Skip to main content

 

ขอบอกว่า วันนี้นอยกับบูราวอย (Michael Burawoy) พอสมควร

บูราวอยเป็นศาสตราจารย์ทางสังคมวิทยาชื่อดังจาก UC-Berkeley สหรัฐอเมริกา วันนี้เขามาเสนอเรื่อง public sociology ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บูราวอยเป็นนักวิชาการที่เสนอว่า งานวิชาการต้องตอบโจทย์ของสังคมด้วย บูราวอยพูดเก่งมาก ฟังสนุก มีพลังมาก แม้อายุน่าจะใกล้หรืออาจจะเลยเลข 7 แล้ว 
 
ข้อเสนอเขา ซึ่งเขาเองยอมรับว่าลดทอนความซับซ้อนของโลกเพื่อให้ง่ายเข้า ที่สำคัญๆ ที่เขาพูดวันนี้ก็เช่นว่า
 

- ที่จริงการทำวิชาการให้เข้าถึงสาธารณชนเป็นสิ่งที่ปฏิบัติกันทั่วโลก โดยเฉพาะในซีกโลกทางใต้ ในอเมริกาเองเสียอีกที่มีน้อย
 
- งานวิชาการทางสังคมศาสตร์มีสี่กลุ่ม แบบเน้นวิชาการล้วนๆ (professional) แบบเน้นนโยบาย (policy) แบบวิชาการแนววิพากษ์ (critical) กับแบบเน้นเพื่อสาธารณชน (public) สี่กลุ่มนี้เป็นการแบ่งงานกันทำ (division of labor)
 
- ประเด็นซับซ้อนขึ้นอีกนิดคือ ขณะที่พวกเน้นวิชาการและนโยบายเป็นพวกใช้ความรู้เพียงแค่เป็นเครื่องมือ เป็นกลไก (instrumental knowledge) แต่พวกวิพากษ์และพวกเน้นสาธารณะ เป็นพวกใช้ความรู้แบบครุ่นคิดทบทวนมากกว่า (reflexive knowledge) พูดง่ายๆ คือพวกแรกไม่ค่อยตรวจสอบทบทวนตนเอง ใช้ความรู้แบบทื่อๆ พวกหลังดูก้าวหน้ากว่าเพราะมักวิพากษ์ทั้งคนอื่นและตนเอง
 
- เขายกตัวอย่างประเทศต่างๆ ว่าแต่ละประเทศต่างก็มีพื้นที่ให้กับสี่ส่วนนี้แตกต่างกันออกไป แต่เขาไม่ได้อธิบายว่า ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
 
- บูราวอยเสนอให้ต้องเน้นแบบสุดท้ายให้มากขึ้น เพื่อกอบกู้ภาคประชาสังคมจากภัยคุกคามของรัฐกับทุน (เริ่มคุ้นๆ แล้วไหมครับ) ตรงนี้บูราวอยพยายามโชว์ว่าเขาทำการบ้านว่าเขารู้จักนักวิชาการไทยที่เป็นนักวิชาการสาธารณะเป็นอย่างดี ด้วยการอ้างทฤษฎี "สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา" (ของใครไปหากันเอาเองครับ)
 
เมื่องานสัมมนาเปิดให้แสดงความเห็น ผมกึ่งยิงกึ่งผ่าน กึ่งถามกึ่งวิจารณ์ว่า
 
"ข้อเสนออาจารย์บูราวอยค่อนข้างเสนอภาพการแบ่งงานกันทำแบบ Durkhiemian (คือต่างคนต่างทำงานสอดประสานกัน) มากกว่าจะเป็นแบบ Marxist (คือแสดงภาพความไม่ลงรอยกัน ขัดแย้งกัน อันเนื่องมาจากสังกัดทางการเมืองและพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ขัดแย้งกัน) ไม่มีการเมืองระหว่าง 4 กลุ่มงานวิชาการนั้นเลย..

"อาจารย์ไม่ได้คำนึงถึงปัญหาของความเหลื่อมล้ำทางวิชาการที่มีในระบบโลก นักวิชาการในเอเชีย หรืออย่างในไทย ในเวียดนาม ไม่สามารถทำงานแบบวิชาการล้วนได้ ส่วนหนึ่งด้วยเงื่อนไขบังคับภายในประเทศเอง แต่อีกส่วนหนึ่งก็ด้วยเงื่อนไขที่วงวิชาการตะวันตกครอบงำและยึดอำนาจการนำเสนองานวิชาการมาตลอด กีดกันการเข้าถึงโลกวิชาการของคนจากซีกโลกใต้มาตลอด (ด้วยเงื่อนไขทางความรู้ ภาษา และต้นทุนการเรียนรู้)..

"สุดท้าย ไม่ว่านักวิชาการจากซีกโลกใต้จะอยากทำงานเน้นวิชาการหรือไม่ อย่างดีก็เป็นได้แค่นักวิชาการพื้นถิ่น (แบบ native anthropoloists) นักวิชาการชั้นสองหรือสาม ที่เพียงนำเสนอข้อมูลให้นักวิชาการระดับโลกเก็บไปสร้างทฤษฎี (ลืมเหน็บไปว่า อาจารย์เองก็คงกำลังทำอย่างนั้นกับพวกเราที่นี่อยู่)..
 
บูราวอยตอบผมว่า "แน่นอนว่ามีการเมือง แต่ไม่ได้บอกรายละเอียดในตอนบรรยาย และแน่นอนว่าวิชาการเพื่อสาธารณะที่เขาหมายถึง คือเพื่อคนที่ถูกลดทอนคุณค่า คนที่ไม่สามารถมีปากมีเสียงได้ (the subaltern, the dominated)"
 
ตอนบ่าย มีการอภิปรายโดยนักวิชาการไทยและมาเลเซีย ว่าหากนำแนวคิดของบูราวอยมาวิเคราะห์ในประเทศตน ตามประสบการณ์แต่ละคนแล้วจะเป็นอย่างไร  ผมขอไม่สรุป (ไม่ใช่ว่าไม่ดี แต่จะยาวไป) บูราวอยก็นั่งฟังอยู่ด้วย เมื่อเปิดให้ตั้งคำถาม ผมออกตัวว่า "I'm sorry if I will be nasty." แล้วถามต่อจากที่เก็บไว้ไม่ได้ถามเมื่อเช้าว่า

"เราพูดกันในที่นี้ราวกับว่า หากเราเพียงวิจารณ์นักวิชาการที่ทำงานแบบเน้นวิชาการล้วน กับวิขาการณ์พวกเน้นวิชาการเพื่อผลิตนโยบาย แล้วหันมาทำแบบเน้นสาธารณะขึ้น เราก็จะมาถูกทางและดูดีมีศีลธรรมกว่าพวกนักวิชาการเหล่านั้นแล้ว..

"แต่เราถามด้วยหรือเปล่าว่า เราจะตอบสนองสาธารณชนแบบไหน เราจะเลือกเน้นสาธารณชนไปในทางไหน..

"เช่น การที่เมื่อเช้าบูราวอยอ้าง "สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา" นั่นก็เป็นวิชาการที่เน้นสาธารณะแบบหนึ่ง การที่งานนี้มีศาสตราจารย์อมรามาเปิดงานแล้วท่านเล่าถึงประสบการณ์การทำงานวิชาการแบบเน้นสาธารณะ นั่นก็เป็น public แบบหนึ่ง..

"แต่ยังมีนักวิชาการสาธารณะแบบอื่นๆ ที่ไม่ได้เน้นแนวทางเดียวกับที่กล่าวมานั้น ความเป็นสาธารณะจึงไม่ได้มีแนวทางเดียว ลำพังการทำงานสาธารณะจึงไม่ได้ทำให้นักวิชาการเป็นนักวิชาการสาธารณะโดยอัตโนมัติ แต่เราต้องเข้าใจการเมืองของการเป็นนักวิชาการสาธารณะด้วยไม่ใช่หรือ.."

เวลาหมด และบูราวอยเองก็คงนอยผมแล้วเหมือนกัน เลยไม่ได้ตอบอะไร แต่ที่จริงมีอีกสองประเด็นไม่ทันได้พูด เพราะรู้สึกว่าตนเองถามและวิจารณ์มากอยู่คนเดียวเกินไปแล้ว เลยขอทิ้งไว้ตรงนี้ว่า

"แต่ละประเทศมีเพดานของการพูดเรื่องสาธารณะไม่เหมือนกัน เช่น เวียดนามมีเรื่องพรรคคอมมิวนิสต์และเรื่องสิทธิมนุษยชน ไทยมีเรื่องสถาบันกษัตริย์ เคยได้ยินนักวิชาการญี่ปุ่นบ่นว่า วิจารณ์เรื่องโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ไม่ได้..

"ในเมื่อมีเรื่องสาธารณะบางเรื่องที่พูดถึงไม่ได้มากมายในแต่ละประเทศ บูราวอยจะว่านักวิชาการในบางประเทศไม่ยอมทำงานสาธารณะเต็มปากเต็มคำไม่ได้เช่นกัน เพราะเงื่อนไขทางการเมืองของแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน.."
 
อีกประเด็นคือ ในระดับของระบบโลก..
 
"การทำงานเพื่อสาธารณะในประเทศหนึ่ง อาจเป็นการทำงานเพื่อตอบสนองนโยบายของประเทศอื่น เช่น ที่ผ่านมาประเด็นเรื่องกระบวนการพัฒนาเป็นประชาธิปไตย เป็นการดำเนินตามนโยบายเสรีนิยมของประเทศในโลกตะวันตก แล้วนำมาเผนแพร่ให้เป็นประเด็นสาธารณะในประเทศโลกที่สาม หรือการเน้นประชาสังคม ก็เป็นความคิดเชิงนโยบายในอีกซีกโลกหนึ่งมากก่อนไม่ใช่หรือ..

"ดังนั้น ความเป็นสาธารณะ เป็นนโยบาย เป็นวิชาการล้วน หรือแม้แต่การเป็นวิชาการแนววิพากษ์ในแต่ละบริบทการเมืองในโลกนี้ มิต่่างกันหรอกหรือ น่าเสียดายที่บูราวอยเป็นนักมานุษยวิทยามาก่อน แต่มองข้ามความเป็นท้องถิ่นของความรู้แบบต่างๆ"
 
ความจริงผมก็ควรจะเขียนวิจารณ์บูราวอยให้เป็นเรื่องเป็นราวแบบ "วิชาการ" นั่นแหละ แต่ขอยกเอาไว้ก่อนแล้วกันครับ
 
พรุ่งนี้เขาก็ยังมีนะครับ หากใครสนใจยังไปฟังได้ ดูรายละเอียดที่  "Confronting Unequal Worlds of Development: 

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
อันที่จริงผมก็นึกไม่ถึงว่าจะมีคนสนใจข่าวนี้กันมากนัก เรื่องอาจจะเป็นเพราะมีการใช้คำในการรายงานข่าวเบื้องต้นอย่างคลาดเคลื่อนไป ก็เลยทำให้เป็นที่น่าตกใจ แต่อีกนัยหนึ่งก็ชี้ให้เห็นปัญหาการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนจนกระทั่งเมื่อมีการแสดงการต่อต้านด้วยการปฏิเสธที่จะอยู่ใต้อำนาจกดทับนั้น คนก็จึงตอบรับกันอย่างกระหน่ำ อย่างไรก็ดี ผมก็อยากชี้แจงให้กระจ่างเพิ่มเติมว่า ทำไมผมจึงเลือกที่จะแสดงสถานภาพในการเดินทางมาต่างประเทศของผมในครั้งนี้เพิ่มเติมผ่านข้อเขียนนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เพิ่งผ่านมาเพียง 5 เดือนอาจจะยังเร็วเกินไปที่จะถามว่า หลังรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 แล้วขบวนการประชาชนจะเป็นอย่างไรต่อไป แต่หากมองย้อนกลับไป แล้วมองไปข้างหน้าอีกสักหน่อย ก็น่าจะลองคิดถกเถียงกันบ้างว่า ขบวนการประชาชนน่าจะไปทางไหนต่อไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
TED รายการบรรยายสาธารณะที่มีชื่อเสียงและผมก็ติดตามเรียนรู้มาสม่ำเสมอ ได้เผยแพร่คลิปบรรยายของคีท เชน นักเศรษฐศาสตร์ที่เสนอข้อถกเถียงว่า ภาษามีความเชื่อมโยงกับการออมตั้งแต่เมื่อ 2 ปีที่แล้ว แต่ผมเพิ่งได้ยินเกี่ยวกับการศึกษานี้มาตั้งแต่ต้นภาคการศึกษานี้ในชั้นเรียนวิชามานุษยวิทยาภาษา ที่นักศึกษาคนหนึ่งเอ่ยถึงการศึกษานี้ และเพิ่งได้ดูด้วยตัวเองเมื่อ 3-4 วันก่อนนี้เอง เห็นว่าน่าสนใจดีก็เลยนำไปให้นักศึกษาดูและถกเถียงกันในชั้น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การอัตวินิบาตกรรมของคุณนวมทอง ไพรวัลย์ทำให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง นัยหนึ่งถือว่าเป็นการประท้วงต่อการรัฐประหาร อีกนัยหนึ่งถือเป็นการยืนยันความจริงจังและบริสุทธิ์ใจต่ออุดมการณ์ อีกนัยหนึ่งอาจปลุกเร้าสำนึกของผู้ร่วมอุดมการณ์ หรืออีกนัยหนึ่งก็เกรงว่าจะเป็นความสูญเสียที่สูญเปล่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การสอนหนังสือในมหาวิทยาลัยแตกต่างจากการสอนหนังสือในระดับโรงเรียนก็คงจะตรงที่ว่า ผู้สอนในระดับมหาวิทยาลัยไม่ได้เรียนการสอนมาก่อน อาจจะมีการอบรมเรื่องการเรียนการสอนบ้าง มีการประเมินผลให้ผู้สอนพิจารณาปรับปรุงตนเองบ้าง มีการประเมินตนเองบ้าง แต่ถึงที่สุดแล้ว ผู้สอนมีส่วนสร้างระบบการเรียนการสอนด้วยตนเอง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"อาร์บอรีทั่ม" (Arboretum) เป็นสวนพฤกษศาสตร์ขนาดใหญ่ร่วม 3 พันไร่ของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน สวนนี้ไม่ได้ตั้งอยู่ในบริเวณที่ตั้งมหาวิทยาลัย แต่ก็อยู่ห่างออกไปไม่ไกลนัก หากขยันเดิน สักชั่วโมงหนึ่งก็ถึง ถีบจักรยานไปก็สัก 20 นาที อาจเร็วกว่าขับรถที่ต้องเจอกับป้ายหยุด ทางแยก ไฟสัญญาณ กว่าจะถึงก็สัก 30 นาที
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักวิชาการมิได้มีสถานภาพพิเศษแตกต่างไปจากคนอื่นๆ ในสังคม เพียงแต่อาชีพนักวิชาการเป็นอาชีพที่ต้องพัฒนาความคิดความอ่านตลอดเวลา นักวิชาการจึงไม่ควรมีขอบเขตของความคิดความอ่าน พร้อมๆ กับที่ไม่ควรปิดกั้นขอบเขตของความคิดคนอื่น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
กว่า 3 เดือนที่ผ่านมาผมไปชมการแสดงดนตรีไม่รู้เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่ นึกเสียดายที่เมื่อ 10 กว่าปีก่อนที่มาเรียนไม่ค่อยมีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรมเหล่านี้เลย เมื่อวานนี้ (ตามเวลาที่อเมริกา) ผมก็เพิ่งออกจากห้องแสดงดนตรีมา จนทำให้ผมคิดขึ้นมาได้ว่า นี่ผมอยู่ในโลกไหนกัน แล้วทำไมที่ที่ผมอยู่เป็นปกติเขาถึงไม่ทำสถาบันการศึกษาให้เป็นสถานที่บ่มเพาะความเจริญของจิตใจได้อย่างนี้บ้าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เดอร์ แรธสเคลเลอร์เป็นบาร์เบียร์ของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน ตั้งอยู่ในตึกกิจกรรมนักศึกษา (ที่นี่เรียกว่า Memorial Union) ตึกกิจฯ นี้ตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1928 โน่นเลย บาร์เบียร์แห่งนี้ก็น่าจะอายุไม่น้อยไปกว่าตึกที่มันอาศัยอยู่เท่าใดนัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สัปดาห์ที่ผ่านมาผมเข้าร่วมกิจกรรมสังคมวิชาการซ้ำซ้อนกันหลายงาน ตั้งแต่บรรยายเรื่องการทำวิจัยในเวียดนามให้นักศึกษาบัณฑิตศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ฟัง ต่อด้วยปาร์ตี้ประจำปีของศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาของมหา'ลัยวิสคอนซิน ซึ่งเป็นงานแบบ potluck party และก็ฟองดูปาร์ตี้เล็กๆ ที่บ้านอาจารย์ท่านหนึ่ง ซึ่งก็ไม่ใช่อะไรมากไปกว่าขนมปังจุ่มชีสต้มเดือด ทั้งหมดนั้นได้อะไรสนุกๆ มามากมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผ่านมาได้ 3 สัปดาห์ วิชาที่ผมสอนที่วิสคอนซินเริ่มสนุกขึ้นเรื่อยๆ ในห้องมีนักเรียน 10 คน ขนาดพอๆ กับที่เคยสอนที่ธรรมศาสตร์ แต่ที่ต่างคือในห้องเดียวกันนี้มีทั้งนักเรียนปริญญาตรี โท และเอกเรียนร่วมกัน เพียงแต่ข้อกำหนดของงานและความคาดหวังจากนักเรียนระดับ ป.ตรีกับ ป.โท-เอก ย่อมแตกต่างกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ท่านถามอย่างนี้กับสื่อมวลชน ต่อหน้าสาธารณชน ใครเขาจะกล้าตอบ ก็ในเมื่อท่านมีปืนอยู่ในมือ ใครเอาปืนจี้หัวท่านไว้แล้วท่านจะตอบความในใจที่ขัดความรู้สึกเขาได้ไหมล่ะ เรื่องแค่นี้น่าจะเข้าใจนะ