Skip to main content

ทัศนะของนายแพทย์ที่เป็นตัวแทนของคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ แสดงให้เห็นถึงความคิดคับแคบของผู้มีอำนาจกลุ่มหนึ่ง ที่มักใช้อำนาจก้าวก่ายชีวิตผู้คน บนความไม่รู้ไม่เข้าใจไม่อยากรับผิดชอบต่อปัญหาเชิงโครงสร้างที่ละเอียดอ่อน และบนกรอบข้ออ้างเรื่องคุณธรรมความดีที่ยกตนเองเหนือคนอื่น

 
เมื่อวาน (13 ธค. 2555) ไปออกรายการ "คมชัดลึก" ผมยอมดั้นด้นไปจนถึงบางนาด้วยเพราะกฎกระทรวงสาธารณสุขใหม่ ที่จะส่งผลรุนแรงต่อการประกอบกิจการร้านอาหารบนทางเท้า กฎที่จะออกมาคือ "ห้ามผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทางตามกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก ยกเว้นที่ส่วนบุคคล เนื่องจากผลเสียของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทางทำให้เกิดอุบัติได้ง่าย" ผมตั้งคำถามและวิจารณ์นโยบายนี้ไปหลายข้อ
 
1) วิธีการสำรวจ ที่ว่าคนกว่า 80% เห็นด้วยนั้นเป็นกลลวงทางสถิติ เนื่องจากเมื่อถามทัศนคติเกี่ยวกับเรื่องศีลธรรม คนย่อมตอบให้ตนเองดูดีอยู่แล้ว นอกจากนั้น การใช้แบบสอบถามยังไม่ได้คำนึงถึงข้อจำกัดของการคิดตอบในทันทีทันใด และจำกัดเพียงปัญหาส่วนบุคคล ผู้ตอบอาจจะยังไม่ทันได้ไตร่ตรองถึงปัญหาเชิงโครงสร้างของสังคม ฉะนั้นในการวิจัยทางสังคม จะอ้างตัวเลขสถิติแบบแกนๆ อย่างนี้ไม่ได้
 
2) ผลกระทบของกฎกระทรวงใหม่นี้จะมุ่งก่อผลเสียต่อคนกลุ่มหนึ่ง ที่มีรายได้จำกัด แต่มีจำนวนมากในเมือง โดยเฉพาะเมืองกรุงเทพฯ เป็นการก้าวก่ายวิถีชีิวิตคนโดยขาดความเข้าใจ ทุกวัฒนธรรมมีการเสพสิ่งมึนเมาแบบต่างๆ อาหารข้างทางในเมืองมีวัฒนธรรมการกินของเขาเอง สำหรับคนจำนวนมาก การกินอาหารบางมื้อต้องมีสุราบ้าง เป็นวิถีการกินแบบหนึ่ง
 
ความไม่เข้าใจนี้สะท้อนให้เห็นตลอดมาในนโยบายสุรา ที่มักเลือกปฏิบัติกับคนจน มีอคติกับคนยากจน อย่างแคมเปญ "จน เครียด กินเหล้า" เป็นต้น
 
3) ที่อันตรายคือ นายแพทย์ที่เป็นตัวแทนของคณะกรรมการนี้ demonize คนดื่มสุราอย่างรุนแรง กล่าวร้ายให้คนดื่มสุรากลายเป็นปีศาจตลอดเวลา ทำให้คนดื่มสุรามีภาพกลายเป็นคนขาดสติพร้อมก่ออาชญากรรมได้ตลอดเวลา หมอท่านนี้กล่าวในรายการว่า "คนดื่มสุรามักจะไปทำร้ายคน เมาแล้วข่มขืนคน คนก่ออาชญากรรมมีเหตุมาจากการดื่มสุรามาทั้งสิ้น" ทัศนะอย่างนี้อันตรายมาก แสดงทัศนคติที่ดูถูกคนที่มีวิถีชีวิตแตกต่างจากตนเอง
 
หากสังคมของผู้มีอำนาจยังบ่มเพาะเชื้อความคิดอคติต่อคนที่เราไม่เข้าใจเขา (ethnocentrism) อย่างนี้ไปเรื่อยๆ อีกหน่อยเราจะทำร้ายคนในนามของความดีแบบคับแคบอย่างนี้ได้อีกมากมาย ดังที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุชาวยิว การฆ่าคนมุสลิมในปาเลสไตน์ การสังหารโหดที่ธรรมศาสตร์เมื่อ 6 ตุลาคม 2519
 
4) กฎใหม่นี้ชวนให้สงสัยว่า คณะกรรมการนี้ไม่สามารถจัดการควบคุมปัญหาที่ใหญ่กว่านี้ได้ แล้วจะมาเริ่มก่อปัญหาการจัดการอย่างใหม่ อย่างลานเบียร์ ตัวแทนคณะกรรมการบอกเองในรายการว่ามีปัญหาผิดกฎหมายทั้งสิ้น เพราะเป็นการส่งเสริมกระตุ้นให้ดื่มสุรา แต่การดำเนินคดีล่าช้า หรือบางทีอาจไม่สามารถดำเนินคดีให้คืบหน้าไปได้ ส่วนการจับเมาแล้วขับ เราเห็นกันอยู่ว่าไม่สามารถทำได้จริง ทำได้แค่บางเวลาในบางจุด ควรรณรงค์ให้คนรับผิดชอบตนเองมากกว่า ส่วนการกวดขันห้ามจำหน่ายสุราแก่คนอายุต่ำกว่า 20 ก็ไม่สามารถจัดการได้จริง การละเมิดกฎหมายเหล่านั้นมีผลมากกว่าเสียหายกว่า ยังควบคุมให้เกิดข้ึนไม่ได้ แต่จะมาออกกฎใหม่ที่มีผลกับคนจน
 
ขออย่าให้คนเขาพูดได้ว่า คณะกรรมการนี้สองมาตรฐาน เพราะจับร้านขายส้มตำที่วางขายบนทางเท้าหน้าลานเบียร์ แต่ไม่สามารถเอาผิดกับเจ้าของบริษัทขายเบียร์ได้ เนื่องจากฝ่ายหนึ่งจน อีกฝ่ายหนึ่งเป็นคนร่ำรวย เป็นผู้รากมากดี มียันต์กันกฎหมายติดอยู่บนสลากสุราก็แล้วกันครับ
 
5) ทางออกที่ดีกว่านี้ได้แก่ (ก) การจัดพื้นที่ (zoning) แทนที่จะห้ามๆๆ โดยไม่เข้าใจว่า หากคนหาเช้ากินค่ำเขามีการสังสรรค์บันเทิงกันบ้างแล้วเขาจะใช้พื้นที่ไหน ในเมื่อร้านรวงค่าเช่ามันแพง หากอนุโลมการใช้ทางเท้าบางแห่งขายอาหารและอาจจะมีสุราบ้าง ก็ไม่ได้เสียหายอะไร (ข) การจำกัดเวลาในการใช้พื้นที่ให้ชัดเจน (timing) ที่จริงเวลานี้ผู้คนเขาจำกัดเวลาตนเองอยู่แล้ว การขายอาหารบนทางเท้ามีเวลาเฉพาะของมันเอง แต่บางแห่งอาจระบุว่ายอมให้ขายสุราได้เมื่อไหร่ และ (ค) การกวดขันเรื่องการห้ามจำหน่ายสุราแก่คนอายุต่ำกว่า 20 (carding) ทุกวันนี้กฎหมายนี้แทบไม่ได้ถูกบังคับใช้เลยด้วยซ้ำ
 
แต่เชื่อเถอะว่าคณะกรรมการนี้จะไม่เลือกทำวิธีเหล่านี้ เพราะมันยุ่งยากกว่า หรือเพราะไม่อยากลงทุน หรือเพราะการผลักภาระให้คนจนคนไร้อำนาจนั้นง่ายกว่าก็แล้วแต่
 
6) เคยมีบ้างไหมที่เวลาจะออกกฎกระทรวงอะไรที่มีผลกับชีวิตผู้คนมากๆ เช่นนี้ื จะเชิญผู้มีส่วนได้รับผลกระทบเข้าร่วมพิจารณาด้วย ให้เขารับรู้และฟังความเห็นเขาก่อน ไม่ใช่คิดแต่ว่ามีแต่พวกตนเท่านั้นที่หวังดีกับชีวิตเขา คนทุกคนมีความรับผิดชอบต่อชีวิตตนเอง คณะกรรมการนี้ไม่ต้องมาคิดว่าตนเองเท่านั้นที่รู้ถึงความรับผิดชอบของชีวิตคนอื่นได้ดีกว่า ไม่ต้องมาคิดว่ามีแต่ "พวกหัวหมอ" เท่านั้นที่จะรับผิดชอบชีวิตคนอื่นได้ คนทั่วไปหาเช้ากินค่ำเองไม่สามารถรับผิดชอบชีวิตตนเองได้หรืออย่างไร
 
สุดท้าย ไม่ต้องมาบอกว่าออกกฎกระทรวงนี้ให้เป็นของขวัญ เพราะกฎนี้ก่อผลเสียกับคนจำนวนมากด้วย และการพูดอย่างนั้นก็เป็นการเอาบุญคุณกับประชาชนทั้งที่เป็นการงานหน้าที่ตนจะต้องปฏิบัติอยู่แล้วมากกว่า ที่สำคัญกว่าคือต้องตระหนักว่า การใช้อำนาจโดยไม่เข้าใจวิถีชีิวิต ใช้อำนาจแบบผลักความรับผิดชอบ ใช้อำนาจบนอคติที่มีต่อคนยากจน จะนำความเสื่อมมาสู่ทั้งสถาบันการแพทย์และสังคมโดยรวม
 
 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลังจากพินิจพิเคราะห์แล้วว่า ท่านผู้นำกำลังจะหมดเรื่องพล่ามในไม่ช้า เพราะเริ่มวนเวียนและเล่าเรื่องตัวเองมากขึ้น ท่านจึงควรหาความรู้รอบตัวมากขึ้น ก็เลยขอตามกระแส แนะนำหนังสือให้ท่านอ่าน ก็ไม่รู้จะ tag ท่านยังไง แต่คิดว่า เขียนใส่ขวดลอยไปก็อาจจะลอยไปถึงตีนบันไดบ้านท่านบ้างสักวัน ก็ขออนุญาตแนะนำดังนี้ครับท่าน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นท่านผู้นำไม่นิยมผู้หญิง เพราะในคณะรัฐบาลท่านมีผู้หญิงเพียง 2 คน ผมก็เลยขอแนะนำท่านว่า ผู้หญิงทำงานความคิดเก่งๆ มีมากมาย ไม่ใช่ให้ลูกน้องเอาผู้หญิงมาเต้นโป๊เปลือยดูกันในค่ายทหารเท่านั้น แต่ก็เอาล่ะ ขอแนะนำนักมานุษยวิทยาสตรีที่ผมชื่นชอบสัก 10 คนก็แล้วกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรามีปาก เขามีปืน เราขัดขืน เขาข่มเหงเรานักเขียน เขานักเลง เรายำเกรง เขาลำพอง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ใครที่รู้จักอาคารดังๆ ของแฟรงค์ ลอยด์ ไรท์ (Frak Lloyd Wright) อย่าง Guggenhiem Museum ที่นิวยอร์ค บ้านน้ำตกที่เพลซิลวาเนีย Imperial Hotel ที่โตเกียว อาจจะนึกไม่ถึงว่า บ้านที่ไรท์เรียกว่าเป็นบ้านของเขานั้นอยู่ในชนบทที่ Spring Green มลรัฐวิสคอนซิน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะแบบนี้ปรากฏตัวบ่อยครั้งในข้อถกเถียงทางการเมืองไทย ในระบบการศึกษาไทย ตำราเรียนไทย ประวัติศาสตรืไทยแบบทางการก็ยังสอนแบบนี้อยู่ คนไทยไม่ว่าจะใส่เสื้อสีใด ส่วนใหญ่ก็ยังเชื่อแบบนี้อยู่ ทัศนะแบบนี้คงกะลาความเป็นไทยเอาไว้อย่างหนาเตอะเกรอะกรัง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บทสนทนาระหว่าง นายอานันท์ ปันยารชุน กับนายภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ล่าสุด เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2557 ที่โรงแรมมณเฑียร มีสาระที่น่าสนใจหลายประการต่อการเข้าใจการเมืองไทย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 นึกถึงชิคาโก ผู้คนคงนึกถึงตึกระฟ้าที่เคยประชันกันกับนิวยอร์ค นึกถึงธุรกิจที่ดึงดูดให้ใครต่อใครมาอาศัยที่นี่จนเป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ของสหรัฐอเมริกา นึกถึงสถาปัตยกรรมอันหลากหลายและฟังเมืองใหม่หลังไฟไฟม้ใหญ่จนราบไปทั้งเมือง นึกถึงอัลคาโปนเจ้าพ่อชื่อดัง นึกถึงพิพิธภัณฑ์ที่เดินดูกันทั้งเดือนก็คงไม่หมด นึกถึงมหาวิทยาลัยอันโด่งดังอย่างมหาวิทยาลัยแห่งชิคาโก แต่ใครบ้างจะนึกถึงแมกไม้และสายน้ำของชิคาโก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
  เมื่อวันจันทร์ (11 สค.) หลังจากใช้เวลาอยู่ใน Field Museum (ซึ่งพอดีมีนิทรรศการว่าด้วยกำเนิดของ Field Museum ที่เกี่ยวข้องกับกำเนิดของมานุษยวิทยาอเมริกันอย่างยิ่ง) ไปกว่า 4 ชั่วโมงแล้ว ผมลังเลอย่างยิ่งที่จะเข้าชม The Art Institute of Chicago ต่อ เพราะเกรงว่าจะไม่ทันได้ครุ่นคิดอะไรกับความรู้และความรู้สึกแบบอัดแน่นจากเมื่อ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักเรียนคนหนึ่งถามเรื่อง "การเขียน" และการวางแผน "อนาคต" ของเขา ผมเขียนตอบไปอย่างยาว เห็นว่าอาจเป็นประโยชน์กับคนอื่นๆ บ้าง ก็เลยขอนำมาเผยแพร่ที่นี่ครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะอาจารย์ธรรมศาสตร์ ผมไม่อาจยินดีกับการที่ผู้บริหารสูงสุดของมหาวิทยาลัยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จาก คสช. 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อก่อนผมเถียงกับเพื่อนเสมอว่า อย่ามาถามว่าผมเป็นคนที่ไหน เพราะคนเราอาจมีหลายบ้าน มีใครในยุคนี้ที่ไม่ย้ายบ้านบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำสวยหรูนี้ประดิษฐ์ขึ้นมาในภาษาไทยโดยใครนั้น ผู้ที่ติดตามแวดวงวิชาการในระยะ 30 ปีที่ผ่านมาย่อมทราบดี ไม่ว่าจิตวิญญาณของผู้ที่กล่าวคำนี้จะยังอยู่กับแนวคิดนี้ที่เขาอาจพลั้งปากออกมาหรือไม่ คนที่สนิทชิดเชื้อกับผู้ประดิษฐ์คำท่านนี้ก็คงจะทราบดี