Skip to main content

กลับมาเยือนเวียดนามคราวนี้ (7-12 พฤศจิกายน 2555) ได้พบกับเวียดนามยุคฟองสบู่ใกล้จะแตก พบกับความเปลี่ยนแปลงมากมาย ยิ่งเมื่อได้เดินทางแบบได้สัมผัสเวียดนามใกล้ชิดกว่าเมื่อพานักศึกษาไปเมื่อเดือนพฤษภาคม ก็ยิ่งได้รับรู้ความแปลกใหม่หลายประการ ขอบันทึกแบบไวๆ ว่า

คนฮานอยเวลานี้กินบู๋นจ่า (ขนมจีนหมูปิ้ง) ด้วยช้อนและตะเกียบ ไม่ยกถ้วยขึ้นจ่อปากแบบเมื่อก่อน คนที่กินแบบเก่ากลายเป็นคนไร้มารยาทไปเลย; กระดาษทิชชูตามร้านข้างถนนในฮานอยเนื้อเหนียวแน่นขึ้น ใส่กล่องอย่างดี; เฝ่อลอง (ก๋วยเตี๋ยวนายลอง) ที่ตลาดแบ๊คควา ฮานอย ยังอร่อยเหมือนเดิม แถมช้อนตักน้ำซดเนื้อดี จับได้มั่นคงขึ้น ก้านยาวไม่ตกลงไปในชามง่ายๆ; แก้วน้ำชาตามบ้านสูงเรียวขึ้น ทรงใหม่นี้นิยมกันตั้งแต่ฮานอยถึงเซอนลา
 
พี่ถัง คนขับรถที่จ้างกันเป็นประจำ เปลี่ยนรถใหม่แล้ว; พี่ถังกลายเป็นนักถ่ายรูปตัวยง ระหว่างทาง แกชวนพวกเราหยุดถ่ายรูปบ่อยกว่าพวกเราเอง แถมแกยังถ่ายรูปมากกว่าพวกเรา มีกล้องทันสมัยกว่าพวกเรา
 
เครื่องกรองน้ำดื่มในหมู่บ้านที่มายเจิวนิยมกันมาถึงเซอนลา; บ้านเรือนในหมู่บ้านที่เซอนลาล้อมรั้วด้วยอิฐก่อ ดูอึดอัดนัยตา เรือนไม้น้อยลง เรือนตึกมากขึ้น เรือนตึกสวยๆ แบบคนรวยๆ ในฮานอยมีมากขึ้น; ร้านอาหารไทในเซอนลามีมากขึ้น หากินง่ายขึ้น แต่หาอร่อยยาก; คนใช้เครื่องจักรในการเกษตรมากขึ้น เห็นหัวรถไถพ่วงรถลาก ไม่เห็นเกวียนเทียมวัวควายแล้ว
 

คนรู้จักล้มหายตายจากกันไปหลายคน; เพื่อนๆ ที่เมืองลามีรถขับกันมากขึ้น รถแท็กซี่วิ่งกันขวั่กไขว่เมืองเซอนลา; พี่เขยของเพื่อน ที่เดิมเคยนั่งร่ำเหล้ากันในก้นครัว ตอนนี้ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าจังหวัดเซอนลา ส่วนหนุ่มหล่อนักร้องนักแสดงประจำหมู่บ้าน แต่งงาน มีลูก เป็นเลขาธิการพรรคประจำเขตใจกลางเมืองเซอนลา; ผัวเมียที่เคยทำงานด้านการศึกษา รู้หนังสือไทดำดี เมื่อเกษียณแล้วกลายเป็นหมอยากลางบ้านอยู่กลางเมืองลา

 
มีหลายอย่างที่ไม่เปลี่ยนแปลง มีความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างที่เพียงซ้อนทับตอกย้ำโครงสร้างเดิมๆ แต่ก็มีความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างที่รับรู้ได้แม้ด้วยเพียงแค่สัมผัสพื้นผิว ความเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่งที่บอกเล่าไม่ได้ง่ายๆ นักคือ ผู้คนเริ่มสงสัยกับความพยายามดื้อดึงฝืนความเปลี่ยนแปลงของรัฐมากขึ้น นี่เป็นอีกความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ที่จะส่งผลและแผลลึกกับเวีียดนามในเร็ววัน
 
 
 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
รัฐประหารครั้งนี้มีอะไรใหม่ๆ หลายอย่าง ผมไม่เรียกว่าเป็นนวัตกรรมหรอก เพราะนวัตกรรมเป็นคำเชิงบวก แต่ผมเรียกว่าเป็นนวัตหายนะ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในภาคการศึกษาที่ผ่านมา ผมสอนหนังสืออยู่ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน เนื่องจากเป็นการสอนชั่วคราว จึงรับผิดชอบสอนเพียงวิชาเดียว แต่ผมก็เป็นเจ้าของวิชาอย่างเต็มตัว จึงได้เรียนรู้กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่นี่เต็มที่ตลอดกระบวนการ มีหลายอย่างที่น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย จึงอยากบันทึกไว้ ณ ที่นี้ ให้ผู้อ่านชาวไทยได้ทราบกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (เวลาในประเทศไทย) เป็นวันเด็กในประเทศไทย ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา ผมเดินทางไปดูกิจกรรมต่างๆ ในประเทศซึ่งผมพำนักอยู่ขณะนี้จัดด้วยความมุ่งหวังให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ แล้วก็ให้รู้สึกสะท้อนใจแล้วสงสัยว่า เด็กไทยเติบโตมากับอะไร คุณค่าอะไรที่เราสอนกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สิ้นปีเก่าขึ้นปีใหม่ปีนี้ไม่ค่อยชวนให้ผมรู้สึกอะไรมากนัก ความหดหู่จากเหตุการณ์เมื่อกลางปีที่แล้วยังคงเกาะกุมจิตใจ ยิ่งมองย้อนกลับไปก็ยิ่งยังความโกรธขึ้งและสิ้นหวังมากขึ้นไปอีก คงมีแต่การพบปะผู้คนนั่นแหละที่ชวนให้รู้สึกพิเศษ วันสิ้นปีก็คงจะดีอย่างนี้นี่เอง ที่จะได้เจอะเจอคนที่ไม่ได้เจอกันนานๆ สักครั้งหนึ่ง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเพิ่งกลับจากชิคาโก เดินทางไปสำรวจพิพิธภัณฑ์กับแขกผู้ใหญ่จากเมืองไทย ท่านมีหน้าที่จัดการด้านพิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ก็เลยพลอยได้เห็นพิพิธภัณฑ์จากมุมมองของคนจัดพิพิธภัณฑ์ คือเกินเลยไปจากการอ่านเอาเรื่อง แต่อ่านเอากระบวนการจัดทำพิพิธภัณฑ์ด้วย แต่ส่วนตัวผมเองก็ไม่ได้อะไรมากนักหรอก แค่ติดตามเขาไปแล้วก็เรียนรู้เท่าที่จะได้มามากบ้างน้อยบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวันส่งท้ายปีเก่าพาแขกชาวไทยคนหนึ่งไปเยี่ยมชมภาควิชามานุษยวิทยาของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ก็เลยทำให้ได้รู้จักอีก 2 ส่วนของภาควิชามานุษยวิทยาที่นี่ว่ามีความจริงจังลึกซึ้งขนาดไหน ทั้งๆ ที่ก็ได้เคยเรียนที่นี่มา และได้กลับมาสอนหนังสือที่นี่ แต่ก็ไม่เคยรู้จักที่นี่มากเท่าวันนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วาทกรรม "ประชาธิปไตยแบบไทย" ถูกนำกลับมาใช้เสมอๆ เพื่อลดทอนความน่าเชื่อถือของแนวคิดประชาธิปไตยสากล 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นข่าวงาน "นิธิ 20 ปีให้หลัง" ที่ "มติชน" แล้วก็น่ายินดีในหลายสถานด้วยกัน  อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์มีคนรักใคร่นับถือมากมาย จึงมีแขกเหรื่อในวงการนักเขียน นักวิชาการ ไปร่วมงานเป็นจำนวนมาก เรียกว่ากองทัพปัญญาชนต่างตบเท้าไปร่วมงานนี้กันเลยทีเดียว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (12 ธค. 2557) ปิดภาคการศึกษาแล้ว เหลือรออ่านบทนิพนธ์ทางมานุษยวิทยาภาษาของนักศึกษา ที่ผมให้ทำแทนการสอบปลายภาค เมื่อเหลือเวลาอีก 15 นาทีสุดท้าย ตามธรรมเนียมส่วนตัวของผมแล้ว ในวันปิดสุดท้ายของการเรียน ผมมักถามนักศึกษาว่าพวกเขาได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ ที่ไม่ได้เคยเรียนมาก่อนจากวิชานี้บ้าง นักศึกษาทั้ง 10 คนมีคำตอบต่างๆ กันดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเพิ่งมีโอกาสได้ดูภาพยนตร์ (ขอเรียกง่ายๆ ว่า "หนัง" ก็แล้วกันครับ) เรื่องที่เป็นประเด็นใหญ่เมื่อ 2-3 วันก่อน ที่จริงก็ถ้าไม่มีเพื่อนๆ ถกเถียงกันมากมายถึงฉากเด็กวาดรูปฮิตเลอร์ ผมก็คงไม่อยากดูหรอก แต่เมื่อดูแล้วก็คิดว่า หนังเรื่องนี้สะท้อนความล้มเหลวของการรัฐประหารครั้งนี้ได้อย่างดี มากกว่านั้นคือ สะท้อนความลังเล สับสน และสับปลับของสังคมไทยได้เป็นอย่างดี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเป็นคนหนึ่งที่ยืนยันแม้จะไม่ถึงกับต่อต้านมาตลอดว่า เราไม่ควรเปิดโครงการนานาชาติในประเทศไทย ด้วยเหตุผลสำคัญ 2-3 ประการ หนึ่ง อยากให้ภาษาไทยพัฒนาไปตามพัฒนาการของความรู้สากล สอง คิดว่านักศึกษาไทยจะเป็นผู้เรียนเสียส่วนใหญ่และจึงจะทำให้ได้นักเรียนที่ภาษาไม่ดีพอ การศึกษาก็จะแย่ตามไปด้วย สาม อาจารย์ผู้สอน (รวมทั้งผมเอง) ก็ไม่ได้ภาษาอังกฤษดีมากนัก การเรียนการสอนก็จะยิ่งตะกุกตะกัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายปีที่ผ่านมา สังคมปรามาสว่านักศึกษาเอาใจใส่แต่ตัวเอง ถ้าไม่สนใจเฉพาะเสื้อผ้าหน้าผม คอสเพล มังหงะ กับกระทู้ 18+ ก็เอาแต่จมดิ่งกับการทำความเข้าใจตนเอง ประเด็นอัตลักษณ์ บริโภคนิยม เพศภาวะ เพศวิถี เกลื่อนกระดานสนทนาที่ซีเรียสจริงจังเต็มไปหมด