Skip to main content

น่าละอายใจที่สภาผู้แทนราษฎรปัดตกข้อเสนอของประชาชนกว่าสามหมื่นคนที่เสนอให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ถ้าบอกกันตรงๆ ว่า "กลัวอ่ะ" ก็จบ ประชาชนอาจจะให้อภัยความปอดแหกได้ แต่ประชาชนส่วนหนึ่งจะตัดสินใจไม่เลือกพวกคุณเข้ามาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนฯ อีกอย่างแน่นอน

แต่เมื่อทำท่าอ้างหลักการโน่นนี่นั่นว่าสถาบันที่เคารพรักบ้างล่ะ ว่าไม่เข้าข่ายสิทธิเสรีภาพบ้างล่ะ มันมันแสดงให้เห็นถึงความเสื่อมของสถาบันรัฐสภา และแสดงการไม่เคารพอำนาจของประชาชนที่เลือกพวกคุณเข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้แทนของพวกเขา 
 
อย่าลืมว่าเขาไม่ได้เลือกพวกคุณมาเพื่อออกกฎหมายเท่านั้น และยิ่งกว่านั้นคือ ประชาชนไม่ได้เลือกพวกคุณมาปกป้องการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนในนามของการปกป้องความมั่นคงคงรัฐ แต่เขาเลือกพวกคุณมาปกป้องสิทธิเสรีภาพของพวกเขาด้วย
 
เหตุผลที่รัฐสภาปฏิเสธข้อเรียกร้องของประชาชนราวสามหมื่นคนที่เข้าชื่อเรียกร้องให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่ว่า "ร่างพระราชบัญญัติที่เสนอมานั้น มีการแยกองค์ประกอบความผิด ลักษณะการกระทำความผิดที่ผ่อนคลายลง และอัตราโทษที่น้อยลง ย่อมจะต้องทำให้มีการละเมิด กล่าวหา ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตรมาดร้ายได้โดยง่ายขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อความมั่นคงของรัฐได้" นับเป็นการปกป้องความมั่นคงของรัฐเหนือสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างแท้จริง 
 
อันที่จริง การวิจารณ์กษัตริย์เป็นคนละเรื่องกันกับการละเมิด ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตรมาดร้าย กษัตริย์ พระราชินี องค์รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ที่ได้รับการคุ้มครองโดย ม. 112 เหตุผลในการบอกปัดข้อเสนอของประชาชนครั้งนี้จึงแสดงการบิดเบือนในหลายๆ ประการด้วยกัน 
 
1) หากพิจารณาด้วยเหตุด้วยผลแล้ว เข้าใจไม่ได้เลยว่าการมีโทษสูงจะทำให้เกิดการละเมิดสถาบันน้อยได้อย่างไร ในเมื่อข้อเท็จจริงที่ประจักษ์แจ้งคือ การที่ผู้ต้องหาคดี ม 112 เพิ่มเป็นจำนวนมหาศาลในปี 2552-2553 ทั้งๆ ที่ไม่ได้มีการลดโทษ ม. 112 ลงเลย 
 
2) ด้วยตรรกเดียวกันนี้ สภาผู้แทนราษฎรไทยจะตอบอย่างไรว่า ในบางประเทศที่มีสถาบันกษัตริย์ อย่างญี่ปุ่น กษัตริย์เขาทรงกระทำการอย่างไรหรือจึงไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายแบบ ม. 112 มาปกป้องเป็นพิเศษ กษัตริย์เขาเข้มแข็งหรือมีพระบรมเดชานุภาพอย่างไรหรือจึงไม่ต้องการกฎหมายใดๆ มาคุ้มครองเป็นพิเศษเหมือนกษัตริย์ ราชินี องค์รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของไทย 
 
3) ข้อโต้แย้งของสภาผู้แทนราษฎรตอบโต้แต่เพียงกล่าวว่า "พระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่เคารพสักการะ" แต่ข้อเสนอของ ครก. 112 นั้น ครอบคลุมทั้งกษัตริย์ ราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ นี่เป็นความจงใจสร้างความสับสนให้ปราชนเข้าใจผิดคิดว่า ครก. 112 มุ่งแก้กฎหมายที่เกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์เท่านั้น
 
4) ข้อเสนอของ ครก. 112 ประสงค์ให้แยกแยะการวิจารณ์โดยบริสุทธิ์ใจ ด้วยข้อเท็จจริง ออกจากการดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตรมาดร้าย เพราะทุกวันนี้เพียงแค่มีการวิจารณ์ใครต่อใครในครอบครัวของกษัตริย์ ก็อาจถูกเหมารวมว่าเป็นการละเมิดได้แล้ว
 
5) คงไม่ต้องอธิบายกันมากมายว่า การคงอยู่ของ ม. 112 แบบในปัจจุบันเอื้อให้เกิดการละเมิดสิทธิเสรีภาพอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นเสรีภาพในร่างกาย มีการกักขังหน่วงเหนี่ยว การไม่ให้ประกันตัวเนื่องจากถือว่าโทษรุนแรงถึงขนาดเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ และยังละเมิดเสรีภาพในการแสดงความเห็น ไม่ให้พิสูจน์ความจริง 
 
6) ม. 112 เองคือกฎหมายที่ทำลายความมั่นคงของรัฐ มีส่วนดึงให้สถาบันตกต่ำ เนื่องจากสถาบันถูกใช้เป็นเครื่องมือกลั่นแกล้งทางการเมืองและกลั่นแกล้งส่วนบุคคล รวมทั้งการไม่สามารถวิจารณ์สถาบันได้ ทำให้สถาบันไม่ถูกตรวจสอบ การตรวจสอบกับการละเมิดเป็นคนละเรื่องกันแน่นอน พระเจ้าอยู่หัวเองก็ทรงตรัสว่า พระองค์ทรงงาน จึงต้องถูกวิจารณ์ได้
 
ประการสุดท้าย การปัดข้อเสนอของปราชนครั้งนี้โดยสภาผู้แทนราษฎรนับเป็นภัยต่อความมั่นคงของ "สถาบันประชาชน" เหตุผลของสภาผู้แทนราษฎรชวนให้เข้าใจว่า สภาผู้แทนราษฎรไทยไม่เห็นว่าสิทธิเสรีภาพของประชาชนคือความมั่นคงของรัฐ สภาผู้แทนราษฎรไทยเลือกปกป้องความมั่นคงของรัฐเหนือสิทธิเสรีภาพของประชาชน สภาผู้แทนราษฎรไทยยอมให้มีการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนเพื่อแลกกับการปกป้องสถาบันกษัตริย์ ราวกับว่า ประเทศนี้ไม่ต้องมีก็ประชาชนได้ แต่ไม่มีกษัตริย์ไม่ได้
 
สภาผู้แทนราษฎรคงลืมไปแล้วว่า รัฐไทยในโลกปัจจุบันคือรัฐ-ชาติ และชาติคือประชาชน ไม่ใช่สถาบันอื่นใด ดังนั้น ถ้าสิทธิเสรีภาพของประชาชนไม่ได้รับการคุ้มครองเหนือสถาบันอื่นใด ถ้าประชาชนถูกลิดรอนสิทธิเสรีภาพ ถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพ ถ้าประเทศนี้ไม่มีสถาบันประชาชนที่เข้มแข็ง ถ้าไม่ปกป้องความมั่งคงของประชาชน จะมีรัฐประชาธิปไตยที่มั่นคงได้อย่างไร แล้วสภาผู้แทนราษฎรจะเกิดมาจากไหน จะมีอำนาจมาจากที่ใด จะเป็นสภาผู้แทนพระมหากษัตริย์หรืออย่างไร

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
อันที่จริงผมก็นึกไม่ถึงว่าจะมีคนสนใจข่าวนี้กันมากนัก เรื่องอาจจะเป็นเพราะมีการใช้คำในการรายงานข่าวเบื้องต้นอย่างคลาดเคลื่อนไป ก็เลยทำให้เป็นที่น่าตกใจ แต่อีกนัยหนึ่งก็ชี้ให้เห็นปัญหาการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนจนกระทั่งเมื่อมีการแสดงการต่อต้านด้วยการปฏิเสธที่จะอยู่ใต้อำนาจกดทับนั้น คนก็จึงตอบรับกันอย่างกระหน่ำ อย่างไรก็ดี ผมก็อยากชี้แจงให้กระจ่างเพิ่มเติมว่า ทำไมผมจึงเลือกที่จะแสดงสถานภาพในการเดินทางมาต่างประเทศของผมในครั้งนี้เพิ่มเติมผ่านข้อเขียนนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เพิ่งผ่านมาเพียง 5 เดือนอาจจะยังเร็วเกินไปที่จะถามว่า หลังรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 แล้วขบวนการประชาชนจะเป็นอย่างไรต่อไป แต่หากมองย้อนกลับไป แล้วมองไปข้างหน้าอีกสักหน่อย ก็น่าจะลองคิดถกเถียงกันบ้างว่า ขบวนการประชาชนน่าจะไปทางไหนต่อไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
TED รายการบรรยายสาธารณะที่มีชื่อเสียงและผมก็ติดตามเรียนรู้มาสม่ำเสมอ ได้เผยแพร่คลิปบรรยายของคีท เชน นักเศรษฐศาสตร์ที่เสนอข้อถกเถียงว่า ภาษามีความเชื่อมโยงกับการออมตั้งแต่เมื่อ 2 ปีที่แล้ว แต่ผมเพิ่งได้ยินเกี่ยวกับการศึกษานี้มาตั้งแต่ต้นภาคการศึกษานี้ในชั้นเรียนวิชามานุษยวิทยาภาษา ที่นักศึกษาคนหนึ่งเอ่ยถึงการศึกษานี้ และเพิ่งได้ดูด้วยตัวเองเมื่อ 3-4 วันก่อนนี้เอง เห็นว่าน่าสนใจดีก็เลยนำไปให้นักศึกษาดูและถกเถียงกันในชั้น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การอัตวินิบาตกรรมของคุณนวมทอง ไพรวัลย์ทำให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง นัยหนึ่งถือว่าเป็นการประท้วงต่อการรัฐประหาร อีกนัยหนึ่งถือเป็นการยืนยันความจริงจังและบริสุทธิ์ใจต่ออุดมการณ์ อีกนัยหนึ่งอาจปลุกเร้าสำนึกของผู้ร่วมอุดมการณ์ หรืออีกนัยหนึ่งก็เกรงว่าจะเป็นความสูญเสียที่สูญเปล่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การสอนหนังสือในมหาวิทยาลัยแตกต่างจากการสอนหนังสือในระดับโรงเรียนก็คงจะตรงที่ว่า ผู้สอนในระดับมหาวิทยาลัยไม่ได้เรียนการสอนมาก่อน อาจจะมีการอบรมเรื่องการเรียนการสอนบ้าง มีการประเมินผลให้ผู้สอนพิจารณาปรับปรุงตนเองบ้าง มีการประเมินตนเองบ้าง แต่ถึงที่สุดแล้ว ผู้สอนมีส่วนสร้างระบบการเรียนการสอนด้วยตนเอง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"อาร์บอรีทั่ม" (Arboretum) เป็นสวนพฤกษศาสตร์ขนาดใหญ่ร่วม 3 พันไร่ของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน สวนนี้ไม่ได้ตั้งอยู่ในบริเวณที่ตั้งมหาวิทยาลัย แต่ก็อยู่ห่างออกไปไม่ไกลนัก หากขยันเดิน สักชั่วโมงหนึ่งก็ถึง ถีบจักรยานไปก็สัก 20 นาที อาจเร็วกว่าขับรถที่ต้องเจอกับป้ายหยุด ทางแยก ไฟสัญญาณ กว่าจะถึงก็สัก 30 นาที
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักวิชาการมิได้มีสถานภาพพิเศษแตกต่างไปจากคนอื่นๆ ในสังคม เพียงแต่อาชีพนักวิชาการเป็นอาชีพที่ต้องพัฒนาความคิดความอ่านตลอดเวลา นักวิชาการจึงไม่ควรมีขอบเขตของความคิดความอ่าน พร้อมๆ กับที่ไม่ควรปิดกั้นขอบเขตของความคิดคนอื่น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
กว่า 3 เดือนที่ผ่านมาผมไปชมการแสดงดนตรีไม่รู้เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่ นึกเสียดายที่เมื่อ 10 กว่าปีก่อนที่มาเรียนไม่ค่อยมีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรมเหล่านี้เลย เมื่อวานนี้ (ตามเวลาที่อเมริกา) ผมก็เพิ่งออกจากห้องแสดงดนตรีมา จนทำให้ผมคิดขึ้นมาได้ว่า นี่ผมอยู่ในโลกไหนกัน แล้วทำไมที่ที่ผมอยู่เป็นปกติเขาถึงไม่ทำสถาบันการศึกษาให้เป็นสถานที่บ่มเพาะความเจริญของจิตใจได้อย่างนี้บ้าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เดอร์ แรธสเคลเลอร์เป็นบาร์เบียร์ของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน ตั้งอยู่ในตึกกิจกรรมนักศึกษา (ที่นี่เรียกว่า Memorial Union) ตึกกิจฯ นี้ตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1928 โน่นเลย บาร์เบียร์แห่งนี้ก็น่าจะอายุไม่น้อยไปกว่าตึกที่มันอาศัยอยู่เท่าใดนัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สัปดาห์ที่ผ่านมาผมเข้าร่วมกิจกรรมสังคมวิชาการซ้ำซ้อนกันหลายงาน ตั้งแต่บรรยายเรื่องการทำวิจัยในเวียดนามให้นักศึกษาบัณฑิตศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ฟัง ต่อด้วยปาร์ตี้ประจำปีของศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาของมหา'ลัยวิสคอนซิน ซึ่งเป็นงานแบบ potluck party และก็ฟองดูปาร์ตี้เล็กๆ ที่บ้านอาจารย์ท่านหนึ่ง ซึ่งก็ไม่ใช่อะไรมากไปกว่าขนมปังจุ่มชีสต้มเดือด ทั้งหมดนั้นได้อะไรสนุกๆ มามากมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผ่านมาได้ 3 สัปดาห์ วิชาที่ผมสอนที่วิสคอนซินเริ่มสนุกขึ้นเรื่อยๆ ในห้องมีนักเรียน 10 คน ขนาดพอๆ กับที่เคยสอนที่ธรรมศาสตร์ แต่ที่ต่างคือในห้องเดียวกันนี้มีทั้งนักเรียนปริญญาตรี โท และเอกเรียนร่วมกัน เพียงแต่ข้อกำหนดของงานและความคาดหวังจากนักเรียนระดับ ป.ตรีกับ ป.โท-เอก ย่อมแตกต่างกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ท่านถามอย่างนี้กับสื่อมวลชน ต่อหน้าสาธารณชน ใครเขาจะกล้าตอบ ก็ในเมื่อท่านมีปืนอยู่ในมือ ใครเอาปืนจี้หัวท่านไว้แล้วท่านจะตอบความในใจที่ขัดความรู้สึกเขาได้ไหมล่ะ เรื่องแค่นี้น่าจะเข้าใจนะ