Skip to main content

เมื่อสองวันก่อน มีคนที่สนใจนโยบายรถไฟความเร็วสูงคนหนึ่งถามผมว่า "อาจารย์รู้ไหมว่า โอกาสที่รถไฟไทยจะตรงเวลามีเท่าไหร่" ผมตอบ "ไม่รู้หรอก" เขาบอกว่า "มีเพียง 30%" 

เขายังให้ข้อมูลที่น่าตกใจมากเข้าไปอีกว่า "แต่นั่นเขาทดเวลาแล้วนะครับ คือที่เขาถือว่า "ตรงเวลา" นั้น หมายถึงสามารถคลาดเคลื่อนจากเวลาจริงได้ 30 นาที" สรุปแล้ว 30% ที่ไม่เลทนั้น อาจะเลทไปแล้ว 30 นาที คนเดียวกันนั้นยังบอกผมต่อว่า "แล้วที่ญี่ปุ่น โอกาสที่รถไฟเลทมีเท่าไหร่รู้ไหมครับ" เขาถามเองตอบเองเสร็จว่า "0.006%" (ผมอาจจำคลาดเคลื่อนบ้าง แต่ประมาณนี้แหละ) 

 

คนเดียวกันยังถามผมอีกว่า "อาจารย์มีอะไรแนะนำเรื่องนโยบายนี้ไหม" ผมบอก "ผมจะไปรู้อะไรกับเรื่องรถไฟและการกู้เงิน จะแนะนำอะไรได้ มีอยู่เรื่องเดียวที่ผมว่าจำเป็นคือ ต้องทำให้มันเป็น "ระบบ" จริงๆ" 

 

ผมมาคิดต่อว่า ความเป็นระบบที่ว่าน่าจะมี 3 ส่วน หนึ่งคือระบบของการขนส่งมวลชน ที่ต้องเชื่อมโยงกันจริงๆ ไม่ใช่มีเพียงรถไฟความเร็วสูงที่เร็ว แต่ที่ช้าก็เชื่องช้าไร้ระบบอยู่ต่อไปอย่างนั้น หากแต่ต้องเชื่อมโยงรถไฟความเร็วสูงกับรถไฟความเร็วธรรมดา เชื่อมโยงกับรถเมล์สาธารณะกับรถไฟทั้งระบบ ทำแบบที่ประเทศญี่ปุ่น หรือที่ระบบขนส่งมวลชนในเมืองใหญ่ๆ อย่างนิวยอร์คหรือชิคาโกเขาทำกัน  

 

ความเป็นระบบอีกอย่างคือ ต้องเป็นขนส่ง "มวลชน" ที่คนส่วนใหญ่เข้าถึงได้ ไม่ใช่เพียงราคาถูก แต่ต้องทั่วถึง มีทุกภาค ไม่ใช่มีวิ่งไปวิ่งมาแค่ในใจกลางประเทศ เหมือนเมื่อสร้าง BTS แรกๆ ที่สนองเฉพาะชีวิตคนที่มั่งคั่งในเขตกรุงเทพชั้นใน ไม่ใช่เป็นของเล่นคนรวยแบบรถไฟแอ็มแทรกในสหรัฐอเมริกา ที่เอาไว้ให้คนมีสตางค์นั่งท่องเที่ยวบนรถไฟกัน ไม่ใช่แบบรถไฟตุ๊กตาแบบ "ดุสิตธานี" เมืองจำลองที่เอาไว้สร้างตำนานประชาธิปไตยโดยกษัตริย์หลอกลูกหลานไทย 

 

แต่ระบบหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ ระบบชีวิตที่เกี่ยวพันกับวัฒนธรรมและสังคม รถไฟความเร็วสูงเกี่ยวข้องกับเวลาของชีวิตในหลายๆ มิติด้วยกัน เพราะรถไฟความเร็วสูงไม่เพียงสร้างระบบการขนส่งแบบใหม่ แต่มันจะมีส่วนสร้างหรือเสริมการสร้างระบบสังคมแบบใหม่ด้วย 

 

เมื่อเร็วๆ นี้ผมเพิ่งกลับจากญี่ปุ่น ได้เจอเพื่อนเก่าหลายคน เพื่อนคนหนึ่งเป็นชาวโอซากา เคยทำวิจัยในเวียดนามในช่วงเวลาเดียวกัน จึงพูดคุยกันหลายเรื่อง พอมีคำถามถึงเขาว่า "รู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงอะไรเมื่อไปทำวิจัยในหมู่บ้านที่เวียดนามมา" ดร.จบใหม่คนนั้นซึ่งที่จริงเป็นนักประวัติศาสตร์แต่จำเป็นต้องไปเก็บข้อมูลโดยอาศัยอยู่กับชาวบ้านที่หมู่บ้านในพื้นที่ห่างไกล ก็ตอบว่า "รู้สึกได้ว่า เวลาที่นั่นแตกต่างจากเวลาที่เคยอยู่" 

 

เวลาในสังคมเกษตรย่อมแตกต่างจากเวลาของสังคมอุตสาหกรรม จังหวะชีวิตที่ข้ึนกับดินฟ้าอากาศ ความจำเป็นทางการผลิต การตลาดของสินค้าเกษตร และความสัมพันธ์ของผู้คนในสังคมที่ต้องเผชิญหน้ากับญาติพี่น้องเสมอๆ ย่อมแตกต่างกับเวลาตามเข็มนาฬิกา เวลาของตลาดเงิน เวลาของการผลิตทางอุตสาหกรรม เวลาของเครื่องจักรขนาดใหญ่ เวลาของสังคมมวลชน เวลาของคนที่ส่วนใหญ่อยู่กับตนเองหรือครอบครัวขนาดเล็ก 

 

เวลาในหมู่บ้านในเวียดนามไม่เพียงแตกต่างกับเวลาของชาวเมืองโอซากาในเชิงคุณลักษณะหรอก แต่ยังแตกต่างกันในเชิงความแน่นอนและความรีบเร่งของการเคลื่อนไหว สำหรับเรื่องความเร็ว ไม่ต้องพูดถึงว่าเมืองใหญ่ขนาดโอซากานั้นใช้ความเร็วกันขนาดไหน หากแต่ก็ไม่ได้เร็วจนใครตามไม่ทัน เพราะในเมืองใหญ่ ในสังคมขนาดใหญ่ ความเร็วของแต่ละคนต้องพอเหมาะกับคนอื่น ต้องประสานกันได้ สิ่งที่จำเป็นไม่แพ้ความเร็วจึงได้แก่ความแม่นยำ 

 

พูดถึงความแม่นยำ มีครั้งหนึ่ง ผมรอรถเมล์ในเมืองเกียวโตที่สถานีชุมทางแห่งหนึ่ง ตามตารางรถ จะต้องเข้าเทียบท่าเวลา 9.48 น. ตรงท่ารถมีนาฬิกาบอกเวลาด้วยเข็มเรือนใหญ่ เมืองเข็มเคลื่อนถึง 9.48 ปุ๊บ รถก็หยุดสนิทที่ท่าปั๊บ แทบจะในวินาทีเดียวกัน 

 

ความแน่นอนแม่นยำดูจะเป็นสิ่งที่สำคัญเสียยิ่งกว่าความเร็ว เพราะถ้าเร็วไปโดยไม่มีความเชื่อมโยงกันอย่างแม่นยำ ระบบก็จะไม่สอดประสานกันได้ ความแม่นยำแน่นอนเป็นเครื่องมือของสังคมที่ต้องการการสอดประสานกันของสิ่งที่แตกต่างกันอย่างเป็นระบบ ความแม่นยำของระบบการขนส่งช่วยให้ชีวิตที่แตกต่างกัน แต่จำเป็นต้องเชื่อมโยงประสานกัน สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ความแม่นยำเป็นสะพาน "เชื่อมประมาน" ระบบที่อยู่กันคนละระนาบกันให้เจอกันได้ 

 

ในระหว่างบทสนทนาเรื่องรถไฟความเร็วสูงนั้น จึงมีเพื่อนร่วมวงสนทนาพูดขึ้นมาว่า สำหรับการขนส่งสินค้าทางการเกษตร "รอเพียงนาทีเดียวก็เสียหายได้" ฉะนั้น เกษตรกรเขาก็อยากได้ความเร็วสูงในการขนส่งพืชผลเช่นกัน หากแต่เราอาจต้องคิดระบบขนส่งที่ ทั้งรวดเร็วและแม่นยำที่เหมาะกับสินค้าหลายๆ แบบ 

 

แต่สำหรับคนที่ยังไม่เห็นความสำคัญ ก็คงจะยังอยากอยู่ในระบบสังคมแบบที่การรถไฟจินตกรรม (คือทั้งจินตนาการและก่อกรรมให้) คือแบบที่ผู้โดยสารพบรักกันบนรถไฟ เรียนรู้ชีวิตผู้คนบนรถไฟ ยอมช้าไปบ้างอะไรบ้าง พลาดนัดผิดสัญญาอะไรบ้าง ก็ช่างประไร ส่วนใครที่อยากเร็ว อยากถูกบีบอัดอยู่ในพื้นที่และเวลาในโลกหลังสมัยใหม่อย่างไร ก็ปล่อยเขาฝันต่อไปเถิด ใช่ไหมล่ะ 

 

ใครบางคนคงยังไม่อยากอยู่ในเวลาแบบใหม่ ยังไม่พร้อมจะออกไปจากเวลาในหมู่บ้าน หรือที่จริง ใครบางคนที่มีอำนาจวาสนา คงอยากจำกัดโอกาสการเข้าถึงเวลาที่รวดเร็วและแม่นยำ เอาไว้กับเฉพาะบางคนที่รวยพอจะเร็วได้ เฉพาะคนที่ใหญ่พอจะเห็นความสำคัญของเวลา ส่วนใครที่ยังยากจนอยู่น่ะ ก็ต้องก้มหน้ายอมรับความพอเพียงที่จำกัดให้เขาเชื่องช้าอยู่ต่อไปอย่างนั้น ใช่ไหมล่ะ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลังจากพินิจพิเคราะห์แล้วว่า ท่านผู้นำกำลังจะหมดเรื่องพล่ามในไม่ช้า เพราะเริ่มวนเวียนและเล่าเรื่องตัวเองมากขึ้น ท่านจึงควรหาความรู้รอบตัวมากขึ้น ก็เลยขอตามกระแส แนะนำหนังสือให้ท่านอ่าน ก็ไม่รู้จะ tag ท่านยังไง แต่คิดว่า เขียนใส่ขวดลอยไปก็อาจจะลอยไปถึงตีนบันไดบ้านท่านบ้างสักวัน ก็ขออนุญาตแนะนำดังนี้ครับท่าน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นท่านผู้นำไม่นิยมผู้หญิง เพราะในคณะรัฐบาลท่านมีผู้หญิงเพียง 2 คน ผมก็เลยขอแนะนำท่านว่า ผู้หญิงทำงานความคิดเก่งๆ มีมากมาย ไม่ใช่ให้ลูกน้องเอาผู้หญิงมาเต้นโป๊เปลือยดูกันในค่ายทหารเท่านั้น แต่ก็เอาล่ะ ขอแนะนำนักมานุษยวิทยาสตรีที่ผมชื่นชอบสัก 10 คนก็แล้วกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรามีปาก เขามีปืน เราขัดขืน เขาข่มเหงเรานักเขียน เขานักเลง เรายำเกรง เขาลำพอง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ใครที่รู้จักอาคารดังๆ ของแฟรงค์ ลอยด์ ไรท์ (Frak Lloyd Wright) อย่าง Guggenhiem Museum ที่นิวยอร์ค บ้านน้ำตกที่เพลซิลวาเนีย Imperial Hotel ที่โตเกียว อาจจะนึกไม่ถึงว่า บ้านที่ไรท์เรียกว่าเป็นบ้านของเขานั้นอยู่ในชนบทที่ Spring Green มลรัฐวิสคอนซิน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะแบบนี้ปรากฏตัวบ่อยครั้งในข้อถกเถียงทางการเมืองไทย ในระบบการศึกษาไทย ตำราเรียนไทย ประวัติศาสตรืไทยแบบทางการก็ยังสอนแบบนี้อยู่ คนไทยไม่ว่าจะใส่เสื้อสีใด ส่วนใหญ่ก็ยังเชื่อแบบนี้อยู่ ทัศนะแบบนี้คงกะลาความเป็นไทยเอาไว้อย่างหนาเตอะเกรอะกรัง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บทสนทนาระหว่าง นายอานันท์ ปันยารชุน กับนายภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ล่าสุด เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2557 ที่โรงแรมมณเฑียร มีสาระที่น่าสนใจหลายประการต่อการเข้าใจการเมืองไทย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 นึกถึงชิคาโก ผู้คนคงนึกถึงตึกระฟ้าที่เคยประชันกันกับนิวยอร์ค นึกถึงธุรกิจที่ดึงดูดให้ใครต่อใครมาอาศัยที่นี่จนเป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ของสหรัฐอเมริกา นึกถึงสถาปัตยกรรมอันหลากหลายและฟังเมืองใหม่หลังไฟไฟม้ใหญ่จนราบไปทั้งเมือง นึกถึงอัลคาโปนเจ้าพ่อชื่อดัง นึกถึงพิพิธภัณฑ์ที่เดินดูกันทั้งเดือนก็คงไม่หมด นึกถึงมหาวิทยาลัยอันโด่งดังอย่างมหาวิทยาลัยแห่งชิคาโก แต่ใครบ้างจะนึกถึงแมกไม้และสายน้ำของชิคาโก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
  เมื่อวันจันทร์ (11 สค.) หลังจากใช้เวลาอยู่ใน Field Museum (ซึ่งพอดีมีนิทรรศการว่าด้วยกำเนิดของ Field Museum ที่เกี่ยวข้องกับกำเนิดของมานุษยวิทยาอเมริกันอย่างยิ่ง) ไปกว่า 4 ชั่วโมงแล้ว ผมลังเลอย่างยิ่งที่จะเข้าชม The Art Institute of Chicago ต่อ เพราะเกรงว่าจะไม่ทันได้ครุ่นคิดอะไรกับความรู้และความรู้สึกแบบอัดแน่นจากเมื่อ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักเรียนคนหนึ่งถามเรื่อง "การเขียน" และการวางแผน "อนาคต" ของเขา ผมเขียนตอบไปอย่างยาว เห็นว่าอาจเป็นประโยชน์กับคนอื่นๆ บ้าง ก็เลยขอนำมาเผยแพร่ที่นี่ครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะอาจารย์ธรรมศาสตร์ ผมไม่อาจยินดีกับการที่ผู้บริหารสูงสุดของมหาวิทยาลัยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จาก คสช. 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อก่อนผมเถียงกับเพื่อนเสมอว่า อย่ามาถามว่าผมเป็นคนที่ไหน เพราะคนเราอาจมีหลายบ้าน มีใครในยุคนี้ที่ไม่ย้ายบ้านบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำสวยหรูนี้ประดิษฐ์ขึ้นมาในภาษาไทยโดยใครนั้น ผู้ที่ติดตามแวดวงวิชาการในระยะ 30 ปีที่ผ่านมาย่อมทราบดี ไม่ว่าจิตวิญญาณของผู้ที่กล่าวคำนี้จะยังอยู่กับแนวคิดนี้ที่เขาอาจพลั้งปากออกมาหรือไม่ คนที่สนิทชิดเชื้อกับผู้ประดิษฐ์คำท่านนี้ก็คงจะทราบดี