Skip to main content

 

ขอบอกว่า วันนี้นอยกับบูราวอย (Michael Burawoy) พอสมควร

บูราวอยเป็นศาสตราจารย์ทางสังคมวิทยาชื่อดังจาก UC-Berkeley สหรัฐอเมริกา วันนี้เขามาเสนอเรื่อง public sociology ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บูราวอยเป็นนักวิชาการที่เสนอว่า งานวิชาการต้องตอบโจทย์ของสังคมด้วย บูราวอยพูดเก่งมาก ฟังสนุก มีพลังมาก แม้อายุน่าจะใกล้หรืออาจจะเลยเลข 7 แล้ว 
 
ข้อเสนอเขา ซึ่งเขาเองยอมรับว่าลดทอนความซับซ้อนของโลกเพื่อให้ง่ายเข้า ที่สำคัญๆ ที่เขาพูดวันนี้ก็เช่นว่า
 

- ที่จริงการทำวิชาการให้เข้าถึงสาธารณชนเป็นสิ่งที่ปฏิบัติกันทั่วโลก โดยเฉพาะในซีกโลกทางใต้ ในอเมริกาเองเสียอีกที่มีน้อย
 
- งานวิชาการทางสังคมศาสตร์มีสี่กลุ่ม แบบเน้นวิชาการล้วนๆ (professional) แบบเน้นนโยบาย (policy) แบบวิชาการแนววิพากษ์ (critical) กับแบบเน้นเพื่อสาธารณชน (public) สี่กลุ่มนี้เป็นการแบ่งงานกันทำ (division of labor)
 
- ประเด็นซับซ้อนขึ้นอีกนิดคือ ขณะที่พวกเน้นวิชาการและนโยบายเป็นพวกใช้ความรู้เพียงแค่เป็นเครื่องมือ เป็นกลไก (instrumental knowledge) แต่พวกวิพากษ์และพวกเน้นสาธารณะ เป็นพวกใช้ความรู้แบบครุ่นคิดทบทวนมากกว่า (reflexive knowledge) พูดง่ายๆ คือพวกแรกไม่ค่อยตรวจสอบทบทวนตนเอง ใช้ความรู้แบบทื่อๆ พวกหลังดูก้าวหน้ากว่าเพราะมักวิพากษ์ทั้งคนอื่นและตนเอง
 
- เขายกตัวอย่างประเทศต่างๆ ว่าแต่ละประเทศต่างก็มีพื้นที่ให้กับสี่ส่วนนี้แตกต่างกันออกไป แต่เขาไม่ได้อธิบายว่า ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
 
- บูราวอยเสนอให้ต้องเน้นแบบสุดท้ายให้มากขึ้น เพื่อกอบกู้ภาคประชาสังคมจากภัยคุกคามของรัฐกับทุน (เริ่มคุ้นๆ แล้วไหมครับ) ตรงนี้บูราวอยพยายามโชว์ว่าเขาทำการบ้านว่าเขารู้จักนักวิชาการไทยที่เป็นนักวิชาการสาธารณะเป็นอย่างดี ด้วยการอ้างทฤษฎี "สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา" (ของใครไปหากันเอาเองครับ)
 
เมื่องานสัมมนาเปิดให้แสดงความเห็น ผมกึ่งยิงกึ่งผ่าน กึ่งถามกึ่งวิจารณ์ว่า
 
"ข้อเสนออาจารย์บูราวอยค่อนข้างเสนอภาพการแบ่งงานกันทำแบบ Durkhiemian (คือต่างคนต่างทำงานสอดประสานกัน) มากกว่าจะเป็นแบบ Marxist (คือแสดงภาพความไม่ลงรอยกัน ขัดแย้งกัน อันเนื่องมาจากสังกัดทางการเมืองและพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ขัดแย้งกัน) ไม่มีการเมืองระหว่าง 4 กลุ่มงานวิชาการนั้นเลย..

"อาจารย์ไม่ได้คำนึงถึงปัญหาของความเหลื่อมล้ำทางวิชาการที่มีในระบบโลก นักวิชาการในเอเชีย หรืออย่างในไทย ในเวียดนาม ไม่สามารถทำงานแบบวิชาการล้วนได้ ส่วนหนึ่งด้วยเงื่อนไขบังคับภายในประเทศเอง แต่อีกส่วนหนึ่งก็ด้วยเงื่อนไขที่วงวิชาการตะวันตกครอบงำและยึดอำนาจการนำเสนองานวิชาการมาตลอด กีดกันการเข้าถึงโลกวิชาการของคนจากซีกโลกใต้มาตลอด (ด้วยเงื่อนไขทางความรู้ ภาษา และต้นทุนการเรียนรู้)..

"สุดท้าย ไม่ว่านักวิชาการจากซีกโลกใต้จะอยากทำงานเน้นวิชาการหรือไม่ อย่างดีก็เป็นได้แค่นักวิชาการพื้นถิ่น (แบบ native anthropoloists) นักวิชาการชั้นสองหรือสาม ที่เพียงนำเสนอข้อมูลให้นักวิชาการระดับโลกเก็บไปสร้างทฤษฎี (ลืมเหน็บไปว่า อาจารย์เองก็คงกำลังทำอย่างนั้นกับพวกเราที่นี่อยู่)..
 
บูราวอยตอบผมว่า "แน่นอนว่ามีการเมือง แต่ไม่ได้บอกรายละเอียดในตอนบรรยาย และแน่นอนว่าวิชาการเพื่อสาธารณะที่เขาหมายถึง คือเพื่อคนที่ถูกลดทอนคุณค่า คนที่ไม่สามารถมีปากมีเสียงได้ (the subaltern, the dominated)"
 
ตอนบ่าย มีการอภิปรายโดยนักวิชาการไทยและมาเลเซีย ว่าหากนำแนวคิดของบูราวอยมาวิเคราะห์ในประเทศตน ตามประสบการณ์แต่ละคนแล้วจะเป็นอย่างไร  ผมขอไม่สรุป (ไม่ใช่ว่าไม่ดี แต่จะยาวไป) บูราวอยก็นั่งฟังอยู่ด้วย เมื่อเปิดให้ตั้งคำถาม ผมออกตัวว่า "I'm sorry if I will be nasty." แล้วถามต่อจากที่เก็บไว้ไม่ได้ถามเมื่อเช้าว่า

"เราพูดกันในที่นี้ราวกับว่า หากเราเพียงวิจารณ์นักวิชาการที่ทำงานแบบเน้นวิชาการล้วน กับวิขาการณ์พวกเน้นวิชาการเพื่อผลิตนโยบาย แล้วหันมาทำแบบเน้นสาธารณะขึ้น เราก็จะมาถูกทางและดูดีมีศีลธรรมกว่าพวกนักวิชาการเหล่านั้นแล้ว..

"แต่เราถามด้วยหรือเปล่าว่า เราจะตอบสนองสาธารณชนแบบไหน เราจะเลือกเน้นสาธารณชนไปในทางไหน..

"เช่น การที่เมื่อเช้าบูราวอยอ้าง "สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา" นั่นก็เป็นวิชาการที่เน้นสาธารณะแบบหนึ่ง การที่งานนี้มีศาสตราจารย์อมรามาเปิดงานแล้วท่านเล่าถึงประสบการณ์การทำงานวิชาการแบบเน้นสาธารณะ นั่นก็เป็น public แบบหนึ่ง..

"แต่ยังมีนักวิชาการสาธารณะแบบอื่นๆ ที่ไม่ได้เน้นแนวทางเดียวกับที่กล่าวมานั้น ความเป็นสาธารณะจึงไม่ได้มีแนวทางเดียว ลำพังการทำงานสาธารณะจึงไม่ได้ทำให้นักวิชาการเป็นนักวิชาการสาธารณะโดยอัตโนมัติ แต่เราต้องเข้าใจการเมืองของการเป็นนักวิชาการสาธารณะด้วยไม่ใช่หรือ.."

เวลาหมด และบูราวอยเองก็คงนอยผมแล้วเหมือนกัน เลยไม่ได้ตอบอะไร แต่ที่จริงมีอีกสองประเด็นไม่ทันได้พูด เพราะรู้สึกว่าตนเองถามและวิจารณ์มากอยู่คนเดียวเกินไปแล้ว เลยขอทิ้งไว้ตรงนี้ว่า

"แต่ละประเทศมีเพดานของการพูดเรื่องสาธารณะไม่เหมือนกัน เช่น เวียดนามมีเรื่องพรรคคอมมิวนิสต์และเรื่องสิทธิมนุษยชน ไทยมีเรื่องสถาบันกษัตริย์ เคยได้ยินนักวิชาการญี่ปุ่นบ่นว่า วิจารณ์เรื่องโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ไม่ได้..

"ในเมื่อมีเรื่องสาธารณะบางเรื่องที่พูดถึงไม่ได้มากมายในแต่ละประเทศ บูราวอยจะว่านักวิชาการในบางประเทศไม่ยอมทำงานสาธารณะเต็มปากเต็มคำไม่ได้เช่นกัน เพราะเงื่อนไขทางการเมืองของแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน.."
 
อีกประเด็นคือ ในระดับของระบบโลก..
 
"การทำงานเพื่อสาธารณะในประเทศหนึ่ง อาจเป็นการทำงานเพื่อตอบสนองนโยบายของประเทศอื่น เช่น ที่ผ่านมาประเด็นเรื่องกระบวนการพัฒนาเป็นประชาธิปไตย เป็นการดำเนินตามนโยบายเสรีนิยมของประเทศในโลกตะวันตก แล้วนำมาเผนแพร่ให้เป็นประเด็นสาธารณะในประเทศโลกที่สาม หรือการเน้นประชาสังคม ก็เป็นความคิดเชิงนโยบายในอีกซีกโลกหนึ่งมากก่อนไม่ใช่หรือ..

"ดังนั้น ความเป็นสาธารณะ เป็นนโยบาย เป็นวิชาการล้วน หรือแม้แต่การเป็นวิชาการแนววิพากษ์ในแต่ละบริบทการเมืองในโลกนี้ มิต่่างกันหรอกหรือ น่าเสียดายที่บูราวอยเป็นนักมานุษยวิทยามาก่อน แต่มองข้ามความเป็นท้องถิ่นของความรู้แบบต่างๆ"
 
ความจริงผมก็ควรจะเขียนวิจารณ์บูราวอยให้เป็นเรื่องเป็นราวแบบ "วิชาการ" นั่นแหละ แต่ขอยกเอาไว้ก่อนแล้วกันครับ
 
พรุ่งนี้เขาก็ยังมีนะครับ หากใครสนใจยังไปฟังได้ ดูรายละเอียดที่  "Confronting Unequal Worlds of Development: 

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
รัฐประหารครั้งนี้มีอะไรใหม่ๆ หลายอย่าง ผมไม่เรียกว่าเป็นนวัตกรรมหรอก เพราะนวัตกรรมเป็นคำเชิงบวก แต่ผมเรียกว่าเป็นนวัตหายนะ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในภาคการศึกษาที่ผ่านมา ผมสอนหนังสืออยู่ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน เนื่องจากเป็นการสอนชั่วคราว จึงรับผิดชอบสอนเพียงวิชาเดียว แต่ผมก็เป็นเจ้าของวิชาอย่างเต็มตัว จึงได้เรียนรู้กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่นี่เต็มที่ตลอดกระบวนการ มีหลายอย่างที่น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย จึงอยากบันทึกไว้ ณ ที่นี้ ให้ผู้อ่านชาวไทยได้ทราบกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (เวลาในประเทศไทย) เป็นวันเด็กในประเทศไทย ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา ผมเดินทางไปดูกิจกรรมต่างๆ ในประเทศซึ่งผมพำนักอยู่ขณะนี้จัดด้วยความมุ่งหวังให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ แล้วก็ให้รู้สึกสะท้อนใจแล้วสงสัยว่า เด็กไทยเติบโตมากับอะไร คุณค่าอะไรที่เราสอนกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สิ้นปีเก่าขึ้นปีใหม่ปีนี้ไม่ค่อยชวนให้ผมรู้สึกอะไรมากนัก ความหดหู่จากเหตุการณ์เมื่อกลางปีที่แล้วยังคงเกาะกุมจิตใจ ยิ่งมองย้อนกลับไปก็ยิ่งยังความโกรธขึ้งและสิ้นหวังมากขึ้นไปอีก คงมีแต่การพบปะผู้คนนั่นแหละที่ชวนให้รู้สึกพิเศษ วันสิ้นปีก็คงจะดีอย่างนี้นี่เอง ที่จะได้เจอะเจอคนที่ไม่ได้เจอกันนานๆ สักครั้งหนึ่ง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเพิ่งกลับจากชิคาโก เดินทางไปสำรวจพิพิธภัณฑ์กับแขกผู้ใหญ่จากเมืองไทย ท่านมีหน้าที่จัดการด้านพิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ก็เลยพลอยได้เห็นพิพิธภัณฑ์จากมุมมองของคนจัดพิพิธภัณฑ์ คือเกินเลยไปจากการอ่านเอาเรื่อง แต่อ่านเอากระบวนการจัดทำพิพิธภัณฑ์ด้วย แต่ส่วนตัวผมเองก็ไม่ได้อะไรมากนักหรอก แค่ติดตามเขาไปแล้วก็เรียนรู้เท่าที่จะได้มามากบ้างน้อยบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวันส่งท้ายปีเก่าพาแขกชาวไทยคนหนึ่งไปเยี่ยมชมภาควิชามานุษยวิทยาของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ก็เลยทำให้ได้รู้จักอีก 2 ส่วนของภาควิชามานุษยวิทยาที่นี่ว่ามีความจริงจังลึกซึ้งขนาดไหน ทั้งๆ ที่ก็ได้เคยเรียนที่นี่มา และได้กลับมาสอนหนังสือที่นี่ แต่ก็ไม่เคยรู้จักที่นี่มากเท่าวันนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วาทกรรม "ประชาธิปไตยแบบไทย" ถูกนำกลับมาใช้เสมอๆ เพื่อลดทอนความน่าเชื่อถือของแนวคิดประชาธิปไตยสากล 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นข่าวงาน "นิธิ 20 ปีให้หลัง" ที่ "มติชน" แล้วก็น่ายินดีในหลายสถานด้วยกัน  อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์มีคนรักใคร่นับถือมากมาย จึงมีแขกเหรื่อในวงการนักเขียน นักวิชาการ ไปร่วมงานเป็นจำนวนมาก เรียกว่ากองทัพปัญญาชนต่างตบเท้าไปร่วมงานนี้กันเลยทีเดียว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (12 ธค. 2557) ปิดภาคการศึกษาแล้ว เหลือรออ่านบทนิพนธ์ทางมานุษยวิทยาภาษาของนักศึกษา ที่ผมให้ทำแทนการสอบปลายภาค เมื่อเหลือเวลาอีก 15 นาทีสุดท้าย ตามธรรมเนียมส่วนตัวของผมแล้ว ในวันปิดสุดท้ายของการเรียน ผมมักถามนักศึกษาว่าพวกเขาได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ ที่ไม่ได้เคยเรียนมาก่อนจากวิชานี้บ้าง นักศึกษาทั้ง 10 คนมีคำตอบต่างๆ กันดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเพิ่งมีโอกาสได้ดูภาพยนตร์ (ขอเรียกง่ายๆ ว่า "หนัง" ก็แล้วกันครับ) เรื่องที่เป็นประเด็นใหญ่เมื่อ 2-3 วันก่อน ที่จริงก็ถ้าไม่มีเพื่อนๆ ถกเถียงกันมากมายถึงฉากเด็กวาดรูปฮิตเลอร์ ผมก็คงไม่อยากดูหรอก แต่เมื่อดูแล้วก็คิดว่า หนังเรื่องนี้สะท้อนความล้มเหลวของการรัฐประหารครั้งนี้ได้อย่างดี มากกว่านั้นคือ สะท้อนความลังเล สับสน และสับปลับของสังคมไทยได้เป็นอย่างดี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเป็นคนหนึ่งที่ยืนยันแม้จะไม่ถึงกับต่อต้านมาตลอดว่า เราไม่ควรเปิดโครงการนานาชาติในประเทศไทย ด้วยเหตุผลสำคัญ 2-3 ประการ หนึ่ง อยากให้ภาษาไทยพัฒนาไปตามพัฒนาการของความรู้สากล สอง คิดว่านักศึกษาไทยจะเป็นผู้เรียนเสียส่วนใหญ่และจึงจะทำให้ได้นักเรียนที่ภาษาไม่ดีพอ การศึกษาก็จะแย่ตามไปด้วย สาม อาจารย์ผู้สอน (รวมทั้งผมเอง) ก็ไม่ได้ภาษาอังกฤษดีมากนัก การเรียนการสอนก็จะยิ่งตะกุกตะกัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายปีที่ผ่านมา สังคมปรามาสว่านักศึกษาเอาใจใส่แต่ตัวเอง ถ้าไม่สนใจเฉพาะเสื้อผ้าหน้าผม คอสเพล มังหงะ กับกระทู้ 18+ ก็เอาแต่จมดิ่งกับการทำความเข้าใจตนเอง ประเด็นอัตลักษณ์ บริโภคนิยม เพศภาวะ เพศวิถี เกลื่อนกระดานสนทนาที่ซีเรียสจริงจังเต็มไปหมด