Skip to main content

เมื่อสองวันก่อน มีคนที่สนใจนโยบายรถไฟความเร็วสูงคนหนึ่งถามผมว่า "อาจารย์รู้ไหมว่า โอกาสที่รถไฟไทยจะตรงเวลามีเท่าไหร่" ผมตอบ "ไม่รู้หรอก" เขาบอกว่า "มีเพียง 30%" 

เขายังให้ข้อมูลที่น่าตกใจมากเข้าไปอีกว่า "แต่นั่นเขาทดเวลาแล้วนะครับ คือที่เขาถือว่า "ตรงเวลา" นั้น หมายถึงสามารถคลาดเคลื่อนจากเวลาจริงได้ 30 นาที" สรุปแล้ว 30% ที่ไม่เลทนั้น อาจะเลทไปแล้ว 30 นาที คนเดียวกันนั้นยังบอกผมต่อว่า "แล้วที่ญี่ปุ่น โอกาสที่รถไฟเลทมีเท่าไหร่รู้ไหมครับ" เขาถามเองตอบเองเสร็จว่า "0.006%" (ผมอาจจำคลาดเคลื่อนบ้าง แต่ประมาณนี้แหละ) 

 

คนเดียวกันยังถามผมอีกว่า "อาจารย์มีอะไรแนะนำเรื่องนโยบายนี้ไหม" ผมบอก "ผมจะไปรู้อะไรกับเรื่องรถไฟและการกู้เงิน จะแนะนำอะไรได้ มีอยู่เรื่องเดียวที่ผมว่าจำเป็นคือ ต้องทำให้มันเป็น "ระบบ" จริงๆ" 

 

ผมมาคิดต่อว่า ความเป็นระบบที่ว่าน่าจะมี 3 ส่วน หนึ่งคือระบบของการขนส่งมวลชน ที่ต้องเชื่อมโยงกันจริงๆ ไม่ใช่มีเพียงรถไฟความเร็วสูงที่เร็ว แต่ที่ช้าก็เชื่องช้าไร้ระบบอยู่ต่อไปอย่างนั้น หากแต่ต้องเชื่อมโยงรถไฟความเร็วสูงกับรถไฟความเร็วธรรมดา เชื่อมโยงกับรถเมล์สาธารณะกับรถไฟทั้งระบบ ทำแบบที่ประเทศญี่ปุ่น หรือที่ระบบขนส่งมวลชนในเมืองใหญ่ๆ อย่างนิวยอร์คหรือชิคาโกเขาทำกัน  

 

ความเป็นระบบอีกอย่างคือ ต้องเป็นขนส่ง "มวลชน" ที่คนส่วนใหญ่เข้าถึงได้ ไม่ใช่เพียงราคาถูก แต่ต้องทั่วถึง มีทุกภาค ไม่ใช่มีวิ่งไปวิ่งมาแค่ในใจกลางประเทศ เหมือนเมื่อสร้าง BTS แรกๆ ที่สนองเฉพาะชีวิตคนที่มั่งคั่งในเขตกรุงเทพชั้นใน ไม่ใช่เป็นของเล่นคนรวยแบบรถไฟแอ็มแทรกในสหรัฐอเมริกา ที่เอาไว้ให้คนมีสตางค์นั่งท่องเที่ยวบนรถไฟกัน ไม่ใช่แบบรถไฟตุ๊กตาแบบ "ดุสิตธานี" เมืองจำลองที่เอาไว้สร้างตำนานประชาธิปไตยโดยกษัตริย์หลอกลูกหลานไทย 

 

แต่ระบบหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ ระบบชีวิตที่เกี่ยวพันกับวัฒนธรรมและสังคม รถไฟความเร็วสูงเกี่ยวข้องกับเวลาของชีวิตในหลายๆ มิติด้วยกัน เพราะรถไฟความเร็วสูงไม่เพียงสร้างระบบการขนส่งแบบใหม่ แต่มันจะมีส่วนสร้างหรือเสริมการสร้างระบบสังคมแบบใหม่ด้วย 

 

เมื่อเร็วๆ นี้ผมเพิ่งกลับจากญี่ปุ่น ได้เจอเพื่อนเก่าหลายคน เพื่อนคนหนึ่งเป็นชาวโอซากา เคยทำวิจัยในเวียดนามในช่วงเวลาเดียวกัน จึงพูดคุยกันหลายเรื่อง พอมีคำถามถึงเขาว่า "รู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงอะไรเมื่อไปทำวิจัยในหมู่บ้านที่เวียดนามมา" ดร.จบใหม่คนนั้นซึ่งที่จริงเป็นนักประวัติศาสตร์แต่จำเป็นต้องไปเก็บข้อมูลโดยอาศัยอยู่กับชาวบ้านที่หมู่บ้านในพื้นที่ห่างไกล ก็ตอบว่า "รู้สึกได้ว่า เวลาที่นั่นแตกต่างจากเวลาที่เคยอยู่" 

 

เวลาในสังคมเกษตรย่อมแตกต่างจากเวลาของสังคมอุตสาหกรรม จังหวะชีวิตที่ข้ึนกับดินฟ้าอากาศ ความจำเป็นทางการผลิต การตลาดของสินค้าเกษตร และความสัมพันธ์ของผู้คนในสังคมที่ต้องเผชิญหน้ากับญาติพี่น้องเสมอๆ ย่อมแตกต่างกับเวลาตามเข็มนาฬิกา เวลาของตลาดเงิน เวลาของการผลิตทางอุตสาหกรรม เวลาของเครื่องจักรขนาดใหญ่ เวลาของสังคมมวลชน เวลาของคนที่ส่วนใหญ่อยู่กับตนเองหรือครอบครัวขนาดเล็ก 

 

เวลาในหมู่บ้านในเวียดนามไม่เพียงแตกต่างกับเวลาของชาวเมืองโอซากาในเชิงคุณลักษณะหรอก แต่ยังแตกต่างกันในเชิงความแน่นอนและความรีบเร่งของการเคลื่อนไหว สำหรับเรื่องความเร็ว ไม่ต้องพูดถึงว่าเมืองใหญ่ขนาดโอซากานั้นใช้ความเร็วกันขนาดไหน หากแต่ก็ไม่ได้เร็วจนใครตามไม่ทัน เพราะในเมืองใหญ่ ในสังคมขนาดใหญ่ ความเร็วของแต่ละคนต้องพอเหมาะกับคนอื่น ต้องประสานกันได้ สิ่งที่จำเป็นไม่แพ้ความเร็วจึงได้แก่ความแม่นยำ 

 

พูดถึงความแม่นยำ มีครั้งหนึ่ง ผมรอรถเมล์ในเมืองเกียวโตที่สถานีชุมทางแห่งหนึ่ง ตามตารางรถ จะต้องเข้าเทียบท่าเวลา 9.48 น. ตรงท่ารถมีนาฬิกาบอกเวลาด้วยเข็มเรือนใหญ่ เมืองเข็มเคลื่อนถึง 9.48 ปุ๊บ รถก็หยุดสนิทที่ท่าปั๊บ แทบจะในวินาทีเดียวกัน 

 

ความแน่นอนแม่นยำดูจะเป็นสิ่งที่สำคัญเสียยิ่งกว่าความเร็ว เพราะถ้าเร็วไปโดยไม่มีความเชื่อมโยงกันอย่างแม่นยำ ระบบก็จะไม่สอดประสานกันได้ ความแม่นยำแน่นอนเป็นเครื่องมือของสังคมที่ต้องการการสอดประสานกันของสิ่งที่แตกต่างกันอย่างเป็นระบบ ความแม่นยำของระบบการขนส่งช่วยให้ชีวิตที่แตกต่างกัน แต่จำเป็นต้องเชื่อมโยงประสานกัน สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ความแม่นยำเป็นสะพาน "เชื่อมประมาน" ระบบที่อยู่กันคนละระนาบกันให้เจอกันได้ 

 

ในระหว่างบทสนทนาเรื่องรถไฟความเร็วสูงนั้น จึงมีเพื่อนร่วมวงสนทนาพูดขึ้นมาว่า สำหรับการขนส่งสินค้าทางการเกษตร "รอเพียงนาทีเดียวก็เสียหายได้" ฉะนั้น เกษตรกรเขาก็อยากได้ความเร็วสูงในการขนส่งพืชผลเช่นกัน หากแต่เราอาจต้องคิดระบบขนส่งที่ ทั้งรวดเร็วและแม่นยำที่เหมาะกับสินค้าหลายๆ แบบ 

 

แต่สำหรับคนที่ยังไม่เห็นความสำคัญ ก็คงจะยังอยากอยู่ในระบบสังคมแบบที่การรถไฟจินตกรรม (คือทั้งจินตนาการและก่อกรรมให้) คือแบบที่ผู้โดยสารพบรักกันบนรถไฟ เรียนรู้ชีวิตผู้คนบนรถไฟ ยอมช้าไปบ้างอะไรบ้าง พลาดนัดผิดสัญญาอะไรบ้าง ก็ช่างประไร ส่วนใครที่อยากเร็ว อยากถูกบีบอัดอยู่ในพื้นที่และเวลาในโลกหลังสมัยใหม่อย่างไร ก็ปล่อยเขาฝันต่อไปเถิด ใช่ไหมล่ะ 

 

ใครบางคนคงยังไม่อยากอยู่ในเวลาแบบใหม่ ยังไม่พร้อมจะออกไปจากเวลาในหมู่บ้าน หรือที่จริง ใครบางคนที่มีอำนาจวาสนา คงอยากจำกัดโอกาสการเข้าถึงเวลาที่รวดเร็วและแม่นยำ เอาไว้กับเฉพาะบางคนที่รวยพอจะเร็วได้ เฉพาะคนที่ใหญ่พอจะเห็นความสำคัญของเวลา ส่วนใครที่ยังยากจนอยู่น่ะ ก็ต้องก้มหน้ายอมรับความพอเพียงที่จำกัดให้เขาเชื่องช้าอยู่ต่อไปอย่างนั้น ใช่ไหมล่ะ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
อย่างที่บอกคือ ผมไม่ใช่คนเชี่ยวชาญเกาหลี จะเล่าเรื่องเกาหลีก็จะต้องมีผิดมีพลาดบ้าง เพียงแต่อยากบันทึกเก็บไว้ แล้วแบ่งปันบ้าง เผื่อใครสนใจหรือช่วยเติมต่อความรู้ อีกเรื่องหนึ่งที่ผมสนใจในการไปเกาหลีทั้งสองครั้ง (ครั้งแรกเมื่อ 8 ปีก่อน ก็ไปแค่สั้นๆ ไม่กี่วัน) ก็คือการได้พบเจอผู้คนและได้ไปเดินด่อมๆ มองๆ ตามย่านการค้า ร้านค้า และพบปะพูดคุยดื่มกินกับผู้คน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ได้อยู่นฐานะที่จะมาเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลี เดินทางไปแค่สองครั้ง ครั้งละไม่กี่วัน ไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ ไม่ได้เชี่ยวชาญอะไร แต่ด้วยนิสัยของการชอบบันทึกเก็บไว้ ก็เลยอยากเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลีที่รู้จักเอาไว้อ่านเอง เอาไว้คิดต่อ เอาไว้ก่อนที่จะลืม ก่อนที่จะไม่อยากเขียน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอร่วมรำลึกวาระ 40 ปี 6 ตุลาด้วยการกล่าวถึงงานศึกษาสังคม-วัฒนธรรมไทยที่เป็นพื้นฐานของเหตุการณ์เมื่อ 40 ปีก่อนนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จำเป็นแค่ไหนที่เราจะต้องคิดต่างจากส่วนกลาง ถ้าเราคิดว่าการครอบงำของความรู้ตะวันตกเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเข้าใจตัวตนเราเอง และทั้งยังปิดกั้นความเป็นมนุษย์ที่ไม่ได้ถูกเข้าใจจากมุมมองที่ต่างออกไป เราก็จำเป็นที่จะต้องคิดทั้งนอกกรอบตะวันตกและนอกกรอบการครอบงำจากอำนาจศูนย์กลางของรัฐ ความคิดนอกกรอบการครอบงำดังกล่าวส่วนหนึ่งเรียกว่าแนวคิดหลังอาณานิคม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายวันมานี้มีเรื่องขันขื่นหลายเรื่องที่สังคมไทยก้าวไม่พ้นเสียที แต่ผมว่าเรื่องพื้นฐานของปัญหาเหล่านี้คือเรื่องการไม่ยอมรับผิด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไปโกเบเมื่อสี่วันก่อน (7 มิถุนายน 59) นอกจากได้รู้จักความเป็นเมืองฝรั่งๆ ของโกเบแล้ว สาระสำคัญของการไปโกเบวันก่อนอย่างหนึ่งคือการไปพิพิธภัณฑ์เครื่องมือช่างไม้แห่งนี้ พิพิธภัณฑ์นี้เป็นของบริษัท Takenaka ที่บอกเล่าว่าตั้งมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 17 ส่วนพิพิธภัณฑ์นี้เปิดปี 1984 แล้วเข้าใจว่าน่าจะค่อยๆ พัฒนาคอลเล็กชั่นและการจัดแสดงขึ้นมาเรื่อยๆ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ความสุขอย่างหนึ่งของการมาอยู่ที่ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษามหาวิทยาลัยเกียวโตก็คือ การได้รู้จักผู้คนและแลกเปลี่ยนความรู้ในหลายภาษา อีกอย่างคือได้แลกเปลี่ยนความรู้ในหลายบริบท ทั้งในห้องสัมมนา ห้องทำงาน ห้องเรียน และร้านเหล้า ผมถือว่ามันเป็นบริบททางวิชาการทั้งนั้นแหละ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
รู้กันนะครับว่า เวลาที่เราเรียกว่า "หล่อๆ" นี่ ไม่ใช่ว่าต้องเป็นผู้ชาย ผู้หญิงก็หล่อได้ เพราะมันหล่อในสำนวน ในการแสดงออก ในท่าที ทั้งๆ ที่หน้าตาไม่ต้องหล่อก็ได้ แต่หล่อที่คำพูด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่งสอนผมว่า “คำวิจารณ์น่ะ น่าฟังมากกว่าคำชื่นชม เนื่องจากคนที่วิจารณ์เราน่ะ เขาจริงใจกับเรามากกว่าคนที่ชื่นชมเรา ไม่มีใครวิจารณ์เราตามมารยาท แต่คนชมน่ะ บางทีเขาก็ชมเราไปตามมารยาทเท่านั้นแหละ” ดังนั้นเมื่อโลกเขารุมวิจารณ์ไทย เราก็ควรรับฟังเขา เพราะถ้าเขาไม่มีความจริงใจ ไม่อยากเห็นเราปรับปรุงตัวจริงๆ ไม่รัก ไม่ห่วง ไม่อยากคบค้าสมาคมด้วย เขาก็คงไม่ติติงเรา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนแบบพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาไม่ได้มีแต่พลเอกประยุทธ์เพียงคนเดียว แต่ยังมีคนอีกจำนวนมากที่มีเบื้องลึกของจิตใจแบบพลเอกประยุทธ์ แต่หากจะพูดให้ถูก คนที่มีจิตใจเบื้องลึกที่กักขฬะ อาจจะไม่จำเป็นต้องแสดงออกอย่างกักขฬะแบบพลเอกประยุทธ์ แต่ทำไมขณะนี้สังคมไทยจึงยอมให้ความกักขฬะเข้ามาปกครองบ้านเมือง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะเรียกอะไรก็แล้วแต่ ถ้าพูดอย่างหลวม ๆ คือ พวกเขาเป็นคนกลุ่มเดียวกัน สองชื่อแรกใช้ในประเทศไทย เรียกกลุ่มคนที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ที่จริงพวกเขายังอยู่ในอำเภอเมือง อำเภอหนองหญ้งปล้อง และอำเภออื่น ๆ ของเพชรบุรี แล้วยังกระจายย้ายถิ่นไปในจังหวัดอื่น ๆ ตั้งแต่นครปฐม ชุมพร ไปจนถึงนครสวรรค์ เลย ฯลฯ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้ผมกลับมาไทย 7 วัน ไม่รวมวันเดินทางอีกสองวัน ที่มาเพราะได้รับเชิญมาเสนอความเห็นในการ workshop งานหนึ่ง ผมก็เลยถือโอกาสนี้ใช้ทุนที่ต้องใช้สำหรับทำวิจัย เก็บข้อมูลของมหาวิทยาลัยเกียวโต ซึ่งก็มีอยู่ไม่มากนัก มาเพื่อใช้เดินทางไปเก็บข้อมูลเพิ่มเติมด้วยเลย