Skip to main content

 

การที่ประธานรัฐสภาปัดข้อเรียกร้องของประชาชนกว่า 3 หมื่นคน ที่นำโดยคณะนิติราษฎร์และคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 ด้านหนึ่งนับเป็นความขลาดเขลาของประธานรัฐสภา ด้านหนึ่งสะท้อนความขลาดเขลาของพรรครัฐบาลที่บอกปัดข้อเสนอนี้มาตั้งแต่ ครก.112 เริ่มรณรงค์

ขอถาม “ฝ่ายก้าวหน้า” ในพรรคเพื่อไทยว่า พวกคุณได้ตำแหน่งแหล่านี้มาได้อย่างไร ใน 6 ปีที่ผ่านมา คุณออกมาร่วมต่อสู้กับประชาชนเพื่ออะไร พวกคุณต่อสู้เพียงเพื่อให้เรากลับมาที่จุดเริ่มต้นก่อนรัฐประหาร 2549 เท่านั้นหรือ ยังมีคืนวันอันแสนหวานที่ชนชั้นนำ บรรดานายห้าง นายทหาร คณะราษฎรอาวุโส และนักวิชาการผู้อวดอ้างความทรงศีล สามารถเสวยสุขเสวยอำนาจบนกองเงินกองทองอยู่หลังฉากศีลธรรมพอเพียงที่ปวงประชาราษฎร์กราบกรานแห่แหนอย่างงมงายอยู่อีกหรือ พวกคุณจะดูดายกับการที่ประชาชนที่ต่อสู้กับคุณมาและประชาชนผู้บริสุทธิ์อื่นๆ อีกมาก จะต้องถูกจำคุกด้วยข้อหา “พูดไม่เข้าหูชนชั้นนำ” อย่างนั้นหรือ

แต่ในอีกด้านหนึ่ง พึงบันทึกไว้ว่า นี่คือความไม่พร้อมอีกครั้งหนึ่งของชนชั้นนำไทย

 

ความไม่พร้อมของชนชั้นนำไทยเริ่มมาตั้งแต่การบอกปัดข้อเสนอของคณะ รศ.130 การอภิวัฒน์ 2475 ของคณะราษฎร ก็ถูกชนชั้นนำมองว่าเป็นการ “ชิงสุกก่อนห่าม” ทั้งที่อันที่จริงชนชั้นนำเองต่างหากที่ไม่พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นแล้วในสยาม 

 

การบอกปัดข้อเรียกร้องรัฐธรรมนูญของนักศึกษา 14 ตค. 2516 การบอกปัดข้อเรียกร้องให้ปกป้องสิทธิของคนงานที่ถูกแขวนคอ และประท้วงการกลับมาของเผด็จการของนักศึกษา 6 ตค. 2519 การบอกปัดข้อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีมาจาการเลือกตั้งในปี 2535 และการบอกปัดข้อเรียกร้องให้ยุบสภาในปี 2553 นำมาซึ่งการปราบปรามประชาชนอย่างโหดเหี้ยม แล้วผู้ก่อการอันโหดเหี้ยมเหล่านั้นก็กลับลอยนวล เหล่านี้คือความไม่พร้อมของประชาชนหรือความไม่พร้อมของชนชั้นนำกันแน่

 

การบอกปัดข้อเสนอให้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งของความไม่พร้อมของชนชั้นนำ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น 

 

ข้อเสนอของประชาชนแต่ละครั้งนั้นเรียบง่าย ไร้การต่อรองผลประโยชน์เฉพาะตนเฉพาะหน้า เป็นการเรียกร้องเพื่อสิทธิพื้นฐานของประชาชนในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการมีส่วนร่วมทางการเมือง สิทธิในการปกครองตนเอง สิทธิในการแสดงความคิดเห็น และสิทธิในร่างกาย 

 

ข้อเสนอของประชาชนจึงไม่ได้ต้องการการศึกษาระดับสูงอะไรเลยก็เข้าใจได้ ตาสีตาสาตามีตามา ใครที่ไหนก็เข้าใจได้ว่า สิทธิในเนื้อตัวร่างกายตนเองสำคัญอย่างไร เสรีภาพในการแสดงคำพูดคำจาและความคิดความอ่านของตนเองสำคัญอย่างไร อำนาจในการปกครองตนเองนั้นสำคัญอย่างไร 

 

แต่ก็เพราะข้อเรียกร้องต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเรียบง่ายอย่างนี้นี่แหละ ที่นำมาซึ่งการบอกปัดของชนชั้นนำ การบอกบัดนี้ไม่ได้มีอะไรมากไปกว่าการหวงอำนาจที่มีมาแต่เดิมของตน การบอกปัดนี้แสดงให้เห็นถึงความไม่พร้อมของชนชั้นนำ ในขณะที่ประชาชนนั้นพร้อมมาเป็นร้อยปีแล้ว

 

จะมีใครเล่าไม่พร้อมที่จะได้รับสิทธิเสรีภาพของตนเอง จะมีก็แต่กลุ่มคนที่หวงอำนาจอยู่เท่านั้นที่ไม่พร้อมที่จะสละอำนาจของตนให้กับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลังจากพินิจพิเคราะห์แล้วว่า ท่านผู้นำกำลังจะหมดเรื่องพล่ามในไม่ช้า เพราะเริ่มวนเวียนและเล่าเรื่องตัวเองมากขึ้น ท่านจึงควรหาความรู้รอบตัวมากขึ้น ก็เลยขอตามกระแส แนะนำหนังสือให้ท่านอ่าน ก็ไม่รู้จะ tag ท่านยังไง แต่คิดว่า เขียนใส่ขวดลอยไปก็อาจจะลอยไปถึงตีนบันไดบ้านท่านบ้างสักวัน ก็ขออนุญาตแนะนำดังนี้ครับท่าน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นท่านผู้นำไม่นิยมผู้หญิง เพราะในคณะรัฐบาลท่านมีผู้หญิงเพียง 2 คน ผมก็เลยขอแนะนำท่านว่า ผู้หญิงทำงานความคิดเก่งๆ มีมากมาย ไม่ใช่ให้ลูกน้องเอาผู้หญิงมาเต้นโป๊เปลือยดูกันในค่ายทหารเท่านั้น แต่ก็เอาล่ะ ขอแนะนำนักมานุษยวิทยาสตรีที่ผมชื่นชอบสัก 10 คนก็แล้วกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรามีปาก เขามีปืน เราขัดขืน เขาข่มเหงเรานักเขียน เขานักเลง เรายำเกรง เขาลำพอง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ใครที่รู้จักอาคารดังๆ ของแฟรงค์ ลอยด์ ไรท์ (Frak Lloyd Wright) อย่าง Guggenhiem Museum ที่นิวยอร์ค บ้านน้ำตกที่เพลซิลวาเนีย Imperial Hotel ที่โตเกียว อาจจะนึกไม่ถึงว่า บ้านที่ไรท์เรียกว่าเป็นบ้านของเขานั้นอยู่ในชนบทที่ Spring Green มลรัฐวิสคอนซิน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะแบบนี้ปรากฏตัวบ่อยครั้งในข้อถกเถียงทางการเมืองไทย ในระบบการศึกษาไทย ตำราเรียนไทย ประวัติศาสตรืไทยแบบทางการก็ยังสอนแบบนี้อยู่ คนไทยไม่ว่าจะใส่เสื้อสีใด ส่วนใหญ่ก็ยังเชื่อแบบนี้อยู่ ทัศนะแบบนี้คงกะลาความเป็นไทยเอาไว้อย่างหนาเตอะเกรอะกรัง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บทสนทนาระหว่าง นายอานันท์ ปันยารชุน กับนายภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ล่าสุด เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2557 ที่โรงแรมมณเฑียร มีสาระที่น่าสนใจหลายประการต่อการเข้าใจการเมืองไทย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 นึกถึงชิคาโก ผู้คนคงนึกถึงตึกระฟ้าที่เคยประชันกันกับนิวยอร์ค นึกถึงธุรกิจที่ดึงดูดให้ใครต่อใครมาอาศัยที่นี่จนเป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ของสหรัฐอเมริกา นึกถึงสถาปัตยกรรมอันหลากหลายและฟังเมืองใหม่หลังไฟไฟม้ใหญ่จนราบไปทั้งเมือง นึกถึงอัลคาโปนเจ้าพ่อชื่อดัง นึกถึงพิพิธภัณฑ์ที่เดินดูกันทั้งเดือนก็คงไม่หมด นึกถึงมหาวิทยาลัยอันโด่งดังอย่างมหาวิทยาลัยแห่งชิคาโก แต่ใครบ้างจะนึกถึงแมกไม้และสายน้ำของชิคาโก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
  เมื่อวันจันทร์ (11 สค.) หลังจากใช้เวลาอยู่ใน Field Museum (ซึ่งพอดีมีนิทรรศการว่าด้วยกำเนิดของ Field Museum ที่เกี่ยวข้องกับกำเนิดของมานุษยวิทยาอเมริกันอย่างยิ่ง) ไปกว่า 4 ชั่วโมงแล้ว ผมลังเลอย่างยิ่งที่จะเข้าชม The Art Institute of Chicago ต่อ เพราะเกรงว่าจะไม่ทันได้ครุ่นคิดอะไรกับความรู้และความรู้สึกแบบอัดแน่นจากเมื่อ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักเรียนคนหนึ่งถามเรื่อง "การเขียน" และการวางแผน "อนาคต" ของเขา ผมเขียนตอบไปอย่างยาว เห็นว่าอาจเป็นประโยชน์กับคนอื่นๆ บ้าง ก็เลยขอนำมาเผยแพร่ที่นี่ครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะอาจารย์ธรรมศาสตร์ ผมไม่อาจยินดีกับการที่ผู้บริหารสูงสุดของมหาวิทยาลัยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จาก คสช. 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อก่อนผมเถียงกับเพื่อนเสมอว่า อย่ามาถามว่าผมเป็นคนที่ไหน เพราะคนเราอาจมีหลายบ้าน มีใครในยุคนี้ที่ไม่ย้ายบ้านบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำสวยหรูนี้ประดิษฐ์ขึ้นมาในภาษาไทยโดยใครนั้น ผู้ที่ติดตามแวดวงวิชาการในระยะ 30 ปีที่ผ่านมาย่อมทราบดี ไม่ว่าจิตวิญญาณของผู้ที่กล่าวคำนี้จะยังอยู่กับแนวคิดนี้ที่เขาอาจพลั้งปากออกมาหรือไม่ คนที่สนิทชิดเชื้อกับผู้ประดิษฐ์คำท่านนี้ก็คงจะทราบดี