Skip to main content

แต่ละคนคงมีตำนานส่วนตัวของตนเอง ที่สะสมความทรงจำซึ่งมักออกจะเดินจริงไปสักหน่อย แม้เมื่อมาพบกับสถานที่ บุคคล หรือแม้แต่รสสัมผัส ในที่นี้คืออาหาร ในตำนานเข้าจริงๆ อีกสักครั้ง แล้วจะรู้สึกว่าความอลังการของบุคคลและวัตถุในตำนานจะถดถอยค่าลงบ้าง ก็ยังไม่ถึงกับจะทำให้ภาพงดงสมในตำนานเลือนหายไปได้ง่ายๆ 

ผมได้กลับมาโตเกียวอีกครั้งเมื่อสองวันก่อน (9 มีนาคม 2556) เพื่อมาเสนอผลงานวิชาการเกี่ยวกับประเทศเวียดนาม ซึ่งเป็นหัวข้อที่ผมใช้หากินในเวทีวิชาการนานาชาติมากว่าเรื่องประเทศไทย ซึ่งจะทำให้ผมไปอยู่ในอีกซีกโลกทางวิชาการ แต่เอาเถอะ พักเรื่องวิชาการไปหน่อย แล้วไปหาอะไรดื่มกินกันอีกสักข้อเขียนหนึ่ง

 

เมื่อวาน หลังจากตรากตรำทำงานหามรุ่งหามค่ำมาสองคืนก่อนหน้า เนื่องจากก่อนหน้านี้ก็ตรากตรำทำงานหามรุ่งหามค่ำกับงานอื่นๆๆๆ เมื่อตัดใจได้ว่าควรจะส่งงานได้แล้ว ก็จึงส่งไปในรูปแบบที่ตนเอง “พอรับได้” 

 

ส่งงานแล้วจะให้ทำอะไร ถ้าไม่ใช่หาราเมนสไตล์เกียวโตอร่อยๆ กิน ซึ่งน่าจะได้มาจากกลิ่นน้ำแกงใสแต่เข้มข้นด้วยปลาแห้งชิ้นหนาที่ซอยจนบางราวกระดาษ ซึ่งมักประดับโรยหน้าโอโคนามิยากิ (แปลว่า ผักจับฉ่ายนาบกะทะ) แต่ไม่ปรากฏเนื้อตัวปลาในน้ำซุปราเมนช้ั้นดี ถ้าไม่ใช่ออกไปเดินรับลมหนาวเคล้าสายฝนยามต้นฤดูใบไม้ผลิ (อุณหภูมิ 13 เซลเซียส) ถ้าไม่ใช่ไปเดินดูผู้คนที่พูดจาภาษาถิ่น ถ้าไม่ใช่หาอะไรดื่มเบาๆ เคล้าความหนาวเย็นที่ไม่ถึงระดับเย็นยะเยือก (ใครที่เรียนหนังสือกับผม อย่าเขียนประโยคยาวๆ แบบนี้ส่งงานผมมาเด็ดขาดนะครับ เอาไว้เรียนจบแล้วค่อยเขียนประโยคยาวๆ)

 

สุดท้าย เมื่ออ่ิมท้องแล้ว ยามบ่ายวานนี้ ก็เดินไปหลบฝนไปหาที่คลายหนาวไปจนสิ้นสุดที่ร้านขายสุราแห่งหนึ่ง ไม่ได้ซื้อ "สุรา" ในความหมายเฉพาะเจาะจง แต่หาซื้อไวน์ เพราะรู้จากการมาเยือนคราวก่อนๆ แล้วว่า ไวน์ราคา "ปกติ" ของญี่ปุ่น ที่ถูกสุดราคา 100 บาทไทย (มีจริงๆ) ไปจนถึงแค่ 2,000 เยน (ราว 600 บาท) ซึ่งแค่นี้ทางร้านก็ตื่นเต้นล็อคตู้ไม่ให้หยิบชมเล่นแล้ว แต่ที่ราคาสูงลิ่วจริงคือขวดละ 20,000 เยน (ราว 6,000 บาท) ที่แช่ตู้เย็นลงกลอนไว้แล้วห่อด้วยพลาสติกแร็บ (ไม่รู้ทำไม)

 

ตรรกะของไวน์ในร้านไวน์-เหล้าที่เกียวโตก็น่าสนใจ ของถูก (100, 150 ถึง 300 บาท) ใส่กะบะบ้าง วางตรงระดับเพียงตาบ้าง วางอยู่กลางร้านบ้าง แต่ของราคาแพงกลับวางอยู่ระดับต่ำกว่าสายตา หรือไม่ก็เข้าถึงยากด้วยการลงกลอน แต่ถ้าในอเมริกา เขาจะไม่ได้วางอย่างนี้ ของถูกวางต่ำกว่าระดับสายตา ของแพงปานกลางวางระดับสายตาไปจนถึงของราคาสูงวางระดับเหนือสายตา

 

ไม่ต้องคิดอะไรมาก อากาศหนาวแถมฝนพรำยามบ่าย แถมเพิ่งปั่นงานที่นั่งเขียนตั้งแต่บนเครื่องบินเสร็จส่งไป จะให้ทำอะไรได้มากกว่านี้ สู้ซื้อไวน์ราคา 300 บาทไทย (ซึ่งไวน์ระดับนี้ หากซื้อหาในเมืองไทยก็ต้องราวๆ 600-800 บาทไทย) กลับมานั่งชิลที่โรงแรมไม่ดีกว่าหรือ ว่าแล้วก็ถอยมา 2 ขวด (ถึงขณะที่เขียนนี้ผ่านไป 2 ชั่วโมง แก้หนาวกับไวน์แดงจากสเปนหมดไปแล้วครึ่งขวด) 

 

ส่วนหนึ่งของความยุ่งยากในเกียวโตคือ การหลีกเลี่ยงที่จะเสียเงินไปกับไวน์ราคายุติธรรม

 

ตกเย็น เพื่อไม่ให้ตกเป็นทาสของไวน์ราคายุติธรรม ประกอบกับแดดเริ่มออกหลังฝนตกยามบ่ายจนต้องหาเหตุกลับมาจิบไวน์หลบฝนในโรงแรม ก็คิดได้ว่า ควรออกไปเดินแล้วหาอะไรอร่อยๆ ในเกียวโตกิน 

 

ไปเดินหาอาหารในตำนานส่วนตัว ท่ามกลางอากาศหนาวเหน็บ น่าจะต่ำกว่า 10 เซลเซียส บวกลมแรงแล้ว อุณหภูมิคงต่ำลงไปอีกจนถึง 5 ถึง 3 เซลเซียส ที่จริงตั้งใจไปหาร้านราเมนในตำนานของใครหลายๆ คน ร้านนี้สืบทอดตำนานมาจากเพื่อนอาจารย์ญี่ปุ่นคนหนึ่ง ที่พาไปกินเมื่อสาม-สี่ปีก่อน คราวนี้ไปเกียวโตทีไร ก็จะต้องไปเดินหาร้านนี้ แล้วก็เจอทุกที จนจำได้ว่า ปากทางเข้าเป็นร้านไอครีมยี่ห้อดังเจ้าหนึ่ง 

 

แต่คราวนี้ได้ไปพักในย่านอีกย่านหนึ่ง ไม่คุ้นเคยมาก่อน เดินเรื่อยเปื่อยไปทางถนน Sanjo ข้ามแม่น้ำ Kamo ข้ามห้วยเล็กสายหนึ่ง เจอสามแยกแล้วเลี้ยวซ้าย เดินลงไปทางฝต้พักหนึ่ง แวะร้านขายเครื่องเขียนที่เคยมาหลายปีก่อน จากนั้นก็เดินหาร้านราเมนต่อ แต่หาไม่เจอ หิวแล้วและหนาวลงเรื่อยๆ

 

เลยหันทิศทางเดินกลับมาทางที่พัก เดินตามทางริมห้วยเล็กๆ ที่่มีร้านอาหารเรียงรายเต็มไปหมด แล้วทันใดนั้น ก็นึกขึ้นมาได้ว่า ต้องเป็นย่านนี้แน่เลยที่เคยเจอร้านอาหารในตำนานส่วนตัว

 

มาหยุดอยู่ที่หน้าร้านแห่งหนึ่ง ป้ายร้านมีรูปปลาหมึกยักษ์สีแดง ยื่นหน้าเข้าไปดู คิดว่าต้องเป็นร้านนี้แน่ๆ ที่เคยหลงทางมากับเพื่อนคนหนึ่ง แล้วพบร้านนี้เข้า แต่หลายปีต่อมาพยายามหาทีไรก็ไม่เจอ แต่วันนี้มาเจออีกครั้งเข้าจนได้

 

ร้านนี้ไม่มีเมนูภาษาอังกฤษเลย คนกินมีแต่คนญี่ปุ่นหรือไม่ก็คนต่างชาติที่รู้จักร้านนี้ดี ร้านมีที่ปรุงอาหารอยู่กลางร้านเลย รายล้อมด้วยที่นั่งเป็นเคาท์เตอร์รอบๆ บริเวณที่ปรุงอาหาร ในร้านมีคนทำงานอยู่สองคน หญิงหนึ่งชายหนึ่ง น่าจะเป็นแม่-ลูกกัน พอบอกว่าเคยมาและมาหาร้านนี้ถึงสามปีแล้ว เขาดีใจมาก

 

อาหารที่เด็ดมากของร้านนี้ เรียกว่าใครเข้ามาก็ต้องกินคือ Tamako Yaki (ทีแรกไม่รู้ว่าเรียกอะไร เพื่อนอาจารย์ที่เคยอยู่เกียวโตบอกชื่อให้) แต่วันนี้เห็นคนขายทำเต้าหู้ชุปแป้งบางๆ ทอดแล้วเสิร์ฟในน้ำซ้อส เต้าหู้นุ่มมาก ไม่รู้เขาใช้มือหยิบมันคลุกแป้งแล้วใส่ได้อย่างไร เพราะมันนุ่มมาก เรียกว่าต้องใช้ตะเกียบประคองตักใส่ปาก

 

ส่วน Tamako Yaki นั้นต่างจาก Tako Yaki ทั่วไปตรงที่ อาหารจานนี้มีแต่ไข่ล้วนๆ แล้วบรรจงวางปลาหมึกลงไปในหลุมเท่าหลุมขนมครกที่เต็มไปด้วยไข่ เหมือนขนมครกไข่ไส้ปลาหมึก ได้ไข่นุ่มๆ กลมๆ เสิร์ฟเป็นแนวมาสองแถวสวยงามบนถาดสีแดง

 

ในที่สุดก็เจอร้านในตำนานส่วนตัว แต่วันหลังต้องดั้นด้นพิชิตร้านอาหารตามลายแทงส่วนตัวให้ครบ ก่อนจะดั้นด้นสร้างตำนานใหม่ๆ ให้ตัวเองต่อไป

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
อย่างที่บอกคือ ผมไม่ใช่คนเชี่ยวชาญเกาหลี จะเล่าเรื่องเกาหลีก็จะต้องมีผิดมีพลาดบ้าง เพียงแต่อยากบันทึกเก็บไว้ แล้วแบ่งปันบ้าง เผื่อใครสนใจหรือช่วยเติมต่อความรู้ อีกเรื่องหนึ่งที่ผมสนใจในการไปเกาหลีทั้งสองครั้ง (ครั้งแรกเมื่อ 8 ปีก่อน ก็ไปแค่สั้นๆ ไม่กี่วัน) ก็คือการได้พบเจอผู้คนและได้ไปเดินด่อมๆ มองๆ ตามย่านการค้า ร้านค้า และพบปะพูดคุยดื่มกินกับผู้คน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ได้อยู่นฐานะที่จะมาเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลี เดินทางไปแค่สองครั้ง ครั้งละไม่กี่วัน ไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ ไม่ได้เชี่ยวชาญอะไร แต่ด้วยนิสัยของการชอบบันทึกเก็บไว้ ก็เลยอยากเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลีที่รู้จักเอาไว้อ่านเอง เอาไว้คิดต่อ เอาไว้ก่อนที่จะลืม ก่อนที่จะไม่อยากเขียน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอร่วมรำลึกวาระ 40 ปี 6 ตุลาด้วยการกล่าวถึงงานศึกษาสังคม-วัฒนธรรมไทยที่เป็นพื้นฐานของเหตุการณ์เมื่อ 40 ปีก่อนนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จำเป็นแค่ไหนที่เราจะต้องคิดต่างจากส่วนกลาง ถ้าเราคิดว่าการครอบงำของความรู้ตะวันตกเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเข้าใจตัวตนเราเอง และทั้งยังปิดกั้นความเป็นมนุษย์ที่ไม่ได้ถูกเข้าใจจากมุมมองที่ต่างออกไป เราก็จำเป็นที่จะต้องคิดทั้งนอกกรอบตะวันตกและนอกกรอบการครอบงำจากอำนาจศูนย์กลางของรัฐ ความคิดนอกกรอบการครอบงำดังกล่าวส่วนหนึ่งเรียกว่าแนวคิดหลังอาณานิคม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายวันมานี้มีเรื่องขันขื่นหลายเรื่องที่สังคมไทยก้าวไม่พ้นเสียที แต่ผมว่าเรื่องพื้นฐานของปัญหาเหล่านี้คือเรื่องการไม่ยอมรับผิด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไปโกเบเมื่อสี่วันก่อน (7 มิถุนายน 59) นอกจากได้รู้จักความเป็นเมืองฝรั่งๆ ของโกเบแล้ว สาระสำคัญของการไปโกเบวันก่อนอย่างหนึ่งคือการไปพิพิธภัณฑ์เครื่องมือช่างไม้แห่งนี้ พิพิธภัณฑ์นี้เป็นของบริษัท Takenaka ที่บอกเล่าว่าตั้งมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 17 ส่วนพิพิธภัณฑ์นี้เปิดปี 1984 แล้วเข้าใจว่าน่าจะค่อยๆ พัฒนาคอลเล็กชั่นและการจัดแสดงขึ้นมาเรื่อยๆ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ความสุขอย่างหนึ่งของการมาอยู่ที่ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษามหาวิทยาลัยเกียวโตก็คือ การได้รู้จักผู้คนและแลกเปลี่ยนความรู้ในหลายภาษา อีกอย่างคือได้แลกเปลี่ยนความรู้ในหลายบริบท ทั้งในห้องสัมมนา ห้องทำงาน ห้องเรียน และร้านเหล้า ผมถือว่ามันเป็นบริบททางวิชาการทั้งนั้นแหละ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
รู้กันนะครับว่า เวลาที่เราเรียกว่า "หล่อๆ" นี่ ไม่ใช่ว่าต้องเป็นผู้ชาย ผู้หญิงก็หล่อได้ เพราะมันหล่อในสำนวน ในการแสดงออก ในท่าที ทั้งๆ ที่หน้าตาไม่ต้องหล่อก็ได้ แต่หล่อที่คำพูด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่งสอนผมว่า “คำวิจารณ์น่ะ น่าฟังมากกว่าคำชื่นชม เนื่องจากคนที่วิจารณ์เราน่ะ เขาจริงใจกับเรามากกว่าคนที่ชื่นชมเรา ไม่มีใครวิจารณ์เราตามมารยาท แต่คนชมน่ะ บางทีเขาก็ชมเราไปตามมารยาทเท่านั้นแหละ” ดังนั้นเมื่อโลกเขารุมวิจารณ์ไทย เราก็ควรรับฟังเขา เพราะถ้าเขาไม่มีความจริงใจ ไม่อยากเห็นเราปรับปรุงตัวจริงๆ ไม่รัก ไม่ห่วง ไม่อยากคบค้าสมาคมด้วย เขาก็คงไม่ติติงเรา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนแบบพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาไม่ได้มีแต่พลเอกประยุทธ์เพียงคนเดียว แต่ยังมีคนอีกจำนวนมากที่มีเบื้องลึกของจิตใจแบบพลเอกประยุทธ์ แต่หากจะพูดให้ถูก คนที่มีจิตใจเบื้องลึกที่กักขฬะ อาจจะไม่จำเป็นต้องแสดงออกอย่างกักขฬะแบบพลเอกประยุทธ์ แต่ทำไมขณะนี้สังคมไทยจึงยอมให้ความกักขฬะเข้ามาปกครองบ้านเมือง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะเรียกอะไรก็แล้วแต่ ถ้าพูดอย่างหลวม ๆ คือ พวกเขาเป็นคนกลุ่มเดียวกัน สองชื่อแรกใช้ในประเทศไทย เรียกกลุ่มคนที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ที่จริงพวกเขายังอยู่ในอำเภอเมือง อำเภอหนองหญ้งปล้อง และอำเภออื่น ๆ ของเพชรบุรี แล้วยังกระจายย้ายถิ่นไปในจังหวัดอื่น ๆ ตั้งแต่นครปฐม ชุมพร ไปจนถึงนครสวรรค์ เลย ฯลฯ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้ผมกลับมาไทย 7 วัน ไม่รวมวันเดินทางอีกสองวัน ที่มาเพราะได้รับเชิญมาเสนอความเห็นในการ workshop งานหนึ่ง ผมก็เลยถือโอกาสนี้ใช้ทุนที่ต้องใช้สำหรับทำวิจัย เก็บข้อมูลของมหาวิทยาลัยเกียวโต ซึ่งก็มีอยู่ไม่มากนัก มาเพื่อใช้เดินทางไปเก็บข้อมูลเพิ่มเติมด้วยเลย