Skip to main content

 

การที่ประธานรัฐสภาปัดข้อเรียกร้องของประชาชนกว่า 3 หมื่นคน ที่นำโดยคณะนิติราษฎร์และคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 ด้านหนึ่งนับเป็นความขลาดเขลาของประธานรัฐสภา ด้านหนึ่งสะท้อนความขลาดเขลาของพรรครัฐบาลที่บอกปัดข้อเสนอนี้มาตั้งแต่ ครก.112 เริ่มรณรงค์

ขอถาม “ฝ่ายก้าวหน้า” ในพรรคเพื่อไทยว่า พวกคุณได้ตำแหน่งแหล่านี้มาได้อย่างไร ใน 6 ปีที่ผ่านมา คุณออกมาร่วมต่อสู้กับประชาชนเพื่ออะไร พวกคุณต่อสู้เพียงเพื่อให้เรากลับมาที่จุดเริ่มต้นก่อนรัฐประหาร 2549 เท่านั้นหรือ ยังมีคืนวันอันแสนหวานที่ชนชั้นนำ บรรดานายห้าง นายทหาร คณะราษฎรอาวุโส และนักวิชาการผู้อวดอ้างความทรงศีล สามารถเสวยสุขเสวยอำนาจบนกองเงินกองทองอยู่หลังฉากศีลธรรมพอเพียงที่ปวงประชาราษฎร์กราบกรานแห่แหนอย่างงมงายอยู่อีกหรือ พวกคุณจะดูดายกับการที่ประชาชนที่ต่อสู้กับคุณมาและประชาชนผู้บริสุทธิ์อื่นๆ อีกมาก จะต้องถูกจำคุกด้วยข้อหา “พูดไม่เข้าหูชนชั้นนำ” อย่างนั้นหรือ

แต่ในอีกด้านหนึ่ง พึงบันทึกไว้ว่า นี่คือความไม่พร้อมอีกครั้งหนึ่งของชนชั้นนำไทย

 

ความไม่พร้อมของชนชั้นนำไทยเริ่มมาตั้งแต่การบอกปัดข้อเสนอของคณะ รศ.130 การอภิวัฒน์ 2475 ของคณะราษฎร ก็ถูกชนชั้นนำมองว่าเป็นการ “ชิงสุกก่อนห่าม” ทั้งที่อันที่จริงชนชั้นนำเองต่างหากที่ไม่พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นแล้วในสยาม 

 

การบอกปัดข้อเรียกร้องรัฐธรรมนูญของนักศึกษา 14 ตค. 2516 การบอกปัดข้อเรียกร้องให้ปกป้องสิทธิของคนงานที่ถูกแขวนคอ และประท้วงการกลับมาของเผด็จการของนักศึกษา 6 ตค. 2519 การบอกปัดข้อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีมาจาการเลือกตั้งในปี 2535 และการบอกปัดข้อเรียกร้องให้ยุบสภาในปี 2553 นำมาซึ่งการปราบปรามประชาชนอย่างโหดเหี้ยม แล้วผู้ก่อการอันโหดเหี้ยมเหล่านั้นก็กลับลอยนวล เหล่านี้คือความไม่พร้อมของประชาชนหรือความไม่พร้อมของชนชั้นนำกันแน่

 

การบอกปัดข้อเสนอให้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งของความไม่พร้อมของชนชั้นนำ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น 

 

ข้อเสนอของประชาชนแต่ละครั้งนั้นเรียบง่าย ไร้การต่อรองผลประโยชน์เฉพาะตนเฉพาะหน้า เป็นการเรียกร้องเพื่อสิทธิพื้นฐานของประชาชนในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการมีส่วนร่วมทางการเมือง สิทธิในการปกครองตนเอง สิทธิในการแสดงความคิดเห็น และสิทธิในร่างกาย 

 

ข้อเสนอของประชาชนจึงไม่ได้ต้องการการศึกษาระดับสูงอะไรเลยก็เข้าใจได้ ตาสีตาสาตามีตามา ใครที่ไหนก็เข้าใจได้ว่า สิทธิในเนื้อตัวร่างกายตนเองสำคัญอย่างไร เสรีภาพในการแสดงคำพูดคำจาและความคิดความอ่านของตนเองสำคัญอย่างไร อำนาจในการปกครองตนเองนั้นสำคัญอย่างไร 

 

แต่ก็เพราะข้อเรียกร้องต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเรียบง่ายอย่างนี้นี่แหละ ที่นำมาซึ่งการบอกปัดของชนชั้นนำ การบอกบัดนี้ไม่ได้มีอะไรมากไปกว่าการหวงอำนาจที่มีมาแต่เดิมของตน การบอกปัดนี้แสดงให้เห็นถึงความไม่พร้อมของชนชั้นนำ ในขณะที่ประชาชนนั้นพร้อมมาเป็นร้อยปีแล้ว

 

จะมีใครเล่าไม่พร้อมที่จะได้รับสิทธิเสรีภาพของตนเอง จะมีก็แต่กลุ่มคนที่หวงอำนาจอยู่เท่านั้นที่ไม่พร้อมที่จะสละอำนาจของตนให้กับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
อันที่จริงผมก็นึกไม่ถึงว่าจะมีคนสนใจข่าวนี้กันมากนัก เรื่องอาจจะเป็นเพราะมีการใช้คำในการรายงานข่าวเบื้องต้นอย่างคลาดเคลื่อนไป ก็เลยทำให้เป็นที่น่าตกใจ แต่อีกนัยหนึ่งก็ชี้ให้เห็นปัญหาการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนจนกระทั่งเมื่อมีการแสดงการต่อต้านด้วยการปฏิเสธที่จะอยู่ใต้อำนาจกดทับนั้น คนก็จึงตอบรับกันอย่างกระหน่ำ อย่างไรก็ดี ผมก็อยากชี้แจงให้กระจ่างเพิ่มเติมว่า ทำไมผมจึงเลือกที่จะแสดงสถานภาพในการเดินทางมาต่างประเทศของผมในครั้งนี้เพิ่มเติมผ่านข้อเขียนนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เพิ่งผ่านมาเพียง 5 เดือนอาจจะยังเร็วเกินไปที่จะถามว่า หลังรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 แล้วขบวนการประชาชนจะเป็นอย่างไรต่อไป แต่หากมองย้อนกลับไป แล้วมองไปข้างหน้าอีกสักหน่อย ก็น่าจะลองคิดถกเถียงกันบ้างว่า ขบวนการประชาชนน่าจะไปทางไหนต่อไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
TED รายการบรรยายสาธารณะที่มีชื่อเสียงและผมก็ติดตามเรียนรู้มาสม่ำเสมอ ได้เผยแพร่คลิปบรรยายของคีท เชน นักเศรษฐศาสตร์ที่เสนอข้อถกเถียงว่า ภาษามีความเชื่อมโยงกับการออมตั้งแต่เมื่อ 2 ปีที่แล้ว แต่ผมเพิ่งได้ยินเกี่ยวกับการศึกษานี้มาตั้งแต่ต้นภาคการศึกษานี้ในชั้นเรียนวิชามานุษยวิทยาภาษา ที่นักศึกษาคนหนึ่งเอ่ยถึงการศึกษานี้ และเพิ่งได้ดูด้วยตัวเองเมื่อ 3-4 วันก่อนนี้เอง เห็นว่าน่าสนใจดีก็เลยนำไปให้นักศึกษาดูและถกเถียงกันในชั้น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การอัตวินิบาตกรรมของคุณนวมทอง ไพรวัลย์ทำให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง นัยหนึ่งถือว่าเป็นการประท้วงต่อการรัฐประหาร อีกนัยหนึ่งถือเป็นการยืนยันความจริงจังและบริสุทธิ์ใจต่ออุดมการณ์ อีกนัยหนึ่งอาจปลุกเร้าสำนึกของผู้ร่วมอุดมการณ์ หรืออีกนัยหนึ่งก็เกรงว่าจะเป็นความสูญเสียที่สูญเปล่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การสอนหนังสือในมหาวิทยาลัยแตกต่างจากการสอนหนังสือในระดับโรงเรียนก็คงจะตรงที่ว่า ผู้สอนในระดับมหาวิทยาลัยไม่ได้เรียนการสอนมาก่อน อาจจะมีการอบรมเรื่องการเรียนการสอนบ้าง มีการประเมินผลให้ผู้สอนพิจารณาปรับปรุงตนเองบ้าง มีการประเมินตนเองบ้าง แต่ถึงที่สุดแล้ว ผู้สอนมีส่วนสร้างระบบการเรียนการสอนด้วยตนเอง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"อาร์บอรีทั่ม" (Arboretum) เป็นสวนพฤกษศาสตร์ขนาดใหญ่ร่วม 3 พันไร่ของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน สวนนี้ไม่ได้ตั้งอยู่ในบริเวณที่ตั้งมหาวิทยาลัย แต่ก็อยู่ห่างออกไปไม่ไกลนัก หากขยันเดิน สักชั่วโมงหนึ่งก็ถึง ถีบจักรยานไปก็สัก 20 นาที อาจเร็วกว่าขับรถที่ต้องเจอกับป้ายหยุด ทางแยก ไฟสัญญาณ กว่าจะถึงก็สัก 30 นาที
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักวิชาการมิได้มีสถานภาพพิเศษแตกต่างไปจากคนอื่นๆ ในสังคม เพียงแต่อาชีพนักวิชาการเป็นอาชีพที่ต้องพัฒนาความคิดความอ่านตลอดเวลา นักวิชาการจึงไม่ควรมีขอบเขตของความคิดความอ่าน พร้อมๆ กับที่ไม่ควรปิดกั้นขอบเขตของความคิดคนอื่น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
กว่า 3 เดือนที่ผ่านมาผมไปชมการแสดงดนตรีไม่รู้เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่ นึกเสียดายที่เมื่อ 10 กว่าปีก่อนที่มาเรียนไม่ค่อยมีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรมเหล่านี้เลย เมื่อวานนี้ (ตามเวลาที่อเมริกา) ผมก็เพิ่งออกจากห้องแสดงดนตรีมา จนทำให้ผมคิดขึ้นมาได้ว่า นี่ผมอยู่ในโลกไหนกัน แล้วทำไมที่ที่ผมอยู่เป็นปกติเขาถึงไม่ทำสถาบันการศึกษาให้เป็นสถานที่บ่มเพาะความเจริญของจิตใจได้อย่างนี้บ้าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เดอร์ แรธสเคลเลอร์เป็นบาร์เบียร์ของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน ตั้งอยู่ในตึกกิจกรรมนักศึกษา (ที่นี่เรียกว่า Memorial Union) ตึกกิจฯ นี้ตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1928 โน่นเลย บาร์เบียร์แห่งนี้ก็น่าจะอายุไม่น้อยไปกว่าตึกที่มันอาศัยอยู่เท่าใดนัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สัปดาห์ที่ผ่านมาผมเข้าร่วมกิจกรรมสังคมวิชาการซ้ำซ้อนกันหลายงาน ตั้งแต่บรรยายเรื่องการทำวิจัยในเวียดนามให้นักศึกษาบัณฑิตศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ฟัง ต่อด้วยปาร์ตี้ประจำปีของศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาของมหา'ลัยวิสคอนซิน ซึ่งเป็นงานแบบ potluck party และก็ฟองดูปาร์ตี้เล็กๆ ที่บ้านอาจารย์ท่านหนึ่ง ซึ่งก็ไม่ใช่อะไรมากไปกว่าขนมปังจุ่มชีสต้มเดือด ทั้งหมดนั้นได้อะไรสนุกๆ มามากมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผ่านมาได้ 3 สัปดาห์ วิชาที่ผมสอนที่วิสคอนซินเริ่มสนุกขึ้นเรื่อยๆ ในห้องมีนักเรียน 10 คน ขนาดพอๆ กับที่เคยสอนที่ธรรมศาสตร์ แต่ที่ต่างคือในห้องเดียวกันนี้มีทั้งนักเรียนปริญญาตรี โท และเอกเรียนร่วมกัน เพียงแต่ข้อกำหนดของงานและความคาดหวังจากนักเรียนระดับ ป.ตรีกับ ป.โท-เอก ย่อมแตกต่างกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ท่านถามอย่างนี้กับสื่อมวลชน ต่อหน้าสาธารณชน ใครเขาจะกล้าตอบ ก็ในเมื่อท่านมีปืนอยู่ในมือ ใครเอาปืนจี้หัวท่านไว้แล้วท่านจะตอบความในใจที่ขัดความรู้สึกเขาได้ไหมล่ะ เรื่องแค่นี้น่าจะเข้าใจนะ