Skip to main content

นักเรียนคนหนึ่งถามเรื่อง "การเขียน" และการวางแผน "อนาคต" ของเขา ผมเขียนตอบไปอย่างยาว เห็นว่าอาจเป็นประโยชน์กับคนอื่นๆ บ้าง ก็เลยขอนำมาเผยแพร่ที่นี่ครับ

พูดถึง "การเขียน" ผมว่าคนเราต้องเขียนสิ่งที่เรารู้ เราคิด เรารู้สึกจริงๆ คือเขียนอย่างจริงใจ อย่างไม่หลอกลวงตัวเราเอง ไม่ว่าจะเป็นลีลาแบบตรงไปตรงมาหรือประชดประชันหรือลีลาไหนๆ ก็ตาม นั่นคือสิ่งที่ดีที่สุด 

ผมว่ามันจะตลกน่าดูหากการเขียนจะเขียนเพียงเพื่อเอาใจคนอ่าน การเขียนคือการแสดงออกอย่างหนึ่ง ถ้าเราต้องแสดงออกเพียงเพื่อให้ถูกใจผู้รับรู้ นักเขียนคนนั้นจะไปได้ไม่ไกลหรอก 

ผมมองการเขียนเหมือนกับการทำงานศิลปะ ถ้าผู้สร้างผลงานทำงานได้แค่งานเอาใจตลาด เขาก็จะไม่มีวันได้นำเสนอความเป็นตัวของตัวเองที่แตกต่างจากคนอื่น อันนี้ก็ต้องเลือกเอาว่าคุณอยากเป็นคนทำงานป้อนตลาด หรืออยากเป็นคนทำงานที่ได้นำเสนอความเป็นตัวของตัวเอง ซึ่งก็ต้องเสี่ยงว่าจะตกกระป๋องหรือก้าวลำนำหน้าคนอื่น 

แต่ผมบอกได้ว่า ในประสบการณ์ของผมและจากคนที่รู้จักรอบข้าง การเลือกทำงานตามความเป็นตัวของตัวเอง แม้จะลำบาก แต่ผลที่ได้รับมีสองอย่าง ในเบื้องต้น คุณสนุกกับมัน และจะทำมันอย่างเต็มที่ ในท้ายที่สุด คุณจะได้ผลตอบแทนคือมีที่มีทางในสังคม แม้จะช้าไปบ้าง (จนบางคนอาจต้องรอหลังสิ้นชีวิตไปแล้ว-ข้อนี้ผมไม่ได้บอกเขาไป)

ข้อต่อมา เรื่อง "อนาคต" ว่าในเมื่อคุณเป็นคนช่างสงสัย ไม่เชื่อตามที่ใครๆ เขาบอกกันง่ายๆ แล้วจะทำให้ชีวิตลำบากหรือเปล่า คุณอายุยังน้อย ไม่น่าแปลกใจที่คุณย่อมกังวลว่าอนาคตข้างหน้าไกลๆ จะเดินไปอย่างไร จะเริ่มต้นอย่างไร ทางไหนกันแน่ที่จะเป็นทางที่ประสบความสำเร็จ 

เรื่องนี้ตอบยากจริงๆ มันแล้วแต่จังหวะ โอกาส และการตัดสินใจ หากจะตอบจากตัวเอง ผมเองที่เป็นผมทุกวันนี้ก็ไม่เชิงว่าจะเป็นตัวเองแบบที่ใฝ่ฝันตั้งแต่เด็กๆ คือความฝันเรามันเป็นอย่าง แต่สุดท้ายเราก็ไม่ได้เป็นแบบที่เราฝันเป๊ะๆ หรอก แต่ก็ไม่รู้นะ บางคนอาจทำตามฝันได้ตรงเป๊ะจริงๆ ก็ได้ 

ความฝันเราก็คงต้องปรับไปเรื่อยๆ บ้าง ตามเงื่อนไขความจริงที่มันขยับไปเรื่อยๆ เด็กๆ ผมไม่เคยคิดจะเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ก็ใครจะไปฝันแบบนั้นได้ล่ะหากไม่ได้เติบโตมาในครอบครัวแบบนั้น ผมไม่ได้เติมโตมาในครอบครัวที่มีการศึกษาสูงอะไร เพียงแต่เงื่อนไขของชีวิตมันนำพามาเรื่อยๆ สุดท้ายก็มาทำงานอย่างที่เป็นทุกวันนี้

แต่หากจะถามว่า แล้วผมได้ทำตามความใฝ่ฝันไหม ก็ใช่นะ นี่คือสิ่งที่ผมอยากเป็นโดยรวมๆ คือ อยากทำงานที่อิสระ อยากเป็นตัวของตัวเอง อยากนำเสนอความคิดความอ่านของตัวเอง อยากค้นคว้าหาความรู้ไปเรื่อยๆ เหล่านี้ตรงกับความเป็นผมที่ใฝ่ฝันแบบรวมๆ โดยที่ก็ไม่เคยรู้มาก่อนว่าจะลงเอยอย่างไร 

สรุป ถ้าถามผมว่าจะทำอย่างไรดี คุณก็ต้องถามตัวเองในขณะนี้ แล้วทำเท่าที่จะทำได้ แบบไม่หลอกตัวเอง แต่นั่นก็แล้วแต่ว่าคุณจะเลือกอย่างไรอยู่ดี

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปาฐกถาในเวทีเสวนา “50 ปี 14 ตุลาฯ ยังตามหารัฐธรรมนูญใหม่” จัดโดยสมัชชาคนจน วันที่ 14 ตุลาคม 2566
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อ 24 กค. 65 ผู้จัดการแสดง #ฮิญาบ2022  ชวนผมไปดูการแสดงของคุณฟารีดา จิราพันธ์ ที่กาลิเลโอเอซิส แล้วผู้จัดจะชวนผมสนทนาหลังละคร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะเพื่อนร่วมวิชาชีพวิชาการ ในฐานะผู้ปกครองนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ และในฐานะคนรักศิลปะ ผมเขียนจดหมายนี้เพื่อตั้งคำถามต่อการที่ผู้บริหารคณะวิจิตรศิลป์จะตรวจสอบผลงานก่อการอนุญาตให้จัดแสดงผลงานของนักศึกษาภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นคนพูดถึงตัวละครในซีรีย์เกาหลีเอ่ยถึงจอร์จ บาไตล์ ในรูปนั่นน่ะครับ เป็นคอลเล็กชันจอร์จ บาไตล์บนชั้นหนังสือผมแบบเบาๆ ผมเก็บไว้ร่วม 20 ปีแล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายคนคงรู้ว่าวันนี้เป็นวันชาติเวียดนาม แต่น้อยคนคงรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในวันนี้กันแน่ แล้ววันนี้ในอดีตถูกกำหนดเป็นวันขาติจากเหตุการณ์ปีใด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จนถึงวันนี้ การต่อสู้ของประชาชนในขบวนการ “คณะราษฎร 63” ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า พลังของแสงดาวได้สร้างสรรค์สังคมไทยอย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาได้ออกมาแสดงความเห็นว่ามีการสร้างกระแสกดดันศาลต่างๆ นานา (ดู https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2081366) มองในแง่ดี ผมคิดว่านี่คือการออกมาอธิบายกับสังคมอีกครั้งของผู้มีอำนาจในกระบวนการยุติธรรมอย่างชัดแจ้ง หลังจากที่มีการชี้แจงถึงเหตุผลการไม่ปล่อยตัวผู้ต้องหาคดีการเมืองโดยโฆษกศาลและโฆษกกระทรวงยุติธรรมก่อนหน้านี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อะไรที่ทำให้ดนตรีมีสถานะในการทำร้ายกันได้บ้าง ผมว่าอย่างน้อยที่สุดต้องเข้าใจก่อนว่า ดนตรีไม่ใช่แค่เสียง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
พอดีนั่งฟังเพื่อนนักวิชาการอ่านหนังสือ "กบฏชาวนา" ของรานาจิต คูฮา (1982) มาคุยให้ฟัง (แปลโดย ปรีดี หงษ์สต้น) ในเพจของสำนักพิมพ์ Illumination Editions เลยคิดถึงบันทึกที่เคยเขียนถึงหนังสือของ ดิเพช จักรบาร์ตี เรื่อง Provincializing Europe (2000)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรื่อง ถามถึงมโนธรรมสำนึกในความเป็นครูบาอาจารย์ของอาจารย์เอนก เหล่าธรรมทัศน์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะล่าสุดของอาจารย์ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ต่อการชุมนุม 16 ตค. 63 ย้อนแย้งกับสมัยที่อาจารย์ให้ความเห็นต่อการชุมนุม กปปส. ในขณะนั้นอาจารย์อธิบายยืดยาวว่าการชุมนุมของ กปปส. ใช้สันติวิธี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอให้อาจารย์หยุดใช้ถ้อยคำสร้างความเกลียดชังในสังคม