Skip to main content

"ปีใหม่" เป็นจินตกรรมของเวลาที่กำหนดการสิ้นสุดและการเริ่มต้น ศักราช เวลาของสังคม การจัดระบบของเวลา ล้วนมีเทศกาลกำกับ

เมื่ออยู่เวียดนามกว่า 3 ปีเมื่อหลายปีก่อน ผมรู้สึกถึงการกำกับของเวลาโดยเทศกาล "เต๊ด" (Tết) ปีใหม่เวียดนามก็ตรงกับตรุษจีนนั่นเอง แต่คนเวียดนามไม่มีทางเรียกมันว่าตรุษจีน เพราะเขาไม่ชอบคนจีนเหมือนคนไทยไม่ชอบพม่าและเขมรนั่นแหละ แม้ว่าส่วนใหญ่ของวัฒนธรรมเวียดคือวัฒนธรรมที่มาจากชาวจีน รวมทั้งปีใหม่เวียดนาม

เต๊ดกำกับชีวิตชาวเวียดนามด้วยการทำให้ทุกกลุ่มชาติพันธ์ุต้องฉลองปีใหม่ตรงกันหมด ขณะที่ปีใหม่แบบฝรั่งตามปฏิทินฝรั่ง ไม่ได้รับความสำคัญอย่างเป็นทางการเท่าเต๊ด เช่นว่า เทศกาลเต๊ดไม่ได้มีเพียงวันไหว้ผีบรรพบุรุษ แต่เต๊ดของเวียดนามยังถูกทำให้เป็นช่วงของการเปลี่ยนฤดู จากฤดูหนาวเป็นฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งมีดอกท้อ (hoa đào) เป็นสัญลักษณ์สำคัญ

สำหรับชาวเวียดนามทางเหนือก็พอจินตนาการตามได้ถึงการเปลี่ยนฤดู แต่สำหรับชาวเวียดนามใต้ สำหรับชาวกรอม (เขมร) และชาวจามทางใต้ ไม่รู้จะเอาอะไรมาคิดถึง "ฤดูใบไม้ผลิ" ท่ามกลางอากาศร้อนระอุเกือบตลอดทั้งปี ส่วนชาวเขาในเวียดนามใต้ แม้อากาศจะไม่ร้อนเท่าลุ่มนำ้โขงทางใต้ ก็ไม่มีจินตกรรมเวลาแบบชาวเวียดนามเหนือแน่นอน

เต๊ดถูกโปรโมตในสื่อมวลชนทุกแขนง ซึ่งเป็นของรัฐทั้งหมด ไม่เพียงเวลา แต่กระทั่งอาหารการกิน โดยเฉพาะขนมประจำเทศกาลอย่าง bánh chưng (แบ๋ญจึง) ข้าวต้มสี่เหลี่ยมไส้หมูสามชั้นผสมถั่วเหลืองรสชาติเค็มๆ มันๆ เลี่ยนๆ คาวๆ ที่ต้มหรือซื้อหากันมาแทบทกบ้าน แต่ไม่เคยเห็นบ้านไหนกินกันหมด เห็นมีแต่ทำแจกกันไปมาจนเหลือทิ้ง หรือไม่ก็ต้องเอามาทอดกินแล้วกินเล่าจนต้องทิ้งในที่สุด ทุกวันนี้ ในทุกๆ ปี ชาวเวียดนามไม่ว่าจะชนกลุ่มใด ก็ต้องทำข้ามต้มคาวๆ นี้กินและทิ้งกันไปทั้งประเทศ

ด้วยความเป็น "ชาติเดียวกัน" เวียดนามจึงไม่มีปีใหม่แบบอื่นๆ ที่จะมีฐานะเทียบเท่าเต๊ด และด้วยหลักจักรวรรดินิยมของเวลาในลักษณะเดียวกัน ไทยจึงไม่มีปีใหม่ไหนๆ เทียบเท่าสงกรานต์ที่หยุดยาวกว่าปีใหม่อื่นๆ บ้าคลั่งมากกว่าเทศกาลอื่นๆ ส่วนงานเดือนสิบของภาคใต้ (เดือนสิบจัทรคติ) งานบุญบั้งไฟ (เดือนหกจันทรคติ) ฮารีรายอ (ที่สำคัญคือราวเดือนสิงหาคม-กันยายน ใกล้งานบุญเดือนสิบ) ปีใหม่ม้ง (เคยมีต่างหาก) ปีใหม่กระเหรี่ยง (ก็น่าจะมีต่างหาก) หรือกระทั่งตรุษจีน และคริสต์มาส ซึ่งสำคัญต่อคนกลุ่มอื่นๆ มากกว่า ก็ไม่ได้มีฐานะเทียบเท่าสงกรานต

สงกรานต์ไม่เพียงกำหนดให้คนไทยและไม่ไทยต้องฉลอง แต่บังคับให้ทุกคนต้องยอมรับการเฉลิมฉลอง ต้องเปียก ต้องหยุดทำงาน จนปีหลังๆ มาต้องทนฟังเพลงดังๆ แล้วรัฐบาลก็ค่อยๆ คืบเข้ามากำหนดให้ชาวไทยต้องไหว้พระ ต้องรดนำ้ดำหัวผู้ใหญ่ ต้องโทรหาพ่อแม่เพราะถูกกำหนดให้เป็นวันครอบครัว รวมทั้งต้องไปเสี่ยงตายบนถนนหลวงพร้อมๆ กัน 

เมื่อไหร่เราจะมีเสรีภาพในการเริ่มต้นชีวิตใหม่ของแต่ละปี เราจะได้เลือกได้ว่าจะฉลองหรือไม่ฉลองอะไรเมื่อไหร่ เมื่อไหร่เราจะยกย่องการเปลี่ยนผ่านของเวลาหลายๆ แบบ ตามแต่ความหมายของชีวิตของแต่ละคน

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
รัฐประหารครั้งนี้มีอะไรใหม่ๆ หลายอย่าง ผมไม่เรียกว่าเป็นนวัตกรรมหรอก เพราะนวัตกรรมเป็นคำเชิงบวก แต่ผมเรียกว่าเป็นนวัตหายนะ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในภาคการศึกษาที่ผ่านมา ผมสอนหนังสืออยู่ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน เนื่องจากเป็นการสอนชั่วคราว จึงรับผิดชอบสอนเพียงวิชาเดียว แต่ผมก็เป็นเจ้าของวิชาอย่างเต็มตัว จึงได้เรียนรู้กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่นี่เต็มที่ตลอดกระบวนการ มีหลายอย่างที่น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย จึงอยากบันทึกไว้ ณ ที่นี้ ให้ผู้อ่านชาวไทยได้ทราบกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (เวลาในประเทศไทย) เป็นวันเด็กในประเทศไทย ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา ผมเดินทางไปดูกิจกรรมต่างๆ ในประเทศซึ่งผมพำนักอยู่ขณะนี้จัดด้วยความมุ่งหวังให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ แล้วก็ให้รู้สึกสะท้อนใจแล้วสงสัยว่า เด็กไทยเติบโตมากับอะไร คุณค่าอะไรที่เราสอนกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สิ้นปีเก่าขึ้นปีใหม่ปีนี้ไม่ค่อยชวนให้ผมรู้สึกอะไรมากนัก ความหดหู่จากเหตุการณ์เมื่อกลางปีที่แล้วยังคงเกาะกุมจิตใจ ยิ่งมองย้อนกลับไปก็ยิ่งยังความโกรธขึ้งและสิ้นหวังมากขึ้นไปอีก คงมีแต่การพบปะผู้คนนั่นแหละที่ชวนให้รู้สึกพิเศษ วันสิ้นปีก็คงจะดีอย่างนี้นี่เอง ที่จะได้เจอะเจอคนที่ไม่ได้เจอกันนานๆ สักครั้งหนึ่ง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเพิ่งกลับจากชิคาโก เดินทางไปสำรวจพิพิธภัณฑ์กับแขกผู้ใหญ่จากเมืองไทย ท่านมีหน้าที่จัดการด้านพิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ก็เลยพลอยได้เห็นพิพิธภัณฑ์จากมุมมองของคนจัดพิพิธภัณฑ์ คือเกินเลยไปจากการอ่านเอาเรื่อง แต่อ่านเอากระบวนการจัดทำพิพิธภัณฑ์ด้วย แต่ส่วนตัวผมเองก็ไม่ได้อะไรมากนักหรอก แค่ติดตามเขาไปแล้วก็เรียนรู้เท่าที่จะได้มามากบ้างน้อยบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวันส่งท้ายปีเก่าพาแขกชาวไทยคนหนึ่งไปเยี่ยมชมภาควิชามานุษยวิทยาของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ก็เลยทำให้ได้รู้จักอีก 2 ส่วนของภาควิชามานุษยวิทยาที่นี่ว่ามีความจริงจังลึกซึ้งขนาดไหน ทั้งๆ ที่ก็ได้เคยเรียนที่นี่มา และได้กลับมาสอนหนังสือที่นี่ แต่ก็ไม่เคยรู้จักที่นี่มากเท่าวันนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วาทกรรม "ประชาธิปไตยแบบไทย" ถูกนำกลับมาใช้เสมอๆ เพื่อลดทอนความน่าเชื่อถือของแนวคิดประชาธิปไตยสากล 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นข่าวงาน "นิธิ 20 ปีให้หลัง" ที่ "มติชน" แล้วก็น่ายินดีในหลายสถานด้วยกัน  อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์มีคนรักใคร่นับถือมากมาย จึงมีแขกเหรื่อในวงการนักเขียน นักวิชาการ ไปร่วมงานเป็นจำนวนมาก เรียกว่ากองทัพปัญญาชนต่างตบเท้าไปร่วมงานนี้กันเลยทีเดียว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (12 ธค. 2557) ปิดภาคการศึกษาแล้ว เหลือรออ่านบทนิพนธ์ทางมานุษยวิทยาภาษาของนักศึกษา ที่ผมให้ทำแทนการสอบปลายภาค เมื่อเหลือเวลาอีก 15 นาทีสุดท้าย ตามธรรมเนียมส่วนตัวของผมแล้ว ในวันปิดสุดท้ายของการเรียน ผมมักถามนักศึกษาว่าพวกเขาได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ ที่ไม่ได้เคยเรียนมาก่อนจากวิชานี้บ้าง นักศึกษาทั้ง 10 คนมีคำตอบต่างๆ กันดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเพิ่งมีโอกาสได้ดูภาพยนตร์ (ขอเรียกง่ายๆ ว่า "หนัง" ก็แล้วกันครับ) เรื่องที่เป็นประเด็นใหญ่เมื่อ 2-3 วันก่อน ที่จริงก็ถ้าไม่มีเพื่อนๆ ถกเถียงกันมากมายถึงฉากเด็กวาดรูปฮิตเลอร์ ผมก็คงไม่อยากดูหรอก แต่เมื่อดูแล้วก็คิดว่า หนังเรื่องนี้สะท้อนความล้มเหลวของการรัฐประหารครั้งนี้ได้อย่างดี มากกว่านั้นคือ สะท้อนความลังเล สับสน และสับปลับของสังคมไทยได้เป็นอย่างดี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเป็นคนหนึ่งที่ยืนยันแม้จะไม่ถึงกับต่อต้านมาตลอดว่า เราไม่ควรเปิดโครงการนานาชาติในประเทศไทย ด้วยเหตุผลสำคัญ 2-3 ประการ หนึ่ง อยากให้ภาษาไทยพัฒนาไปตามพัฒนาการของความรู้สากล สอง คิดว่านักศึกษาไทยจะเป็นผู้เรียนเสียส่วนใหญ่และจึงจะทำให้ได้นักเรียนที่ภาษาไม่ดีพอ การศึกษาก็จะแย่ตามไปด้วย สาม อาจารย์ผู้สอน (รวมทั้งผมเอง) ก็ไม่ได้ภาษาอังกฤษดีมากนัก การเรียนการสอนก็จะยิ่งตะกุกตะกัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายปีที่ผ่านมา สังคมปรามาสว่านักศึกษาเอาใจใส่แต่ตัวเอง ถ้าไม่สนใจเฉพาะเสื้อผ้าหน้าผม คอสเพล มังหงะ กับกระทู้ 18+ ก็เอาแต่จมดิ่งกับการทำความเข้าใจตนเอง ประเด็นอัตลักษณ์ บริโภคนิยม เพศภาวะ เพศวิถี เกลื่อนกระดานสนทนาที่ซีเรียสจริงจังเต็มไปหมด