Skip to main content

เมื่อสองวันก่อน มีคนที่สนใจนโยบายรถไฟความเร็วสูงคนหนึ่งถามผมว่า "อาจารย์รู้ไหมว่า โอกาสที่รถไฟไทยจะตรงเวลามีเท่าไหร่" ผมตอบ "ไม่รู้หรอก" เขาบอกว่า "มีเพียง 30%" 

เขายังให้ข้อมูลที่น่าตกใจมากเข้าไปอีกว่า "แต่นั่นเขาทดเวลาแล้วนะครับ คือที่เขาถือว่า "ตรงเวลา" นั้น หมายถึงสามารถคลาดเคลื่อนจากเวลาจริงได้ 30 นาที" สรุปแล้ว 30% ที่ไม่เลทนั้น อาจะเลทไปแล้ว 30 นาที คนเดียวกันนั้นยังบอกผมต่อว่า "แล้วที่ญี่ปุ่น โอกาสที่รถไฟเลทมีเท่าไหร่รู้ไหมครับ" เขาถามเองตอบเองเสร็จว่า "0.006%" (ผมอาจจำคลาดเคลื่อนบ้าง แต่ประมาณนี้แหละ) 

 

คนเดียวกันยังถามผมอีกว่า "อาจารย์มีอะไรแนะนำเรื่องนโยบายนี้ไหม" ผมบอก "ผมจะไปรู้อะไรกับเรื่องรถไฟและการกู้เงิน จะแนะนำอะไรได้ มีอยู่เรื่องเดียวที่ผมว่าจำเป็นคือ ต้องทำให้มันเป็น "ระบบ" จริงๆ" 

 

ผมมาคิดต่อว่า ความเป็นระบบที่ว่าน่าจะมี 3 ส่วน หนึ่งคือระบบของการขนส่งมวลชน ที่ต้องเชื่อมโยงกันจริงๆ ไม่ใช่มีเพียงรถไฟความเร็วสูงที่เร็ว แต่ที่ช้าก็เชื่องช้าไร้ระบบอยู่ต่อไปอย่างนั้น หากแต่ต้องเชื่อมโยงรถไฟความเร็วสูงกับรถไฟความเร็วธรรมดา เชื่อมโยงกับรถเมล์สาธารณะกับรถไฟทั้งระบบ ทำแบบที่ประเทศญี่ปุ่น หรือที่ระบบขนส่งมวลชนในเมืองใหญ่ๆ อย่างนิวยอร์คหรือชิคาโกเขาทำกัน  

 

ความเป็นระบบอีกอย่างคือ ต้องเป็นขนส่ง "มวลชน" ที่คนส่วนใหญ่เข้าถึงได้ ไม่ใช่เพียงราคาถูก แต่ต้องทั่วถึง มีทุกภาค ไม่ใช่มีวิ่งไปวิ่งมาแค่ในใจกลางประเทศ เหมือนเมื่อสร้าง BTS แรกๆ ที่สนองเฉพาะชีวิตคนที่มั่งคั่งในเขตกรุงเทพชั้นใน ไม่ใช่เป็นของเล่นคนรวยแบบรถไฟแอ็มแทรกในสหรัฐอเมริกา ที่เอาไว้ให้คนมีสตางค์นั่งท่องเที่ยวบนรถไฟกัน ไม่ใช่แบบรถไฟตุ๊กตาแบบ "ดุสิตธานี" เมืองจำลองที่เอาไว้สร้างตำนานประชาธิปไตยโดยกษัตริย์หลอกลูกหลานไทย 

 

แต่ระบบหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ ระบบชีวิตที่เกี่ยวพันกับวัฒนธรรมและสังคม รถไฟความเร็วสูงเกี่ยวข้องกับเวลาของชีวิตในหลายๆ มิติด้วยกัน เพราะรถไฟความเร็วสูงไม่เพียงสร้างระบบการขนส่งแบบใหม่ แต่มันจะมีส่วนสร้างหรือเสริมการสร้างระบบสังคมแบบใหม่ด้วย 

 

เมื่อเร็วๆ นี้ผมเพิ่งกลับจากญี่ปุ่น ได้เจอเพื่อนเก่าหลายคน เพื่อนคนหนึ่งเป็นชาวโอซากา เคยทำวิจัยในเวียดนามในช่วงเวลาเดียวกัน จึงพูดคุยกันหลายเรื่อง พอมีคำถามถึงเขาว่า "รู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงอะไรเมื่อไปทำวิจัยในหมู่บ้านที่เวียดนามมา" ดร.จบใหม่คนนั้นซึ่งที่จริงเป็นนักประวัติศาสตร์แต่จำเป็นต้องไปเก็บข้อมูลโดยอาศัยอยู่กับชาวบ้านที่หมู่บ้านในพื้นที่ห่างไกล ก็ตอบว่า "รู้สึกได้ว่า เวลาที่นั่นแตกต่างจากเวลาที่เคยอยู่" 

 

เวลาในสังคมเกษตรย่อมแตกต่างจากเวลาของสังคมอุตสาหกรรม จังหวะชีวิตที่ข้ึนกับดินฟ้าอากาศ ความจำเป็นทางการผลิต การตลาดของสินค้าเกษตร และความสัมพันธ์ของผู้คนในสังคมที่ต้องเผชิญหน้ากับญาติพี่น้องเสมอๆ ย่อมแตกต่างกับเวลาตามเข็มนาฬิกา เวลาของตลาดเงิน เวลาของการผลิตทางอุตสาหกรรม เวลาของเครื่องจักรขนาดใหญ่ เวลาของสังคมมวลชน เวลาของคนที่ส่วนใหญ่อยู่กับตนเองหรือครอบครัวขนาดเล็ก 

 

เวลาในหมู่บ้านในเวียดนามไม่เพียงแตกต่างกับเวลาของชาวเมืองโอซากาในเชิงคุณลักษณะหรอก แต่ยังแตกต่างกันในเชิงความแน่นอนและความรีบเร่งของการเคลื่อนไหว สำหรับเรื่องความเร็ว ไม่ต้องพูดถึงว่าเมืองใหญ่ขนาดโอซากานั้นใช้ความเร็วกันขนาดไหน หากแต่ก็ไม่ได้เร็วจนใครตามไม่ทัน เพราะในเมืองใหญ่ ในสังคมขนาดใหญ่ ความเร็วของแต่ละคนต้องพอเหมาะกับคนอื่น ต้องประสานกันได้ สิ่งที่จำเป็นไม่แพ้ความเร็วจึงได้แก่ความแม่นยำ 

 

พูดถึงความแม่นยำ มีครั้งหนึ่ง ผมรอรถเมล์ในเมืองเกียวโตที่สถานีชุมทางแห่งหนึ่ง ตามตารางรถ จะต้องเข้าเทียบท่าเวลา 9.48 น. ตรงท่ารถมีนาฬิกาบอกเวลาด้วยเข็มเรือนใหญ่ เมืองเข็มเคลื่อนถึง 9.48 ปุ๊บ รถก็หยุดสนิทที่ท่าปั๊บ แทบจะในวินาทีเดียวกัน 

 

ความแน่นอนแม่นยำดูจะเป็นสิ่งที่สำคัญเสียยิ่งกว่าความเร็ว เพราะถ้าเร็วไปโดยไม่มีความเชื่อมโยงกันอย่างแม่นยำ ระบบก็จะไม่สอดประสานกันได้ ความแม่นยำแน่นอนเป็นเครื่องมือของสังคมที่ต้องการการสอดประสานกันของสิ่งที่แตกต่างกันอย่างเป็นระบบ ความแม่นยำของระบบการขนส่งช่วยให้ชีวิตที่แตกต่างกัน แต่จำเป็นต้องเชื่อมโยงประสานกัน สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ความแม่นยำเป็นสะพาน "เชื่อมประมาน" ระบบที่อยู่กันคนละระนาบกันให้เจอกันได้ 

 

ในระหว่างบทสนทนาเรื่องรถไฟความเร็วสูงนั้น จึงมีเพื่อนร่วมวงสนทนาพูดขึ้นมาว่า สำหรับการขนส่งสินค้าทางการเกษตร "รอเพียงนาทีเดียวก็เสียหายได้" ฉะนั้น เกษตรกรเขาก็อยากได้ความเร็วสูงในการขนส่งพืชผลเช่นกัน หากแต่เราอาจต้องคิดระบบขนส่งที่ ทั้งรวดเร็วและแม่นยำที่เหมาะกับสินค้าหลายๆ แบบ 

 

แต่สำหรับคนที่ยังไม่เห็นความสำคัญ ก็คงจะยังอยากอยู่ในระบบสังคมแบบที่การรถไฟจินตกรรม (คือทั้งจินตนาการและก่อกรรมให้) คือแบบที่ผู้โดยสารพบรักกันบนรถไฟ เรียนรู้ชีวิตผู้คนบนรถไฟ ยอมช้าไปบ้างอะไรบ้าง พลาดนัดผิดสัญญาอะไรบ้าง ก็ช่างประไร ส่วนใครที่อยากเร็ว อยากถูกบีบอัดอยู่ในพื้นที่และเวลาในโลกหลังสมัยใหม่อย่างไร ก็ปล่อยเขาฝันต่อไปเถิด ใช่ไหมล่ะ 

 

ใครบางคนคงยังไม่อยากอยู่ในเวลาแบบใหม่ ยังไม่พร้อมจะออกไปจากเวลาในหมู่บ้าน หรือที่จริง ใครบางคนที่มีอำนาจวาสนา คงอยากจำกัดโอกาสการเข้าถึงเวลาที่รวดเร็วและแม่นยำ เอาไว้กับเฉพาะบางคนที่รวยพอจะเร็วได้ เฉพาะคนที่ใหญ่พอจะเห็นความสำคัญของเวลา ส่วนใครที่ยังยากจนอยู่น่ะ ก็ต้องก้มหน้ายอมรับความพอเพียงที่จำกัดให้เขาเชื่องช้าอยู่ต่อไปอย่างนั้น ใช่ไหมล่ะ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
อันที่จริงผมก็นึกไม่ถึงว่าจะมีคนสนใจข่าวนี้กันมากนัก เรื่องอาจจะเป็นเพราะมีการใช้คำในการรายงานข่าวเบื้องต้นอย่างคลาดเคลื่อนไป ก็เลยทำให้เป็นที่น่าตกใจ แต่อีกนัยหนึ่งก็ชี้ให้เห็นปัญหาการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนจนกระทั่งเมื่อมีการแสดงการต่อต้านด้วยการปฏิเสธที่จะอยู่ใต้อำนาจกดทับนั้น คนก็จึงตอบรับกันอย่างกระหน่ำ อย่างไรก็ดี ผมก็อยากชี้แจงให้กระจ่างเพิ่มเติมว่า ทำไมผมจึงเลือกที่จะแสดงสถานภาพในการเดินทางมาต่างประเทศของผมในครั้งนี้เพิ่มเติมผ่านข้อเขียนนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เพิ่งผ่านมาเพียง 5 เดือนอาจจะยังเร็วเกินไปที่จะถามว่า หลังรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 แล้วขบวนการประชาชนจะเป็นอย่างไรต่อไป แต่หากมองย้อนกลับไป แล้วมองไปข้างหน้าอีกสักหน่อย ก็น่าจะลองคิดถกเถียงกันบ้างว่า ขบวนการประชาชนน่าจะไปทางไหนต่อไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
TED รายการบรรยายสาธารณะที่มีชื่อเสียงและผมก็ติดตามเรียนรู้มาสม่ำเสมอ ได้เผยแพร่คลิปบรรยายของคีท เชน นักเศรษฐศาสตร์ที่เสนอข้อถกเถียงว่า ภาษามีความเชื่อมโยงกับการออมตั้งแต่เมื่อ 2 ปีที่แล้ว แต่ผมเพิ่งได้ยินเกี่ยวกับการศึกษานี้มาตั้งแต่ต้นภาคการศึกษานี้ในชั้นเรียนวิชามานุษยวิทยาภาษา ที่นักศึกษาคนหนึ่งเอ่ยถึงการศึกษานี้ และเพิ่งได้ดูด้วยตัวเองเมื่อ 3-4 วันก่อนนี้เอง เห็นว่าน่าสนใจดีก็เลยนำไปให้นักศึกษาดูและถกเถียงกันในชั้น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การอัตวินิบาตกรรมของคุณนวมทอง ไพรวัลย์ทำให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง นัยหนึ่งถือว่าเป็นการประท้วงต่อการรัฐประหาร อีกนัยหนึ่งถือเป็นการยืนยันความจริงจังและบริสุทธิ์ใจต่ออุดมการณ์ อีกนัยหนึ่งอาจปลุกเร้าสำนึกของผู้ร่วมอุดมการณ์ หรืออีกนัยหนึ่งก็เกรงว่าจะเป็นความสูญเสียที่สูญเปล่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การสอนหนังสือในมหาวิทยาลัยแตกต่างจากการสอนหนังสือในระดับโรงเรียนก็คงจะตรงที่ว่า ผู้สอนในระดับมหาวิทยาลัยไม่ได้เรียนการสอนมาก่อน อาจจะมีการอบรมเรื่องการเรียนการสอนบ้าง มีการประเมินผลให้ผู้สอนพิจารณาปรับปรุงตนเองบ้าง มีการประเมินตนเองบ้าง แต่ถึงที่สุดแล้ว ผู้สอนมีส่วนสร้างระบบการเรียนการสอนด้วยตนเอง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"อาร์บอรีทั่ม" (Arboretum) เป็นสวนพฤกษศาสตร์ขนาดใหญ่ร่วม 3 พันไร่ของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน สวนนี้ไม่ได้ตั้งอยู่ในบริเวณที่ตั้งมหาวิทยาลัย แต่ก็อยู่ห่างออกไปไม่ไกลนัก หากขยันเดิน สักชั่วโมงหนึ่งก็ถึง ถีบจักรยานไปก็สัก 20 นาที อาจเร็วกว่าขับรถที่ต้องเจอกับป้ายหยุด ทางแยก ไฟสัญญาณ กว่าจะถึงก็สัก 30 นาที
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักวิชาการมิได้มีสถานภาพพิเศษแตกต่างไปจากคนอื่นๆ ในสังคม เพียงแต่อาชีพนักวิชาการเป็นอาชีพที่ต้องพัฒนาความคิดความอ่านตลอดเวลา นักวิชาการจึงไม่ควรมีขอบเขตของความคิดความอ่าน พร้อมๆ กับที่ไม่ควรปิดกั้นขอบเขตของความคิดคนอื่น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
กว่า 3 เดือนที่ผ่านมาผมไปชมการแสดงดนตรีไม่รู้เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่ นึกเสียดายที่เมื่อ 10 กว่าปีก่อนที่มาเรียนไม่ค่อยมีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรมเหล่านี้เลย เมื่อวานนี้ (ตามเวลาที่อเมริกา) ผมก็เพิ่งออกจากห้องแสดงดนตรีมา จนทำให้ผมคิดขึ้นมาได้ว่า นี่ผมอยู่ในโลกไหนกัน แล้วทำไมที่ที่ผมอยู่เป็นปกติเขาถึงไม่ทำสถาบันการศึกษาให้เป็นสถานที่บ่มเพาะความเจริญของจิตใจได้อย่างนี้บ้าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เดอร์ แรธสเคลเลอร์เป็นบาร์เบียร์ของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน ตั้งอยู่ในตึกกิจกรรมนักศึกษา (ที่นี่เรียกว่า Memorial Union) ตึกกิจฯ นี้ตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1928 โน่นเลย บาร์เบียร์แห่งนี้ก็น่าจะอายุไม่น้อยไปกว่าตึกที่มันอาศัยอยู่เท่าใดนัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สัปดาห์ที่ผ่านมาผมเข้าร่วมกิจกรรมสังคมวิชาการซ้ำซ้อนกันหลายงาน ตั้งแต่บรรยายเรื่องการทำวิจัยในเวียดนามให้นักศึกษาบัณฑิตศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ฟัง ต่อด้วยปาร์ตี้ประจำปีของศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาของมหา'ลัยวิสคอนซิน ซึ่งเป็นงานแบบ potluck party และก็ฟองดูปาร์ตี้เล็กๆ ที่บ้านอาจารย์ท่านหนึ่ง ซึ่งก็ไม่ใช่อะไรมากไปกว่าขนมปังจุ่มชีสต้มเดือด ทั้งหมดนั้นได้อะไรสนุกๆ มามากมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผ่านมาได้ 3 สัปดาห์ วิชาที่ผมสอนที่วิสคอนซินเริ่มสนุกขึ้นเรื่อยๆ ในห้องมีนักเรียน 10 คน ขนาดพอๆ กับที่เคยสอนที่ธรรมศาสตร์ แต่ที่ต่างคือในห้องเดียวกันนี้มีทั้งนักเรียนปริญญาตรี โท และเอกเรียนร่วมกัน เพียงแต่ข้อกำหนดของงานและความคาดหวังจากนักเรียนระดับ ป.ตรีกับ ป.โท-เอก ย่อมแตกต่างกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ท่านถามอย่างนี้กับสื่อมวลชน ต่อหน้าสาธารณชน ใครเขาจะกล้าตอบ ก็ในเมื่อท่านมีปืนอยู่ในมือ ใครเอาปืนจี้หัวท่านไว้แล้วท่านจะตอบความในใจที่ขัดความรู้สึกเขาได้ไหมล่ะ เรื่องแค่นี้น่าจะเข้าใจนะ