดียว แต่ยังมีคนอีกจำนวนมากที่มีเบื้องลึกของจิตใจแบบพลเอกประยุทธ์ แต่หากจะพูดให้ถูก คนที่มีจิตใจเบื้องลึกที่กักขฬะ อาจจะไม่จำเป็นต้องแสดงออกอย่างกักขฬะแบบพลเอกประยุทธ์ แต่ทำไมขณะนี้สังคมไทยจึงยอมให้ความกักขฬะเข้ามาปกครองบ้านเมือง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะเรียกอะไรก็แล้วแต่ ถ้าพูดอย่างหลวม ๆ คือ พวกเขาเป็นคนกลุ่มเดียวกัน สองชื่อแรกใช้ในประเทศไทย เรียกกลุ่มคนที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ที่จริงพวกเขายังอยู่ในอำเภอเมือง อำเภอหนองหญ้งปล้อง และอำเภออื่น ๆ ของเพชรบุรี แล้วยังกระจายย้ายถิ่นไปในจังหวัดอื่น ๆ ตั้งแต่นครปฐม ชุมพร ไปจนถึงนครสวรรค์ เลย ฯลฯ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้ผมกลับมาไทย 7 วัน ไม่รวมวันเดินทางอีกสองวัน ที่มาเพราะได้รับเชิญมาเสนอความเห็นในการ workshop งานหนึ่ง ผมก็เลยถือโอกาสนี้ใช้ทุนที่ต้องใช้สำหรับทำวิจัย เก็บข้อมูลของมหาวิทยาลัยเกียวโต ซึ่งก็มีอยู่ไม่มากนัก มาเพื่อใช้เดินทางไปเก็บข้อมูลเพิ่มเติมด้วยเลย