Skip to main content

หากพวกคุณวิจัยสำรวจอย่างตรงไปตรงมาจริงๆ พวกคุณก็ย่อมรู้อยู่แก่ใจดีว่า ชัยชนะจากคะแนนเสียงที่ "ไม่่่ท่วมท้นนัก" ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา มาจากกลุ่มคนที่มีความหวังว่าเพื่อไทยจะเป็นเดินหน้าพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศไทยอย่างจริงจังเสียที

หากพวกคุณไม่ได้หลงตัวเองอย่างงมงาย พวกคุณย่อมรู้อยู่แก่ใจดีว่า ชัยชนะของพรรคเพื่อไทยไม่ได้ได้มาด้วยการหาเสียงอย่างหนักหน่วงของพรรค ไม่ได้ได้มาด้วยความสามารถในการบริหารประเทศของอวตารต่างๆ ของพรรคไทยรักไทยเท่านั้น ไม่ได้ได้มาด้วยหน้าตาคุณงามความดีของสส.เรียงเบอร์หรือสส.บัญชีหางว่าว และไม่ได้ได้มาด้วยเงินซื้อเสียงอย่างแน่นอน
 
หากพวกคุณยังพอมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองอยู่บ้าง พวกคุณก็ย่อมรู้อยู่แก่ใจดีว่า ชัยชนะของเพื่อไทยไม่ได้ได้มาด้วยบุญญาบารมีของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และไม่ได้ได้มาด้วยความภักดีอย่างไร้เหตุผลต่อทักษิณ ชินวัตรและความมั่นใจอย่างไร้สติต่อตระกูลชินวัตรอย่างแน่นอน
 
หากแต่ชัยชนะของพรรคเพื่อไทยได้มาด้วยความหวังของผู้ลงคะแนนเสียงให้เพื่อไทย คะแนนเสียงที่ "ไม่ท่วมท้นนัก" ส่วนหนึ่งมาจากเสียงที่ไม่ได้นิยมชมชอบในตัวทักษิณ ชินวัตร เสียงที่ไม่เคยไว้ใจตระกูชินวัตร และเสียงไม่เคยเห็นหน้ายิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นเสียงที่ไม่เคยรู้ด้วยซ้ำว่าในทะเบียนราษฎร์มีคนชื่อยิ่งลักษณ์ ชินวัตรอยู่ในครอบครัวชินวัตรด้วย
 
แต่ชัยชนะของเพื่อไทยมาจากความหวังที่ประชาชนส่วนใหญ่มอบให้พรรคเพื่อไทย ความหวังที่ว่าคืออะไรบ้าง 
 
- ความหวังที่จะสร้างบรรทัดฐานทางการเมืองแบบใหม่ให้กับการเมืองไทย 
- ความหวังที่จะแสดงให้ชนชั้นนำสำเหนียกว่าชาวไทยไม่สามารถยอมรับการรัฐประหารได้อีกต่อไป ชาวไทยต้องการเดินบนวิถีทางของระบอบรัฐสภาและการเลือกตั้ง ความหวังที่จะประกาศให้ชั้นนำไทยสำเหนียกว่า ชาวไทยไม่สามารถยอมรับอำนาจ "นอก" "เหนือ" รัฐธรรมนูญได้อีกต่อไป ชาวไทยทนไม่ได้อีกต่อไปกับภาวะสองนคราประชาธิปไตย (ที่ว่าคนบ้านนอกตั้งรัฐบาล ดัดจริตชนชาวกรุงล้มรัฐบาล)
- ความหวังที่จะเอาคนสั่งสังหารประชาชนในการสลายการชุมนุมที่แยกคอกวัวและราชประสงค์เข้าคุก 
- ความหวังที่จะไม่ประนีประนอมกับ "อำมาตย์" อีกต่อไป ความหวังที่จะเดินหน้าสู่โครงการประชาธิปไตยของคณะราษฎร (ทึ่กล่าวไว้ตอนหนึ่งในประกาศคณะราษฎรว่า "ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า ประเทศเรานี้เป็นของราษฎร ไม่ใช่ของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง) อย่างจริงจังเสียที
 
หากไม่กล้าเดินหน้าโหวตวาระ 3 เพื่อแก้รัฐธรรมนูญแบบยกร่างใหม่โดยไม่ต้องทำประชามติ โดยไม่ต้องแก้รายมาตรา หากไม่กล้านิรโทษกรรมนักโทษการเมืองโดยไม่ยกเว้นความผิดให้เจ้าหน้าที่รัฐและผู้สั่งการ หากไม่กล้าลงนามสัตยาบันกับศาลอาญาระหว่างประเทศ หากไม่กล้ารับฟัง ครก.112 ชี้แจงเรื่องการเสนอให้แก้ไข ม.112 ไม่ใช่บอกปัดโดยอำนาจประธานสภาแบบเงียบๆ และไม่สมเหตุสมผล 
 
หากไม่กล้าแสดงออกให้สาธารณชนยอมรับคำตัดสินของศาลโลกกรณีเขาพระวิหาร
 
หากไม่กล้าบอกทักษิณให้หยุดแสดงความเห็นออกนอกหน้าเสียที (ยังไงคุณพูดทางลับ เขาก็คิดกันไปไหนต่อไหนอยู่แล้วว่าคุณมีอิทธิพลเบื้องหลังพรรคเพื่อไทย ไม่ต้องกลัวคนไม่รู้ด้วยการคอยออกมาพูดนั่นพูดนี่หรอกครับ)

ถ้าพวกคุณไม่กล้าทำสิ่งเหล่านั้น หรือไม่กล้าแม้แต่จะทำอะไรสักอย่างในความหวังเหล่านั้นแล้วล่ะก็ ถึงแม้พวกคุณจะเป็นรัฐบาลได้จนครบสมัยนี้ พวกคุณก็อย่าหวังเลยครับว่าจะได้เสียงส่วนใหญ่ในการเลือกตั้งสมัยหน้าอย่างสะดวกสบายแบบการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลังจากพินิจพิเคราะห์แล้วว่า ท่านผู้นำกำลังจะหมดเรื่องพล่ามในไม่ช้า เพราะเริ่มวนเวียนและเล่าเรื่องตัวเองมากขึ้น ท่านจึงควรหาความรู้รอบตัวมากขึ้น ก็เลยขอตามกระแส แนะนำหนังสือให้ท่านอ่าน ก็ไม่รู้จะ tag ท่านยังไง แต่คิดว่า เขียนใส่ขวดลอยไปก็อาจจะลอยไปถึงตีนบันไดบ้านท่านบ้างสักวัน ก็ขออนุญาตแนะนำดังนี้ครับท่าน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นท่านผู้นำไม่นิยมผู้หญิง เพราะในคณะรัฐบาลท่านมีผู้หญิงเพียง 2 คน ผมก็เลยขอแนะนำท่านว่า ผู้หญิงทำงานความคิดเก่งๆ มีมากมาย ไม่ใช่ให้ลูกน้องเอาผู้หญิงมาเต้นโป๊เปลือยดูกันในค่ายทหารเท่านั้น แต่ก็เอาล่ะ ขอแนะนำนักมานุษยวิทยาสตรีที่ผมชื่นชอบสัก 10 คนก็แล้วกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรามีปาก เขามีปืน เราขัดขืน เขาข่มเหงเรานักเขียน เขานักเลง เรายำเกรง เขาลำพอง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ใครที่รู้จักอาคารดังๆ ของแฟรงค์ ลอยด์ ไรท์ (Frak Lloyd Wright) อย่าง Guggenhiem Museum ที่นิวยอร์ค บ้านน้ำตกที่เพลซิลวาเนีย Imperial Hotel ที่โตเกียว อาจจะนึกไม่ถึงว่า บ้านที่ไรท์เรียกว่าเป็นบ้านของเขานั้นอยู่ในชนบทที่ Spring Green มลรัฐวิสคอนซิน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะแบบนี้ปรากฏตัวบ่อยครั้งในข้อถกเถียงทางการเมืองไทย ในระบบการศึกษาไทย ตำราเรียนไทย ประวัติศาสตรืไทยแบบทางการก็ยังสอนแบบนี้อยู่ คนไทยไม่ว่าจะใส่เสื้อสีใด ส่วนใหญ่ก็ยังเชื่อแบบนี้อยู่ ทัศนะแบบนี้คงกะลาความเป็นไทยเอาไว้อย่างหนาเตอะเกรอะกรัง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บทสนทนาระหว่าง นายอานันท์ ปันยารชุน กับนายภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ล่าสุด เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2557 ที่โรงแรมมณเฑียร มีสาระที่น่าสนใจหลายประการต่อการเข้าใจการเมืองไทย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 นึกถึงชิคาโก ผู้คนคงนึกถึงตึกระฟ้าที่เคยประชันกันกับนิวยอร์ค นึกถึงธุรกิจที่ดึงดูดให้ใครต่อใครมาอาศัยที่นี่จนเป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ของสหรัฐอเมริกา นึกถึงสถาปัตยกรรมอันหลากหลายและฟังเมืองใหม่หลังไฟไฟม้ใหญ่จนราบไปทั้งเมือง นึกถึงอัลคาโปนเจ้าพ่อชื่อดัง นึกถึงพิพิธภัณฑ์ที่เดินดูกันทั้งเดือนก็คงไม่หมด นึกถึงมหาวิทยาลัยอันโด่งดังอย่างมหาวิทยาลัยแห่งชิคาโก แต่ใครบ้างจะนึกถึงแมกไม้และสายน้ำของชิคาโก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
  เมื่อวันจันทร์ (11 สค.) หลังจากใช้เวลาอยู่ใน Field Museum (ซึ่งพอดีมีนิทรรศการว่าด้วยกำเนิดของ Field Museum ที่เกี่ยวข้องกับกำเนิดของมานุษยวิทยาอเมริกันอย่างยิ่ง) ไปกว่า 4 ชั่วโมงแล้ว ผมลังเลอย่างยิ่งที่จะเข้าชม The Art Institute of Chicago ต่อ เพราะเกรงว่าจะไม่ทันได้ครุ่นคิดอะไรกับความรู้และความรู้สึกแบบอัดแน่นจากเมื่อ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักเรียนคนหนึ่งถามเรื่อง "การเขียน" และการวางแผน "อนาคต" ของเขา ผมเขียนตอบไปอย่างยาว เห็นว่าอาจเป็นประโยชน์กับคนอื่นๆ บ้าง ก็เลยขอนำมาเผยแพร่ที่นี่ครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะอาจารย์ธรรมศาสตร์ ผมไม่อาจยินดีกับการที่ผู้บริหารสูงสุดของมหาวิทยาลัยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จาก คสช. 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อก่อนผมเถียงกับเพื่อนเสมอว่า อย่ามาถามว่าผมเป็นคนที่ไหน เพราะคนเราอาจมีหลายบ้าน มีใครในยุคนี้ที่ไม่ย้ายบ้านบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำสวยหรูนี้ประดิษฐ์ขึ้นมาในภาษาไทยโดยใครนั้น ผู้ที่ติดตามแวดวงวิชาการในระยะ 30 ปีที่ผ่านมาย่อมทราบดี ไม่ว่าจิตวิญญาณของผู้ที่กล่าวคำนี้จะยังอยู่กับแนวคิดนี้ที่เขาอาจพลั้งปากออกมาหรือไม่ คนที่สนิทชิดเชื้อกับผู้ประดิษฐ์คำท่านนี้ก็คงจะทราบดี