Skip to main content

ปิดเทอมนี้อดพานักอ่านตัวยงคนหนึ่งที่บ้านไปงานสัปดาห์หนังสือ เพราะเธอขาแพลง เจ็บถึงขั้นเข้าเฝือกและใช้ไม้เท้าเดิน เธอบอก "เอาไว้มีงานอีกครั้งลุงต้องพาหนูไปนะ" วันนี้ก็เลยขอเขียนอวยนักเขียนสักหน่อย (คนเราไม่ต้องคอยหาทางวิจารณ์ข้อด้อยคนอื่นกันทุกเมื่อเชื่อวันก็คงสามารถจรรโลงสังคมให้น่าอยู่ได้เช่นกันกระมังครับ)

ค่ำวันหนึ่งผมมีโอกาสได้นั่งสนทนากับเพื่อนนักเขียนคนหนึ่ง ผมบังอาจเปรียบตัวเองเป็นนักบวช ที่ต้องกินอยู่แบบสมถะ แต่พอพูดออกไปต่อหน้านักเขียนแล้วก็เกิดละอายแก่ใจขึ้นมา เพราะถึงผมจะได้เงินเดือนไม่กี่สตางค์จากการสอนหนังสือและทำวิจัยก็จริง แต่อย่างน้อยที่สุดผมก็มีเงินเดือนรัฐกิน มีสวัสดิการของรัฐเป็นหลักประกัน

แต่ประเทศนี้มีใครสักกี่คนกันที่ได้เงินเดือนและสวัสดิการรัฐจากการเขียนหนังสือเป็นอาชีพ บางคนที่ได้มาก็ไม่ได้ดีเด่นไปกว่าคนที่ไม่ได้สิทธิพิเศษนั้นอีกตั้งมากมาย ถ้าอาชีพสอนหนังสือไส้แห้ง ไส้นักเขียนมิยิ่งหดหายไปจนเหลือแต่ผนังหน้าท้องที่แบนติดกระดูกสันหลังกันเชียวหรอกหรือ 

หรือถ้านักเขียนไม่มีครอบครัวค้ำจุน แล้วจะมี "a room of one's own" ไว้ให้นั่งอ่านเขียนคิดค้นคว้าอะไรของตนเองได้อย่างไร แถมบางคนยังเป็นนักเดินทาง ซึ่งก็ไม่ต่างอะไรกันนักกับการทำวิจัย จะมีทุนที่ไหนให้กับการวิจัยแบบนักเขียนบ้างเล่า ถ้ามี ก็จะมีใครกันสักกี่คนที่ได้ จะมีให้นักเขียนหน้าใหม่บ้างหรอกหรือ (หรือว่ามีทุนแบบนั้นจริง แต่ผมไม่ทราบเอง)

ดังนั้น นักเขียนต่างหากที่ควรจะเรียกได้ว่าเป็น "นักบวช" แห่งยุคของการอ่านและเขียนในสมัยทุนนิยมของการพิมพ์ (ถึงใครจะหาว่าผมชอบใช้ศัพท์ล้นๆ แบบไร้ตรรก ผมก็จะใช้ แต่นี่ก็ไม่ใช่ที่ที่จะมาอธิบายอะไรยืดยาว อย่างน้อย "เพื่อนๆ" ผมคงเข้าใจสถานะของข้อเขียนนี้ดี)

แต่อาชีพนักเขียนก็คงมีมนต์เสน่ห์ประหลาด และคงก็จะไม่มีอะไรบ่มเพาะการเป็นนักเขียนได้ดีไปกว่าการเป็นนักอ่านมาก่อน ตัวอย่างหนึ่งคือนักอ่านตัวยงที่พลาดงานสัปดาห์หนังสือคราวนี้คนหนึ่งนั่นแหละ 

"มาวมาว" เธออ่านหนังสือที่มีแต่ตัวหนังสือตั้งแต่อายุ 8-9 ขวบ แต่วันนี้มาวฯ อายุสิบเอ็ดปี ถ้าเธอว่างเธอจะอ่านหนังสือนิยายผจญภัย นิยายแฟนตาซีตลกๆ ได้วันละสองเล่มสบายๆ นอกจากนิยาย เธอเปลี่ยนจากการอ่านเรื่องราวเทพปกรณัมฮินดูและเรื่องไดโนเสาร์เมื่อสองปีก่อน มาสู่เทพปกรณัมกรีก-โรมันและฟิสิคส์สำหรับเด็กในปีนี้ 

เวลาไปงานสัปดาห์หนังสือ มาวฯ เดินแทบทุกซอกซอย เธอจะเลือกซื้อหนังสือเองด้วยเงินของย่าหรือพ่อแม่เธอ เวลาลุงกับป้าเลือกหนังสือให้ มาวฯ บอก "ก็ได้ แต่หนูไม่ออกเงินหนูนะ แล้วหนูจะช่วยอ่านเล่มที่ลุงกับป้าซื้อให้" แล้วเธอก็ "ช่วยอ่าน" มันจบอย่างรวดเร็ว 

มีวันหนึ่ง มาวฯ เอาบันทึกมาให้ป้าอ่าน มาวฯ เขียนตอนหนึ่งว่า 

"เด็กทุกคนล้วนมีความฝัน ต่างคนต่างไปพบเจออะไรมากมาย และบางอย่างอาจจะกลายเป็นแรงบันดาลใจของคนคนนั้นไป.. 

"ฉันใฝ่ฝันว่าอยากเป็นนักเขียนตั้งแต่อายุ10 ขวบ ผ่านมาหนึ่งปีแล้วฉันยังรักษาความฝันนั้นอยู่ ฉันเริ่มต้นเขียน แต่ก็ยังไม่เคยได้ให้ใครอ่านสักที ด้วยความเป็นคนที่ไม่ค่อยกล้านัก ทำให้ไม่มีใครเคยอ่านเลยสักครั้ง แต่จะเล่าให้เพื่อนฟังแทน และทุกครั้งที่่เล่าก็ไม่สามารถเขียนหรือบรรยายออกมาได้ จนเหมือนกับว่าฉันไม่สามารถทำทั้งสองสิ่งนั้นได้เลย.. 

"สิ่งหนึ่งที่ฉันไม่แน่ใจว่ามันจะใช่แรงบันดาลใจหรือเปล่า สำหรับคนอื่นอาจจะเป็นเรื่องราวที่ผ่านมาและผ่านไปเท่านั้น นั่นก็คือเรื่องที่คนในครอบครัวพูดคุยกัน.. 

"ฉันไม่แน่ใจว่างานเขียนของฉันสนุกหรือเปล่า แต่ฉันรู้เสมอว่างานทุกงานฉันใช้ความรู้สึกเขียน" (คัดจากสเตตัสของ Kusra Mukdawijitra

ทุกวันนี้มาวฯ เปิด weblog ส่วนตัว เธอเริ่มต้นเขียนนิยายไปพร้อมๆ กับเล่นเฟซบุก 

ในทัศนะผม อย่างเลวที่สุด การอ่านก็ทำให้นักอ่านกลายเป็นนักเล่าหนังสือหน้าชั้นเรียนแบบผม แต่อย่างดีที่สุด การอ่านก็จะสร้างนักเขียนขึ้นมาอีกอย่างน้อยหนึ่งคนแบบมาวมาว

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
อันที่จริงผมก็นึกไม่ถึงว่าจะมีคนสนใจข่าวนี้กันมากนัก เรื่องอาจจะเป็นเพราะมีการใช้คำในการรายงานข่าวเบื้องต้นอย่างคลาดเคลื่อนไป ก็เลยทำให้เป็นที่น่าตกใจ แต่อีกนัยหนึ่งก็ชี้ให้เห็นปัญหาการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนจนกระทั่งเมื่อมีการแสดงการต่อต้านด้วยการปฏิเสธที่จะอยู่ใต้อำนาจกดทับนั้น คนก็จึงตอบรับกันอย่างกระหน่ำ อย่างไรก็ดี ผมก็อยากชี้แจงให้กระจ่างเพิ่มเติมว่า ทำไมผมจึงเลือกที่จะแสดงสถานภาพในการเดินทางมาต่างประเทศของผมในครั้งนี้เพิ่มเติมผ่านข้อเขียนนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เพิ่งผ่านมาเพียง 5 เดือนอาจจะยังเร็วเกินไปที่จะถามว่า หลังรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 แล้วขบวนการประชาชนจะเป็นอย่างไรต่อไป แต่หากมองย้อนกลับไป แล้วมองไปข้างหน้าอีกสักหน่อย ก็น่าจะลองคิดถกเถียงกันบ้างว่า ขบวนการประชาชนน่าจะไปทางไหนต่อไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
TED รายการบรรยายสาธารณะที่มีชื่อเสียงและผมก็ติดตามเรียนรู้มาสม่ำเสมอ ได้เผยแพร่คลิปบรรยายของคีท เชน นักเศรษฐศาสตร์ที่เสนอข้อถกเถียงว่า ภาษามีความเชื่อมโยงกับการออมตั้งแต่เมื่อ 2 ปีที่แล้ว แต่ผมเพิ่งได้ยินเกี่ยวกับการศึกษานี้มาตั้งแต่ต้นภาคการศึกษานี้ในชั้นเรียนวิชามานุษยวิทยาภาษา ที่นักศึกษาคนหนึ่งเอ่ยถึงการศึกษานี้ และเพิ่งได้ดูด้วยตัวเองเมื่อ 3-4 วันก่อนนี้เอง เห็นว่าน่าสนใจดีก็เลยนำไปให้นักศึกษาดูและถกเถียงกันในชั้น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การอัตวินิบาตกรรมของคุณนวมทอง ไพรวัลย์ทำให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง นัยหนึ่งถือว่าเป็นการประท้วงต่อการรัฐประหาร อีกนัยหนึ่งถือเป็นการยืนยันความจริงจังและบริสุทธิ์ใจต่ออุดมการณ์ อีกนัยหนึ่งอาจปลุกเร้าสำนึกของผู้ร่วมอุดมการณ์ หรืออีกนัยหนึ่งก็เกรงว่าจะเป็นความสูญเสียที่สูญเปล่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การสอนหนังสือในมหาวิทยาลัยแตกต่างจากการสอนหนังสือในระดับโรงเรียนก็คงจะตรงที่ว่า ผู้สอนในระดับมหาวิทยาลัยไม่ได้เรียนการสอนมาก่อน อาจจะมีการอบรมเรื่องการเรียนการสอนบ้าง มีการประเมินผลให้ผู้สอนพิจารณาปรับปรุงตนเองบ้าง มีการประเมินตนเองบ้าง แต่ถึงที่สุดแล้ว ผู้สอนมีส่วนสร้างระบบการเรียนการสอนด้วยตนเอง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"อาร์บอรีทั่ม" (Arboretum) เป็นสวนพฤกษศาสตร์ขนาดใหญ่ร่วม 3 พันไร่ของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน สวนนี้ไม่ได้ตั้งอยู่ในบริเวณที่ตั้งมหาวิทยาลัย แต่ก็อยู่ห่างออกไปไม่ไกลนัก หากขยันเดิน สักชั่วโมงหนึ่งก็ถึง ถีบจักรยานไปก็สัก 20 นาที อาจเร็วกว่าขับรถที่ต้องเจอกับป้ายหยุด ทางแยก ไฟสัญญาณ กว่าจะถึงก็สัก 30 นาที
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักวิชาการมิได้มีสถานภาพพิเศษแตกต่างไปจากคนอื่นๆ ในสังคม เพียงแต่อาชีพนักวิชาการเป็นอาชีพที่ต้องพัฒนาความคิดความอ่านตลอดเวลา นักวิชาการจึงไม่ควรมีขอบเขตของความคิดความอ่าน พร้อมๆ กับที่ไม่ควรปิดกั้นขอบเขตของความคิดคนอื่น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
กว่า 3 เดือนที่ผ่านมาผมไปชมการแสดงดนตรีไม่รู้เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่ นึกเสียดายที่เมื่อ 10 กว่าปีก่อนที่มาเรียนไม่ค่อยมีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรมเหล่านี้เลย เมื่อวานนี้ (ตามเวลาที่อเมริกา) ผมก็เพิ่งออกจากห้องแสดงดนตรีมา จนทำให้ผมคิดขึ้นมาได้ว่า นี่ผมอยู่ในโลกไหนกัน แล้วทำไมที่ที่ผมอยู่เป็นปกติเขาถึงไม่ทำสถาบันการศึกษาให้เป็นสถานที่บ่มเพาะความเจริญของจิตใจได้อย่างนี้บ้าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เดอร์ แรธสเคลเลอร์เป็นบาร์เบียร์ของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน ตั้งอยู่ในตึกกิจกรรมนักศึกษา (ที่นี่เรียกว่า Memorial Union) ตึกกิจฯ นี้ตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1928 โน่นเลย บาร์เบียร์แห่งนี้ก็น่าจะอายุไม่น้อยไปกว่าตึกที่มันอาศัยอยู่เท่าใดนัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สัปดาห์ที่ผ่านมาผมเข้าร่วมกิจกรรมสังคมวิชาการซ้ำซ้อนกันหลายงาน ตั้งแต่บรรยายเรื่องการทำวิจัยในเวียดนามให้นักศึกษาบัณฑิตศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ฟัง ต่อด้วยปาร์ตี้ประจำปีของศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาของมหา'ลัยวิสคอนซิน ซึ่งเป็นงานแบบ potluck party และก็ฟองดูปาร์ตี้เล็กๆ ที่บ้านอาจารย์ท่านหนึ่ง ซึ่งก็ไม่ใช่อะไรมากไปกว่าขนมปังจุ่มชีสต้มเดือด ทั้งหมดนั้นได้อะไรสนุกๆ มามากมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผ่านมาได้ 3 สัปดาห์ วิชาที่ผมสอนที่วิสคอนซินเริ่มสนุกขึ้นเรื่อยๆ ในห้องมีนักเรียน 10 คน ขนาดพอๆ กับที่เคยสอนที่ธรรมศาสตร์ แต่ที่ต่างคือในห้องเดียวกันนี้มีทั้งนักเรียนปริญญาตรี โท และเอกเรียนร่วมกัน เพียงแต่ข้อกำหนดของงานและความคาดหวังจากนักเรียนระดับ ป.ตรีกับ ป.โท-เอก ย่อมแตกต่างกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ท่านถามอย่างนี้กับสื่อมวลชน ต่อหน้าสาธารณชน ใครเขาจะกล้าตอบ ก็ในเมื่อท่านมีปืนอยู่ในมือ ใครเอาปืนจี้หัวท่านไว้แล้วท่านจะตอบความในใจที่ขัดความรู้สึกเขาได้ไหมล่ะ เรื่องแค่นี้น่าจะเข้าใจนะ