Skip to main content

หากพวกคุณวิจัยสำรวจอย่างตรงไปตรงมาจริงๆ พวกคุณก็ย่อมรู้อยู่แก่ใจดีว่า ชัยชนะจากคะแนนเสียงที่ "ไม่่่ท่วมท้นนัก" ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา มาจากกลุ่มคนที่มีความหวังว่าเพื่อไทยจะเป็นเดินหน้าพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศไทยอย่างจริงจังเสียที

หากพวกคุณไม่ได้หลงตัวเองอย่างงมงาย พวกคุณย่อมรู้อยู่แก่ใจดีว่า ชัยชนะของพรรคเพื่อไทยไม่ได้ได้มาด้วยการหาเสียงอย่างหนักหน่วงของพรรค ไม่ได้ได้มาด้วยความสามารถในการบริหารประเทศของอวตารต่างๆ ของพรรคไทยรักไทยเท่านั้น ไม่ได้ได้มาด้วยหน้าตาคุณงามความดีของสส.เรียงเบอร์หรือสส.บัญชีหางว่าว และไม่ได้ได้มาด้วยเงินซื้อเสียงอย่างแน่นอน
 
หากพวกคุณยังพอมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองอยู่บ้าง พวกคุณก็ย่อมรู้อยู่แก่ใจดีว่า ชัยชนะของเพื่อไทยไม่ได้ได้มาด้วยบุญญาบารมีของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และไม่ได้ได้มาด้วยความภักดีอย่างไร้เหตุผลต่อทักษิณ ชินวัตรและความมั่นใจอย่างไร้สติต่อตระกูลชินวัตรอย่างแน่นอน
 
หากแต่ชัยชนะของพรรคเพื่อไทยได้มาด้วยความหวังของผู้ลงคะแนนเสียงให้เพื่อไทย คะแนนเสียงที่ "ไม่ท่วมท้นนัก" ส่วนหนึ่งมาจากเสียงที่ไม่ได้นิยมชมชอบในตัวทักษิณ ชินวัตร เสียงที่ไม่เคยไว้ใจตระกูชินวัตร และเสียงไม่เคยเห็นหน้ายิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นเสียงที่ไม่เคยรู้ด้วยซ้ำว่าในทะเบียนราษฎร์มีคนชื่อยิ่งลักษณ์ ชินวัตรอยู่ในครอบครัวชินวัตรด้วย
 
แต่ชัยชนะของเพื่อไทยมาจากความหวังที่ประชาชนส่วนใหญ่มอบให้พรรคเพื่อไทย ความหวังที่ว่าคืออะไรบ้าง 
 
- ความหวังที่จะสร้างบรรทัดฐานทางการเมืองแบบใหม่ให้กับการเมืองไทย 
- ความหวังที่จะแสดงให้ชนชั้นนำสำเหนียกว่าชาวไทยไม่สามารถยอมรับการรัฐประหารได้อีกต่อไป ชาวไทยต้องการเดินบนวิถีทางของระบอบรัฐสภาและการเลือกตั้ง ความหวังที่จะประกาศให้ชั้นนำไทยสำเหนียกว่า ชาวไทยไม่สามารถยอมรับอำนาจ "นอก" "เหนือ" รัฐธรรมนูญได้อีกต่อไป ชาวไทยทนไม่ได้อีกต่อไปกับภาวะสองนคราประชาธิปไตย (ที่ว่าคนบ้านนอกตั้งรัฐบาล ดัดจริตชนชาวกรุงล้มรัฐบาล)
- ความหวังที่จะเอาคนสั่งสังหารประชาชนในการสลายการชุมนุมที่แยกคอกวัวและราชประสงค์เข้าคุก 
- ความหวังที่จะไม่ประนีประนอมกับ "อำมาตย์" อีกต่อไป ความหวังที่จะเดินหน้าสู่โครงการประชาธิปไตยของคณะราษฎร (ทึ่กล่าวไว้ตอนหนึ่งในประกาศคณะราษฎรว่า "ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า ประเทศเรานี้เป็นของราษฎร ไม่ใช่ของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง) อย่างจริงจังเสียที
 
หากไม่กล้าเดินหน้าโหวตวาระ 3 เพื่อแก้รัฐธรรมนูญแบบยกร่างใหม่โดยไม่ต้องทำประชามติ โดยไม่ต้องแก้รายมาตรา หากไม่กล้านิรโทษกรรมนักโทษการเมืองโดยไม่ยกเว้นความผิดให้เจ้าหน้าที่รัฐและผู้สั่งการ หากไม่กล้าลงนามสัตยาบันกับศาลอาญาระหว่างประเทศ หากไม่กล้ารับฟัง ครก.112 ชี้แจงเรื่องการเสนอให้แก้ไข ม.112 ไม่ใช่บอกปัดโดยอำนาจประธานสภาแบบเงียบๆ และไม่สมเหตุสมผล 
 
หากไม่กล้าแสดงออกให้สาธารณชนยอมรับคำตัดสินของศาลโลกกรณีเขาพระวิหาร
 
หากไม่กล้าบอกทักษิณให้หยุดแสดงความเห็นออกนอกหน้าเสียที (ยังไงคุณพูดทางลับ เขาก็คิดกันไปไหนต่อไหนอยู่แล้วว่าคุณมีอิทธิพลเบื้องหลังพรรคเพื่อไทย ไม่ต้องกลัวคนไม่รู้ด้วยการคอยออกมาพูดนั่นพูดนี่หรอกครับ)

ถ้าพวกคุณไม่กล้าทำสิ่งเหล่านั้น หรือไม่กล้าแม้แต่จะทำอะไรสักอย่างในความหวังเหล่านั้นแล้วล่ะก็ ถึงแม้พวกคุณจะเป็นรัฐบาลได้จนครบสมัยนี้ พวกคุณก็อย่าหวังเลยครับว่าจะได้เสียงส่วนใหญ่ในการเลือกตั้งสมัยหน้าอย่างสะดวกสบายแบบการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
อันที่จริงผมก็นึกไม่ถึงว่าจะมีคนสนใจข่าวนี้กันมากนัก เรื่องอาจจะเป็นเพราะมีการใช้คำในการรายงานข่าวเบื้องต้นอย่างคลาดเคลื่อนไป ก็เลยทำให้เป็นที่น่าตกใจ แต่อีกนัยหนึ่งก็ชี้ให้เห็นปัญหาการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนจนกระทั่งเมื่อมีการแสดงการต่อต้านด้วยการปฏิเสธที่จะอยู่ใต้อำนาจกดทับนั้น คนก็จึงตอบรับกันอย่างกระหน่ำ อย่างไรก็ดี ผมก็อยากชี้แจงให้กระจ่างเพิ่มเติมว่า ทำไมผมจึงเลือกที่จะแสดงสถานภาพในการเดินทางมาต่างประเทศของผมในครั้งนี้เพิ่มเติมผ่านข้อเขียนนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เพิ่งผ่านมาเพียง 5 เดือนอาจจะยังเร็วเกินไปที่จะถามว่า หลังรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 แล้วขบวนการประชาชนจะเป็นอย่างไรต่อไป แต่หากมองย้อนกลับไป แล้วมองไปข้างหน้าอีกสักหน่อย ก็น่าจะลองคิดถกเถียงกันบ้างว่า ขบวนการประชาชนน่าจะไปทางไหนต่อไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
TED รายการบรรยายสาธารณะที่มีชื่อเสียงและผมก็ติดตามเรียนรู้มาสม่ำเสมอ ได้เผยแพร่คลิปบรรยายของคีท เชน นักเศรษฐศาสตร์ที่เสนอข้อถกเถียงว่า ภาษามีความเชื่อมโยงกับการออมตั้งแต่เมื่อ 2 ปีที่แล้ว แต่ผมเพิ่งได้ยินเกี่ยวกับการศึกษานี้มาตั้งแต่ต้นภาคการศึกษานี้ในชั้นเรียนวิชามานุษยวิทยาภาษา ที่นักศึกษาคนหนึ่งเอ่ยถึงการศึกษานี้ และเพิ่งได้ดูด้วยตัวเองเมื่อ 3-4 วันก่อนนี้เอง เห็นว่าน่าสนใจดีก็เลยนำไปให้นักศึกษาดูและถกเถียงกันในชั้น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การอัตวินิบาตกรรมของคุณนวมทอง ไพรวัลย์ทำให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง นัยหนึ่งถือว่าเป็นการประท้วงต่อการรัฐประหาร อีกนัยหนึ่งถือเป็นการยืนยันความจริงจังและบริสุทธิ์ใจต่ออุดมการณ์ อีกนัยหนึ่งอาจปลุกเร้าสำนึกของผู้ร่วมอุดมการณ์ หรืออีกนัยหนึ่งก็เกรงว่าจะเป็นความสูญเสียที่สูญเปล่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การสอนหนังสือในมหาวิทยาลัยแตกต่างจากการสอนหนังสือในระดับโรงเรียนก็คงจะตรงที่ว่า ผู้สอนในระดับมหาวิทยาลัยไม่ได้เรียนการสอนมาก่อน อาจจะมีการอบรมเรื่องการเรียนการสอนบ้าง มีการประเมินผลให้ผู้สอนพิจารณาปรับปรุงตนเองบ้าง มีการประเมินตนเองบ้าง แต่ถึงที่สุดแล้ว ผู้สอนมีส่วนสร้างระบบการเรียนการสอนด้วยตนเอง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"อาร์บอรีทั่ม" (Arboretum) เป็นสวนพฤกษศาสตร์ขนาดใหญ่ร่วม 3 พันไร่ของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน สวนนี้ไม่ได้ตั้งอยู่ในบริเวณที่ตั้งมหาวิทยาลัย แต่ก็อยู่ห่างออกไปไม่ไกลนัก หากขยันเดิน สักชั่วโมงหนึ่งก็ถึง ถีบจักรยานไปก็สัก 20 นาที อาจเร็วกว่าขับรถที่ต้องเจอกับป้ายหยุด ทางแยก ไฟสัญญาณ กว่าจะถึงก็สัก 30 นาที
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักวิชาการมิได้มีสถานภาพพิเศษแตกต่างไปจากคนอื่นๆ ในสังคม เพียงแต่อาชีพนักวิชาการเป็นอาชีพที่ต้องพัฒนาความคิดความอ่านตลอดเวลา นักวิชาการจึงไม่ควรมีขอบเขตของความคิดความอ่าน พร้อมๆ กับที่ไม่ควรปิดกั้นขอบเขตของความคิดคนอื่น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
กว่า 3 เดือนที่ผ่านมาผมไปชมการแสดงดนตรีไม่รู้เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่ นึกเสียดายที่เมื่อ 10 กว่าปีก่อนที่มาเรียนไม่ค่อยมีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรมเหล่านี้เลย เมื่อวานนี้ (ตามเวลาที่อเมริกา) ผมก็เพิ่งออกจากห้องแสดงดนตรีมา จนทำให้ผมคิดขึ้นมาได้ว่า นี่ผมอยู่ในโลกไหนกัน แล้วทำไมที่ที่ผมอยู่เป็นปกติเขาถึงไม่ทำสถาบันการศึกษาให้เป็นสถานที่บ่มเพาะความเจริญของจิตใจได้อย่างนี้บ้าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เดอร์ แรธสเคลเลอร์เป็นบาร์เบียร์ของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน ตั้งอยู่ในตึกกิจกรรมนักศึกษา (ที่นี่เรียกว่า Memorial Union) ตึกกิจฯ นี้ตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1928 โน่นเลย บาร์เบียร์แห่งนี้ก็น่าจะอายุไม่น้อยไปกว่าตึกที่มันอาศัยอยู่เท่าใดนัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สัปดาห์ที่ผ่านมาผมเข้าร่วมกิจกรรมสังคมวิชาการซ้ำซ้อนกันหลายงาน ตั้งแต่บรรยายเรื่องการทำวิจัยในเวียดนามให้นักศึกษาบัณฑิตศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ฟัง ต่อด้วยปาร์ตี้ประจำปีของศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาของมหา'ลัยวิสคอนซิน ซึ่งเป็นงานแบบ potluck party และก็ฟองดูปาร์ตี้เล็กๆ ที่บ้านอาจารย์ท่านหนึ่ง ซึ่งก็ไม่ใช่อะไรมากไปกว่าขนมปังจุ่มชีสต้มเดือด ทั้งหมดนั้นได้อะไรสนุกๆ มามากมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผ่านมาได้ 3 สัปดาห์ วิชาที่ผมสอนที่วิสคอนซินเริ่มสนุกขึ้นเรื่อยๆ ในห้องมีนักเรียน 10 คน ขนาดพอๆ กับที่เคยสอนที่ธรรมศาสตร์ แต่ที่ต่างคือในห้องเดียวกันนี้มีทั้งนักเรียนปริญญาตรี โท และเอกเรียนร่วมกัน เพียงแต่ข้อกำหนดของงานและความคาดหวังจากนักเรียนระดับ ป.ตรีกับ ป.โท-เอก ย่อมแตกต่างกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ท่านถามอย่างนี้กับสื่อมวลชน ต่อหน้าสาธารณชน ใครเขาจะกล้าตอบ ก็ในเมื่อท่านมีปืนอยู่ในมือ ใครเอาปืนจี้หัวท่านไว้แล้วท่านจะตอบความในใจที่ขัดความรู้สึกเขาได้ไหมล่ะ เรื่องแค่นี้น่าจะเข้าใจนะ